fbpx

กรุงเทพ – นครปฐมและกาญจนบุรี ตอนที่2

กรุงเทพ – นครปฐมและกาญจนบุรี ตอนที่2

Link ตอนที่1 ตอนที่2 ตอนจบ
193

 

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแควซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก
กาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่งและป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อยซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่ บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี

 

194 195
 

ที่ตั้ง : อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
อยู่ห่างจากน้ำตกผาตาด ประมาณ 6 กิโลเมตร
บ่อน้ำพุร้อนหินดาด เดิมเรียกว่า น้ำพุร้อนกุยมั่ง บังเอิญถูกค้นพบโดยทหารญี่ปุ่นที่เกณฑ์เชลยศึกให้สร้างทางรถไฟสายมรณะ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง การเดินทาง สามารถเดินทางตาม เส้นทางหลวงหมายเลข 323 บริเวณกิโลเมตรที่ 105–106 อยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี 135 กิโลเมตร
บ่อน้ำพุร้อนหินดาด เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติริมลำธาร อุณหภูมิประมาณ 45-55 องศาเซลเซียส ค้นพบโดยทหารญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างเป็นบ่อซีเมนต์ขึ้น 2 บ่อเชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนแห่งนี้มีสรรพคุณ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลายอย่าง เช่น โรคเหน็บชา โรคไขข้ออักเสบ นักท่องเที่ยวสามารถลงอาบน้ำได้ และยังมีลำธารน้ำเย็นไหลอยู่ด้านล่างของบ่อน้ำร้อน

 

196 197
 

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ราวจับ มีการติดตั้งราวจับบริเวณบันไดและทางลาด
ทางลาด มีทางลาดลงถึงบ่อ แต่มีความชันเกิน 1: 12 ผู้ที่ใช้ Wheel Chair ควรมีผู้ช่วยเหลือ
ป้ายสัญลักษณ์ มีป้ายสัญลักษณ์คนพิการติดบริเวณทางลาด
หมายเหตุ ส่วนของห้องส้วมอยู่ค่อนข้างสูง ผู้สูงอายุควรมีผู้ช่วยเหลือ ส่วนผู้ใช้ Wheel Chair ไม่สามารถเข้าใช้ได้
คนพิการสามารถเข้าถึงได้ แต่ต้องมีผู้ช่วยจึงจะลงไปยังบ่อน้ำพุร้อนได้
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : พอใช้

 

198199
 

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เมืองกาญจนบุรี, กาญจนบุรี
Tel. 0 3453 1347, 08 1754 2098, 08 1814 7564
ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ เป็นสถานที่จัดแสดงมินิเธียเตอร์ รวบรวมข้อมูลภาพถ่ายข้าวของ เครื่องใช้ ระหว่างการสร้างทางรถไฟ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น โดยการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ชวนให้นึกถึงภาพในอดีตที่เชลยศึกออสเตรเลีย และฝ่ายพันธมิตรจำนวนมากตัดเจาะภูเขาหินด้วยมือปราศจากเครื่องมืออันทันสมัย ให้เป็นช่องสำหรับสร้างทางรถไฟ
ปัจจุบันยังมีร่องรอยของทางรถไฟปรากฏอยู่หรือที่เรียกกันว่า “ทางรถไฟสายมรณะ” ช่วงก่อสร้างที่ถือว่ายากที่สุด คือช่วงเส้นทางที่ต้องตัดผ่านเนินเขาเป็นช่องทางแคบๆ ที่เรียกว่า “ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก” ทำให้เชลยศึกล้มตายเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นที่ระลึกถึงเชลยศึก ภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีคำบรรยายให้ได้รับฟังกันถึง 2 ภาษา คือ ไทยและอังกฤษ พร้อมหูฟังไว้บริการเพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม

 

200201
 

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ห้องส้วม มีห้องส้วมที่จัดไว้เฉพาะสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ สามารถใช้ได้
ทางลาด มีทางลาดที่ขนาดและความชันเหมาะสม
ทางเดินทางเชื่อม ภายในอาคารทางเดินทางเชื่อมค่อนข้างดี ไม่มีพื้นต่างระดับ
หมายเหตุ เฉพาะภายในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : ดี

 

202203
 

ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เขตตำบลสิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
Tel. 034 591122, 034 591334
ปราสาทเมืองสิงห์ โบราณสถานในสมัยพุทธศวรรษที่ 18 ปราสาทเมืองสิงห์เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย ต.เมืองสิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 500 ไร่ ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเป็นลักษณะของการวางทิศตัวอาคารในศิลปขอม
ปราสาทเมืองสิงห์ ตัวเมืองมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมหลายชั้น ตัวปราสาทเมืองสิงห์เป็นศาสนสถาน ตั้งอยู่กลางเมืองสร้างขึ้นตามแบบขอม และพุทธศาสนาฝ่ายมหายานสร้างด้วยศิลาแลงบนฐานสี่เหลี่ยม ปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลางมีระเบียงคดก่อด้วยศิลาแรงล้อมลอบมีประตูซุ้มยอดเป็นปรางค์ทั้งสี่ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธานมีบรรณศาลาซึ่งตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ตัวปราสาทมีกำแพงแก้วสร้างด้วยศิลาแลงล้อม ปัจจุบันค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย
ที่มา : กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถานและข้อมูลโบราณคดีสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร

 

204205
 

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ห้องส้วม จัดห้องส้วมสำหรับคนพิการไว้โดยเฉพาะ จำนวน 1 ห้อง
ทางลาด มีทางลาดเพื่อเข้าห้องส้วม แต่ไม่มีทางลาดเข้าสู่ตัวปราสาท
ป้ายสัญลักษณ์ จัดให้มีป้ายสัญลักษณ์หน้าห้องส้วม
ทางเดินทางเชื่อม พื้นผิวเป็นอิฐก้อนใหญ่ค่อนข้างขรุขระผู้ใช้ Wheel Chair ค่อนข้างลำบาก ต้องมีผู้ช่วยเหลือ
หมายเหตุ ผู้ใช้ Wheel Chair ไม่สามารถขึ้นตัวปราสาทได้ ส่วนผู้สูงอายุควรมีผู้ช่วยเหลือ เพราะบันไดค่อนข้างชัน และไม่มีราวจับ
คนพิการสามารถเข้าถึงได้ในบริเวณรอบๆ แต่ไม่สามารถเข้าไปในตัวปราสาทได้
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : พอใช้

 

206207
 

สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องส้วม จัดห้องส้วมเฉพาะไว้สำหรับคนพิการ
ทางลาด มีทางลาดเข้าอาคาร ผู้ใช้ Wheel Chair ควรมีผู้ช่วยเหลือ
ป้ายสัญลักษณ์ มีป้ายคนพิการติดไว้ในหลายพื้นที่
ทางเดินทางเชื่อม ทางเดินทางเชื่อมเรียบ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : ดี