การเจ็บป่วยนั้นเกิดขึ้นเกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะเป็นโรคเล็กน้อยเพียงใด หรือผู้ป่วยในวัยไหน ไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยเรื้อรังหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน การดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลต้องนึกถึง ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนั่ง หรือการนอน ผู้ดูแลก็ต้องใส่ใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้ป้องกันอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่จะตามมา การเลือกอาหารที่ดี เตียงผู้ป่วยที่มีคุณภาพ สามารถปรับฟังก์ชั่นให้ตอบโจทย์การใช้งาน จะทำให้ผู้ป่วยหายวันหายคืนอย่างแน่นอน มากไปกว่านั้นการมีเตียงผู้สูงอายุสำหรับสมาชิกในบ้านของคุณ ก็ยิ่งจะทำให้ผู้ดูแลนั้นสะดวกสบายมากขึ้น หรือผู้ป่วย ผู้สูงอายุ สามารถดูแลตัวเองได้เบื้องต้น
เตียงผู้ป่วยมีประโยชน์อย่างไร ?
เตียงผู้ป่วย เป็นเตียงที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการใช้งานสำหรับการพักฟื้นของผู้ป่วย รวมถึงการใช้งานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันแก่ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย ดังนั้น เตียงผู้ป่วยจึงมีกลไกมากมายที่ถูกติดตั้งเข้ามาเพื่อช่วยให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเตียงนอนแบบปกติทั่วไป อาทิเช่น การปรับส่วนหัว ส่วนท้าย หรือปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียง เมื่อต้องการจะรับประทานอาหาร หรือลุกขึ้นนั่ง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
สำหรับปัญหาพื้นฐานที่ผู้ป่วยคนไหนที่ต้องพักผ่อนรักษาตัว หรือผู้สูงอายุที่ต้องใช้เวลาพักผ่อนในบ้านมากกว่าครึ่งวัน มักจะมีอาการที่เรียกว่าแผลกดทับ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เนื่องจากเตียงผู้สูงอายุที่คุณมีอยู่อาจทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดแผลกดทับเช่นเดียวกัน อาการแผลกดทับนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ อีกทั้งยังเกิดได้หลายจุดในร่างกาย ถึงแม้จะเป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่จริงๆ อากรแผลกดทับนั้นมีหลายระดับ ทำให้สมาชิกที่ต้องดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในบ้านต้องระวังเป็นพิเศษทีเดียว
การเลือกฟูกสำหรับผู้สูงอายุ (อ่านเพิ่มเติม)
อาการแผลกดทับนั้นมีสาเหตุมาจากการนอนบนเตียงผู้ป่วยเป็นเวลานานเพื่อพักรักษาตัวหรือพักผ่อนในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานเกินไป ประกอบกับพื้นผิวของเตียงผู้ป่วยที่นอนอยู่ อาจเกิดการเสียดสีกับผิว การไม่ระบายความร้อน ความอับชื้น และประกอบกับการที่ผู้สูงอายุอาจจะไม่สะดวกขยับตัวเปลี่ยนท่านอนได้บ่อยก็อาจทำให้เกิดแผลกดทับได้เช่นเดียวกัน แต่ระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นก็ต่างกันออกไป ผู้แลควรรู้แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้ทัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มคุณภาพเตียงผู้ป่วยหรือการเรียกให้ผู้ป่วยขยับตัว ระดับความรุนแรงมีดังนี้
- ผิวหนังเริ่มเป็นสีแดง แต่เมื่อใช้นิ้วมือกดรอยแดงไม่จางหายไป อาจปวดแสบปวดร้อนนิดหน่อย
- ชั้นผิวหนังแท้บางส่วนเริ่มหายไป เห็นเป็นแผลเปิดตื้น มีพื้นผิวแผลสีแดงหรือเป็นตุ่มน้ำใสเพราะเตียงผู้สูงอายุเริ่มสะสมความร้อน
- เกิดอาการสูญเสียของเนื้อเยื่อถึงชั้นไขมัน พื้นผิวแผลบางส่วนอาจมีเนื้อตายสีเหลือง อาจจะมีโพรงแผล และหลุมแผลเกิดขึ้น
- ระดับที่มีการบาดเจ็บเนื้อเยื่อชั้นลึก ลักษณะสีของผิวหนังจะเปลี่ยนไปเป็นสีม่วง หรือสีน้ำตาลแดงหรือมีผิวหนังพองที่มีเลือดอยู่ข้างใน เนื่องจากเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายจากแรงกดหรือแรงเลื่อนไถลที่ผิวสัมผัสกับเตียงผู้ป่วย
- จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าอาการแผลกดทับนั้นเริ่มจากการจุดเริ่มต้นเล็กๆไปสู่แผลลึกจนเกินจะแก้ไขได้เอง ดังนั้นแล้วดูแลควรหมั่นสังเกตบริเวณของร่างกายบริเวณเหล่านี้ให้ดีเพื่อจะรักษาได้ทันการ อวัยวะที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับได้นั้นมักเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมากและต้องรับแรงกดทับโดยตรงจากเตียงผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาเตียงผู้สูงอายุที่ใช้อยู่ ทำให้เสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า เท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ ซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับเตียงผู้สูงอายุโดยตรงนั่นเอง
ปัญหาแผลกดทับนั้นอันตรายกว่าที่คิด การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในบ้านนั้นจึงต้องใส่ใจมากกว่าที่เคย ดังนั้นแล้วการเริ่มต้นได้ง่ายๆ เพื่อหลีกเลี่ยงแผลกดทับนั้นคือเลือกเตียงผู้สูงอายุให้ดีกับผู้สูงอายุในบ้านของคุณ
เตียงไฟฟ้า 5 ฟังก์ชั่น เตียงไฟฟ้าปรับได้ต่ำที่สุด 38 ซม.
ข้อดีของการเลือกใช้เตียงคนไข้ไฟฟ้า
- มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากสามารถปรับระดับความสูง – ต่ำของเตียงได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้ป่วยสามารถเลือกปรับระดับเตียงให้พอดีกับเท้าในขณะที่กำลังจะลุกขึ้นนั่งหรือยืน เพื่อความปลอดภัย และมีราวข้างเตียงที่ช่วยในการจับยึดพยุงตัว มีบาร์พยุงโหนตัว ที่ช่วยกายภาพบำบัด หรือใช้โหน ทำให้สามารถทรงตัวได้อย่างมั่นคง และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
- สะดวกสบาย เพราะเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกปรับเองได้อย่างง่ายดายเพียงแค่กดปุ่มที่รีโมท ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแล ไม่เป็นภาระผู้ดูแล
- การใช้เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดาอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงข้อจำกัดในการลุกขึ้นนั่งหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการใช้เตียงคนไข้ไฟฟ้าแล้วนั้น ผู้ป่วยที่ใช้เตียงคนไข้ไฟฟ้าสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยลดภาระให้กับผู้ดูแล และช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
คุณสมบัติของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่เหมาะสม
- การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย ควรเลือกซื้อเตียงที่ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิมได้ง่าย และสามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 150 กิโลกรัม ขึ้นไป
- มีความปลอดภัยในการใช้งาน โดยเตียงผู้ป่วยควรมีระบบล็อกล้อเตียงเพื่อป้องกันเตียงเคลื่อน และมีราวสไลด์หรือราวกันตก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจับพยุงตัวลุกขึ้นจากเตียง และช่วยป้องกันการพลัดตกเตียงขณะนอนหลับ
- เตียงผู้ป่วยควรมีความกว้างประมาณ 3 เป็นขนาดมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพลิกตัว หรือ ลุกขึ้นนั่งทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียง อาทิเช่น การเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือรับประทานอาหาร ได้อย่างสะดวก และควรมีความยาวประมาณ 180 เซนติเมตร ขึ้นไป เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด
- เตียงผู้ป่วยควรมีช่องว่างใต้เตียง เพื่อป้องกันการหกล้มเนื่องจากการเตะเตียง หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะเมื่อลุกจากเตียง ก็จะได้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการทรงตัวเนื่องจาก
- ความสูงของเตียงส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้น เตียงผู้ป่วย ควรมีความสูงจากพื้นประมาณ 40 เซนติเมตร หรือประมาณข้อพับเข่าของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถวางเท้าได้ถึงพื้น และลุกขึ้นยืนได้อย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการเสียการทรงตัวเนื่องจากเท้าไม่สามารถสัมผัสพื้นได้อย่างพอดีได้
- ควรเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่มีใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิต หรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (อย.) โดยโรงงานของผู้ผลิตต้องได้รับมาตรฐานการผลิตจาก อย. หรือมาตรฐาน ISO 13485 (มาตรฐานคุณภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์) รวมถึงมีมาตรฐาน IEC 60601-2-38 (มาตรฐานเตียงผู้ป่วย) หรือ IEC 60601-2-52 (มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้งาน)
ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
- เตียงผู้ป่วยต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร
- มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 เซนติเมตร และควรมีช่องว่างใต้เตียงเพื่อป้องกันการเตะขอบเตียง
- ความสูงของราวกั้นเตียงผู้ป่วยเมื่อวัดจากฟูก ไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
- วัสดุที่ใช้ผลิตมีความแข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิมได้ง่าย พื้นผิวเรียบ ง่ายต่อการทำความสะอาด
- ระบุน้ำหนักสูงสุดที่เตียงสามารถรับได้ (Safe working load)
หลักการจัดวางเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
การจัดวางเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสมควรวางให้เหลือพื้นที่ว่างรอบเตียงทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านซ้าย ด้านขวา และปลายเตียง อย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น รถเข็นวีลแชร์ ได้อย่างสะดวก โดยวัสดุปูพื้นสำหรับห้องพักผู้ป่วยควรใช้เป็นสีโทนสว่าง มีพื้นผิวเรียบเสมอกัน และควรหลีกเลี่ยงการมีพื้นต่างระดับ รวมถึงการปูพรมเพื่อป้องกันการสะดุดล้ม
ความปลอดภัยในการใช้งาน
นอกเหนือจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อสังเกตคือ ความปลอดภัยในการใช้งานของ เตียงผู้ป่วย จะต้องมีความแข็งแรง และความมั่นคง และที่สำคัญคือราวสไลด์ หรือ ราวกันตก ซึ่งก็มีทั้งแบบธรรมดาและแบบปีกนก ต้องดูว่าสามารถใช้งานได้สะดวก เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่ ผู้ป่วยบางท่านอาจต้องการรับการดูแลที่มากกว่าผู้ป่วยบางราย อาจจะต้องได้รับการนวด หรือทายา ก็จะเหมาะกับเตียงที่มีราวสไลด์แบบแบ่งครึ่ง เพราะสามารถพับแบบแยกส่วนได้
ดีไซน์ของเตียงไฟฟ้า ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยไม่ชอบใช้เตียงไฟฟ้าที่เหมือนกับเตียงโรงพยาบาล เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ป่วย เลยทำให้เตียงไฟฟ้า ที่มีลักษณะเป็น Home Care มีผู้นิยมใช้กันมากกว่า เพราะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น สบายใจ ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ป่วย ก็จะทำให้มีกำลังใจมากยิ่งขึ้น หากสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุดีขึ้น สุขภาพทางกายก็จะต้องดีขึ้นตามมาด้วย
จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าผู้ป่วยเท่านั้นที่ต้องใช้เตียงปรับไฟฟ้าเพื่อสุขภาพ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาลุกออกจากเตียงยาก ก็สามารถใช้งานได้ เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลค่ะ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่ออายุมากขึ้น มีปัญหาเรืองกระดูกสันหลัง จึงทำให้เวลานอนแล้วลุกออกจากเตียง จะค่อนข้างลำบาก ดังนั้นผู้สูงอายุก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน และราวกันตกข้างเตียง ถามว่าสำคัญหรือไม่ ?? จริงๆต้องบอกว่าสำคัญมากๆ ค่ะ เพราะจะช่วยให้ในเวลากลางคืน ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ชอบนอนดิ้น ป้องกันเพื่อไม่ให้ตกลงจากเตียง หรือพูดง่ายๆ ว่าจะช่วยป้องกันเรื่องความปลอดภัยในเวลากลางคืนค่ะ
สำหรับลูกค้าท่านไหนที่ต้องการคำปรึกษาและคำแนะนำเพิ่มเติมในการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย ทาง Elife ก็มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยความใส่ใจ ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยได้ตรงตามความต้องการ และความเหมาะสมในการใช้งานมากที่สุด ตลอดจนการดูแลและให้บริการหลังการขาย รับรองได้ว่าทุกท่านจะได้รับแต่สิ่งที่ดี และคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไปที่สุดแน่นอน
-
Full Setไม้แท้เตียงการแพทย์
Berlin 3 | เตียงไฟฟ้าผู้ป่วย สูงอายุ ปรับระดับได้ 3ไกร์ 6ปุ่ม วัสดุไม้แท้ (Full Set)
Original price was: 49,900฿.35,900฿Current price is: 35,900฿. Add to cart -
ไฟส่องใต้เตียงป้องกันอุบัติเหตุ ปรับหรี่ไฟได้ อุปกรณ์เสริมเตียงไฟฟ้า Smartcare รุ่น Sc-112
Original price was: 9,990฿.5,990฿Current price is: 5,990฿. Add to cart