รถเข็นและรถเข็นไฟฟ้ากับการออกกำลังกาย
บทความโดย อีไลฟ์
หลายๆท่านคงเข้าใจว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ใช้รถเข็นและรถเข็นไฟฟ้า แต่ในความเป็นจริงแล้วความเข้าใจผิดเช่นนี้อาจทำให้ชีวิตบนรถเข็นเป็นเรื่องน่าเบื่อ หดหู่ ซึมเศร้าและไม่กะปรี้กะเปร่า วันนี้อีไลฟ์จึงมีเคล็ดลับดีๆมาฝากผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้า รถเข็น รถเข็นไฟฟ้าพับได้ รถเข็นไฟฟ้าราคาถูกกัน ยิ่งถ้าได้ออกไปออกกำลังกายในสวนสารณะ บรรยากาศดีๆ สูดอากาสดชื่นคงจะดีไม่น้อย
- ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อบนรถเข็น รถเข็นไฟฟ้า และรถเข็นไฟฟ้าแบบพับได้
- เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
- กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
- คลายความเครียด
- ปรับปรุงท่านั่งให้ดูดีและถูกต้อง
- เพิ่มพลังและความแข็งแรง
- ลดปัญหากล้ามเนื้อและข้อยึด
เมื่อรู้เช่นนี้แล้วว่าการออกกำลังกายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อดีต่อผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นและรถเข็นไฟฟ้าทั้งวันขนาดไหน เรามาเริ่มออกกำลังกายกันเลยค่ะ
- เคล็ดลับการออกกำลังกายสำหรับผู้ใช้รถเข็นและรถเข็นไฟฟ้า
- ข้อสำคัญอันดับแรกคือควรปรึกษาคุณหมอประจำก่อนว่าสามารถออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อท่าต่างๆได้หรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้งานรถเข็น รถเข็นไฟฟ้า และรถเข็นฟ้าแบบพับได้แต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน โดยคำนึงถืงคำถามต่างๆต่อไปนี้เป็นต้น
- คุณสามารถออกกำลังกายได้บ่อยครั้งแค่ไหนต่อวัน ต่อสัปดาห์
- มีการออกกำลังกายท่าไหนหรือไม่ที่คุณควรจะหลีกเลี่ยงเป็นพิเศษ
- การออกกำลังประเภทไหนที่ควรทำ
- มียาตัวไหนหรือเปล่าที่อาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการออกกำลังกาย
- เมื่อได้รับการยืนยันจากคุณหมอแล้ว เราก็มาออกกำลังกาย และยืดเหยียดกล้ามเนื้อกันเถอะ นี่คือ 8 ท่วงท่าออกกำลังกายสำหรับผู้นั่งรถเข็นดังนี้
- ท่าที่ 1 จับข้อศอกซ้ายด้วยมือขวา แล้วค่อยๆดึงข้อศอกเข้าหาศีรษะจนรู้สึกว่ามีการยืดของกล้ามเนื้อไหล่หรือกล้ามเนื้อด้านหลังของแขนบน จากนั้นทำซ้ำด้วยข้อศอกอีกด้านหนึ่ง
- ท่าที่ 2 ต่อเนื่องมาจากท่าแรกสักเล็กน้อย ให้เริ่มด้วยการจับข้อศอกซ้ายด้วยมือขวาแล้วค่อยๆดึงข้อศอกเข้าหาศีรษะ จากนั้นเอียงตัวไปด้านข้างตั้งแต่ช่วงเอวเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อช่วงบนของลำตัว
- ท่าที่ 3 ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ โดยหงายฝ่ามือขึ้นฟ้า จากนั้นดันมือขึ้นด้านบนและด้านหลังเล็กน้อยให้พอรู้สึกถึงการยืดเหยียดกล้ามเนื้อช่วงแขน หัวไหล่ และหลังส่วนบน
- ท่าที่ 4 นั่งในท่าตรง สะโพกอยู่กับที่ในขณะที่หมุนช่วงลำตัวส่วนบนไปทางขวาและซ้าย สายตามองผ่านช่วงไหล่ออกไป การออกกังกายท่านี้จะช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนหลังและด้านข้างลำตัว
**ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง หน้าอก และหลังควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังท่านี้**
- ท่าที่ 5 ประสานนิ้วมือโดยหันฝ่ามือออกจากตัว และยืดแขนออกไปด้านหน้าขนานกับพื้น ความสูงระดับหัวไหล่ เพื่อยืดกล้ามเนื้อไหล่ กล้ามเนื้อหลังช่วงกลางและบน กล้ามเนื้อแขน มือ นิ้ว และข้อมือ
- ท่าที่ 6 ยกหัวไหล่ทั้งสองขึ้นถึงใบหู ค้างไว้ 5-8 วินาที จากนั้นค่อยๆปล่อยไหล่ลงในท่าสบาย ทำซ้ำอีกหลายครั้ง ท่านี้จะช่วยคลายความตึงกล้ามเนื้อช่วงคอและหัวไหล่แก่ผู้ที่ต้องใช้รถเข็น รถเข็นไฟฟ้า และรถเข็นไฟฟ้าพับได้ เป็นเวลานาน
- ท่าที่ 7 นั่งในท่าตรง จากนั้นเอียงศีรษะไปทางซ้ายขณะที่กดไหล่ขวาลง เพื่อช่วยยือกล้ามเนื้อช่วงลำคอด้านข้าง ทำซ้ำอีกครั้งโดยเอียงศีรษะไปทางตรงกันข้าม
- ท่าที่ 8 ประสานมือไว้ด้านหลังศีรษะ หัวไหล่กางออกข้างลำตัว ดึงสะบักเข้าหากัน ค้างไว้ 10 – 15 วินาที จากนั้นผ่อนคลายแล้วทำซ้ำอีกได้หลายครั้ง