fbpx

น้ำหนักเกิน 70 ควรนั่งรถวีลแชร์แบบไหน?

น้ำหนักเกิน 70 ควรนั่งรถวีลแชร์แบบไหน?

วีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วยในปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบหลายประเภท สิ่งสำคัญก่อนเลือกซื้อนอกจากคำนึงถึงประสิทธิภาพของวีลแชร์แล้ว สิ่งที่สำคัญรองลงมาคือการเลือกวีลแชร์ให้ตรงกับสรีระผู้ใช้งาน เพื่อการใช้งานที่ถนัดคล่องตัวและยังสร้างความปลอดภัยได้อีกด้วย สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 70 กิโลกรัม หรือผู้ที่มีสรีระอวบอ้วนในความรู้สึกของพี่ๆตอนนี้คิดอย่างไร? กับการเลือกวีลแชร์ให้ผู้ที่มีสรีสระอวบอ้วนกันบ้างคะ  ต้องเบาะหนากว้าง รับน้ำหนักได้เยอะ ล้อต้องใหญ่ เวลาใช้งานไม่ฝืดหรือสะดุด พี่ๆคิดถูกต้องแล้วค่ะแต่จริงๆแล้วยังมีทริคง่ายๆมาแนะนำด้วยค่ะ

 

วิธีเลือกรถเข็นสำหรับคนตัวใหญ่

  • ดูโครงสร้าง สามารถเป็นได้ทั้งเหล็กและอลูมิเนียมและควรมีความหนาอยู่ในระดับนึง ไม่แนะนำให้เลือกวีลแชร์ที่ดูโครสร้างโปร่งๆโล่งๆ
  • เบาะหนา นุ่ม กว้าง ควรมีความกว้างที่ 40 เซนติเมตรขึ้นไป 
  • ล้อ ควรเป็นล้อยางตันเพราะมีความหนาและทนทานกว่าล้อเติมลมปกติ เมื่อล้อมีความหนาดีก็จะทำให้การเคลื่อนที่สมูทขึ้น ไม่เกิดความหน่วง
  • ดูความสามารถในการรับน้ำหนักของวีลแชร์รุ่นนั้นๆ ไม่ควรฝืนใช้หากวีลแชร์คันนั้นไม่เหมาะกับเรา
  • ที่พักเท้าตั้งพอดีไม่เหลือช่องว่าง

โครงเป็นโครงกากบาท โครงแบบนี้สามารถรับน้ำหนักได้สมดุลดีกว่า และรู้สึกมั่นคงมากยิ่งขึ้น


ตรวจสอบขนาดต่างๆของวีลแชร์

1.ความกว้างของที่รองนั่ง ขนาดควรพอดีกับร่างกาย แนะให้เลือกรถเข็นที่มีเบาะกว้าง 40 เซนติเมตรขึ้นไป

วิธีการตรวจสอบ :

  • เลื่อนปลายนิ้วผ่านระหว่างด้านข้างของต้นขาผู้ใช้รถวีลแชร์กับขอบข้างรถวีลแชร์ นิ้วควรผ่านพอดีไม่แน่น
  • ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าด้านข้างรถวีลแชร์ไม่กดขาของผู้ใช้ ข้อนี้สำคัญมากกับผู้ที่ไม่สามารถรับรู้แรงกดใต้ขา (การรับรู้ผิดปกติ) เพราะอาจเกิดแรงที่ต้นขาจากด้านข้างทำให้เกิดแผลกดทับได้ 

2. ความลึกของที่นั่ง  ขนาดที่พอดี จะช่วยรองรับต้นขาและลดแรงกดใต้ปุ่มกระดูกรองนั่งป้องกันแผลกดทับ ถ้าที่รองนั่งยาวเกินไป ผู้ใช้จะไม่สามารถนั่งตัวตรงได้

วิธีการตรวจสอบ :

  • ให้ผู้ใช้งานนั่งวีลแชร์ในท่าตรง
  • เลื่อนมือระหว่างด้านหน้าของเบาะรองนั่งกับด้านหลังของเข่าผู้ใช้งานแล้วนับว่าสอดได้กี่นิ้ว – ปกติควรมีช่องว่างประมาณ 2 นิ้วมือ( 30 มม.) สำหรับคนที่ขายาวอาจมีช่องว่างขนาด 60 มม
  • เลื่อนมือลงตามแนวด้านหลังน่องและดูให้แน่ใจว่านิ้วไม่สัมผัสที่รองนั่งหรือเบาะรองนั่ง
  • ตรวจสอบสองข้าง
  • ถ้ามีความแตกต่างระหว่างข้างซ้ายกับขวาให้ใช้ค่าวัดขาที่สั้นกว่า

