fbpx

เลือกเครื่องใช้อย่างไร?…ให้”ลดการเกิดออฟฟิศซินโดรม”

เลือกเครื่องใช้อย่างไร?…ให้”ลดการเกิดออฟฟิศซินโดรม”

ไม่ว่าตอนนี้ท่านกำลังทำงานอยู่ในออฟฟิศหรือกำลัง Work From Home อยู่ยังไงก็คงหนีไม่พ้น “โรคออฟฟิศซินโดรม” ที่เป็นอาการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานมีอาการเล็กน้อยไปจนทนเจ็บทรมาณรุนแรง…ดังนั้นในปัจจุบันตอนนี้มีอุปกรณ์เครื่องใช้มากมายที่คิดค้นมาสำหรับรองรับสรีระของมนุษย์ได้มากขึ้นเพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากท่านคลิกหาใน Google อาจจะมีให้เลือกจนตาลายและหน้าตาค่อนข้างที่จะเหมือนๆกัน วันนี้อีไลฟ์มีทริค “การเลือกเครื่องใช้อย่างไร?…ให้ลดการเกิดออฟฟิศซินโดรม” จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย…

  • จอคอมพิวเตอร์ (Monitor Riser)


การเลือกจอที่เหมาะสมอันดับแรกต้องคำนึงขนาดของจอนั้นพอดีเหมาะสมกับขนาดโต๊ะ ส่งผลเสียคือพื้นที่มีจำกัดทำให้นั่งใกล้จอคอมมากเกินไปและควรเลือกจอชนิด LCD เพื่อลดการสะท้อนของเงาและถนอมสายตา ที่สำคัญตำแหน่งที่วางสามารถวางได้ 5 แบบดังนี้

  1. Dual Center : เป็นวิธีที่วางหน้าจอมอนิเตอร์ทั้ง 2 ตัวเอาไว้ตรงหน้าให้รอยต่ออยู่ตรงกึ่งกลาง วิธีการนี้นิยมใช้สำหรับคนตัดต่อหนัง งานออกแบบ และเล่นเกม แต่ตัวมอนิเตอร์อาจจะต้องเลือกใช้ตัวที่มีขอบบางหรือไร้ขอบจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และต้องใช้พื้นที่บน Workspace มากในการจัดวาง  สำหรับคนที่ใช้เล่นเกมเป็นหลักอาจจะใช้เป็นจอโค้งจะช่วยเพิ่มมิติความสมจริงให้กับภาพ
  2. Center-Portrait : เป็นวิธีที่วางคอคอมพิวเตอร์ที่คล้ายคลึงกับ Dual-Center แต่มอนิเตอร์ตัวหนึ่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นแนวตั้งหรือ Portrait Mode เพื่อดูภาพในแนวตั้งนั่นเอง โดยเจ้ามอนิเตอร์แนวตั้งนี้จะเหมาะมากกับการอ่านหรือทำงานเอกสาร จัดหน้าหนังสือ แต่งภาพ/ทำคลิปที่ Portrait อ่านคอมเมนต์สำหรับ Streamer หรือใช้ดู Mobile Clip ที่มักจะถูกถ่ายมาแนวตั้งนั่นเอง ถือว่าเป็นการจัด Workspace และหน้าจอคอมเพื่อเน้นการใช้งานที่ยืดหยุ่นเป็นหลัก แถมยังประหยัดพื้นที่กว่า Dual-Center เล็กน้อย
  3. Center-Landscape : จะเน้นการใช้งานจอมอนิเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งเป็นหลัก โดยการวางหน้าจอคอมตัวหลักเอาไว้ด้านหน้าตัวเอง และวางอีกจอหนึ่งเฉียงเข้าหาตัวโดยแนะนำว่าให้วางเอาไว้ตรงข้ามมือที่เราจับเมาส์ จะทำให้ตำแหน่งของหน้าจอมอนิเตอร์เข้ากับหางตาของเราพอดี เหมาะจะใช้สำหรับมองข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อทำงานในหน้าจอหลัก เช่น ภาพอ้างอิงในงานออกแบบ โปรแกรมแชท โปรแกรมเล่นเพลงต่าง ๆ แต่แน่นอนว่า การวางหน้าจอแบบนี้จะกินพื้น Workspace มากขึ้นเล็กน้อย เพราะทรงของโต๊ะต้องเหมาะสมกับการวางจอด้วย
  4. Stacked Top : เป็นการเอาจอมอนิเตอร์ตัวที่ 2 ซ้อนขึ้นไปด้านบน จุดเด่นคือ ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะได้เป็นอย่างดี สามารถจัดโต๊ะได้ง่าย และดีต่อสุขภาพ เพราะวิธีวางจอมอนิเตอร์แบบนี้จะช่วยกำหนดท่านั่งให้หลังชนเบาะเพื่อจะมองจอทั้ง 2 ได้พร้อม ๆ กัน เมื่อใช้งานกับเก้าอี้ตัวใหญ่เช่นเก้าอี้Ergonimic  จะช่วยรองรับน้ำหนักบริเวณต้นคอ สามารถนั่งทำงานต่อเนื่องได้นาน เป็นที่นิยมสำหรับคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างหนักเช่นนักตัดต่อวีดีโอ หรือนักลงทุน
  5. Stacked Bottom : เป็นการวางมอนิเตอร์ตัวที่ 2 ซ้อนหน้าจอหลักบริเวณกันด้านล่าง จุดเด่นคือเป็นการจัดหน้าจอคอมที่ใช้งานสบาย เหมาะกับการใช้งานทุกรูปแบบ แต่ส่วนมากจะเป็นที่นิยมในผู้ทำงานออกแบบจำพวกกราฟฟิคดีไซน์ ที่จะมีการอแดปมาใช้งานกับจอทัชสกรีนเพื่อใช้งานกับเมาส์ปากกา หรือสำหรับงานอื่น ๆ ยังช่วยให้ควบคุมการสั่งการต่าง ๆ ด้วยมือได้สะดวก ติดแค่ขนาดจอล่างนั้นค่อนข้างจำกัด และกินพื้นที่ในการจัดวางเป็นอย่างมาก เพราะต้องใช้พื้นที่ระหว่างจอคอมและคีย์บอร์ดเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง

** ที่มีข้อมูลจาก : https://www.mercular.com/review-article/best-2-monitor-setup?lang=en **

  • เมาส์ขนาดพอดีลดตะคริว (Mouse)


ถือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องจับต้องอยู่ตลอดเวลาดังนั้นการเลือกเมาส์ควรเลือกตามฝั่งมือที่ถนัดมากที่สุด ต่อมาเลือกรูปร่างและขนาดพอดีกับฝ่ามือกำแล้วแน่นพอดี ไม่หลวมหรือแน่นเกินไป การเลือกขนาดพอดีมากที่สุดจะทำให้หยิบใช้คล่อง จับง่าย ทำงานได้รวดเร็วซัพพอร์ตมือของเราได้ดีมากสามารถการเกร็งตัวของนิ้วและตะคริว. และอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือแผ่นรองเมาส์เชื่อว่าหลายคนต้องทิ้งมือลงบนโต๊ะตรงเลยแน่นอน การทำแบบนี้อาจเกิดอาการปวดข้อมือและปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบได้ การใช้เมาส์ที่มีปุ่มหรือหมอนรองรับพยุงข้อมือให้ยกขึ้น จะช่วยขจัดจุดที่เกิดแรงกดและช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าข้อมือ ลดอาการบาดเจ็บสะสมได้เป็นอย่างดี

  • คีย์บอร์ด (Keyboard)


เลือกคีย์บอร์ดที่ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ให้มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานและมือของเรามากที่สุดและที่สำคัญคือตำแหน่งของคีย์บอร์ต้องวางให้ห่างจากจากมือและแขนสามารถตั้งทำมุม 90 องศาได้

  • เก้าอี้ที่สามารถรองรับหลังได้ดี (Ergonomic Chair)


ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายทั้ง Ergonomic Chair และเก้าอี้เกมเมอร์ซึ่งจริงๆแล้วหน้าตาของเก้าอี้ 2 ประเภทนี้คล้ายคลึงกันมากๆแต่จริงๆแล้วหลักการใช้งานนั้นไม่เหมือนกัน การเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมกับการทำงานทำให้การจัดท่านั่งได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถลดอาการเจ็บปวดได้ เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นต้น โดยเลือกเก้าตามหลักดังนี้

  1. เลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับระดับของเบาะนั่งได้
  2. สามารถปรับระดับพนักพิงไม่ว่าจะเป็นสูงต่ำ ปรับเอน เพื่อรองรับกับสรีระได้พอดีเหมาะสม
  3. สามารถซัพพอร์ตหลังส่วนล่างสามารถปรับสูงต่ำและความลึกได้
  4. ที่พักแขนปรับสูงต่ำให้อยู่ในระดับที่ต้องการ
  5. เบาะนั่งระบายอากาศหรือควรเลือกวัสดุที่เป็นตาข่ายมากกว่าที่เป็นหนังที่นั่งนานๆอาจเกิดความร้อนและอับได้
  6. ฐานของล้อเลือกเป็นฐานดาว 5 แฉก เพื่อความมั่นคงและล้อสามารถยึดติดกับพื้นได้ดี
  • โต๊ะทำงานที่ปรับระดับสูงต่ำได้ (Standing Desk)


หลักการทำงานที่ถูกต้องไม่ใช่การนั่งอยู่กับที่ทั้งวัน เราควรเปลี่ยนท่านั่งหรือขยับร่างกายด้วยอย่างน้อยชั่วโมงละ 1 ครั้ง การใช้โต๊ะปรับระดับจะสามารถทำให้เราเปลี่ยนท่าทำงานได้สะดวกมากขึ้น แต่ Standing Desk ในปัจจุบันก็มีมากมายหลายแบบให้เลือกแต่สามารถเลือกให้ถูกหลักได้ดังนี้

  1. โต๊ะมีความสูงมาตรฐานอยู่ที่ 72-74 เซนติเมตร
  2. มีความลึกจากหน้าไปหลังโต๊ะอย่างน้อย 60 เซนติเมตร สามารถวางอุปกรณ์เครื่องใช้ได้พอดีไม่แคบจนเกินไป
  3. มีความยาวอย่างน้อย 100 เซนติเมตร
  4. มีพื้นที่ใต้โต๊ะสำหรับวางต้นขาและเก้าอี้สามารถสอดเข้าไปได้พอดี