fbpx

ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้นั่งรถเข็น

นั่งรถเข็นออกกำลังกายอย่างไร

aerobics

แม้จะนั่งรถเข็นและรถเข็นไฟฟ้า ผู้นั่งยังคงสามารถออกกำลังกายได้แม้บนรถเข็น ทั้งนี้ก็เพื่อยังคงรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้คงอยู่คู่กับความสะดวกสบายของรถเข็นและรถเข็นไฟฟ้า ทั้งนี้ผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้าสามารถได้รับประโยชน์มากมายจากการออกกำลังแบบแอโรบิค

การออกกำลังแบบแอโรบิกส์จะช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ทำให้มีออกซิเจนไหลเวียนในกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้น การออกกำลังแบบแอโรบิกส์เป็นประจำช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักและทำให้อารมณ์ แรงกำลัง และการไหลเวียนของเลือดดี ช่วยให้หัวใจและปอดทำงานได้อย่างดี

ท่าเก็บผลไม้

ยืดแขนขึ้นทีละข้าง เหมือนคุณกำลังเด็ดผลไม้จากต้นไม้สูง หายใจเข้าในขณะที่ยกแขนขึ้น และหายใจออกขณะยกแขนอีกข้างขึ้น เมื่อยกแขนขึ้น อย่าลืมแบบมือออกเพื่อเป็นการยืดนิ้ว ทำซ้ำทั้ง หมด 8 ครั้ง รวมทั้งหมด 3 ชุด โดยพัก 10 วินาทีระหว่างแต่ละชุด การออกกำลังท่านี้จะช่วยยืดเหยียดกระดูกสันหลัง ทั้งยังพัฒนาการไหลเวียนของเลือดและขอบเขตการเคลื่อนไหว

ท่าเดินสวนสนามบนเก้าอี้

ยกแขนข้างหนึ่งและขาด้านตรงข้ามขึ้น จากนั้นเปลี่ยนข้างประหนึ่งคุณกำลังเดินสวนสนาม คุณสามารถเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจด้วยการยกแขนและขาให้สูงขึ้น หากไม่สามารถออกแรงได้มาก คุณสามารถยกเฉพาะขาก็เพียงพอ ท่านี้เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาเหนือเข่า ช่วยให้ข้อต่อเข่ามั่นคงแข็งแรง บำรุงกล้ามเนือส่วนที่จำเป็นเพื่อการลุกจากเก้าอี้

ท่าพายเรือในเก้าอี้

ท่านี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเต้นหัวใจและการทำงานของปอดด้วยการออกกำลังกล้ามเนื้อไบเซป ไตรเซป หน้าอก และหลังส่วนบนจากท่าพายเรือ ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นไปด้านหน้าสูงระดับไหล่ จากนั้นเลื่อนมือเข้าหาหน้าอก ดึงข้อศอกไปทางด้านหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่ทำได้โดยไม่เกร็ง เริ่มหมุนข้อศอกเป็นวงกลมเหมือนท่าพายเรือ ทำทั้งหมด 3 ชุด ชุดละ 12 ครั้ง พักระหว่างแต่ละชุดโดยการหายใจ 4 ครั้ง

ออกกำลังกายมากและบ่อยแค่ไหนดี

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด พยายามตั้งเป้าหมายประจำสัปดาห์ให้ได้ 150 นาทีสำหรับการออกกำลังแบบแอโรบิกส์แบบปานกลาง หรือ 75 นาทีสำหรับการออกกำลังแบบเข้มข้น คุณสามารถแบ่งเป็นครั้งละ 10 นาที โดยพยายามกระจายให้ทั่วทั้งสัปดาห์ นอกจากนี้การยกน้ำหนักอย่างเบาจะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้นั่งรถเข็นเพราะการฝึกต่อแรงต้านจะช่วยสร้างความแข็งแรงทนทานให้กล้ามเนื้อ

การอุ่นเครื่องและการคลายกล้ามเนื้อ

คุณควรอุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังอย่างน้อย 5 นาที ใหนขณะที่เริ่มต้น ค่อยๆเพิ่มความเร็วและจังหวะของการเคลื่อนไหว การค่อยๆเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อจะช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ส่วนการคลายกล้ามเนื้อจะเป็นการค่อยๆลดอัตราการเคลื่อนไหวให้ช้าลง


[suffusion-widgets id=’6′]