fbpx

เตียงไฟฟ้า กับการดูแลผู้ป่วย STROKE

เตียงไฟฟ้า กับการดูแลผู้ป่วย STROKE

โรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke เกิดจากภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือด ที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือด อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ กลายเป็น ” โรคเลือดสมองตีบตัน “

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น โรคต่างๆ ก็รุมเร้าเข้ามา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่เมื่อมีอายุมากขึ้น ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นมาได้ แต่วันนี้…เราจะมาพูดถึงโรค ที่พบบ่อยสำหรับในวัยกลางคน ก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้ นั่นก็คือ Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ส่วนหนึ่งนั้นโรคนี้เกิดมาจากการที่มีโรคความดันเป็นเดิมอยู่แล้ว แล้วมีการทำงานหนัก หักโหม มีเรื่องเครียดอยู่ตลอดเวลา และใช้สมองอย่างหนัก จึงทำให้เกิดภาวะ Stroke ได้นั่นเอง

อาการเบื้องต้นที่พบได้บ่อยของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เช่น ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน มีอาการชาครึ่งซีก อ่อนแรงและหน้าเบี้ยว หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย พูดลำบาก หรือฟังไม่เข้าใจ เวียนศรีษะ การทรงตัวไม่ดี เดินเซ กลืนลำบาก ปวดศีรษะ (บางครั้งอาจจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง) ซึ่งอาจจะแสดงอาการออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือมีอาการหลายอย่างพร้อมกัน ส่วนใหญ่โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน มักเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังสร้างสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาและวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ถ้าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ได้รับการรักษาอย่างทันเวลาจะมีโอกาสสามารถกลับคืนมาเป็นปกติได้

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ที่เราสามารถสังเกตได้หลักๆ มี 5 สัญญาณเตือนสำคัญดังนี้
1. ชาหรืออ่อนแรงใบหน้าซีกใด ซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน ทำให้มุมปากตก ปากเบี้ยว อมน้ำไม่อยู่ น้ำไหลออกจากมุมปาก
2. ชาหรืออ่อนแรงที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน สูญเสียการทรงตัว
3. พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน นึกคำพูดไม่ออก และมีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง
4. การมองเห็นมีปัญหาฉับพลัย อาจมองเห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพครึ่งเดียว ตาบอดหนึ่งหรือสองข้าง
5. มีอาการปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน

Fast Stroke 
Fast Stroke คือ อีกหนึ่งวิธีในการสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิดว่ามีอาการของโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ โดยให้สังเกตอาการ ‘ F.A.S.T ‘ ดังนี้

  • F – Face : ใบหน้า
    อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว น้ำลายไหลออกจากมุมปากข้างที่ตก
  • A   Arm : แขน
    อาการอ่อนแรงของแขน ขา ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  • S  Speak : การพูด
    การพูดลำบาก พูดติดๆ ขัดๆ พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก
  • T  Time : เวลา
    รู้เวลาที่เกิดอาการผิดปกติ คือรู้ว่าเริ่มมีอาการเป็นเวลาเท่าไหร่นับจากที่มีอาการผิดปกติ หรือนับจากเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการปกติเป็นครั้งสุดท้าย และควรรีบมาโรงพยาบาลให้ทันภายใน 4.5 ชั่วโมง เนื่องจากในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสฟื้นตัวจากความพิการได้

