fbpx

ทำไมต้องใช้ CGM วัดระดับน้ำตาลต่อเนื่อง

ทำไมต้องใช้ CGM วัดระดับน้ำตาลต่อเนื่อง

สวัสดีครับ วันนี้ Elife ต้องการจะมาแชร์เรื่องราวสินค้าที่ทางร้านเรามีจำหน่าย เกี่ยวกับการตรงน้ำตาลในเลือดครับ หรือเรียกง่ายๆว่าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั่นเองครับ สินค้าตัวนี้มีชื่อเรียกสั้นๆง่ายๆว่า CGM หรือชื่อเต็มคือ  Continuous glucose monitoring ซึ่งตอนนี้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากๆ ในทางการแพทยื ในผู้ป่วยเบาหลายที่ต้องควบคุมน้ำตาลตลอดเวลา อาจจะได้รับความนิยมมากกว่าแบบเจาะปลายนิ้วด้วยซ้ำ เนื่องจากข้อดีมากว่าในด้านการปรับการรักษา และดูพฤติกรรมน้ำตาลของผู้ป่วย หรือแม้แต่ในกลุ่มผู้ที่รักสุขภาพ ไม่ได้เป็นผู้ป่วยเบาหวานแต่ต้องการทราบระดับน้ำตาลตัวเอง เพื่อควบคุมอาหารในแต่ละมื้ออย่างเหมาะสมก็สามารถใช้ได้เช่นกันครับ

continuous glucose monitoring (CGM)

CGM มีกี่ชนิด?

CGM แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ

1.Professional CGM ซึ่งเป็น CGM ที่ผู้ใช้จะยังไม่เห็นผลระดับน้ำตาล ณ ขณะนั้น ต้องนำข้อมูลจาก CGM มาดูย้อนหลัง Professional CGM ปัจจุบันจะใช้ในงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่

2.Personal CGM ซึ่งผู้ใช้งานสามารถทราบระดับน้ำตาลได้ในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบัน Personal CGM มีการใช้อย่างแพร่หลายในคนทั่วไป

ซึ่งที่ทาง Elife มีจำหน่ายอยู่ตอนนี้คือ Personal CGM ที่สามารถอ่านค่าน้ำตาลได้ผ่านแอปพลิเคชั่น Poctech CGM บนมือถือได้เลยครับ แต่ Personal CGM ก็ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ Real-time CGM ซึ่งแสดงผลต่อเนื่องตลอดเวลา และ Intermittently scanned CGM ซึ่งจะแสดงค่าระดับน้ำตาลเมื่อนำเครื่องอ่านมาสัมผัสกับ CGM เท่านั้น คล้ายกับการสแกนบาร์โค้ด โดยที่ CGM ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีค่าความแม่นยำ แสดงโดยค่า Mean Absolute Relative Difference (MARD)

Mean Absolute Relative Difference (MARD) คืออะไร?

mean absolute relative difference (MARD)
mean absolute relative difference (MARD)

 

ในการรายงานความแม่นยำทางการแพทย์ของเจ้าตัว CGM หรือ BGM เองเราจะใช้ค่า MARD นี้เป็นมาตรฐานความแม่นยำของตัวเครื่อง ค่าที่ยอมรับได้จะ <14% ซึ่งตรงนี้ในผู้ป่วยบางรายที่ใช้ CGM ครั้งแรกอาจจะเกิดความกังวลเรื่องความแม่นยำของ CGM เนื่องจากเมื่อเจาะปลายนิ้วมาเทียบกับ CGM ค่ากลับต่างกัน ไม่ตรงกัน

ตรงนี้ก็ต้องขออธิบายว่า ในปัจจุบันมีการวัดระดับน้ำตาล 3 แบบ ได้แก่ HbA1C , BGM และ GGM ซึ่งทั้ง 3 แบบนี้ไม่สามารถเทียบค่าน้ำตาลกันได้เลย เนื่องจากค่า MARD แต่ละแบบนั้นไม่เท่ากันครับ จึงไม่สามารถเทียบกันได้ครับ

ประโยชน์ของ CGM

เนื่องจาก CGM เป็นเครื่องวัดน้ำตาลที่ติดร่้างกายแบบต่อเนื่อง เครื่องจะประมวลผลเป็นระยะๆ เฉลี่ยทั่วไปจะอยู่ที่ทุก 3-5 นาทีแล้วแต่แบรนด์ โดยแบรนด์ที่ทางร้าน Elife จำหน่าย คือแบรนด์ Yuwell วัดผลทุกๆ 3 นาที เสมือนการเจาะปลายนิ้วทุก 3 นาทีเลยทีเดียว และมีค่า MARD ที่ <12% ถือว่าตรงนี้เป็นประโยชน์อย่างมากๆในการรักษาของผู้ป่วย พอจะแยกเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ประมาณ 3 ข้อ ดังนี้

1.ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเป้าหมาย เพราะจะทำให้เราทราบค่าน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้ตลอดเวลาเมื่อเทียบกับการให้ที่ตรวจน้ำตาลแบบเจาะปลายนิ้ว (BGM) ที่จะทราบค่าน้ำตาลเพียงขณะนั้นที่เจาะตรวจ หากไม่เจาะก็ไม่ทราบ เมื่อติด CGM ที่เทียบเท่าการเจาะปลายนิ้วทุก 3 นาที ก็จะสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่ใช้ปากกาอินซูลินควบคู่ไปด้วย

2.ทีมรักษาและผู้ป่วยปรับแผนการรักษาร่วมกัน เมื่อทราบค่าน้ำตาลรวมทั้งพฤติกรรมผู้ป่วยแล้ว ก็จะทำให้ทีมรักษาทำงานได้ง่ายขึ้นมากๆ ในการปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละท่าน และผู้ป่วยก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ชีวิตประจำวัน การทานยา ได้เหมาะสมขึ้น

3.ป้องกันภาวะแทรกซ้อน การใช้ CGM เพื่อดูพฤติกรรมน้ำตาลของผู้ป่วยนั้นมีประโยชน์มากๆ เนื่องจากระดับน้ำตาลนั้นสามารถบ่งชี้สัญญาณของอาการอื่นๆที่อาจะแทรกซ้อนได้จากการที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อาการแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะโคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่วนภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง เช่น ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต ระบบประสาท ปัญหาที่เท้าจากเบาหวาน รวมทั้งโรคที่มักพบร่วมกับเบาหวาน เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ข้อดีและข้อเสียของ CGM

ข้อดี

1.แสดงแนวโน้มของระดับน้ำตาลแบบ Real time

2.ทีมรักษามีข้อมูลครบถ้วน ช่วยปรับการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย

3.ใช้งานง่าย

4.ลดจำนวนการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว

5.เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

ข้อเสีย

1.ราคาสูง

2.ผู้ป่วยต้องศึกษาวิธีใช้งาน และให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นอย่างมาก

3.เซนเซอร์จะอยู่บนร่างกายตลอดเวลา

 

วันนี้ทางร้าน Elife ขอนำทุกคนเข้ามาทำความรู้จักสินค้า CGM ที่ทางร้านเรามีจำหน่าย และตั้งแต่จำหน่ายมาก็ได้รับเสียงตอบีับอย่างดีมาเรื่อย มีทั้งผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1  ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 คลินิกดูแลผู้ป่วยเบาหวาน หรือแม้กระทั่งคุณหมอ ก็ติดต่อเข้ามาซื้อสินค้า CGM ของเราเช่นกัน นั่คือ CGM แบรนด์ Yuwell

CGM แบรนด์ Yuwell รุ่น CT10 เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลได้แบบต่อเนื่องตลอดเวลา เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วัดระดับน้ำตาลทุก ๆ 3 นาทีตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะติดเครื่องนี้เป็นเวลา 10 วัน และส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้แบบเรียลไทม์ มีระบบเตือนเมื่อระดับน้ำตาลตก ช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ และส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต แพทย์ประจำตัวสามารถเข้าถึงผลน้ำตาลแบบเรียลไทม์ วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย CGM หรือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง โดยเป็นเครื่องติดที่หน้าท้อง มีเซ็นเซอร์เป็นโลหะปลอดภัย ยาวประมาณ 7 มม. สอดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง แล้วเครื่องดังกล่าวนี้ส่งสัญญาณข้อมูลผ่านบลูทูธเข้าแอพพลิเคชั่นในมือถือและเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ซึ่งตัวผู้ป่วย แพทย์และทีมผู้ดูแลสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์

บอกระดับน้ำตาลในเลือดผ่าน App ในมือถือ โดยตัวเครื่องเชื่อมต่อกับมือถือผ่าน Bluetooth
CGM ทำโดยการติดเซนเซอร์ที่ตัว สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ โดยสามารถใช้ได้ 7-14วัน แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ

 

เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่องประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

  • เซนเซอร์ (Sensor) เป็นวัสดุที่ทำจากโลหะ มีขนาดเล็ก ซึ่งจะฝังอยุ่ใต้ผิวหนัง เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลที่อยู่ในเนื้อเยื่อ ส่วนมากมักจะติดเซนเซอร์นี้ที่บริเวณหน้าท้อง และต้นแขนด้านหลัง
  • ตัวส่งสัญญาณ (Transmitter) เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับระดับน้ำตาล ตัวส่งสัญญาณนี้จะส่งข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ไปยังตัวรับข้อมูล
  • ตัวรับข้อมูล (Receiver) ติดตั้งใน Smart Phone มีหน้าที่รับข้อมูลค่าน้ำตาลในเลือดที่ได้ผ่านบลูทูธเข้าแอพพลิเคชั่น ดูระดับน้ำตาล การแจ้งเตือน และสร้าง Report ได้

Sensor ปากากาเซนเซอร์ชนิด 10วัน

  • มีอายุการใช้งาน 10 วัน
  • ขนาด 43.5 x 33.5 x 18.5 cm
  • มีการแก้ไขสัญญารบกวนทางเคมีไฟฟ้า
  • กาวที่ติดมีประสิทธิภาพทนน้ำ
  • อย.65-2-2-2-0012022

Transmitter ตัวส่งสัญญาณ Bluetooth

  • เก็บข้อมูลชัดเจนบนเครื่องส่งสัญญาณ
  • เป็นตัวเครื่องที่สามารถใช้ซ้ำได้นาน 2 ปี
  • ใช้ถ่ายกระดุม 1 ก้อน
  • ขนาด 31.5 x 21 x 23.5 cm
  • ส่งสัญญาณเข้าตัวแอพพิลเคชั่นทุกๆ 3 นาที
  • อย.65-2-2-2-0012022

Highlight


บทความที่เกี่ยวข้อง