fbpx

6 โรคที่เสียงชีวิตมาที่สุดในไทย

6 โรคที่เสียงชีวิตมาที่สุดในไทย

พึ่งจะผ่านต้นปีมาไม่นานหลายคนคงตั้ง New Year’s Resolution หรือเป้าหมายชีวิตที่อยากทำให้สำเร็จในปีกระต่ายเอาไว้บ้างแล้ว ทั้งเรื่องการงาน การเงิน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาพ พูดถึงเรื่องสุขภาพแล้ว จริงๆก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเลยนะคะและมักจะเป็นเรื่องที่หลายคนทำไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งมองแล้วใครๆก็คงอยากจะมีสุขภาพที่ดีและไม่ป่วยเป็นโรคต่างๆอย่างง่ายๆ ซึ่งถ้าได้มารู้ว่าโรคใดบ้างคร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในปีที่ผ่านมาจะได้ตั้งตัวรับมือกับโรคพวกนี้ได้อย่างง่ายดายและไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง มาดูกันค่ะว่ามีโรคอะไรบ้าง

 

1) มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 128.50 คน

สาเหุตเกิดจาก : สิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารเคมีบางชนิด เช่น สารเคมีในควันบุหรี่และเขม่ารถยนต์,สารพิษจากเชื้อรา,สารพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอด จนไหม้เกรียม,สีย้อมผ้า,สารเคมีบางชนิดที่เกิดจากขบวนการทางอุตสาหกรรม หรือสามารถเกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย เช่น กรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ,ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน,ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง เป็นต้น

วิธีการป้องกัน

การฉีดวัคซีนป้องกัน เช่น มะเร็งปากมดลูก , มะเร็งตับ
หมั่นมาตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะถ้ามีประวัติมะเร็งในครอบครัว
เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบมาตรวจ เพราะถ้าเริ่มมีอาการส่วนใหญ่จะเป็นระยะแรก ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้

2) หลอดเลือดในสมอง 55.50 คน

สาเหุตเกิดจาก : ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง  ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน ครอบครัวที่เคยมีประวัติเส้นเลือดในสมองตีบ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์มีความเครียด และมักพบในกลุ่มคนที่อายุมาก

วิธีการป้องกัน

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และรับประทานอาหารตามที่ร่างกายในแต่ละวัน และไม่ควรรับประทานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการนะคะอันตราย

3) ปอดบวม 49.70 คน

สาเหุตเกิดจาก : โรคปอดอักเสบชุมชน (Community-acquired Pneumonia) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและเกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล โดยทั่วไปเกิดจากแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตที่คล้ายแบคทีเรีย ไวรัส รวมถึง โควิด –19  ปอดอักเสบที่ติดมาจากโรงพยาบาล (Hospital-acquired Pneumonia) ปอดอักเสบที่เกิดจากการเข้ารับการบริการด้านสุขภาพ (Healthcare-associated Pneumonia) โรคปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร หรือน้ำลาย (Aspiration Pneumonia)

วิธีการป้องกัน

งดสูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้าง
ดื่มน้ำมาก ๆ
พักผ่อนให้เพียงพอ

4) หัวใจขาดเลือด 33.50 คน

สาเหุตเกิดจาก : ไขมันในเลือดสูง (โคเลสเตอรอลรวม หรือโคเลสเตอรอลแอล ดี แอล ชนิดร้าย) ไขมันโคเลสเตอรอล เอช ดีแอล (ชนิดดี) ต่ำ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อ้วนและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีบุคลิกภาพเจ้าอารมณ์ โกรธ โมโหง่าย เครียดเป็นประจำ มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดของคนในครอบครัวและกลุ่มคนที่สูบบุหรี่

วิธีการป้องกัน

ไม่สูบบุหรี่
ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
บริโภคอาหารไขมันต่ำ หรือรับประทานยาลดไขมันในรายที่จำเป็น
ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจให้ผ่องใส
หมั่นตรวจเช็คสุขภาพของตนเองเป็นประจำ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี

5) เบาหวาน 24.50 คน

สาเหุตเกิดจาก :สาเหตุของโรคเบาหวานมีหลายปัจจัยร่วมกันทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic factor) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (environmental factor)เ เช่น กรรมพันธุ์ น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อน ความเครียดเรื้อรัง การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนองของอินซูลินได้ไม่ดี การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

วิธีการป้องกัน

ปรับเปลี่ยนวิธีการกิน
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
หลีกเลี่ยงการเดืมแอลกอฮอล์
งดสูบบุหรี่
ใช้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

6) ความดันโลหิตสูง 14.50 คน

รัดแถบวัดบริเวณเหนือข้อพับ กดปุ่มให้เครื่องทำงาน เครื่องปั๊มลมเข้ามาในแถบรัด กระบวนการทั้งหมดอาจจะเวลา 20-60วินาที แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ

สาเหุตเกิดจาก : มากกว่าร้อยละ 90 ไม่มีสาเหตุ มีเพียงส่วนน้อยที่มีสาเหตุ เช่น โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด โรคไต โรคของหลอดเลือดบางประเภท ที่ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีความดันโลหิตสูง มีหลายปัจจัย เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม เชื้อชาติ ภาวะนํ้าหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน และการรับประทานอาหารเค็มจัด เป็นต้น

วิธีการป้องกัน

ออกกำลังกายแบบแอโรบิก หมายถึงการออกกำลังกาย ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์ และการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
งดบุหรี่
ลดเครียด
รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ โดยการลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ปรึกษาแพทย์ถ้าต้องใช้ยาคุมกำเนิด

 

อ่านกันมาถึงจุดนี้ได้ก็เก่งสุดดยอดเลยค่ะ  แต่อย่าให้การเสียเวลาอ่านของท่านเสียเปล่าเลยนะคะลองลงมือทำอะไรเพื่อร่างกาย เพื่อการมีชีวิตอยู่ให้ยาวนานขึ้นนะคะสำหรับ elifeเองเรงเห็นถึงความสำคัญตรงนี้จึงอยากให่ทุกบ้าน มีเซตตรวจสุขภาพสามัญประจำบ้านไว้สัก 1 ชุดเพื่อเช็กอาการเบื่องต้นนะคะ ขอขายของนิดนึง^^