โรคหลอดเลือดสมอง Stroke อัมพฤกษ์ อัมพาต

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

1. ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 2-4 เท่า ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะได้ง่ายดาย
2. เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ ทำให้หลอดเลือดแข็ง ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้นและมีการอุดตัน ซึ่งทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ
3. การมีภาวะที่เกิดจากความอ้วน เป็นสาเหตุใให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งจะรวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานด้วย การควบคุมค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index , BMI) ให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 เป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ
4. ไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบคัน จากผนังเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น  เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อย ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองขาดเลือด การตรวจเลือดเพื่อประเมินระดับไขมัน ได้แก่
– คอเลสเตอรอล (Total Cholesterol) เป็นผลรวมของไขมันคอเลสเตอรอลทั้งดีและไม่ดี แต่คอลเลสเตอรอลรวมที่สูงกว่า 200 มก./ดล. มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
– ไขมันชนิด แอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL หรือ Low Density Lipoprotein Cholesterol) เป็นคอลเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและหลอดเลือดอุดตัน
– ไขมันชนิด เอชดีแอล คอเลสเตอรอล (HDL หรือ Hight Density Lipoprotein Cholesterol) อาจเรียกว่าไขมันดี ไขมัน HDL-Cholesterol เพิ่มขึ้นได้จากการออกกำลังกาย
– ไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyeerode) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การควบคุมไม่ให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง โดยงดอาหารจำพวกแป้งและของหวาน
5. การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
– การสูบบุหรี่ เป็นตัวการที่เร่งให้การเกิดการอุดตันของหลอดเลือดสมอง คือทำให้ความข้นของเลือดเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดการหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
– การดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าการดื่มในปริมาณมาก จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดสมองแตก จะทำให้หลอดเลือดเปราะ หรือเลือดออกได้ง่าย
6. ความเข้มข้นของเลือด ถ้ามีฮีโมโกลบิน สูงกว่าปกติ ก็มีโอกาสทำให้ เลือดหนืดรวมตัวเป็นลิ่มเลือดไปอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือด
7. การมีโรคหัวใจเต้นไม่ตรงจังหวะ ชนิด Atrial Fibrillation หรือ เอเอฟ (AF) พบว่าการมีเอเอฟ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้นถึง 5 เท่า โดยจะมีลิ่มเลือดหลุดจากหัวใจไปอุดตันยังหลอดเลือดสมอง การตรวจเบื้องต้นโดยการจับชีพจร จะพบว่าชีพจรแต่ละครั้งมีความแรงไม่เท่ากันและมีจังหวะไม่สม่ำเสมอ ถ้าจะให้แน่ชัดต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือคลื่นอีเคจี  (EKG)
8. ยาหรืออาหารเสริมบางชนิด มีฤทธิ์เสริมกับยาที่ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้มีเลือดออกได้ง่าย เช่น ยากลุ่มน้ำมันปลา สารสกัดจากใบแปะก๊วย สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับเป็นความดันโลหิต
9. อายุที่มากขึ้น มีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด
10. การดำเนินชีวิต บุคคลที่ดำเนินชีวิตด้วยความเครียด

คลิก STROKE โรคหลอดเลือดสมอง สัญญาณเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น Stroke ที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาล เมื่อมีอาการของโรคที่คงที่หรือทรงตัวแล้วนั้น แพทย์จะให้กลับไปดูแลรักทำกายภาพที่บ้าน ดังนั้นญาติผู้ป่วยและแพทย์ควรปรึกษากันว่าจะดูแลผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาลอย่างไร โดยมีวิธีการเตรียมดังนี้

การเตรียมที่อยู่ที่ปลอดภัย เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็น Stroke หลังออกจากโรงพยาบาลร่างกายยังไม่แข็งแรงพอ จึงจำเป็นต้องเตรียมสถานที่เพื่อความปลอดภัยและส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูสภาพ โดยดำเนินการไปอย่างรวดเร็ว โดยต้องจัดเตรียมดังต่อไปนี้

  • ห้องนอน ควรจัดห้องนอน ห้องน้ำ และห้องอาหารโดยให้อยู่ในชั้นเดียวกัน เพื่อผู้ป่วยจะสามารถเดินช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด
  •  เตียง ผู้ป่วยที่ยังช่วยตัวเองยังไม่ดีมากนัก หรือยังรับประทานอาหารเองไม่ได้ ควรใช้เตียงปรับระดับไฟฟ้าที่ลักษณะการใช้งานเหมือนกับในโรงพยาบาล พื้นเตียงและโครงสร้างดีไซน์ควรจะเป็นไม้ สามารถปรับหัวเตียว และมีราวสำหรับให้ผู้ป่วยจับยึด เพื่อเคลื่อนไหว หรือมีบาร์พยุงโหนตัวเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกายได้ง่าย และเตียงควรมีความสูงที่พอเหมาะที่จะดูแลผู้ป่วยได้ง่าย ผู้ป่วยสามารถนั่งที่ขอบเตียงโดยเท้าแตะพื้นได้ด้วย โดยเตียงที่นิยมใช้กันในบ้านส่วนใหญ่ จะเป็นเตียงที่ดีไซน์ทำจากไม้ เป้นความรู้สึกที่นอนอยู่บ้าน ไม่เป็นคนป่วย สามารถปรับฟังก์ชั่นการใช้งานได้เหมือนกับเตียงโรงพยาบาล และที่สำคัญถูกออกแบบมาให้สามารถทำกายภาพบำบัดบนเตียงได้อีกด้วย
  • หากผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวด้วยตัวเองได้ อาจจะต้องมีความจำเป็นในการใช้ที่นอนลมเพื่อป้องกันแผลกดทับ
  • ไม่ควรมีของตกแต่งชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย เพราะผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยอาจจะทำตกแตกได้
  • ควรติดราวในห้องน้ำ และทางเดินเพื่อให้ผู้ป่วยจับยึดเวลาเดิน
  • เรื่องแสงสว่างในห้องจะต้องเพียงพอต่อการมองเห็นของผู้ป่วย
  • ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยอาจจะสะดุดล้มได้

– การเตรียมเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ผู้ป่วยที่ยังไม่แข็งแรง เดินด้วยตัวเองไม่คล่อง อาจจะจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้อำนวยความสะดวกดังนี้

  • ห้องนอน ต้องมีพื้นที่ข้างเตียง ห้องนอนควรเผื่อพื้นที่ด้านข้าง 90cm สำหรับ Wheelchair และ ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือได้ เช่นการอุ้ม คนชรา, การป้อนอาหาร หรือ ดูแลทำความสะอาด ห้องนอนกับห้องน้ำควรอยู่ติดกันไม่มีควรออกแบบให้ไม่มีธรณีกั้นระห่างห้องทั้งสอง ลดการสะดุดล้ม และสามารถใช้ Wheelchair เข้าไปในห้องน้ำได้เลย

  • เตียงนอน ควรเป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถปรับได้ด้วยรีโมทหรือระบบไฟฟ้า ที่มีโครงสร้างแข็งแรง และจุดที่กระจายน้ำหนักได้ดี สามารถรองรับน้ำหนักได้เยอะ เตียงไฟฟ้าควรเลือกที่มีลักษณะเหมือนกับเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เลือกเตียงที่ดีไซน์ทำจากไม้ สวยงาม มองแล้วไม่รู้สึกว่าเป็นเตียงสำหรับผู้ป่วย เพราะสภาพจิตใจของผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย โดยเตียงไฟฟ้าที่คนนิยมและเลือกใช้งานกันอย่างเป็นอย่างมาก จะมีด้วยกันดังนี้

    เตียงปรับไฟฟ้า รุ่น EB-35 เป็นเตียงปรับไฟฟ้าที่สามารถปรับได้ 3 ไกร์ 6 ปุ่มฟังก์ชั่น ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับผู้ป่วย , ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อเข่าเสื่อม มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เตียงที่ดีไซน์ทำจากไม้ จะช่วยลดความเครียดให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่จำเป็นจะต้องนอนเตียงไฟฟ้าเป็นเวลานานๆ ตัวผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถกดปรับระดับด้วยรีโมท เพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ต้องพืึ่งพาคนดูแล และยังช่วยให้ผู้ดูแลได้สะดวกสบายมากขึ้นด้วย รุ่นนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ยังพอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างนิดหน่อย ไม่ต้องมีคนดูแล ต้องการที่จะช่วยเหลือตัวเอง รุ่นนี้เป็นอีกรุ่นที่แนะนำเลยค่ะ

  •  เตียงอยู่ในท่านอนราบปกติ
  • ไกร์ที่ 1 ปรับพนักพิงสำหรับท่านั่งได้สูงสุด 70 องศา ไกร์นี้มีไว้สำหรับให้ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ นั่งทานข้าว อ่านหนังสือ พูดคุย ดูทีวี
  • ไกร์ที่ 2 ปรับชันเข่าหรือที่วางเท้าได้สูงสุด 30 องศา ไกร์นี้มีไว้สำหรับเปลี่ยนท่าสำหรับผู้ที่มีแผลกดทับและชันเข่าเพื่อระบบหมุนเวียนเลือด
  • ไกร์ที่ 3 ปรับส่วนพนักพิงและชันเข่าพร้อมกัน
  • ระดับสูง-ต่ำ สามารถปรับได้ด้วยระบบแมนนวล

    เตียงปรับไฟฟ้า รุ่น EB-55 เป็นเตียงไฟฟ้าที่สามารถปรับได้ 5 ไกร์ 10 ฟังก์ชั่น มาพร้อมกันทั้งหมด 11 ปุ่ม ที่เพิ่มมาคือปุ่ม CPR เป็นปุ่มที่กดเพียงปุ่มเดียวก็สามารถปรับมาในท่านอนราบมาตรฐานได้ด้วย ความพิเศษของเตียงไฟฟ้ารุ่นนี้ จะสามารถปรับฟังก์ชั่นได้ค่อนข้างเยอะ  มีมอเตอร์ทั้งหมด 4 ตัว คุณภาพมอเตอร์เป็นแบรนด์ดังจากประเทศเยอรมัน Dewert Okin ได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศเยอรมัน และมีการนำไปใช้กับอุปกรณ์การแพทย์อื่นๆ อีกด้วย โครงสร้างของเตียงไฟฟ้ารุ่นนี้ผลิตจากคาร์บอนสตีลอย่างดี ด้านนอกกรุด้วยไม้จริงทั้งหมด โครงสร้างมีความหนาและแข็งแรง มีล้อ 4 ล้อ  สามารถกระจายน้ำหนักได้ดี ล้อสามารถล็อคได้ ตัวเตียงปรับไฟฟ้าสามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 220 กิโลกรัม สามารถใช้แทนเตียงนอนทั่วไปได้เลย รุ่นนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ยังดูแลตัวเองได้ หรือต้องมีคนดูแล เพราะรุ่นนี้สามารถปรับระดับสูง-ต่ำ ด้วยรีโมทแบบไฟฟ้าได้  ดังนั้นผู้ใช้งานก็สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ด้วย


  • Function ที่ 1 (มอเตอร์ 1 ทำงาน) ปรับระดับเอียงหลังขึ้น-ราบ การปรับระดับในฟังก์ชั่นนี้เพื่อปรับให้ผู้นอนลุกขึ้นนั่ง เช่น เพื่อป้อนอาหาร, ดื่นน้ำ กินยา, อ่านหนังสือ, พูดคุย
  • Function ที่ 2 (มอเตอร์ 2 ทำงาน) ชันเข่าขึ้น-ราบ การปรับระดับในฟังก์ชั่นนี้เพื่อเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ ท่าทางผู้นอน เช่น เปลี่ยนท่าเพื่อป้องกันแผลกดทับ, ชันเข่าเพื่อการหมุนเวียนของเลือดเป็นต้น
  • Function ที่ 3 (มอเตอร์ 1-2 ทำงาน) ปรับระดับหลัง-ชันเข่า เป็นการปรับระดับใน Function ที่ 1-2 พร้อมๆกัน เพื่อเปลี่ยนท่าท่างของผู้นอน กรณีที่ผู้นอนขยับตัวลำบาก เป็นการปรับท่าทาง เพื่อทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  • Function ที่ 4 (มอเตอร์ 3-4 ทำงาน) ปรับความสูงของเตียง ตัวเตียงสามารถปรับให้ต่ำสุดที่ 38cm วัดจากพื้นถึงตัวเตียง (ในกรณีเบาะมีความหนา 10cm) ระยะต่ำสุดจากพื้น-เบาะอยู่ประมาณ 48cm เนื่องจากเตียงปรับได้ค่อนข้างต่ำ ทำให้สะดวกในการขึ้นเตียงจากรถเข็นวีลแชร์ หรือ ให้คนค่อยพยุง// Max Height หรือ ความสูงสุดที่เตียงทำได้คือ 81cm การปรับเตียงให้สูงนี้เพื่อความสะดวกกับผู้ดูแล สามารถดูแลผู้นอนได้ไม่ต้องก้ม เช่นการ ช่วยเปลี่ยนเสื้อผ้า, ทำความสะอาด, การนวดการพลิกร่างกาย, การป้อนอาหาร
  • Function ที่ 5 (มอเตอร์ 3-4 ทำงาน) ปรับตัวเตียงให้เอียงหน้า หรือ หลัง อันนี้มีประโยชน์กับผู้นอนเอง และ ผู้ดูแล / ผู้นอนเองสามารถปรับ ตัวขึ้นเพื่อดูหนังสือ, ดูทีวี และ พูดคุยกับคนที่มาเยี่ยม การเอียงเตียงยังช่วยในเรื่องการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ได้หลากหลายมากขึ้นป้องกันแผลกดทับได้อีกส่วนหนึ่ง (กรณีที่เตียงเอนราบตลอด นน.ร่างกายจะกดทบที่ส่วนก้น การเปลี่ยนท่าเป็นเอียงจะช่วยเรื่องกดทับนี้) / ผู้ดูแลสามารถจัดท่าทางง่ายขึ้น เช่นการเปลี่ยนเสื้อผ้าให้คนนอน
  • กับผู้ใช้เตียงเอง สามารถปรับเตียงให้อยู่ในระดับที่เหมาะในการทำกิจกรรม เช่น ปรับเตียงเอียงไปข้างหน้าเพื่อดูโทรทัศน์ หรือ พูดคุยกันคนอื่น, ปรับทางท่าต่างๆ เพื่อบริหารร่างกาย หรือ ป้องกันแผลกดทับ, สามารถช่วยเหลือตัวเอง ขึ้นลงเตียงได้ง่ายมากขึ้น (หากขึ้นเตียงจากเก้าอี้-วีลแชร์ก็เลื่อนเตียงลงมาระดับต่ำสุด, หากขึ้นเตียงจากท่ายืนก็สามารถปรับเตียงให้สูงขึ้นเพื่อให้นั่นเตียงได้สะดวกมากขึ้น)
  • กับผู้ดูแล ร่างกายคนเราสูงไม่เท่ากัน คนดูแลสามารถปรับความสูงให้พอเหมาะในการดูแล (ปรับให้สูงขึ้นไม่ต้องก้มดูแล ปวดหลัง) เช่นการป้อนอาหาร, การเปลี่ยนท่าทาง, การเปลี่ยนเสื้อผ้า ทำความสะอาดร่างกาย

 

” โดยปกติเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป ที่ทำจากไม้ จะเป็นราวกั้นไม้ทั้ง 2 ฝั่ง เมื่อเอาราวกั้นขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ด้านแล้ว จะให้อารมณ์เหมือนกับเป็นเปลเด็ก หรือคอกเด็ก อาจจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกอึดอัด ดังนั้น Elife จึงได้พัฒนารูปแบบเตียงเพิ่มขึ้น ให้มีความทันสมัย น่าใช้งาน จึงมีรูปแบบราวกั้นให้เลือกทั้งหมด 3 แบบ สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งกับรุ่น EB-35 และ EB-55 ดังรูปภาพนี้ “

เซตราวกั้นเตียง

  • ราวไม้+ราวอลูมิเนียม กั้น 2 ตอน (เพิ่มเงิน 8,000 บาท)
  • ราวไม้ 2 ฝั่ง
  • ราวไม้+ราวเหล็ก กั้น 1 ตอน

” เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า หรือเตียงเพื่อสุขภาพ จะช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็น Stroke ฝึกการกดรีโมทเพื่อปรับท่านอน และสามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้เบื้องต้น แต่ปัจจัยหลักสำคัญของการเตรียมเตียงนอน จะให้ประโยชน์สำหรับคนดูแลอีกด้วย เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่ผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็น Stroke ก็จะอยู่ในช่วงวัย 40-50 ปีไปแล้ว ดังนั้นการจะยกผู้ป่วยขึ้นจากเตียงโดยใช้แรง ถือว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยทีเดียว ดังนั้นเตียงปรับระดับไฟฟ้า จะช่วยทุ่นแรงให้กับผู้ดูแลได้ง่ายมากขึ้น ทั้งการปรับระดับสูง-ต่ำเอง ก็ช่วยในเรื่องของการก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ ดังนั้นประโยชน์ของเตียงไฟฟ้า เอื้อประโยชน์ให้ทั้งกับตัวผู้ป่วยเอง และผู้ดูแลอีกด้วย “

คลิก เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า3ไกร์ต่างกับ5ไกร์อย่างไร?

  • ที่นอน

จะต้องเป็นที่นอนที่แน่น ไม่นุ่ม หรือแข็งจนเกินไป ผ้าปูที่นอนต้องขึงตึง ไม่มีรอยย่นหรือรอยพับ เพื่อกันไม่ให้เกิดการถูไถกับผิวหนังผู้ป่วย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดแผลกดทับได้

  • Walker หรือ Rolator Walker

เป็นลักษณะมี 4 ล้อ ใช้เพื่อออกกำลังกาย การกายภาพบำบัด เพื่อการเดินประคองตัวเอง ให้หัดช่วยเหลือตัวเองและฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายได้อีกด้วยรถเข็นช่วยเดิน

  • รถเข็นช่วยเดินรุ่น Ew-21 หรือเรียกอีกอย่างว่า Rolator walker เป็น Walker ที่มีล้อ โครงสร้างของรุ่นนี้เป็นวัสดุที่ทำจากอลูมิเนียมน้ำหนัก เบาเพียง 7.8 กิโลกรัม วัสดุหนาแน่น ไม่ก่อให้เกิดสนิมทำให้ลดการผุ กร่อน ของโครงสร้างรถ จึงช่วยยืดระยะเวลาในการใช้งาน โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการช่วยออกกำลังกาย ฝึกการเดินให้กับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ  และนอกจากจะเป็นรถช่วยเดินที่ใช้แทนไม้เท้าได้แล้ว ยังสามารถใช้เป็นรถเข็นสำหรับกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้อีกด้วยEW-21 สามารถปรับระดับสูง-ต่ำของมือจับได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน ลดอาการบาดเจ็บจากการโค้งงอหลังและสามารถใช้นั่งพักชั่วคราวมีเบาะนั่งเนื้อผ้า หนา กว้าง 46 เซนติเมตร รับน้ำหนักผู้ใช้งานได้สูงสุดถึง 136 กิโลกรัม มีระบบเบรคทั้งสองข้าง สามารถกำเบรคเพื่อชะลอความเร็ว และเบรคล็อคค้างในขณะนั่งพักเหนื่อย
    แต่รถเข็นช่วยเดินรุ่น ew-21 จะไม่สามารถนั่งและให้ผู้อื่นเข็นให้ได้ เนื่องจากดีไซน์และรูปลักษณ์ถูกออกแบบมาให้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเดิน เพราะถ้าหากว่ารถเข็นช่วยเดินที่สามารถทั้งพยุงเดินได้ และนั่งให้ผู้อื่นเข็นให้ได้ ผู้ป่วยจะไม่ฝึกหัดเดิน อาจจะทำให้กลายเป็นผู้ป่วยที่ติดรถเข็นนั่งไปเลยก็เป็นได้

คลิก ผู้สูงอายุใช้รถเข็นช่วยเดิน(Rollator)ดีกว่าใช้ไม้เท้าอย่างไร ?

” สามารถพับเก็บไม่ซับซ้อน พกพาง่าย “
หลายๆ ท่านยังไม่ทราบว่า นอกจากรถเข็นช่วยพยุงเดินสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้งานในบ้านได้แล้ว Ew-21 มีน้ำหนักเบาเพียง 7.8 กก. ข้อดีของรุ่นนี้คือสามารถพับเก็บได้เล็กกระทัดรัด ไม่ยุ่งยาก พับเก็บง่าย และพกพาใส่ท้ายรถยนต์เพื่อนำไปใช้นอกบ้านได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะก็ใช้งานได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับทำกายภาพให้กับผู้ป่วย และฝึกการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุได้อีกด้วย 

ขนาดล้อทั้ง 4 ล้อมีขนาดที่เท่ากัน เป็นล้อยางตันไม่ต้องเติมลม ดังนั้นสามารถใช้ได้ในพื้นถนนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผิวราบเรียบ กระเบื้อง ถนนคอนกรีต หรือแม้กระทั่งถนนที่มีผิวขรุขระ ไม่ต้องกังวลเลยว่าล้อจะรั่วหรือไม่ โดยปกติแล้ว ล้อยางตันจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เสื่อมสภาพช้า และหมดปัญหาการดูแลที่จุกจิก ในส่วนของการปรับระดับมือจับ สามารถปรับระดับมือจับได้ทั้งหมด 6 ระดับ สามารถปรับได้ตามความถนัดของผู้ป่วย หรือผู้ใช้งาน เวลาฝึกหัดเดินนานๆ จะไม่รู้ว่าเมื่อยเนื้อ ปวดตัว เพราะระดับมือจับในการเข็นอยู่ในระดับที่พอดี ไหล่ไม่ตก หรือไม่ยกขึ้นสูง จะช่วยในเรื่องของอาการปวดเมื่อยได้ดียิ่งขึ้น  

 

  • braces อุปกรณ์ให้ข้อเท้า และเท้าอยู่ในตำแหน่งที่เดินได้

  • Wheelchair รถเข็นสำหรับผู้ป่วยที่เดินไม่ได้

การเลือกรถเข็นวีลแชร์สำหรับผู้ป่วย Stroke หรือผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะรถเข็นวีลแชร์จะต้องเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนย้าย หรือใช้เดินทางออกไปข้างนอกสำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เบื้องต้น จะต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ประเภทแมนนวลที่ให้ผู้อื่นเป็นผู้เข็นให้ โดยหลักการการเลือกรถเข็นวีลแชร์จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และขึ้นอยู่กับผู้ดูแลด้วย แต่อยากแนะนำว่ารถเข็นวีลแชร์คุณภาพดี ที่ต้องเลือกใช้งานนั้น จะเน้นให้เลือกใช้รถที่โครงสร้างผลิตจากอลูมิเนียม หรืออลูมิเนียมอัลลอยด์ เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ขึ้นสนิม สามารถรองรับน้ำหนักได้เยอะ ในส่วนของรถเข็น Elife ที่เราเลือกมา เราคัดสรรแต่รถเข็นคุณภาพดี ราคาประหยัด โดยจะมีแนะนำอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 รุ่นดังนี้

     Ew-11                               Ew-11plus                             Ew-112                               Ew-120plus                           Ew-116

คลิก เลือกรถเข็นอย่างไรให้ประหยัดเงินในกระเป๋า ??

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-11 จะเป็นรุ่นที่น้ำหนักเบาที่สุด เป็นรุ่นที่คนดูแลสามารถพกพาได้อย่างสะดวกสบาย เพราะมีน้ำหนักเบาเพียง 6.7 กก. โครงสร้างรถเข็นทำจากอลูมิเนียมเกรดพรีเมี่ยมอย่างดี รับน้ำหนักผู้นั่งได้สูงถึง 90 กก. ส่วนใหญ่ที่คนนิยมใช้รุ่นนี้เพื่อพกพาเดินทางโดยสารโดยเครื่องบิน เพราะเป็นรุ่นที่สามารถพับเก็บได้เล็ก กระทัดรัด นิยมเป็นอย่างมากที่พกพาใส่ท้ายรถที่มีพื้นที่อย่างจำกัด อย่างรถขนส่งสาธารณะแท็กซี่ เป็นต้น ถ้าหากให้แนะนำสำหรับผู้ที่สมควรเลือกใช้รุ่นนี้ จะแนะนำน้ำหนักผู้นั่งไม่เกิน 60 กก. จะนั่งสบายมากค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-11plus เป็นรุ่นที่พัฒนามาจากรุ่น Ew-11 มีขนาดเบาะกว้างกว่า เหมาะสำหรับคนที่สะโพกใหญ่ นั่งได้เต็ม ก้นไม่ล้นออกมาจากเบาะ รุ่นนี้น้ำหนักรถเข็นเบาเพียง 7.8 กก. โครงสร้างทำจากวัสดุประเภทเดียวกับรุ่น Ew-11 รับน้ำหนักผู้นั่งสูงสุดได้ 110-120 กก. นิยมใช้พกพาใส่ท้าย สะดวกคนดูแลมากๆ เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-112 รุ่นนี้ถือเป็นอีกรุ่นที่ลูกค้านิยมใช้ เพราะลักษณะรูปทรงคล้ายกับเก้าอี้นั่งมากกว่ารถเข็นวีลแชร์ เบาะนั่งสบาย และที่สำคัญ รุ่นนี้มีล้อเล็กกันหงายหลังอีกด้วย วัสดุที่ใช้ผลิตโครงสร้างรถเข็นวีลแชร์รุ่นนี้ เป็นอลูมิเนียมเกรด 7003 มีน้ำหนักเบา 9 กก. สามารถรองรับน้ำหนักผู้นั่งได้ถึง 120 กก. ถ้าเน้นนั่งสบายต้องรุ่นนี้เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-116 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่เบาะค่อนข้างกว้าง จะนั่งสบายสำหรับคนที่มีสรีระใหญ่ หรือมีพุง รุ่นนี้วัสดุทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ น้ำหนักรถเข็น 13 กก. รุ่นนี้เป็นรุ่นที่น้ำหนักค่อนข้างเยอะ แต่ราคาถูก ถ้าหากผู้ติดตาม หรือผู้ดูแล สามารถยกขึ้นรถไหว ตัวนี้เป็นอีกตัวที่น่าใช้งานมากๆ เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-120plus รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ดีไซน์สวย แข็งแรง น้ำหนักรถเข็น 11 กก. น่าใช้งานที่สุด รับน้ำหนักได้สูงสุด 120 กก. เหมาะสำหรับคนที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เพราะล้อหลังมีขนาด 20 นิ้ว เป็นล้อใหญ่ มีด้ามจับล้อที่ทำจากอลูมิเนียม เพื่อใช้แขนออกแรงหมุน และเคลื่อนที่ได้ โดยไม่ต้องรอให้ผู้อื่นมาเข็นให้ ข้อดีของรุ่นนี้ มีเบรคล็อคล้อ 2 ตำแหน่ง คือล็อคจากมือจับเข็น และล็อคได้จากล้อหลัง ถือว่าเป็นรุ่นที่สะดวกสบายค่ะ แต่ถ้าหากผู้ดูแลเป็นผู้หญิง เวลาพับเก็บใส่ท้ายรถ ถือว่าค่อนข้างยากค่ะ

แต่เมื่อผู้ป่วยที่เป็น Stroke อาการเริ่มดีขึ้นหลังจากทำกายภาพบำบัดแล้ว จะพอสามารถเคลื่อนไหว หยิบจับสิ่งของช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่ถึงขั้นสามารถเดินไกลๆ ได้ด้วยตัวเอง แต่ชอบและรักอิสระ ที่อยากจะไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้ ก็มักจะเลือกใช้รถเข็นไฟฟ้า หรือเก้าอี้ไฟฟ้า เนื่องจากรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้คนดูแลมาช่วยเข็น ก็สามารถไปตามที่ต่างๆเองได้ ไม่ชอบเป็นภาระผู้อื่น อีกทั้งหากให้ผู้ป่วยใช้งานรถเข็นไฟฟ้าแล้ว สภาพจิตใจของผู้ป่วยเองก็อาจจะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้ป่วยไม่เครียด และรู้สึกว่าตัวเองเป็นอิสระ สามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง 

  ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญที่ต้องช่วยกันดูแล

” เน้นใช้งานในบ้านหรือบริเวณบ้าน “ เบื้องต้นให้สำรวจความต้องการของผู้ใช้งานและผู้ดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้พิการเป็นหลักที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน บางคนต้องการรถเข็นไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบริเวณบ้าน ไม่ต้องมีการยกหรือเคลื่อนย้าย สามารถเลือกซื้อรถเข็นไฟฟ้าที่มีน้ำหนักเยอะได้ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้งานนอกบ้านบ่อยๆ ราคาก็จะประหยัดลง ช่วยให้เซฟเงินในกระเป๋าได้เยอะ เนื่องจากโครงสร้างผลิตจากคาร์บอนสตีล และโครงสร้างทำจากอลูมิเนียม มีความเหนียว หนา แข็งแรง รับแรงกระแทกได้ดี


” เน้นนำไปใช้งานนอกสถานที่เป็นประจำ “  หากการใช้งานเน้นพกพา นำไปใช้นอกสถานที่ ต้องเลือกใช้งานรถเข็นไฟฟ้าที่มีน้ำหนักเบา คนยกจะได้สะดวกเพราะรถเข็นไฟฟ้าไม่หนักมาก และโครงสร้างรถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบาเป็นโครงสร้างเกรดพรีเมียม วัสดุมีน้ำหนักเบาแล้ว ยังสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี รถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบา รับน้ำหนักผู้นั่งได้สูงถึง 120 กก.  รถเข็นไฟฟ้าของ Elife มีสินค้าประเภทน้ำหนักเบาอยู่ด้วยกันทั้ง 3 รุ่นตามคำถามที่พบบ่อยในข้อ 1 ด้านบน มีดังนี้

คลิก Q&A คำถามสุดฮิตพิชิตข้อสงสัย (รถเข็นไฟฟ้า)

*ข้อแนะนำ : ไม่ควรเลือกรถเข็นไฟฟ้าที่มีที่นั่งขนาดใหญ่ให้กับผู้ใช้ที่มีขนาดตัวเล็กเพราะจะทำให้ในการใช้งานโดยเฉพาะเวลาขับขี่ตัวของผู้ใช้จะไม่กระชับกับที่นั่งซึ่งนั่นอาจทำให้ตัวของผู้ใช้โครงเครงในระหว่างที่ขับขี่เลี้ยวรถ หรือขับขี่บนทางขรุขระ ​และเนื่องจากรถเข็นไฟฟ้ารุ่นที่มีที่นั่งขนาดใหญ่นั้นก็จะมีคุณสมบัติที่สามารถรับน้ำหนักได้เยอะ และตัวโครงสร้างก็จะใหญ่และมี่น้ำหนักมากกว่ารถเข็นไฟฟ้าที่มีที่นั่งขนาดเล็ก ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าและโครงสร้างก็จะมีการออกแบบมาให้รับน้ำหนักของผู้นั่งได้มากตามขนาดของที่นั่งด้วย เช่นรถเข็นไฟฟ้าที่มีขนาดที่นั่งใหญ่ก็จะมักจะมีมอเตอร์ที่มีกำลังมากกว่ารถเข็นไฟฟ้าที่มีขนาดที่นั่งเล็ก และแบตเตอรี่ของรถเข็นไฟฟ้าที่มีที่นั่งขนาดใหญ่ก็จะมีแบตเตอรี่ที่มีความจุไฟมากกว่า

*ข้อแนะนำ : ผู้ใช้ควรสังเกตุสเปคของรถเข็นไฟฟ้าที่มีที่นั่งขนาดใหญ่ และขอให้แน่ใจว่ามีสเปค (เช่นโครงสร้าง กำลังมอเตอร์ และ ความจุแบตเตอรี่) จะต้องสูงกว่ารถเข็นไฟฟ้าที่มีที่นั่งขนาดเล็ก เนื่องจากรถเข็นไฟฟ้าที่มีที่นั่งขนาดใหญ่ ต้องรับน้ำหนักมากกว่า และนอกเหนือจากนั้น ลูกค้าบางท่านที่ต้องการใช้รถเข็นไฟฟ้าในที่แคบๆ เช่นในบ้าน โดยขับขี่เข้า-ออกประตูห้องต่างๆ ก็ควรเลือกรถเข็นไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของประตู (โดยปกติ ขนาดประตูห้องน้ำจะประมาณ 75ซม. ประตูห้องนอนจะประมาณ 80ซม.) หรือเหมาะสมกับขนาดของทาง หรือ ทางลาดที่ต้องใช้รถเข็นไฟฟ้าวิ่งผ่าน

การที่ให้ผู้ป่วย Stroke ใช้งานรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นมากขึ้น ได้ฝึกประสาทสัมผัสการรับรู้ ฝึกการโยกจอยสติ๊กก็เหมือนกันการกายภาพบำบัดไปในตัว และผู้ป่วยเองก็ยังสามารถใช้เคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้คนดูแลคอยเข็น ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ และที่สำคัญก็จะช่วยเบาแรงให้กับผู้ดูแลด้วยค่ะ

 

  • อุปกรณ์เสริมอื่น เช่น กระโถน ถาดอาหาร ฯลฯ