ต้องบอกก่อนเลยว่าก่อนหน้านี้ นุ๊กไม่เคยมีข้อมูลเรื่องการใช้งานเครื่อง Cpap หรือมีความรู้เลย จนกระทั่งมีญาตผู้ใหญ่ที่อยู่ในภาคอีสานที่เสียชีวิตจากการนอนหลับไปเฉยๆ ซึ่งภาษาบ้านนอกเลยที่เรียกกันนั่นก็คือโรคไหลตาย เข้าใจมาแบบนั้นตลอด จนกระทั่งเมื่อมีญาตเสียชีวิตจากการนอนเป็นเรื่องที่น่าตกใจมากๆ เลยได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคไหลตาย จนมาพบว่าโรคนี้เรียกว่า OSA หรือภาวะหยุดหายใจในขณะการนอนหลับ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ แล้วมันสามารถเกิดขึ้นกับตัวเราเองได้ทุกเมื่อ
ทำไมถึงคิดว่าตัวเองเป็น OSA ?? ต้องบอกก่อนเลยว่า ปกติตัวเองมีน้ำหนักเยอะ ถึง 103 กก. ซึ่งถือว่าเป็นภาวะอ้วน เลยทำให้การนอน มีเสียงกรน ซึ่งตัวเองตอนที่ยังไม่มีความรู้ ก็คิดว่าคนอ้วนก็นอนกรนเป็นเรื่องปกติ ไม่เห็นแปลก แต่พอศึกษาข้อมูลแล้ว ตัวเราเองก็เข้าข่ายอาการของ OSA หรือมีภาวะเสี่ยงที่จะหยุดหายใจในขณะนอนหลับได้ จนกระทั่งไปรู้จักกับเครื่อง CPAP หรือ Continuous Positive Airway Pressure คือเครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปากขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศได้อย่างเพียงพอ ซึ่งคนที่เป็นโรค OSA จำเป็นต้องใช้ หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หรือจำเป็นจะต้องออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนัก
รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองต้องใช้เครื่อง CPAP ?
ส่วนตัวเราเองได้มีการ Sleep Test จากทางอีไลฟ์ เป็นระดับที่ 3 หรือที่เรียกว่า Home Sleep Test โดยใช้อุปกรณ์ Apnea link อุปกรณ์สำหรับตรวจการนอนหลับชนิดตรวจที่บ้าน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวกลุ่มโรคปอดเรื้อรัง
โดยจะมีเจ้าหน้าที่ นำเครื่อง Apnea Link ไปส่งให้ที่บ้าน และสอนวิธีการติดตั้งเครื่องให้กับเรา ข้อดีของการทำ Sleep Test กับทางอีไลฟ์ คือ ทางร้านมีระยะเวลให้ใช้ได้ 2 คืน เผื่อเกิดเหตุการณ์ Fail night เพราะเป็นเรื่องธรรมดา ที่ปกติเวลาเรานอนทั่วไปเราสามารถนอนหลับได้ง่าย แต่เมื่อต้องใส่อุปกรณ์ต่างๆ มีสายแคนนูล่า มีอะไรคาดที่หน้าอก จะทำให้เรารู้สึกอัดอัด จนทำให้นอนไม่หลับ จนทำให้ไม่สามารถได้ผล Sleep Test ที่สมบูรณ์ โดยปกติแล้ว การ Sleep test ชนิดนี้ จะต้องนอนต่อเนื่องและใช้เครื่องอย่างน้อย 4 ชั่วโมงขึ้นไป จึงจะสามารถวัดค่า และวิเคราะห์ผลออกมาได้
ภาพด้านบน คือผลหลังจากการทำ Home Sleep Test ได้ 1 คืน ผลแสดงค่า
- AHI อยู่ที่ 41.4 แยกเป็น AI : 3.0 , HI : 38.4 เรียกว่าเป็น OSA ที่อยู่ในระดับ Severe (ระดับที่รุนแรง)
- HI : 38.4 คือค่าการหายใจแผ่วตลอดทั้งคืน ที่เกิดจาก OSA ทำให้ค่า Saturation ตกลงไปต่ำมากถึง 70 (ค่าออกซิเจน) ปกติค่าออกซิเจนในร่างกายต้องไม่ต่ำกว่า 95
- มีภาวะ OSA จากการนอนหงาย มากกว่าการนอนตะแคง
- หากคิดเป็นจำนวนครั้ง คิดเป็นหยุดหายใจ 13 ครั้ง หายใจแผ่ว 164 ครั้ง ใน 1 คืน
” สรุปผลจากการ Sleep Test ได้ว่า นุ๊กมีภาวะ OSA ในระดับที่รุนแรง และสมควรที่จะใช้เครื่อง CPAP ในการนอน เพื่อช่วยลดโอกาสการหยุดหายใจและควบคู่กับการออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนัก ก็จะช่วยให้ภาวะการหยุดหายใจ ในขณะนอนหลับลดน้อยลง “
แต่นุ๊กเลือกที่จะใช้เครื่อง CPAP จากแบรนด์ YUWELL รุ่น YH-450 ที่เป็น Auto CPAP ปรับค่า Pressure โดยอัตโนมัติ เพราะตัวเครื่องสามารถ Detect ตรวจจับลมหายใจเข้าออกของเราได้ เมื่อไหร่ที่ไม่เกิดการหายใจ ตัวเครื่องจะทำงานโดยเริ่มปล่อย Pressure จนกว่าจะ Clear Event ได้ หรือพูดง่ายๆ ตัวเครื่องจะเพิ่มแรงดันลมเข้าไปอัตโนมัติ จนกว่าเราจะหายใจได้ปกติ โดยตัวเครื่องจะทำงานในลักษณะนี้ตลอดทั้งคืน หากใช้เครื่องในระยะยาวมีการใช้เครื่องอย่างต่อเนื่อง จะสังเกตุได้ว่าค่า AHI ของเราจะลดลง เนื่องจากสามารถดู Report รายงานจากตัวเครื่องได้เลย
หลังจากได้ทดลองใช้เครื่อง CPAP ในขณะนอนหลับได้ 2 คืน คนรอบข้างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า กลางคืนนอนไม่กรนแล้ว ซึ่งต้องบอกเลยว่านุ๊กเป็นคนหลับได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะหลับสนิท หรือหลับไม่สนิท ก็จะมีเสียงกรนออกมาทุกครั้ง บางครั้งแอบงีบหลับในที่ทำงาน โดยที่หลับไม่สนิทก็มีเสียงกรนออกมา ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน และเพื่อนๆ ร่วมงาน เมื่อได้ยินเสียงกรน ก็รู้ทันทีเลยว่า นุ๊กแอบนอนหลับในขณะทำงาน เลยทำให้พักหลังๆ ไม่กล้าหลับแล้ว 555555555 โดยอาการง่วงในเวลากลางวัน ก็สามารถบ่งบอกได้แล้วว่าตัวเองเสี่ยงที่จะเป็นโรค OSA แล้วพอยิ่งได้ไปทดสอบการนอนหลับแบบ Home Sleep test ผลที่ได้ออกมาคืออยู่ในระดับรุนแรง ยิ่งต้องรีบหาเครื่อง CPAP มาไว้ใช้ติดบ้านเลยค่ะ
ซึ่งเครื่อง CPAP ก็มีหลายแบรนด์ให้เลือก แต่นุ๊กเลือกใช้งานเครื่อง CPAP แบรนด์ Yuwell รุ่น YH-450 เป็นแบรนด์ของจีน ด้วย Budget ที่มีอย่างจำกัด แต่เมื่อได้ใช้เครื่องจากแบรนด์จีนแล้ว ก็รู้สึกว่าตัวเครื่องก็สามารถใช้งานได้ดีเหมือนกัน แต่ถ้ามีโอกาสก็อยากจะลองใช้งานเครื่องของแบรนด์ชั้นนำอื่นๆ อีกค่ะ
OSA คืออะไร ??
OSA หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ เป็นอันตรายและอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาจนถึงเสียชีวิตได้ พบได้ในทุกอายุ โดยมักจะพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือกลุ่มคนที่น้ำหนักตัวมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่สังเกตถึงความผิดปกติในขณะหลับของตนเอง บ่อยครั้งที่ผู้พบความผิดปกติเป็นคู่สมรสหรือคนใกล้ชิด >> อ่านต่อ CPAP คืออะไร? / รักษานอนกรน OSA หยุดหายใจ?
การประเมินความเสี่ยง ของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) นิยมใช้แบบสอบถามด้านล่างซึ่งพบว่าถ้ามีปัจจัยตั้งแต่สามข้อขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ประเมิน ความเสี่ยง OSA หยุดหายใจขณะนอนหลับ ด้วยตัวเอง >> https://www.elifegear.com/osa-pretest/
แนวทางการรักษา Sleep Apnea (โรคหยุดหายใจขณะหลับ)
สำหรับแนวทางการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรค โดยดูจากประวัติอาการบอกเล่าของคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด การตรวจร่างกาย และผลการทดสอบการหยุดหายใจขณะหลับ หรือผล Sleep Test
การตรวจ Sleep test เป็นการตรวจด้วยเครื่องตรวจเฉพาะ โดยจะตรวจสัญญาณของร่างกายขณะหลับได้พร้อมๆ กันหลายส่วน เช่น การตรวจวัดลักษณะการหายใจ เพื่อดูจำนวนครั้งของการหยุดหายใจ การทำงานของสมอง การเคลื่อนไหวของลูกตา การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ปริมาณอากาศในการหายใจเข้าออก และปริมาณออกซิเจนในเลือด เป็นต้น
คำศัพท์เบื้องต้น อาการหยุดหายใจ OSA นอนกรน ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
- OSA – Obstructive Sleep Apnea คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกัน/ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาษาง่ายๆคือ มีการตีบตัน-บังของทางเดินหายใจ เช่น โคนลิ้นหรือกล้ามเนื้อช่องคอหย่อน ปิดทางเดินหายใจ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากเกิดจากความอ้วน และ อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนปิดกั้นทำให้อากาศไหลไปสู่ปอดได้น้อยลง-หยุดหายใจ โดยมากจะมีอาการนอนกรนร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นอันตรายอย่างมากในระยะสั้นทำให้รู้สึกไม่สดชื่นเพราะขณะหลับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เพลีย อารมณ์แปรปรวน ระยะยาวนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับสมอง ชาวบ้านอาจมีคำศัพท์ว่า “ไหลตาย” มีความเกี่ยวเนื่องกับ OSA
- AHI – Apnea Hypopnea Index คือ ดัชนีใช้ในการวัดการหยุดหายใจ (AI – Apnea Index) และ หายใจแผ่ว (HI – Hypopnea) โดยค่านี้เป็นการวัดระดับความรุนแรงของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ OSA โดยค่านี้จะเป็นหน่วยเป็น ครั้ง/ชม. เช่น ตัวผู้เขียนเองก่อนรักษามีค่า AHI = 41 หมายความว่า ตอนนอนมีการหยุดหายใจ/หายใจแผ่ว 41ครั้ง/ชม. ซึ่งค่านี้ถือว่าอันตรายต้องรีบรักษา
- AHI < 5 ปกติ คนทั่วไปอาจเกิดอาการหายใจได้แต่ไม่ควรเกิน 5ครั้ง/ชม.
- 5≤AHI<15 ภาวะหยุดหายต่ำ อาจจะปรับท่านอน ออกกำลัง ลดน้ำหนัก
- 15≤AHI<30 ภาวะหยุดหายกลาง ควรเริ่มรักษา ควบคู่กับการควบคุมน้ำหนัก ใช้งาน CPAP
- AHI≥30 ภาวะหยุดหายใจรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษา เป็นระดับอันตรายกับร่างกายทั้งระยะสั้นและยาว รักษาด้วย CPAP, เครื่องทางทันตกรรม, ผ่าตัด ตามคำแนะนำแพทย์
- SPO2 – ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด %ออกซิเจนในเลือด โดยค่านี้แปรผันกับค่า AHI ผู้ที่มี AHI สูงมีการหยุดหายใจสูงค่าออกซิเจนจะลดลงต่ำขณะหลับ ตย. ผู้เขียนก่อนมีการรักษามีค่า SPO2 อยู่ที่ 86% จากปกติตอนตื่นมีค่าอยู่ประมาณ 97% จะเห็นว่าอาการหยุดหายใจขณะหลับมีอันตรายกว่าที่คิดมาก
เมื่อพบสาเหตุหรืออาการผิดปกติ แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ดังนี้
- กรณีที่อาการอยู่ในระดับน้อย (Mild OSA)
- กรณีที่อาการอยู่ในระดับปานกลาง (Moderate OSA)
- กรณีที่อาการอยู่ในระดับรุนแรง (Severe OSA)
ในประเทศไทยมีการตรวจการนอนหลับด้วยกันทั้งหมด 3 Typ ได้แก่
- ตรวจการนอนหลับ ระดับที่ 1 การตรวจสุขภาพการนอนแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography)
- ตรวจการนอนหลับ ระดับที่ 2 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดทั้งคืน (Comprehensive-unattended portable polysomnography)
- ตรวจการนอนหลับ ระดับที่ 3 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test หรือเรียกว่า Home Sleep Test โดยใช้ค่า Apnea Hypopnea Index (AHI) ในการบอกความรุนแรง
Tric ::
อาการหยุดหายใจขณะหลับหรือ Sleep Apnea เป็นปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ บางครั้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจไม่มีความรุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้สนใจป้องกันรักษา เมื่ออาการมีความรุนแรงมากขึ้น ก็จะทำให้ยากต่อการรักษา ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะหรือวินิจฉัยสาเหตุของโรคเพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป