fbpx

เงื่อนไขของสายการบิน ก่อนพาคนพิการหรือผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ขึ้นเครื่อง

เงื่อนไขของสายการบิน ก่อนพาคนพิการหรือผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ขึ้นเครื่อง

 

 

               การเดินทางโดย “เครื่องบิน” ไม่ว่าจะเป็นการไปทำงาน ท่องเที่ยว หรือทำธุระอื่น ๆ นอกจากจะสะดวกสบาย ประหยัดเวลาในการเดินทางแล้ว บางช่วงเวลาทางสายการบินยังมีโปรโมชั่นพิเศษทำให้ค่าโดยสารมีราคาถูกลงมาก อาจถูกกว่าค่ารถทัวร์หรือรถโดยสารอื่น ๆ สำหรับคนทั่วไปแล้วอาจไม่ลังเลที่จะจองไฟล์บินทันที แต่สำหรับผู้พิการหรือผู้ที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์อาจลังเลและสงสัยว่า    มีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ผู้พิการหรือผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์จะขึ้นเครื่องได้ แม้กระทั่งมีรถเข็นที่ให้บริการก่อนขึ้นเครื่องหรือไม่ และถ้าต้องการนำรถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเหลืออื่น ๆ ไปเองจะทำอย่างไร ? 

ดังนั้นทางร้านรถเข็น Elife จึงได้ทำการรวบรวมข้อกำหนดและเงื่อนไขของแต่ละสายการบิน เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจก่อนการเดินทาง

  • แอร์เอเชีย สายการบินจะให้ผู้โดยสารที่ทุพพลภาพ หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ หรืออยู่ในภาวะป่วยร่วมเดินทางไปด้วยเที่ยวบินละ 4 ท่าน  ผู้โดยสารที่เป็นอัมพาตทั้งแขนและขาจะถูกจำกัดไม่เกิน    เที่ยวบินละ 2 ท่าน ในบางกรณีทางสายการบินอาจร้องขอให้ผู้โดยสารดังกล่าวต้องมีผู้ร่วมเดินทางด้วย อีกทั้งยังอนุญาตให้ ถเข็นเด็ก รถเข็นวีลแชร์ อุปกรณ์ช่วยเดินและโครงเหล็กช่วยเดิน สามารถนำขึ้นเครื่องได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (รวมไปถึงรถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเหลือที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ แต่ต้องถอดแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว) น้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตคือ 85 กิโลกรัม ทั้งนี้ต้องทำการแจ้งสายการบินก่อนล่วงหน้า 48 ชั่วโมง เพื่อเตรียมการช่วยเหลือ   

 

  • บางกอกแอร์เวย์ หากผู้โดยสารต้องการใช้บริการรถเข็นนั่ง สามารถแจ้งกับพนักงานได้ตั้งแต่วันที่ทำการจองที่นั่ง และแจ้งก่อนเดินทางล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่ต้องเป็น  ผู้ที่สามารถดูแลตัวเองได้ระหว่างการเดินทางโดยสายการบินจะมีบริการพาไปยังประตูเครื่องหรือที่นั่งบนเครื่องและช่วยเหลือหากมีความต้องการจะเข้าห้องน้ำ เมื่อถึงจุดหมายปลายทางจะมีพนักงานพาผู้โดยสารไปยังจุดรับสัมภาระ และช่วยผู้โดยสารรับกระเป๋าเพื่อไปยังทางออก ในกรณีที่ผู้โดยสารไม่สามารถดูแลตนเองได้ระหว่างการเดินทางจำเป็นต้องมีผู้ร่วมเดินทางไปด้วยและถ้าต้องการที่จะนำรถเข็นส่วนตัวไปเองต้องแจ้งก่อนวันเดินทางล่วงหน้า 48 ชั่วโมง รวมถึงต้องแจ้งประเภท ขนาดและน้ำหนักของรถเข็นในวันที่จองที่นั่ง เพื่อจัดพื้นที่ไว้เก็บรถเข็นและนำกลับมาให้ ณ จุดรับสัมภาระ 

 

  • นกแอร์ จะพิจารณาผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือในการเดินเข้าเครื่องบินเป็นสองระดับคือ 1. ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในระหว่างเที่ยวบิน แต่ยังสามารถเดินขึ้นเครื่องเองได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้รถเข็น  ทางสายการบินจะจัดเตรียมให้และส่งผู้โดยสารที่ประตูเครื่องบิน จากนั้นต้องเดินต่อเอง 2. ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (ต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือในการเดินทางขึ้นลงเครื่องบินหรือ ไม่สามารถเดินทางโดยลำพังได้ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ๆ ) จำกัด 1 คน ต่อ 1 แถวที่นั่งเท่านั้น และจำกัดจำนวนต่อเที่ยวบิน   เพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ต้องแจ้งสายการบินอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนเวลาการเดินทาง และแจ้งชื่อผู้โดยสารซึ่งจะเป็นผู้ร่วมเดินทาง ( Escort/Accompany) โดยผู้ร่วมเดินทางจะต้องเดินทางเคียงข้างไปในเที่ยวบินเดียวกัน ไม่เช่นนั่นทางสายการบินมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษขึ้นเครื่อง โดยบริษัทฯ ยินดีคืนค่าโดยสารในกรณีดังกล่าว

 

  • ไทยไลอ้อนแอร์ ให้ผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นวีลแชร์หรือใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ (ยกเว้นในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย) เป็นสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงแต่ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือต้องมีผู้ร่วมเดินทางด้วย ซึ่งผู้โดยสารต้องการความช่วยเหลือจะไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งที่นั่งตรงทางออกฉุกเฉินหรือบริเวณปีกแถวทางออกฉุกเฉิน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัย ทางสายการบินจะจัดที่นั่งช่วยให้ตามความเหมาะสม และขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายได้ โดยต้องทำการติดต่อสายการบินหรือคอลเซ็นเตอร์ อย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทางเพื่อจัดการประเภทของความช่วยเหลือที่จำเป็นล่วงหน้า

 

  • ไทยสมายล์ พิจารณาผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือในการขึ้นเครื่องบินเป็น 2 ระดับ 1. ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือในระหว่างเที่ยวบินหรือระหว่างการเดินทาง ซึ่งสามารถเดินเข้าเครื่องบินเองได้ ในกรณีนี้สายการบินยอมให้เดินทางคนเดียวได้ หากต้องใช้รถเข็นเพื่อความสะดวกมีบริการจัดเตรียมให้และจะส่งให้เดินเข้าเครื่องบินด้วยตนเองหน้าประตูเครื่องเท่านั้น 2. ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือในการเดินทางขึ้นลงเครื่องบิน หรือไม่สามารถเดินทางโดยลำพังได้ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด (รวมทั้งเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี) ในกรณีนี้สายการบิลจะยอมรับให้เดินทาง โดยต้องมีผู้ร่วมเดินทางด้วย (Escort/Accompany) เพื่อช่วยเหลือในระหว่างเที่ยวบินและการขึ้นลงเครื่องบิน เพื่อความสะดวกในการเดินทางต้องแจ้งสายการบินขณะที่ทำการจองบัตรโดยสารอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง 

 

 

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เกือบทุกสายการบินมีข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการที่คล้าย ๆ กันคือ        ผู้พิการหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือต้องแจ้งทางสายการบินก่อนเดินทางอย่างน้อย 48 ชั่วโมง และผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องมีผู้ร่วมเดินทางไปด้วย สำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ รถวิลแชร์ หรือวีลแชร์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่(ต้องถอดแบตออกก่อนซึ่งต้องเป็นแบตลิเธียมไอออนตามความจุที่สายการบินกำหนดและหิ้วขึ้นเครื่องเป็นสัมภาระ) ทั้งหมดนี้บางสายการบินแจ้งว่าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

 

 

                อย่างไรก็ตามแม้รายละเอียดจะคล้ายคลึงกัน แต่ข้อกำหนดของอุปกรณ์ทั้งขนาดและน้ำหนักของแต่ละสายการบินนั้นก็อาจแตกต่างกัน แนะนำให้โทรสอบถามรายละเอียดแก่สายการบิน          ที่จะทำการเดินทางโดยตรง เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของตัวท่านเองและผู้ร่วมทางค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.airasia.com/th/th/about-us/terms-and-conditions-fd.page

https://www.bangkokair.com/mobility-assistance

https://content.nokair.com/th/Journey-Planning/Physically-Challenged-Passenger.aspx

https://www.lionairthai.com/th/Terms-And-Conditions

https://www.thaismileair.com/th/Terms-and-Conditions