3.ความสูงของที่พักเท้า ต้นขาและเท้ามีการรองรับจากเบาะและที่พักเท้าโดยไม่มีช่องว่าง และที่วางเท้าควรเป็นแบบยกออกข้างได้เพราะนอกจากเพื่อความสะดวกในการใช้งานยังสามารถป้องกันเท้าบวมได้ เพราะมันจะมีแผ่นซัพพอร์ตหน่องติดตั้งไว้

วิธีการตรวจสอบ :

  • เลื่อนมือเข้าระหว่างต้นขากับเบาะรองนั่งควรมีแรงกดทับอย่างสม่ำเสมอและไม่มีช่องว่างระหว่างต้นขากับเบาะ
  • วางฝ่าเท้าบนที่พักเท้าได้พอดี โดยไม่มีช่องว่าง

4.ความสูงของพนักพิง ความสูงขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน สังเกตุได้จากตอนเคลื่อนไหว หัวไหล่จะเคลื่อนไหวได้ถนัดไม่ติดขัด

พนักพิงที่สูงถึงฐานบริเวณซี่โคร พนักพิงที่สูงถึงบริเวณสะบัก
เหมาะกับผู้ที่สามารถนั่งตัวตรงได้หรือยังทรงตัวได้ดี เหมาะกับผู้สูงอายุหรือมีโรคความเสื่อมต่างๆ ที่มีแนวโน้มเหนื่อยง่าย
สามารถเข็นรถด้วยตัวเองได้ นั่งตัวตรงได้ลำบาก
ต้องการอิสระในการเคลื่อนไหว ให้ความอิสระในการเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้บางส่วน สำหรับผู้ที่เข็นด้วยแมนนวล

วิธีการตรวจสอบ :

  • ถามผู้ใช้งานว่าสามารถพิงได้สบายหรือไม่
  • สังเกตุว่าลำตัวมีความสมดุลกับสะโพกหรือไม่
  • ผู้ใช้สามารถพิงและเข็นแบบแมนนวลได้ไม่ติดขัด

5. ตำแหน่งของล้อหลัง เมื่อจับที่วงล้อ ข้อศอกของผู้ใช้ควรงออยู่ในองศาที่เหมาะสม

วิธีการตรวจสอบ :

  • ข้อศอกควรงอ 90 องศา
  • ตรวจสอบล้อหลังว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและทรงตัวได้ดี 

แนะนำ “วีลแชร์” สำหรับผู้ที่มีสรีระใหญ่

หลัก ๆ แล้ววีลแชร์จะมีอยู่ 2 ประเภท นั่นคือ วีลแชร์แมนนวล และ วีลแชร์ไฟฟ้า โดยวีลแชร์แมนนวลจะต้องใช้แรงมือหมุน ทั้งนี้ราคาของวีลแชร์ประเภทนี้จะมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับวีลแชร์ไฟฟ้า ในขณะที่วีลแชร์ไฟฟ้าจะมีข้อดีอยู่ตรงที่ผู้ใช้งานสามารถบังคับวีลแชร์ให้เคลื่อนตัวง่าย ๆ ด้วยจอยสติ๊กนั้นเอง หลังจากที่ดูวิธีการวัดขนาดวีลแชร์กันไปแล้วนะคะ อีไลฟ์มีคัดรถเข็นวีลแชร์ที่เหมาะกับผู้ที่มีสรีระใหญ่หรือผู้ที่อวบอ้วนมาให้เลือกกันด้วย รถเข็นวีลแชร์วันนี้ที่อีไลฟ์เลือกมาทุกรุ่นสามารถพับเก็บได้ น้ำหนักเบา และสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 120-150 กิโลกรัม !!

แนะนำรถเข็นวีลแชร์สำหรับคนรูปร่างใหญ่

แนะนำรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าสำหรับคนรูปร่างใหญ่

เพิ่มเติม

  • ตรวจบริการหลังการขายก่อนสั่งซื้อ
  • ศูนย์ซ่อมอยู่ในประเทศไทย
  • หากมีโอกาสควรทดลองสินค้าก่อน
  • สอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน