fbpx

ฝุ่นPM2.5ในอากาศ อันตรายกว่าที่คุณคิด

ฝุ่นPM2.5ในอากาศ อันตรายกว่าที่คุณคิด

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันนี้ปัญหาฝุ่นละอองในอากาศถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของเรา และการรับมือกับฝุ่นละอองในปริมาณมากๆก็ถือเป็นเรื่องที่จัดการได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร เมืองท่องเที่ยวต่างๆ และเมืองหลวงของอีกหลายประเทศทั่วโลก ที่ต้องเผชิญปัญหามลพิษจากฝุ่นในอากาศ ด้วยปริมาณประชากรที่หนาแน่น ความคับคั่งของการจราจร และความแออัดของการอยู่อาศัย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการเกิดฝุ่นละอองในอากาศ และการรับมือในปัจจุบันก็ทำได้เพียงป้องกันและดูแลสุขภาพของตัวเองเท่านั้น

 

ฝุ่นละอองในอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร

ฝุ่นละอองต่างๆในอากาศ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นที่ฟุ้งกระจายหรือแม้แต่ฝุ่นที่เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่ถูกเรียกกันว่าพีเอ็ม 2.5 ที่มีขนาดของฝุ่นละอองเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ฝุ่นเหล่านี้ล้วนเกิดจากการเผาไหม้เครื่องจักรโดยเฉพาะเครื่องยนต์ของรถยนต์ทั้งใหม่และเก่า ยิ่งในสภาพการจราจรที่ติดขัดของประเทศไทยซี่งทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์มีปริมาณที่มากขึ้น และจะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ อีกทั้งฝุ่นละอองในอากาศสามารถเกิดจากการเผาขยะทำให้เกิดเขม่าควันลอยอยู่ในอากาศ รวมถึงฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้างตึกอาคารซึ่งฝุ่นเหล่านี้เมื่อลอยตัวอยู่ในอากาศจะทำให้อากาศโดยรอบไม่บริสุทธิ์ และการรับมือต่อฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่ที่อยู่อาศัยยังเป็นไปได้ยาก เพราะปัจจุบันมีตึกอาคารที่มีความสูงเป็นจำนวนมาก ทำให้ปิดกั้นทางลม ทำให้ลมไม่สามารถผ่านได้และทำให้ฝุ่นละอองนี้จะลอยนิ่งอยู่ในอากาศ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้คุณภาพอากาศยิ่งเร็วร้ายลงไปอีกด้วย

ภัยอันตรายที่เกิดจากฝุ่น

แน่นอนว่ามลพิษทางอากาศส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจและปอดโดยตรง ยิ่งเมื่อฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ง่ายและรวดเร็ว การสูดหายใจเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กติดต่อกันไประยะหนึ่งจะส่งผลให้เกิดการตกตะกอนที่อวัยวะภายใน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับฝุ่นละอองมีอาการเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดและหากสะสมเป็นเวลานานอาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้ในที่สุด หรือหากได้รับฝุ่นละอองในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดการตกตะกอนภายในหลอดเลือด จะสามารถทำให้เกิดภาวะเสี่ยงหัวใจวายหรือหลอดเลือดสมองตีบได้และยังสามารถส่งผล ให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และเลือดจะมีความหนืดสูง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและสามารถเสียชีวิตได้เลย

ระวังฝุ่นในเขตกรุงเทพ

ฝุ่นละออง PM 2.5 พื้นที่ กรุงเทพ เช้านี้ (12 ก.พ.67) ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 68 พื้นที่ หนักสุด เขตคลองสามวา ตรวจวัดได้ 59.7 มคก./ลบ.ม. ขณะที่ปริมณฑลค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 11 พื้นที่ หนักสุด ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ตรวจวัดได้ 52.3 มคก./ลบ.ม.

ณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพได้แก่

  • แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
  • เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ
  • ริมถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ
  • แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
  • เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ

วิธีดูแลตัวเองและป้องกันตัวเองจากฝุ่น

การดูแลตัวเองจากฝุ่นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ง่ายง่ายคือสวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกที่สามารถกรองฝุ่นละอองได้อย่างดีเช่นหน้ากากN95 ที่สามารถกรองฝุ่นได้อย่างน้อย 95% และหน้ากากN 99 ที่สามารถกรองได้มากถึง 95% โดยต้องสวมอย่างถูกต้องตามวิธีการใช้ ทั้งนี้ควรหมั่นกระชับหน้ากากมาให้หลวมเนื่องจากฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมากจนสามารถลอดผ่านหน้ากากได้ง่าย และไม่ควรนำหน้ากากที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ พยายามอยู่ในบ้านหรืออาคารที่ปิดมิดชิด อาจใช้ชื่อเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน หรือเครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้อากาศภายในบ้านหรืออาคารเกิดความบริสุทธิ์ขึ้น หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้านหรือในที่ที่มีปริมาณฝุ่นเยอะ หากจำเป็นพยายามป้องกันไม่ให้ตัวเองได้รับฝุ่นมากจนเกินไป เลี่ยงการสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน เพราะการสูบบุหรี่และสูดควัน อาจส่งผลกระทบให้ระบบทางเดินหายใจและปอดอ่อนแอ หากต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศ จะยิ่งส่งผลให้สุขภาพแย่ลงเสี่ยงต่อความหืดหอบและมะเร็งปอดอีกด้วย

 

ทั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรพกยาติดตัวหรือพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความหนาแน่นของมลพิษทางอากาศ หรือไม่แน่ใจการป้องกันตนเองจะได้ผลหรือไม่ โดยเฉพาะบุคคลที่มีกลุ่มเสี่ยง หากพบอาการเช่น หายใจลำบาก หน้ามืด อ่อนแรง หรือไอติดต่อกันรุนแรง ควรพบแพทย์โดยด่วน และควรหมั่นตรวจสอบร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ สังเกตตัวเองหรือพฤติกรรมง่ายๆ ตัวเองหายใจติดขัดหรือไม่ ระคายคอ ไอ จาม หรือมีเสมหะ และอาการเหนื่อยหอบง่าย หรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยในเรื่องของการดูแล อย่างเช่น การใช้ที่ตรวจออกซิเจนในร่างกายแบบพกพา ที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่า เราได้รับออกซิเจนต่อร่างกายเพียงพอหรือไม่ เพราะการรับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอนั้นสำคัญมาก
และควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพื่อการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพที่สุดนะคะ

สามารถเช็คค่าทุกวันได้เองจาก: https://airquality.airbkk.com/PublicWebClient/#/Modules/Aqs/HomePage


เครื่องรักษาอาการนอนกรน (CPAP)

เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator)