fbpx

10 จังหวัดในไทยที่มีผู้สูงอายุอยู่เยอะ เตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Active Aging)

10 จังหวัดในไทยที่มีผู้สูงอายุอยู่เยอะ เตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Active Aging)

ปัจจุบันนี้ ต้องพูดเลยว่าโลกกำลังประสบปัญหา ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากกว่าประชากรณ์เกิดใหม่ สังเกตุง่ายๆลองมองไปลอบตัว เรามักจะพบผู้คนหลากหลายช่วงวัยแยุ่ร่วมกันในสังคม หนึ่งในวัยที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆคือ “ผู้สูงอายุ”  โดย World Population Prospects 2022 คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรบนโลกนี้มีมากถึง 8 พันล้านคน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอยู่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะสร้างผลกระทบในระดับบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยแรงงานที่มีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ประเทศไทยเรามีสัดส่วนของ กำลังแรงงาน : ผู้สูงอายุ : เด็ก อยู่ที่ 4 : 1 : 1 คาดว่าในปี 2579 จะปรับลงไปอยู่ที่ 2 : 1 : 1 และยังกระทบในเรื่องผู้สูงอายุที่มีสภาวะขาดเงินออม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย

องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดสังคมสูงวัยจากสัดส่วนของประชากรอายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป แบ่งตามลำดับดังนี้

1) ‘สังคมสูงวัย’ (Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ

2) ‘สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ

3) ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ

โดยในโลกตอนนี้ Nippon ได้นำข้อมูลประมาณการประชากรในปี 2022 จากสำนักสถิติกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารมานำเสนอ 10 ประเทศที่เริ่มมีผู้สูงอายุเกิน 65 ปี โดยอันดับ1 คือประเภทญี่ปุ่น 36.27ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 124.71 ล้านคนคิดเป็นเปอร์เซ็นได้ 29.1 % และตอนนี้ไทยติดอันดับที่ 12 จากประชาการ 70,080,000 คนโดยมีผู้สูงอายุมากถึง 12,116,199 คน (18.3%) ซึ่งเรามาดูกันว่า 10 จังหวัดในไทยที่มีผู้สูงอายุเยอะที่สุดไปดูกัน

อันดับที่ 1 กรุงเทพมหานคร มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 1,239,757 คน
อันดับที่ 2 นครราชสีมา มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 525,039 คน
อันดับที่ 3 เชียงใหม่ มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 404,512 คน
อันดับที่ 4 ขอนแก่น มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 362,193 คน
อันดับที่ 5 อุบลราชธานี มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 324,436 คน
อันดับที่ 6 นครศรีธรรมราช มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 303,899 คน
อันดับที่ 7 บุรีรัมย์ มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 289,633 คน
อันดับที่ 8 เชียงราย มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 286,394 คน
อันดับที่ 9 นนทบุรี มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 280,166 คน
อันดับที่ 10 อุดรธานี มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 278,064 คน

วิธีเตรียมตัวรับมือสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Active Aging)

สำหรับปัญหาในระดับประเทศ จะทำให้ประชากรวัยแรงงานมีแรงกดดันด้านการสร้างผลิตภาพให้ประเทศมากขึ้น ประเทศจะขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงทำให้เกิดวิกฤติการคลัง จากภาระรัฐบาลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ และการเก็บภาษีที่ลดลงด้วยดังนั้น เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะสังคมสูงวัย จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยจากแนวคิดพฤฒพลัง (Active Ageing) องค์การอนามัยโลก ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการเป็น Active Ageing 3 ประการ คือ การมีสุขภาพดี มีหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต รวมถึงมีส่วนร่วมและมีคุณค่าทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ (Productive Ageing) ยังคงมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางรายได้ และสามารถแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานของประเทศ และลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐได้

ปัจจุบันประเทศไทยก็มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับสถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะต้องให้ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 45 บาทต่อชั่วโมง ระยะเวลาการทำงานต่อวันไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และลักษณะงานต้องปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับสถานประกอบการที่มีค่าใช้จ่ายจ้างงานผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และในส่วนของบริษัทเอกชนที่มีนโยบายจ้างงานผู้สูงอายุจะต้องปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และระยะเวลาการทำงานให้เหมาะสม

นโยบายสังคมผู้สุงอายุทั่วโลก

เกือบทุกประเทศล้วนประสบปัญหาแรงงานลดน้อยลงและเกิดการขาดแคลนกลุ่มคนวัยทำงาน อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้เมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มางานทำโดยเงินเดือน เริ่มต้นอยู่ที่ 60,000.เยน (ประมาณ15,000.-)รวมถึงก่อตั้งศนูย์ดูแลผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถและยังมีศักยภาพช่วยขับเคลื่อนสังคมได้

ในอิตาลีมีมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุด้วยการลดหย่อนภาษีให้ภาคเอกชน และขยายอายุการเกษียณออกไปที่ 65 – 70 ปี เพื่อเพิ่มจำนวนคนทำงาน ขณะเดียวกัน เรื่องของสุขภาพกายและใจก็นับเป็นปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุ ทำให้ประเทศเยอรมนีออกนโยบายให้ผู้สูงอายุเลือกได้เองว่าจะย้ายไปบ้านใหม่ เลือกอาศัยอยู่กับครอบครัว ย้ายไปบ้านพักคนชรา หรือไปอยู่ที่ไหนก็ได้เพื่อให้พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด

ส่วนประเทศที่มีความสุขและมีอัตราภาษีสูงที่สุดในโลกอย่างฟินแลนด์ ก็ใช้เงินภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งยังปรับโครงสร้างเมืองให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพราะต้องการให้กลุ่มคนเหล่านี้ยังคงมีส่วนร่วมในสังคม เช่นเดียวกับโครเอเชีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่เตรียมความพร้อมและมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัยอย่างยอดเยี่ยม

และแอดมินเชื่อเป็นอย่างมากค่ะว่าสักวันนึงเราทุกคนก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ และเมื่ออัตราการเกิดน้อยลง ผู้สุงอายุมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ประชากรวัยทำงานมีแรงกดดันมากขึ้น  บวกกับปัญหาในอนาคตที่ประเทศต่างๆ อาจประสบอย่างการขาดแคลนแรงงาน รู้แบบนี้…ก็ถึงเวลาถามตัวเองแล้วว่า ทุกวันนี้คุณมีแผนสำหรับการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้วหรือยัง?

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก:

สอวช:สำนักงานสภานโยบายดารอุดมศึกษาวิทยาศาตร์วิจัยและวัตกรรมแห่งชาติ

CIT BY NUMBERS


รถเข็นไฟฟ้ารุ่นยอดนิยม