สวัสดีครับ ทาง eLifeGear ได้ทดลองใช้รถเข็นไฟฟ้า รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า, Power wheelchair หรือ Electric wheelchair รุ่น PW-201 อยู่หลายวัน หลายสถานที่ เราทำของข้อมูลการใช้งานจริง และลายละเอียดแบบเจาะลึกมาฝากกันครับ
รถเข็นไฟฟ้า PW-201 นี้เป็นรถเข็นผู้ป่วย ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ประเภทพับเก็บได้ โดยมีขนาดกลางๆ ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป มอเตอร์เป็นแบบมอเตอร์ขดลวดที่วางยาวตามลำตัวรถ ทำให้มีขนาดพับเก็บที่เล็กกว่ารุ่น PW-101 โดยตัวมอเตอร์มาพร้อมกับระบบเบรคไฟฟ้าอัตโนมัติ(ไม่สามารถขยับแบบ Manual ได้หากไม่ได้ปลอดเดือยล้อ) เมื่อจอดรถบนทางลาดเอียงจะไม่ถอย มอเตอร์มีแรงขับ 150watt*2 สามารถขี้นทางลาดเอียงได้ 8 องศา(สามารถเดินทางในระบบรถไฟฟ้าได้อย่างสบายหรือในห้าง หรืออาคารสมัยใหม่ได้อย่างสบาย เนื่องจากเดี๋ยวนี้อาคารและสิ่งก่อสร้างใหม่ๆมี กฏหมายบังคับให้ต้องมีทางสำหรับรถเข็นนั่ง) เคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 15-20 กิโลเมตร โดยใช้แบตเตอรี่ กรดตะกั่ว 24V 24AH.
ล้อหน้าตัน 2 ล้อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้วใช้ในการ support และปรับทิศทาง ล้อหลัง 2 ล้อขนาด 12 นิ้ว ล้อเป็นแบบเติ่มลม มีมอเตอร์เป็นตัวส่งกำลังล้อคู่นี้เอาไว้ส่งแรงขับ โดยทำงานอิสระต่อกัน เช่นหากหมุนตามเข็มล้อซ้ายจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ล้อขวาเคลื่อนที่ไปด้านหลัง ล้อคู่สุดท้ายด้านหลัง ล้อ support ที่ลาดเอียงออกแบบมาเพื่อการขึ้นทางลาดเอียง ให้รถไม่พลิกคว่ำ
ปุ่มควบคุมหรือ Controller ทำงานง่ายมีปุ่มเปิดปิด พร้อมไฟแจ้งสถานะแบตเตอรี่, ปุ่มเพื่อลดความเร็วของตัวรถ, แตรไฟฟ้า, และ Joy Stick ควบคุมทิศทาง ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายเข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก
โครงสร้างและส่วนประกอบทำด้วย เหล็กอัลลอย และอลูมิเนียมชุบสี เป็นส่วนประกอบหลัก น้ำหนักถือว่าไม่หนักมากหากเทียบกับรุ่นใกล้เคียงกันในยี่ห้ออื่น แข็งแรงรองรับน้ำหนักได้ถึง 120 กิโลกรัม ด้านใต้เบาะนั่งเป็นโครงเหล็กรูปตัว X เพื่อให้สามารถพับเก็บได้ แตรเสียงอยู่ใต้เบาะที่นั่ง พนักแขนสามารถถอดออกได้เพื่อที่คนใช้งานสามารถพลักตัว หรือ ขึ้นเตียงที่อยู่ด้านข้าง โดยไม่ต้องลุกขึ้นยืนออกจากตัวรถ พนักขา และ แบะหลังสามารถ สามารถพับเก็บและถอดได้เช่นกัน
ที่นั่งทำจากผ้าใบ หนาพอสมควรเพื่อให้รับน้ำหนักได้ ถ่ายเทอากาศดี นั่งสบาย พนักพิงหรือเบาะหลังทำจากผ้าใบเช่นกัน ด้านหลังมีกระเป๋าสำหรับใส่ของ มีมือจับเพื่อให้คนสามารถเข็นได้แบบ Manual(โดยดีงเดือย Manual ที่ล้อขี้น)
