fbpx

กรุงเทพ – นครศรีธรรมราชและสงขลา ตอนที่3

กรุงเทพ – นครศรีธรรมราชและสงขลา ตอนที่3

318
 

จังหวัดชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง เป็นเมืองใน อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองระบอบมณฑล ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด
คำว่า “ชุมพร” สันนิษฐานว่ามีที่มาจากคำต่างๆ ว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ชุมพร” อีกความหมายหนึ่งอาจมาจากคำว่า “ชุมนุมพร” เนื่องจากประการหนึ่งในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแมทัพนายกอง ตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร
แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นมากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพร

 

319 320
 

ที่ตั้ง : 69 หมู่ 8 ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร
Tel. 077 560 245-7 Fax. 077 560 245
สิ่งอำนวยความสะดวก
ที่จอดรถ จัดที่จอดรถเฉพาะสำหรับคนพิการ จำนวน 1 ที่ ไว้ใกล้อาคาร
ทางลาด มีทางลาดเข้าสู่อาคาร พื้นผิวเรียบไม่ลื่น และมีความชันเหมาะสม
ห้องพัก มีห้องพักเฉพาะสำหรับคนพิการ จำนวน 2 ห้อง
ห้องน้ำภายในห้องพัก ห้องนำ้กว้าง มีที่นั่งอาบน้ำ และมีราวจับภายในห้อง
ทางเดินเชื่อม ทางเดินทางเชื่อมกว้าง ไม่ลื่น และพื้นค่อนข้างขรุขระเล็กน้อย
ป้ายสีญลักษณ มีป้ายสัญลักษณ์คนพิการที่นำไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : ดีมาก

 

321322

 

ที่ตั้ง : หมู่ 4 ถ.หาดภราดรภาพ ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร
Tel. 077 529 529 Fax. 077 529 500
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องส้วม จัดห้องส้วมเฉพาะสำหรับคนพิการไว้ จำนวน 1 ห้อง ไม่แยกเพศ
ทางลาด มีทางลาดเข้าสู่อาคาร พื้นทางลาดเรียบไม่ลื่น และความชันเหมาะสม
ห้องพักและห้องน้ำภายในห้องพัก ไม่ได้จัดห้องพักเฉพาะคนพิการและผู้สูงอายุไว้พื้นห้องน้ำไม่มีต่างระดับ ห้องกว้าง มีที่นั่งอาบน้ำ
ทางเดินเชื่อม ทางเดินกว้าง พื้นเรียบ และทำจากวัสดุไม่ลื่น
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : พอใช้

 

323 324
 

ที่ตั้ง : อยู่บนถนนทางหลวง A41 กม.54 199 หมู่ 7 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
Tel. 077-536338-9
www.suannaidum.com
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องส้วม มีห้องส้วมคนพิการโดยเฉพาะ และมีห้องส้วมให้คนทุกเพศทุกวัยได้ใช้ พร้อมทั้งอุปกรณ์และราวจับจนได้รับรางวัลห้องส้วมดีเด่น
ทางเดินทางเชื่อม บางแห่งเป็นแผ่นกระเบื้องดินเผาวางเว้นร่องไว้ยากแก่การสัญจร
ป้ายสัญลักษณ์ มีป้ายบอกสำหรับคนพิการในหลายจุด
หมายเหตุ ห้องอาหารอยู่บนอาคาร ต้องใช้คนยกผู้ที่ใช้ Wheel Chair
สำหรบัผสูงอายุควรระมัดระวัง เพราะบันไดค่อนข้างชัน

 

325
 

สุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนพื้นเมือง ได้แก่ พวกเซมัง และมลายูดั้งเดิม ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอนก่อนที่ชาวอินเดียจะอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งและเผยแพร่ วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนโบราณที่ อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา เป็นต้น
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานปรากฏว่าเมืองนี้ได้รวมกับอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรง ต่อกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่าเมือง “กาญจนดิษฐ์” ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑล ได้รวมเมืองทั้งสามเป็็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา ต่อมา พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา มาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองแห่งคนดี
สุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพฯ 685 กิโลเมตร มีพื้นที่ 12,891 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าดิบชื้นที่อุดมด้วยความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ป่า และยังมีหมู่เกาะที่มีชื่อเสียง น้ำทะเลใส หาดทรายขาว อาทิ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และเกาะนางยวน ซึ่งแต่ละเกาะมีความหลากหลายของธรรมชาติแตกต่างกันไป

 

326327
 

ที่ตั้ง : เลขที่ 50 ถ.รักษ์นรกิจ หมู่ 3 ต.เวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
Tel. 077-431090, 077-431402
ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 54 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 81 และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4011 เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 137 องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคดซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆโดยรอบทั้ง 4 ด้าน พระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้างเข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยา สมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เจดีย์พระบรมธาตุไชยานี้มีลักษณะเดียวกับเจดีย์แบบศรีวิชัย องค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา มีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอดสูง 24 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 13 เมตร จากด้านเหนือถึงด้านใต้ยาว 18 เมตร

 

328329
 

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ทางเดินทางเชื่อม พื้นผิวค่อนข้างเรียบ พื้นทำจากวัสดุไม่ลื่น ไม่มีสิ่งกีดขวาง อยู่ระดับเดียวกับพื้นภายนอก ในบางจุดมีขอบกั้น ความลาดชันของพื้นเหมาะสม แต่ความกว้างน้อยกว่า 1.50 ม.ในบางจุด
หมายเหตุ มีมัคคุเทศก์น้อย คอยช่วยเหลือและแนะนำสถานที่
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : พอใช้

 

330331
 

ที่ตั้ง : 83/27 หมู่ 2 ถ.ศรีวิชัย ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
Tel. 077 205 333 Fax. 077 205 35
สิ่งอำนวยความสะดวก
บันได บันไดกว้าง พื้นผิวเรียบและไม่ลื่น
ทางลาด มีทางลาดเข้าสู่อาคารความชันเหมาะสม
ห้องพักและห้องน้ำภายในห้องพัก ไม่ได้จัดห้องพักสำหรับคนพิการไว้ แต่ห้องกว้าง คนพิการและผู้สูงอายุสามารถใช้ได้
ทางเดินเชื่อม พื้นทำด้วยวัสดุไม่ลื่น และเรียบ
ะดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : พอใช้
ทางโรงแรมไม่ได้จัดห้องพักเฉพาะสำหรับคนพิการไว้ แต่สามารถเข้าพักได้