fbpx

กินแบบไหน ช่วยลดความดันโลหิตได้

กินแบบไหน ช่วยลดความดันโลหิตได้

เมื่อพูดถึงโรค ความดันโลหิตสูง โรคยอดