‘ประกันสังคม’ ให้สิทธิเบิก ‘ค่า Sleep test-เครื่อง CPAP’ มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567
ทุกคนทราบ หรือ ไม่ว่าประกันสังคมออกประกาศสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเบิกค่า Sleep Test ได้ และจ่ายไม่เกิน 7,000.-บาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 โดยมีเนื้อหนาดังต่อไปนี้ สำนักงานประกันสังคม ออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดย พล.ต.ท.ธนา ธุระเจน ประธานกรรมการการแพทย์ ประกาศ ณ. วันที่ 22 มกราคม 2567กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทน รักษาผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous Positive Airway Pressure : CPAP)
สาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าว สืบเนื่องตามติคณะกรรมการการแพทย์ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 โดยเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีรักษาผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่อง CPAP ให้แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 13) ในการประชุมครั้งที่ 20/2566 เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2566
สาระสำคัญสำหรับผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ คือ
- ค่าตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ชนิดที่ 1 จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 7,000 บาท
- ค่าตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ชนิดที่ 2 (การตรวจวัดเหมือนชนิดที่ 1 เว้นแต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามขณะหลับ)จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 6,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous positive Airway Pressure – CPAP) และอุปกรณ์เสริมสำหรับการรักษาในอัตราที่สำนักงานที่กำหนด อย่าง
- เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า ชุดละ 20,000 บาท
- หน้ากากครอบจมูกหรือปากที่ใช้กับเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า ชิ้นละ 4,000 บาท
ทั้งนี้ค่าอุปกรณ์เสริม แผ่นกรองอากาศ กระดาษ และแผ่นกรองอากาศฟองน้ำ ให้รวมอยู่ในค่าบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ์ในการรับบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิ
-
ผู้ประกันตนตามมาตรา33 และ มาตรา39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
-
ผู้ประกันตนตาม มาตรา38 และ มาตรา41 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ และได้รับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
สามารถอ่านเอกสารตัวเต็มได้ที่นี่ (คลิก)
**ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก PPTV สถานีสุขภาพ***
CPAP คืออะไร?
หลายคนสงสัยและคงเคยได้ยิน เครื่องซี-แพบ CPAP กันมาบ้างจากช่องทาง Social และ Youtube วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเครื่องช่วยหายใจ PAP, APAP, BiPAP, CPAP เครื่องมือที่ช่วยทำให้สุขภาพการนอนของคุณดีขึ้น รักษาอาการกรน OSA อาการหยุดหายใจขณะหลับ ที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย ง่วงทั้งวัน นอนไม่อิ่ม เนื่องจากร่างกายขาด Oxygen ขณะนอนหลับ เครื่องรักษาอาการนอนกรน (CPAP) หรือเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ช่วยรักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับ Sleep Apnea, นอนกรน ลดอาการอ่อนเพลียเหมือนนอนไม่พอระหว่างวัน อาการหยุดหาย นอนกรนส่งผลร้ายในระยะยาวกับผู้ป่วย ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ ความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงสูงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคทางสมอง ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก เครื่อง CPAP ช่วยลดการปิดกั้นในระบบทางเดินหายใจขณะหลับ ลดอาการกรนและภาวะการหยุดหายใจระหว่างหลับ SOP
คำศัพท์เบื้องต้น อาการหยุดหายใจ OSA นอนกรน ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
- OSA – Obstructive Sleep Apnea คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกัน/ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาษาง่ายๆคือ มีการตีบตัน-บังของทางเดินหายใจ เช่น โคนลิ้นหรือกล้ามเนื้อช่องคอหย่อน ปิดทางเดินหายใจ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากเกิดจากความอ้วน และ อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนปิดกั้นทำให้อากาศไหลไปสู่ปอดได้น้อยลง-หยุดหายใจ โดยมากจะมีอาการนอนกรนร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นอันตรายอย่างมากในระยะสั้นทำให้รู้สึกไม่สดชื่นเพราะขณะหลับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เพลีย อารมณ์แปรปรวน ระยะยาวนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับสมอง ชาวบ้านอาจมีคำศัพท์ว่า “ไหลตาย” มีความเกี่ยวเนื่องกับ OSA
- AHI – Apnea Hyponea Index คือ ดัชนีใช้ในการวัดการหยุดหายใจ (AI – Apnea Index) และ หายใจแผ่ว (HI – Hyponea) โดยค่านี้เป็นการวัดระดับความรุนแรงของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ OSA โดยค่านี้จะเป็นหน่วยเป็น ครั้ง/ชม. เช่น ตัวผู้เขียนเองก่อนรักษามีค่า AHI = 41 หมายความว่า ตอนนอนมีการหยุดหายใจ/หายใจแผ่ว 41ครั้ง/ชม. ซึ่งค่านี้ถือว่าอันตรายต้องรีบรักษา
- AHI < 5 ปกติ คนทั่วไปอาจเกิดอาการหายใจได้แต่ไม่ควรเกิน 5ครั้ง/ชม.
- 5≤AHI<15 ภาวะหยุดหายต่ำ อาจจะปรับท่านอน ออกกำลัง ลดน้ำหนัก
- 15≤AHI<30 ภาวะหยุดหายกลาง ควรเริ่มรักษา ควบคู่กับการควบคุมน้ำหนัก ใช้งาน CPAP
- AHI≥30 ภาวะหยุดหายใจรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษา เป็นระดับอันตรายกับร่างกายทั้งระยะสั้นและยาว รักษาด้วย CPAP, เครื่องทางทันตกรรม, ผ่าตัด ตามคำแนะนำแพทย์
- SPO2 – ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด %ออกซิเจนในเลือด โดยค่านี้แปรผันกับค่า AHI ผู้ที่มี AHI สูงมีการหยุดหายใจสูงค่าออกซิเจนจะลดลงต่ำขณะหลับ ตย. ผู้เขียนก่อนมีการรักษามีค่า SPO2 อยู่ที่ 86% จากปกติตอนตื่นมีค่าอยู่ประมาณ 97% จะเห็นว่าอาการหยุดหายใจขณะหลับมีอันตรายกว่าที่คิดมาก
คำศัพท์เบื้องต้น เครื่องช่วยหายใจ CPAP
- PAP – Possitive Airway Pressure “แพบ” เป็นเครื่องสร้างความดันแบบต่อเนื่อง(เป่าลม) แรงดันดังกล่าวจะช่วยเปิดทางเดินหายใจ ให้อากาศสามารถเข้าสู่ปอดได้ PAP เป็นการกล่าวรวมเครื่องช่วยหายใจแบบอัดแรงดันต่อเนื่อง
- CPAP – ซีแพบ นิยมเรียกเครื่องช่วยหายใจแบบแรงดันต่อเนื่อง เริ่มต้นนั้นจะเป็นแบบตั้งความดัน Manual ต่อมาพัฒนาต่อเป็นแบบ Auto แต่ก็ยังติดปากเรียก CPAP กันต่อ แรงดันที่เครื่องสร้างทำให้ช่องทางหายใจสะดวก ลมสามารถผ่านเข้าปอดได้ รักษาอาการ OSA หยุดหายใจขณะหลับ อาการนอนกรน
- APAP – เอแพบ เป็นเครื่องที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน พัฒนาต่อมาจาก CPAP โดยมี Sensor ตรงจับอาการ OSA เมื่อพบอาการดังกล่าวเครื่องจะทำการเพิ่มความดันโดยอัตโนมัติ เครื่อง APAP ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันในการรักษา OSA หลายๆครั้งจะเรียกเครื่องแบบนี้ติดปากว่า CPAP โดยเครื่องนี้สามารถตั้ง Mode การทำงานแบบ Manual หรือ Auto ได้
- BiPAP – ไบแพบ Bi-level เครื่องนี้จะแตกต่างจากเครื่องช่วยหายใจข้างต้น โดยเครื่องนี้จะมีค่า 2ความดัน ความดันสูง Inhale เพื่อดันอากาศเมื่อหายใจเข้า และ ความดันต่ำ Exhale เพื่อช่วยให้หายใจออกจากปอด เครื่องนี้จะมีราคาสูงกว่าต้องการความชำนาญในการใช้ ควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยจะเหมาะกับคนที่ปัญหาการหายใจ ปัญหาการทำงานของปอด
- Heated Tube – โดยมาก CPAP จะมาพร้อมระบบทำความชื้น Humidifier ป้องกันไม่ให้คอแห้ง ทางเดินหายใจแห้งและระคายเคือง แต่ที่แนะนำอีกตัวคือ Heated Tube คือระบบทำความร้อนในท่ออากาศ ตัวนี้จะช่วยรักษาอุณหภูมิของอากาศที่เราหายใจให้คงที่ ลดอาการภูมิแพ้ (ผู้มีอาการภูมิแพ้อากาศ) ช่วยทำให้สุขภาพการนอนดีขึ้น
- cmH2O – เป็นหน่วยวัดความดันของ CPAP ที่ใช้ในการรักษา โดยค่าในการรักษาทั่วไปอยู่ที่ 5-15cmH2O (เมืองไทยใช้หน่วยนี้ แต่ตปท. อาจจะหน่วย mmHg BAR เป็นต้น) อ่านว่า เซนติเมตรน้ำ
ส่วนประกอบของ CPAP
เครื่องช่วยหายใจ ซีแพบประกอบด้วย 5ส่วนสำคัญ โดยหน้าที่ CPAP ง่ายๆคือ “CPAP เป็นเครื่องสร้างแรงดันอากาศเพื่อเปิดทางเดินหายใจที่ถูกปิดกั้นอยู่ ให้อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้”
- เครื่องสร้างแรงดัน อัดอากาศทำงานโดยมอเตอร์อัดแรงดันทางการแพทย์ อัดอากาศผ่านตัวกรองฝุ่น
- เครื่องสร้างความชื้น Humidifier (Optional) อากาศที่ถูกอัดจะผ่านส่วนทำความชื้น การทำความชื้นช่วยให้การหายได้มีคุณภาพดีขึ้น ลดอาการระคายเคืองในทางเดินหายใจ อาการคอแห้ง น้ำที่เติมแนะนำเป็นน้ำดื่ม
- ท่อสายนำอากาศ อาจเรียก Air Hose, Air Tube ท่ออ่อนนำอากาศ โดยมากจะทำความยาว 2เมตร หรือมากกว่า เผื่อให้ผู้ใช้สามารถวางเครื่องได้ไกลตัว + สามารถเปลี่ยนท่าทางในขณะนอนหลับ แนะนำท่อนำสายแบบที่สามารถทำความร้อนด้วย (Heated Tube) อากาศที่ผ่านมาจะถูกควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ ทำให้การหายใจดีขึ้น สำหรับผู้มีแนวโน้มเป็นภูมิแพ้อากาศ
- หน้ากาก CPAP Mask เมื่ออาการถูกอัดและส่งผ่านท่อนำแล้วจะมายังหน้ากากเครื่องช่วยหายใจ หน้ากากทำหน้าที่ 2ส่วน คือเป็นส่วนครอบติดกับร่างกายเพื่อนำอากาศ O2 เข้า และระบายอากาศ CO2 ออกนอกหน้ากาก ใบหน้าของแต่ละคนไม่เท่ากัน พฤติกรรมการนอนก็แตกต่าง ควรเลือกหน้ากากให้เหมาะสมกับตัวเองทั้งแบบ และ ขนาด โปรดปรึกษาผู้จำหน่าย วิธีการเลือกหน้ากาก
- ส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ (Optional) เช่น หลายกรณีใช้ CPAP ร่วมด้วยกับเครื่องผลิต Oxygen Concentrator แทนที่จะอัดอากาศจากห้องนอนก็ต่อสายออกซิเจนเข้าด้วย | นอกจากนั้น CPAP หลายตัวสามารถทำงานร่วมกับ Oximeter เพื่อวัดปริมาณ Oxygen, Heart Rate เป็นต้น
CPAP ทำงานอย่างไง? รักษานอนกรน หยุดหายใจ OSA?
CPAP เป็นเครื่องสร้างแรงดันอากาศเพื่อเปิดทางเดินหายใจที่ถูกปิดกั้นอยู่ ให้อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้
- CPAP สร้างแรงดันต่อเนื่อง ส่งอากาศเข้าสู่หน้ากาก
- ร่างกายหายใจเข้า จากปกติที่มีภาวะ OSA แรงดันจะช่วยเปิดทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างขึ้น
- Inhale อากาศสามารถไหลเข้าสู่ปอด ปอดได้รับออกซิเจน นำไปสู่กระบวนการเติมออกซิเจนเข้าเลือด และ เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาเมื่อหายใจออก
- Exhale ปอดดันอากาศที่มี CO2 ออกมาที่หน้ากาก หน้ากากที่รูพรุนให้ Exhale ระบายออกที่จุดนี้
- ดำเนินการในส่วนที่ 1-4 ตามลำดับต่อไปเรื่อยๆ
CPAP ช่วยรักษาอาการ OSA หยุดหายใจขณะหลับโดยตรง และมีผลทางอ้อมคือ รักษาอาการนอนกรน, อาการอ่อนเพลียง่วงระหว่างวัน เนื่องจาก Oxygen ต่ำขณะหลับ รักษาร่างกายในระยะยาว เช่น ความดันสูง, เบาหวาน โรคทางประสาทสมอง นอกจากการรักษาอาการ OSA ด้วย CPAP แล้วยังมีทางเลือกอื่น เช่น การลดน้ำหนัก, การใช้เครื่องมือทางทันตกรรมใส่ตอนนอน, การผ่าตัดเล็ก (เนื้อเยื้อกระดูกอ่อน) ผ่าตัดใหญ่ (กราม) เป็นต้น
ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ การทำ Sleeptest เพื่อระบุถึงปัญหาต่อไป
Mask หน้ากาก CPAP มีกี่แบบ?
- Full Mask – หน้ากาก CPAP ชนิดชนิดครอบปากและจมูก ชนิดนี้มีโอกาศเกิดลมรั่วน้อยที่สุด แต่อาจจะทำให้อึดอัด เหมาะสำหรับผู้มีพฤติกรรม นอนอ้าปาก ผู้สูงอายุ
- Nasal Mask – หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ แบบครอบจมูก วัสดุซิลิโคนนิ่ม สบายกว่าการใช้งาน Full Mask แต่ก็มีโอกาสรั่วของอากาศ แนะนำสำหรับผู้ใช้ครั้งแรก
- Nasal Pillows – หน้ากากแบบหมอดรองจมูก เป็นซิลิโคนรองอยู่ใต้จมูก มีรู2รูเข้าจมูมเลย แบบนี้จะสัมผัสกับร่างกายน้อยที่สุด (สบายสุด) ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งาน สบายแต่อาจแลกมาด้วยการรั่วขณะพลิกตัว
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านเรื่องหน้ากาก สามารถอ่านตัวเต็มได้ที่นี่ CPAP Mask 3ชนิดเลือกอย่างไง? ข้อดี-เสีย หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