“อ้วน” คำสั้นที่ฟังแล้วก็รู้สึกเจ็บใจ ด้วยค่านิยมที่คนสมัยใหม่หันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น และ ไขมันที่เป็นจุดเริ่มต้น โรคและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงหลายโรค หลายคนจึงเริ่มตระหนักถึงการรักษาสุขภาพของตนเอง ด้วยการปรับพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ ในบทความนี้โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาได้นำเสนอสาเหตุและอันตรายจากภาวะไขมันในเลือดสูง สำหรับการทำความเข้าใจในภาวะและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วภาวะไขมันในเลือดสูงเสี่ยงเป้นโรคอะไรได้อีกบ้างวันนี้มีคำตอบ
ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยไขมันในร่างกายส่วนใหญ่ หมายถึง โคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน โดยปกติร่างกายสามารถสร้างไขมันได้จากตับเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่จำเป็นของร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมนต่าง ๆ แต่หากมีการรับประทานไขมันจากอาหารมากเกินไป มีโรคทางพันธุกรรม มีการใช้ยาหรือสารต่าง ๆ ที่ทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายผิดปกติก็จะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ อย่างไรก็ดีร่างกายก็ยังคงต้องการไขมันและมีทั้งไขมันดีและไม่ดี
ไขมันดีและไม่ดี มีอะไรบ้าง
1. ไขมันไม่ดี หรือ ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ LDL (Low-density lipoprotein)
เป็นคอเลสเตอรอลประเภทหนึ่ง บางคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ไขมันเลว” เนื่องจากในคนที่มีไขมัน LDL สูง การลำเลียงไขมันผ่านเส้นเลือดอาจทำให้เกิดไขมันเกาะผนังเส้นเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตัน และจะมีมากในอาหารหมวดหมู่ ของมัน ของทอด ของหวาน
2. ไขมันดี ไลโปโปรตีนความหนาแน่นมาก HDL (High-density lipoprotein)
คอเลสเตอรอลประเภทนี้คุ้นหูกันดีในนามของ “ไขมันดี” เป็นไขมันที่ช่วยดักจับไขมันที่เป็นส่วนเกินในเส้นเลือดแดงแล้วส่งไปยังตับ ไขมันประเภทนี้หากมีปริมาณมากในระดับที่เหมาะสมจะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกาย
3. ไตรกรีเซอไรด์ Triglycerides
เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับคอเลสเตอรอล เมื่อร่างกายมีปริมาณไตรกรีเซอไรด์มาก ๆ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการก่อก้อนไขมันเกาะผนัง (Plaque) ในหลอดเลือดแดงมากขึ้นการมีสุขภาพที่ดี ระดับไขมันในเลือดทั้ง 3 ชนิด ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ โดยที่จะต้องมีค่าคอเลสเตอรอลรวมไม่เกิน 200mg/dl หากตรวจ Lipid profile แล้วพบว่ามีความเสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง แพทย์อาจจะแนะนำให้ตรวจสุขภาพบางอย่างเพิ่มเติมหากมีข้อบ่งชี้ รวมถึงการให้คำแนะนำในการรักษา และลดระดับไขมันในเลือดลงเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายในอนาคตด้วย
ไขมันสูงแค่ไหนถึงอันตราย
ผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ โดยการที่จะทราบว่าเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถรู้ได้จาก การเจาะเลือด โดยในการตรวจระดับไขมันในเลือด แพทย์จะให้ตรวจค่าต่างๆ ดังนี้
- โคเลสเตอรอล (Cholesterol) ระดับปกติของโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งประกอบด้วย
- โคเลสเตอรอลชนิดดี หรือ เอชดีแอล (High density lipoprotein -HDL) ระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- โคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)
ไขมันในเลือดสูงเกิดจาก
- ความผิดปกติของกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง
- ยาที่ทสนบางสนิทหรือโรคบ่งอย่าง เช้น อย่าขับปัสสวะ ยาคุม โรคไต โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย
- การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ เช่น อาหาราขยะ กะทิ เนื้อสัวต์ที่มีไขมันมาก
- การดื่ีมเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ในผู้ชาย และอายุ 55 ปี ในผู้หญิง
และถ้ามีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็ยิ่งเสี่ยงให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นได้ และที่น่ากลัวคือถาวะไขมันในเลือดสูงไม่มีสัญาเตือนที่ชัดเจนถ้าเราไม่ได้หมั่นสังเกตุหรือไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินปล่อยไว้ให้มันนาน เลือดก็จะไหลเวียนได้ไม่ดีเพราะไขมันไปขัดขวางเอาไว้ เมื่อเลือดไหลเวียนได้ไม่เต็มที่ความดันก็จะพุ่งสูงขึ้นทำให้เราอาจเสี่ยงเป็นโรคดังต่อไปนี้
- โรคหลอดเลือด
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคเส้นเลือดในสมองตีบ
อย่างที่ทราบกันดีกว่า กว่า 70% ของคนที่ป่วยเสี่ยงตายได้ง่ายกว่ากลุ่มคนอื่น หากไม่อยากเปิดโอกาสให้ความตายเข้ามาเพื่อนๆก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์และคอเลเตอร์ลอสูง กินอาหารที่มีไฟเบอร์ให้มากขึ้นเช่นพวกผักผลไม้ครับ กินเนื้อปลาบ้างอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ลดกินอาหารน้ำตาลสูงและเนื้อสำเร็จรูป รวมทั้งไม่ดื่มแอลกอฮอล์ การดูแลสุขภาพง่ายนิดเดี่ยว เพื่อสิ่งที่ดีของชีวิต
-
HotCGM
iCan i3 | CGM วัดน้ำตาลต่อเนื่อง 15วัน All-in-1 แทนการเจาะน้ำตาล 7,160ครั้ง
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
HotCGM
Anytime CT3 | CGM ตรวจน้ำตาลต่อเนื่อง 14วัน เพิ่มผู้ติดตามได้ Rechargeable Battery
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
CGM
CGM CT10 | ตรวจน้ำตาลอย่างแบบต่อเนื่อง10วัน Bluetooth ติดตั้งได้เอง
1,990฿ – 5,950฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
BGM
BGM | เครื่องตรวจน้ำตาล เบาหวาน แบบเจาะปลายนิ้ว Bluetooth
280฿ – 1,000฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
Highlight
แบบทดสอบประเมินอื่นๆ
อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น