ส่วนประกอบ
1.โครงหลัก หรือ frame ทำจาก เหล็กอัลลอย และอลูมิเนียมชุบสี เป็นหลัก แข็งแรง (ทดสอบโดยเอาค้อนทุบแล้วไม่งอ) ด้านล่างเป็นเหล็กรูปตัว X 2ตัวทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักแบบ stress และช่วยในการพับ
2. ล้อ ประกอบด้วยล้อ 3 คู่ด้วยกัน
– คู่หน้า 8 นิ้วยางตัน support และควบคุมทิศทาง
– คู่หลัง 12 นิ้วยางลม ติดกับมอเตอร์ส่งกำลัง
– คู่ท้าย ใช้เพื่อการ support ขึ้นทางลาดเอียงไม่ให้รถหงายหลัง(ถอดได้แต่ไม่แนะนำให้ถอดครับ)
3. เดือย Manual อยู่ที่ล้อหลังส่งกำลังที้สองข้าง ดีงขี้นและบิด เมื่อต้องการเข็นรถด้วยมือจับเข็นข้างหลัง(กรณีต้องการใช้คนเข็นแบบ Manual) กรณีต้องการให้หมุนโดยใช้แรงมอเตอร์ก็บิดกลับให้ลงในตำแหน่งเดิม คือทดเฟื่องกำลังของมอเตอร์
4. มอเตอร์ไฟฟ้า+เบรคไฟฟ้า มอเตอร์ 300watt จำนวน 2 ตัวทำงานอิสระต่อกัน โดยจะได้รับกระแสไฟฟ้าจาก controller ในการบังคับความเร็วและทิศทางในการหมุนของมอเตอร์แต่ละตัว เคลื่อนที่แบบหมุนอยู่กับที่ล้อทั้งสองจะหมุนทิศตรงข้ามกัน เคลื่อนที่ตรงไปข้างหน้ามอเตอร์ทั้งสองจะหมุนไปข้างหน้าด้วยความเร็วเท่ากัน การตีโค้งวงกว้างมอเตอร์ หากตีโค้งไปด้านไหนล้อข้างนั้นจะหมุนช้ากว่าอีกข้างนึ่งเป็นต้น
ระบบเบรคทำงานเมื่อรถอยู่นิ่ง หรือหยุดการเคลื่อนที่ คือทุกครั้งที่หยุด หรือจะหยุด จะมีกระแสไฟฟ้าไปหน่วงมอเตอร์ให้หยุด และล็อคเฟื่องหมุนไว้ เมื่อบังคับ controller ให้เคลื่อนที่ไฟฟ้า จะได้ปลอดล็อคเฟื่อง ให้หมุนได้อีกครั้ง ดังนั้นเวลาใช้งานทุกครั้งเมื่อจะเคลื่อนที่และจะหยุดจะมีเสียง “คลิ๊ก” ทุกครั้งเพื่อปลดและล็อคเฟื่องตามลำดับ
5. ส่วนควบคุมหรือ controller ใช้ในการควบคุมและดูสถานะของรถกับ แบตเตอรี่ มีปุ่มเปิดปิด พร้อมไฟแจ้งสถานแบตเตอรี่, ปุ่มเพื่อลดความเร็วของตัวรถ, แตรไฟฟ้า, และ Joy Stick ควบคุมทิศทาง ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายเข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก
6. แบตเตอรี่ ขนาด 24V 24AH มีตะขอเพื่อเกี่ยวกับตัวรถ ต่อให้กับสายไฟ โดยมีเกลียวเพื่อขันให้แน่น socket ที่ใช้ต่อนี้ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยจากไฟดูด
7. แตรไฟฟ้า อยู่ใต้เบาะนั่ง ใช้ในกรณีขอทาง
8. พนักรองขา สามารถพับลงเพื่อวางฝาเท้า หรือพับขึ้นเพื่อลุกขึ้นจากตัวรถได้ **ส่วนประกอบนี้ถอดออกได้
9. พนักแขน สำหรับวางแขน ทำจากยางสังเคราะ **ส่วนประกอบนี้ยกขึ้นได้ เพื่อให้ผู้นั่งสามารถทำกิจกรรมด้านข้างตัวรถได้ข้าง เช่นการขึ้นเตียงนอนด้านข้างตัวรถ การทำสวนด้านข้างตัวรถ การขึ้นรถตู้เป็นต้น
10. เบาะนั่ง และ พนักพิง ทำจากผ้าใบหนา เพื่อให้พับได้ แข็งแรง นั่งสบาย ในกรณีที่ต้องอยู่กับตัวรถนานๆ ความใช้คู่กับเบาะรองนั่งพิเศษด้วย เพื่อกันแผลกดทับ
11. มือจับสำหรับให้คนเข็น ใช้เมื่อต้องการให้คนอื่นเข็นให้ ต้องดึงเดือย Manaul ควบคู่ไปด้วย **ส่วนประกอบนี้พับเก็บได้
ระบบเบรคไฟฟ้า (electromagnetic brakes)
ระบบเบรคไฟฟ้าตัวนี้ทำการสัมพันธ์กัน 2 ส่วนคือ หน่วงมอเตอร์ด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อปล่อยคันบังคับทิศทาง(Joy stick) ส่วนที่สองคือ การล็อคเฟื่องเมื่อหยุดอยู่กับที่
– เมื่อรถเคลื่อนที่ปกตินั้นระบบเบรคนี้จะไม่ทำงาน แต่หากปล่อยคันบังคับ ไฟฟ้าจะจ่ายไฟให้แม่เหล็กทำการหน่วงมอเตอร์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ให้หยุดในเวลาอันสั้น
– เมื่อระบบเบรคไฟฟ้าหยุดรถได้แล้ว จะมีระบบล็อคเฟื่องทำงานต่อเนื่องทันที่คือมีเสียง “คลิ๊ก” เฟื่องจะล็อคไม่ให้มีการเคลื่อนที่ คือขยับรถด้วยแรงของเราให้น้ำหนักเราไม่ได้นั้นเอง เมื่อทำการเลื่อนคันบังคับอีกรอบจะปลดล็อคเฟื่องตัวนี้คือมีเสียง “คลิ๊ก” และขับให้มอเตอร์ทำงานอีกรอบ ระบบนี้จะทำงานเสมอเมื่อล็อครถและปลดให้เคลื่อนที่
การใช้งาน
การบังคับ
เริ่มจากการเปิดเครื่องที่ controller ปรับรถความเร็วได้ตามต้องการ กด + หรือ – ปุ่มบังคับทิศทางนั้นไม่ใช่แบบ 8 ทิศทางครับ ตัวนี้บังคับได้ทุกทิศทาง Free control เลยก็ว่าได้ซึ่งดีกว่ามากในการตอบสนองคนใช้งาน และเข้าใจง่าย บังคับได้แม่นยำกว่า
– ดันคันบังคับไปข้างหน้าตรงๆ หรือ หลังตรงๆ เพื่อให้เคลื่อนที่ไปด้านหน้าหรือหลัง มอเตอร์เดินหน้า/ถอยหลังด้วยความเร็วเท่ากัน
– ดันคับบังคับแบบขวา หรือซ้ายตรงๆ เพื่อให้หมุนรอบตัวเองตามทิศทวนหรือตามเข็ม มอเตอร์ของสองล้อทำงานสลับทิศทางกัน
– ดันคับบังคับไปข้างหน้า หรือหลังแบบเฉียงๆ จะเดินหน้าหรือหลังในทิศทางนั้นแบบโค้งขึ้นอยู่กับว่าดันเฉียงไปขนาดไหน
การพับเก็บ
สามารถพับเก็บได้ง่ายครับตามขั้นตอนเลย ในกรณีที่กางออกมาเพียงแค่ทำสลับกัน
1. ปิดเครื่องที่ controller
2. ดีงเดือย Manual ที่ล้อทั้งสองขี้น
3. ถอดแบตเตอรี่ออกมาว่าง
4. พับพนักขา และพนักพิง
5. พับรถโดย จับตรงกลางทั้งสองข้างของเบาะรอง และดึงขี้น
สรุป ความรู้สึกเมื่อได้ลองสัมผัส
จากการได้ลองใช้งาน 3 วันเต็มเป็นระยะทางเกิน 5-7 กิโลเมตร แบตลดไป 3 จุดจาก 8 จุดบอกความรู้สึกได้เลยว่าใช้งานได้ดีมาก เพราะบังคับง่าย คนใช้งานใหม่สามารถใช้งานได้ทันทีครับ อาจเรียนรู้บ้างแต่ไม่เกิน 2-5 นาทีในการปรับตัว ทั้งในแนวตรง ทางราบ ทางชัน(ชันไม่มากนะครับแค่แบบขึ้นสะพานข้างคลอง) ทางวิบากเป็นหลุมนิดหน่อยในสนามหญ้า(ปกติห้ามใช้ในทางวิบากนะครับ ไม่ปลอดภัย) ใช้งานได้อย่างดี เข้าใจว่ามอเตอร์วิ่งได้เร็วกว่านี้แต่ถูก set ค่ามาให้วิ่งได้จำกัดที่ 6 กิโลเมตรเพื่อกว่าปลอดภัย (เดินทางได้เร็วกว่าการเดินของคนปกติมากครับ)
ซื้อเชื่อว่าดีต่อคนใช้ เพราะช่วยเติ่มเต็มชีวิตให้กับผู้ป่วย คนพิการ หรือคนชรา ให้เค้าได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงกับคนธรรดามากที่สุด เค้าสามารถบังคับ เดินทาง หรือทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตัวของเค้าเอง ไม่ว่าจะไปแถวรอบบ้าน เดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS หรือใต้ดิน MRT ทำให้ชีวิตมีความสุขครับ
แต่ขอสำคัญสุดคือ ต้องให้ผู้ใช้ออกกำลังกาย หรือทำกายภาพบำบัดควบคู่ด้วย ไม่อย่างนั้นร่างกายจะไม่ใช้กล้ามเนื้อขาเลย หากต้องนั่งเป็นเวลาหลายชั่วโมง ควรใช้เบาะรองนั่งพิเศษ หรือ รองศอกเพื่อกันแผลกดทับครับ
ข้อควรระวังในการใช้งาน การรักษา
– สามารถโดนฝนได้ แต่แนะนำไม่ให้ตากฝนนาน ดีที่สุดไม่ให้โดนและควรเก็บในที่ร่มเพื่อยืดอายุการให้งาน
– ล้อหลักควรสูบให้แข็งแต่พอดี คือ ให้แข็งแค่มือบีบลงไม่ได้ เนื่องจากล้อที่อ่อนไป วิ่งช้าเปลืองไฟ ล้อที่แข็งไปไม่เกาะถนน
– เมื่อจอดอยู่นิ่งพยายาม อย่าไปฝืนขยับล้อ เนื่องจาก PW-201 มีระบบเบรคไฟฟ้า คือล็อคอัตโนมัติ หากไปฝืนเข็นอาจทำให้ชุดมอเตอร์เสียได้ เราต้องดึงเดือย Manaul ที่ล้อขึ้นทุกครั้งหากต้องการให้คนเข็น
– หากไม่ได้ใช้นานๆ ควรจะชาร์จแบตเตอรี่ทุกๆ 3 เดือน
จุดเด่น
– มอเตอร์ตอบสนองดีน่าประทับใจ เสียงเงียบ
– นั่งสบาย แม้ไม่ได้ใช้คู่กับเบาะรองนั่งพิเศษ
– มีระบบเบรคไฟฟ้า เพื่อว่า Safety (ส่วนตัวคิดว่าดี แต่ไม่ได้มีความจำเป็นมาก เพราะธรรมดาคงไม่มีใครจอดรถอยู่นิ่งๆบนทางลาดเอียง แต่จะปลอดภัยกว่าเวลาขึ้นทางชันแล้วเกิดเหตุต้องหยุดกลางคัน)
– พับเก็บง่าย ขนาดเล็ก ใส่ท้ายรถได้
– ไม่มีล้อมาเกะกะด้านข้าง ทำกิจกรรมด้านข้างตัวรถได้ง่ายเช่น ขี้นเตียง, ทานข้าว, ขึ้นรถ
จุดด้อย
– มอเตอร์แรงขับ 150watt*2 ส่วนตัวคิดว่าไปได้เร็วแล้วครับ (แต่ช้ากว่า PW-101)
– ไม่มีล้อจับหมุนเหมือน PW-101 คือ กรณีที่แบตเตอรี่หมด ไม่สามารถหมุนล้อด้วยตัวเองได้ (แบตเตอรี่วิ่งได้สูงสุด 15-20 กิโลเมตร ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ดังนั้นควรสังเกตุสถานะแบตเตอรี่ที่ controller ด้วย)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
– เปรียบเทียบกับรุ่น PW-101 และ PW-201
– เบาะรองนั่ง
[suffusion-widgets id=’6′]