fbpx

Sensor SpO2 ในสมาร์ทวอทช์ VS Fingertip Pulse Oximeter

Sensor SpO2 ในสมาร์ทวอทช์ VS Fingertip Pulse Oximeter

ใครกำลังคิดว่าทำไมต้องซื้อเครื่อง Fingertip Pulse Oximeter ในเมื่อในสมาร์ทวอทซ์ที่ใช้อญุ่ก็มรในส่วนของฟังก์ชั่น Sensor SpO2 แล้วก็สามารถวัดค้าได้เหมือนกัน ต้องหยุดแล้วหันมาฟังทางนี้ก่อนนะครับวันนี้ Elife จะมาบอกถึงเหตุผลวว่าทำไม่เราต้องมี Oximeter มาฝากทุกคนกันครับ แล้วทุกคนก็น่าจะต้องร้องอ๋อกันเลยทีเดียว

โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีในการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดนั้นจะใช้หลักการทำงานของ “Light Absorption” หรือก็คือ “หลักการดูดซับแสง” โดยหลักการคือสะสารต่างชนิดกัน จะมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่มีความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน นั่นหมายความว่าการดูดซับความยาวคลื่นแสงของน้ำเปล่ากับน้ำนม ใช้ความยาวคลื่นแสงคนละคลื่นกัน หลักการ “Light Absorption” จะทำให้เราทราบว่าสิ่งตรงหน้านนี้คืออะไรถึงแม้ว่าเราจะมองไม่เห็นมันก็ตาม

ต่อมานะครับมนุษย์ก็ประยุกต์นำเอาหลักการ “Light Absorption” มาใช้เพื่อตรวจออกซิเจนในเลือดสามารถฉายคลื่นความยาวแสงที่ต่างกันไปบนผิวมนุษย์ด้วยค่าความยาวคลื่นที่ต่างกัน เพื่อตรวจจับฮีโมโกลบินต่างชนิดกันนั่นเอง แน่นอนว่าเรารู้ว่าในเลือดนั้นมีฮีโมโกลบิน และในกลุ่มของฮีโมโกลบินก็จะสามารถแยกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ 

 

1.ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) คือ ฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนอยู่

2.ดีออกซีฮีโมโกลบิน (Deoxyhemoglobin) คือ ฮีโมโกลบินที่ปล่อยออกซิเจนออกไปแล้วและส่วนมากจะจับกับ คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide)

3.คาร์โบออกซีฮีโมโกลบิน (Carboxyhemoglobin) คือ ฮีโมโกลบินที่จับกับ คาร์บอนมอนน็อกไซด์ (Carbon Monoxide) จะมีน้อยมากๆ

4.เมธฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) คือ ฮีโมโกลบินที่มีธาตุเหล็ก ประจุ 3+ แทนที่จะเป็น 2+ ทำให้ไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้

 

การทำงานของ “Sensor SpO2” ในสมาร์ทวอทช์

ในสมาร์ทวอทช์หรือสมาร์ทแบนด์ จะใช้หลักการสะท้อนของแสง ใต้สมาร์ทวอทช์จะมีแสงสีแดงหรือสีเขียวกระพริบออกมาเป็นระยะ ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ตัวเซ็นเซอร์จะปล่อยคลื่นอินฟาเรดที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยตัวแสงนั้นจะทะลุผ่านเฉพาะเม็ดเลือดที่มีค่าออกซิเจนในเลือดมากหรือก็คือออกซีฮีโมโกลบิน  ในส่วนนี้ทางสมาร์ทวอทช์ที่เราสวมใส่ที่มีเซ็นเซอร์ SpO2 จะดูปริมาณแสงสีแดงจากที่สะท้อนกลับมาสู่ตัวเซ็นเซอร์นั่นเอง แสงที่สะท้อนกลับมาจากร่างกายจะกลับไปที่เซ็นเซอร์ จึงสามารถคำนวณหาปริมาณฮีโมโกลบินที่มีออกซิเจนได้ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งการอ่านค่าจะไม่สม่ำเสมอ ค่าอาจจะคลาดเคลื่อนได้จากหลายปัจจัย เช่น การไหลเวียนของเลือด ตำแหน่งการสวมใส่ อีกทั้งคุณภาพของเซ็นเซอร์ก็ยังขึ้นอยู่กับราคาค่าตัวของอุปกรณ์นั้น ๆ หรือแม้กระทั่งการขยับตัว

การทำงานของ “Fingertip Pulse Oximeter”

หลักการทำงานคือตัวเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ Fingertip Pulse Oximeter คือจะฉายแสงที่มีคลื่นความยาวแสงระดับอินฟาเรดและแสงสีแดงจะส่องผ่านผิวหนังนิ้วบริเวณที่มีออกซีฮีโมโกลบินเราไป แล้วทะลุผ่านไปยังส่วนที่รับแสงอีกฝั่งหนึ่งของเครื่อง เครื่องจะฉายแสงที่มีความยาวคลื่นระดับอินฟาเรดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 940 nm เพื่อตรวจจับออกซีฮีโมโกลบิน และฉายแสงที่มีความยาวคลื่น 660 nm เป็นแสงสีแดงเพื่อตรวจจับดีออกซีฮีโมโกลบินนั่นเอง การอ่านค่าจากแสงที่ส่องผ่านออกซีฮีโมโกลบินไปนั้นทำให้เกิดความคลาดคลื่นได้น้อยกว่า และแม่นยำมากกว่าการอ่านค่าแบบแสงสะท้อน

ดังนั้นนะครับจึงสรุปได้ว่า “Sensor SpO2” ในสมาร์ทวอทช์ มีความแม่นยำน้อยกว่า “Fingertip Pulse Oximeter” และไม่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้นั่นเองครับ เนื่องด้วย Sensor SpO2 ในสมาร์ทวอทช์ นั่นมีปัจจัยที่มีผลต่อการทำให้ค่าออกซิเจนในเลือดคลาดเคลื่อนมากกว่า อีกทั้งยังไม่ได้รับการยอมรับจากกรมเครื่องมือแพทย์ด้วย แต่อย่างพึ่งวางใจว่า Fingertip Pulse Oximeter แบรนด์ไหนยี่ห้อไหนก็ใช้ได้ เพราะสมัยนี้ของปลอมก็เยอะมากทำออกมาหลอกก็เยอะๆเช่นกัน แนะนำให้ซื้อจากแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากกรมเครื่องมือแพทย์จะดีที่สุดนะครับ หรือหากไม่ต้องการไปหาที่ไหนไกลก็สามารถกดเข้าสั่งซื้อสินค้าแบรนด์ Yuwell จาก ร้านอีไลฟ์ก็ได้นะครับ เพราะแบรนด์ Yuwell ได้รับมาตรฐานระดับสากล มีใบรับรองคุณภาพจากอย. และกรมเครื่องมือแพทย์ถูกต้องครับ สามารถกดสั่งจากลิ้งค์ที่แนบให้ได้เลยครับผม