ผมเชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก โรคเบาหวาน อยู่แล้ว ว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับการที่น้ำตาลในเลือดมากกว่าปกติ แต่ผมคิดว่าน้อยคนจะรู้จัก โรคเบาจืด และน้อยคนจะรู้ว่าถึงชื่อโรคจะคล้ายกันและดูเกี่ยวข้องเป็นโรคเดียวกัน แต่จริงๆแล้วกลับเป็นคนอย่างกันแทบจะสิ้นเชิงเลยด้วยซ้ำ
โรคเบาจืด คืออะไร? แตกต่างจากโรคเบาหวานอย่างไร?
โรคเบาจืด คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายเสียสมดุลน้ำ จากการขาดฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone) ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้หลอดไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้ร่างกายปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ โดยคนปกติจะปัสสาวะวันละ 1-2 ลิตร แต่ในผู้ป่วยโรคเบาจืดจะปัสสาวะมากกว่าวันละ 2 ลิตร ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจปัสสาวะได้มากถึงวันละ 20 ลิตร และก่อให้เกิดอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง
ในขณะที่โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เนื่องจากการขาดหรือดื้ออินซูลิน สิ่งที่โรคเบาหวานคล้ายโรคเบาจืด คือเรื่องของลักษณะอาการเด่นที่พบ คือ ปัสสาวะบ่อย-มากผิดปกติ และกระหายน้ำ แต่ในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีน้ำตาลถูกขับออกมาด้วย ในขณะที่โรคเบาจืดจะขับแค่เพียงน้ำออกมาเท่านั้น
โรคเบาจืด แบ่งตามสาเหตุได้ 4 ชนิด
1.โรคเบาจืดจากความเสียหายของสมอง บริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัส หรือบริเวณต่อมใต้สมอง ทำให้ไม่สามารถผลิต สะสม และหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้ตามปกติ จึงทำให้ของเหลวจำนวนมากถูกกำจัดออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งการที่สมองเกิดความเสียหายนั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิ
- อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- ผลพวงจากการผ่าตัดสมอง
- การสูญเสียเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงต่อมใต้สมอง
- เนื้องอกบริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัส หรือต่อมใต้สมอง
- การติดเชื้อที่สมอง
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- โรคบางชนิดที่ส่งผลให้สมองบวม
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม
2.โรคเบาจืดจากความผิดปกติของไต หลังจากที่ต่อมใต้สมอง หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกออกมาสู่กระแสเลือดและท่อไต ไตจะเกิดการดูดน้ำกลับเข้าเลือด ทำให้ปริมาตรของเลือดเพิ่มขึ้น และขับถ่ายปัสสาวะได้น้อยลง แต่หากไตเกิดความผิดปกติหรือเสียหาย จนไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้ จะทำให้ปัสสาวะออกมามากผิดปกติ โดยสาเหตุที่ส่งผลให้ไตผิดปกติ อาทิ
- โรคไตเรื้อรัง
- ทางเดินปัสสาวะอุดตัน
- ระดับแคลเซียมในร่างกายสูง หรือโพแทสเซียมในร่างกายต่ำจนเกินไป
- การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของไต เช่น ยารักษาอาการทางจิต(ลิเทียม) ยาต้านไวรัสบางชนิด
3.โรคเบาจืดจากความผิดปกติของกลไกควบคุมการกระหายน้ำ อาจเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจิต หรือการใช้ยาบางชนิด
4.โรคเบาจืดขณะตั้งครรภ์ เกิดจากเอ็นไซม์บางตัวที่สร้างขึ้นจากรก เข้าไปทำให้ไตตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกลดลง ทำให้กลายเป็นโรคเบาจืดขณะตั้งครรภ์ได้
อาการของโรคเบาจืด
- ปัสสาวะบ่อยและมากกว่าปกติ โดยปัสสาวะมักจะมีสีอ่อน หรือใสเหมือนน้ำเปล่าได้
- หิวน้ำมากผิดปกติ ดื่มน้ำเท่าไหร่ก็รู้สึกว่าไม่พอ จนแทบจะต้องดื่มน้ำตลอดเวลา
- ปากแห้ง คอแห้ง รู้สึกอ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย จนอาจมีปัญหาเรื่องสมาธิ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริวง่าย
- ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว
- อาจปัสสาวะรดที่นอน เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ขณะนอนหลับ
การรักษาโรคเบาจืด
- เกิดความเสียหายบริเวณสมอง จะต้องทำการรักษาความเสียหายนั้นให้ปกติก่อน ในรายที่ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกไม่เพียงพอ แพทย์อาจให้ทานยาทดแทนฮอร์โมนที่ขาดไป แต่ถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจพิจารณาให้ไม่ต้องรักษา แต่เพิ่มปริมาณการดื่มน้ำให้มากขึ้นแทน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ไตทำงานผิดปกติ ก็จะต้องทำการรักษาความผิดปกตินั้นก่อนเช่นเดียวกัน แต่หากความผิดปกตินั้นเกิดจากการใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยา (ห้ามหยุดยาเอง) ถ้าอาการเบาจืดไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
- กลไกควบคุมการกระหายน้ำผิดปกติ และโรคเบาจืดขณะตั้งครรภ์ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่ลดปริมาณของเหลวที่บริโภคเข้าไป และอาจสั่งใช้ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกสังเคราะห์ เพื่อช่วยให้ปริมาณปัสสาวะลดลงด้วย ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการทางจิตร่วมด้วย การรักษาอาการทางจิตก็สามารถช่วยให้โรคเบาจืดทุเลาลงได้เช่นกัน และหากการใช้ยาไม่สามารถช่วยได้ก็อาจต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นแทน เพื่อปริมาณลดปัสสาวะลง
“เรารู้จักโรคเบาจืดกันมาพอสมควรแล้ว เรามาดูเรื่องโรคเบาหวานบ้างดีกว่า”
โรคเบาหวาน (Diabetes) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินซูลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ
ในภาวะที่อินซูลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินซูลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ
สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด
อ่านกันมาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มกังวลกันแล้วระดับน้ำตาลในเลือดของเรานั้นอยู่ในระดับที่เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือยัง แต่ก่อนที่ทุกคนจะรีบโทรไปจองนัดหมดตรวจสุขภาพ ผมจะบอกว่าปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมากจนเราสามารถตรวค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง ทำได้ง่ายๆ ด้วยการนำเลือดของเราเข้าเครื่องตรวจแล้วเครื่องก็สามารถแจ้งค่าน้ำตาลออกมาได้ในเวลาเพียง 8 วินาทีเท่านั้น โอ้โห! พูดไปก็หาว่าเว่อร์ แต่สามารถทำได้จริงและสามารถใช้ผลตรวจนี้ยื่นให้หมอดูได้เลย วิธีนี้เรียกว่า การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง (Self Monitoring of Blood Glucose) ซึ่งสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ มีข้อดีคือทำให้ทราบความเสี่ยงว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ทันที
ซึ่งนิยมเรียกกันว่า เครื่องตรวจน้ำตาล หรือ เครื่องตรวจเบาหวาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อความแม่นยำในการวางแผนการรักษา และประเมินความเสี่ยงการเป็นโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือคนที่ชอบทานหวานอย่างเราก็แอบมีไว้ตรวจเพื่อความสบายใจก็ไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ
แล้วระดับน้ำตาลเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานละ?
- ระดับน้ำตาลในเลือด เมื่องดอาหารอยู่ระหว่าง 70-100 mg/dl หลังทานอาหารน้อยกว่า 140 mg/dl : คุณอยู่ในภาวะปกติ
- ระดับน้ำตาลในเลือด เมื่องดอาหารอยู่ระหว่าง 100 – 125 mg/dl หลังทานอาหารอยู่ระหว่าง 140-200 mg/dl : คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง
- ระดับน้ำตาลในเลือด เมื่องดอาหารระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 mg/dl หลังทานอาหารมากกว่า 200 mg/dl : คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถตรวจน้ำตาลในเลือด ทั้งระบบที่พบเห็นได้ทั่วไปคือเจาะเลือดที่ปลายนิ้วตรวจ BGM และ CGM การตรวจกลูโคสแบบต่อเนื่อง ด้วยการติดตั้ง Sensor 10-15วัน CGM ใช้กันแพร่หลายใน อเมริกาและยุโรป และประเทศพัฒนาแล้ว แต่อาจจะยังใหม่ในไทย อีไลฟ์เป็นศูนย์รวม CGM ชั้นนำในไทยมีให้เลือกมากที่สุด
CGM สามารถทดแทนการเจาะเลือดได้ 6,000-7,000ครั้ง และยังทราบระดับน้ำตาลเป็นกราฟ แทนที่จะเป็นแบบจุดของเวลา BGM ทำให้ตระหนักรู้การกินอาหาร การทานยา และ ทราบเทรนสุขภาพของตน ปัจจุบัน CGM อยู่ในประกันขั้นพื้นฐานในอเมริกา รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่าย เพราะช่วยให้คนรู้สุขภาพของตนได้บละเอียดขึ้น ตระหนักให้ตนรักษาสุขภาพ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่ให้คนไทยได้ใช้เทคโนโลยีนี้
การตราจน้ำตาลมีกี่แบบ
- แบบ CGM สามารถรายงานผลแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนเมื่อระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าค่าที่กำหนด ช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอย่างได้ผล การแสดงผลแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้ทราบว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทราบปริมาณการกินที่เหมาะสม นำไปสู่การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
- แบบ BGM เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบเจาะที่ปลายนิ้วมือและจะมีตัวเครื่องประมวณค่าน้ำตาล บางเครื่องต้องจดค่าเพื่อนำส่งคุณหมอบางเครื่องเก็บค่าไว้ในเครื่องเราก็ไม่สามารถรู้ได้ แต่ตอนนี้มีการเชื่อมตัวเครื่องตรวจเข้ากับแอพพิเคชั่นทำให้ผู้ตรวจสังเกตุและปรับพฤติกรรมเบื้องต้นได้เองแต่ก็ต้องเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์เหมือนเดิม
- แบบ HbA1C เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดที่โรงพยาบาลได้ค่าที่คงที่ แต่จำเป็นต้องไปทำที่โรงบาลเท่านั้นและใช้เวลาอ่านผลนาน
HbA1C Hemoglobin A1C |
BGM Blood Glucose Monitoring |
CGM Continuous Glucose Monitoring |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อดีของ CGM การตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง
เครื่องวัดน้ำตาลแบบเจาะปลายนิ้ว (BGM) สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและมีราคาถูก แต่ก็มีจุดด้อยที่ผู้ใช้จะต้องเจ็บตัวทุกครั้งเมื่อต้องเจาะนิ้ว และการผลบอกผลมีลักษณะเป็นจุดของเหตุการณ์เท่านั้น ไม่ได้เห็นกราฟต่อเนื่อง
CGM เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รับการยอมรับจาก FDA สหรัฐและยุโรป เป็นการติดตั้ง Sensor วัดระดับน้ำตาลใต้ผิวหนัง โดยการวัดระดับน้ำตาลจากของเหลวใต้ผิวหนัง ทำให้สามารถเห็นระดับน้ำตาลต่อเนื่อง เป็น Report ได้ ลดการเจ็บตัวจากการเจาะปลายนิ้ว แต่มีจุดด้อยเช่นกัน โดยค่าน้ำตาลจะมีความ Delay จากการเจาะน้ำตาลจากเลือดเล็กน้อยประมาณ 15-20นาที เนื่องจากต้องใช้เวลาที่ของเหลวใต้ผิวหนังมีการแลกเปลี่ยนน้ำตาลกับเลือด
ผู้ใหญ่กว่า 1ใน3 เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน Prediabetes คือระดับน้ำตาลเกินกว่าค่าเฉลี่ย แต่ยังไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะพัฒนาต่อไปเป็นเบาหวานประเภท2 หากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน พักผ่อน และออกกำลังกาย อีไลฟ์ทำแบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน ใช้เวลาทำเพียง 2นาที เพื่อคัดกรองสำรวจตัวท่านเอง
Highlight
แบบทดสอบประเมินอื่นๆ
อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น
- หาค่า BMI ดัชนีมวลรวมร่างกาย
- คำนวน Calories ที่ควรรับประทานต่อวัน
- แบบประเมินความเสี่ยง OSA การหยุดหายใจขณะหลับ
- แบบประเมินความเสี่ยง เบาหวาน
- บริการทำ Home Sleep Test มาตฐาน FDAสหรัฐ อย.ไทย
- ทดลอง CGM ฟรี
- ทดลอง CPAP ฟรี
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
HotCGM
iCan i3 | CGM วัดน้ำตาลต่อเนื่อง 15วัน All-in-1 แทนการเจาะน้ำตาล 7,160ครั้ง
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
HotCGM
Anytime CT3 | CGM ตรวจน้ำตาลต่อเนื่อง 14วัน เพิ่มผู้ติดตามได้ Rechargeable Battery
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
CGM
CGM CT10 | ตรวจน้ำตาลอย่างแบบต่อเนื่อง10วัน Bluetooth ติดตั้งได้เอง
1,990฿ – 5,950฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
BGM
BGM | เครื่องตรวจน้ำตาล เบาหวาน แบบเจาะปลายนิ้ว Bluetooth
280฿ – 1,000฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page