fbpx

แผลกดทับ และ การเลือกเบาะรองนั่งสำหรับรถเข็น รถเข็นไฟฟ้า

 

นั่งรถเข็น,รถเข็นไฟฟ้า (Power Wheelchair) อย่างไร ไม่ให้เกิดแผลกดทับ

– ไม่นั่งติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง โดยไม่ขยับตัว

– ยกตัวให้ก้นลอยขึ้นจากที่นั่งชั่วคราว ครั้งละ 30 วินาที ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง

– พยายามนั่งให้หลังตรง พิงพนัก และเข่าอยู่ระดับเดียวกับตะโพก ไม่นั่งไขว่ห้าง

– เวลาย้ายตัวจากรถุเข็น ควรยกให้ตัวลอยขึ้น ไม่ให้ถูไถกับที่รองนั่งหรือเตียง

– ใช้เบาะรองนั่งเพื่อลดและกระจายแรงกดจากน้ำหนักตัว

อนึ่ง ทุกวันเมื่อลงจากรถเข็นแล้ว ควรสำรวจผิวหนังบริเวณก้นและตะโพก ด้วยการส่งกระจกดูว่ามีแผลถลอกหรือรอยกดแดงช้ำ หรือไม่? และใช้มือคลำ สำรวจว่ามีก้อนแข็งๆ หรือนิ่มๆ ใต้ผิวหนัง หรือไม่? ถ้ามี ก็บ่งชี้ว่ามีแผลกดทับเกิดขึ้นแล้ว

เบาะรองนั่งมีกี่แบบ จะเลือกชนิดไหนดี?

1

 

1) เบาะฟองน้ำ ที่ใช้ทำเบาะนั่งรถยนต์หรือโซฟา

2 ฟองน้ำ

 

– มีความหนาประมาณ 3-4 นิ้ว
– เป็นฟองน้ำอัดหรือฟองน้ำที่มีความหนาแน่นปานกลาง
– ราคาประมาณ 300-500 บาท
– มีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน สามารถลดแรงกดได้พอใช้
2) เบาะเจล

3 เจล

– เป็นเบาะชนิดพิเศษ ทำจากต่างประเทศ
– สามารถลดแรงกดได้ดี
– ข้อเสีย คือ มีน้ำหนักมาก ราคาแพง

3) เบาะลม โรโฮ ( ROHO )

4 ลม

– เป็นเบาะที่มีประสิทธิภาพ ดีที่สุด
– น้ำหนักเบา ระบายความอับชื้นได้ดี
– ข้อเสีย คือ ราคาแพงมาก และอาจเสียสมดุลในการทรงตัวง่าย

เบาะรองนั่งทุกชนิด ควรมีปลอกผ้าหุ้ม ที่ทำด้วยผ้ายืดที่ซับเหงื่อและแห้งง่าย ไม่มีตะเข็บที่ด้านบนเพราะแนวตะเข็บเป็นต้นเหตุของแผลกดทับได้  ควรหลีกเลี่ยงปลอกที่ทำจากหนังเทียมเพราะทำให้เกิดความอับชื้น ผิวหนังจะเป็นผื่น เปื่อย และอาจเป็นแผล ควรทำความสะอาดเบาะรองนั่งและซักปลอกที่หุ้มเป็นประจำ หรือทุกครั้งที่มีการเลอะเปื้อน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังและระบบทางเดินปัสสาวะ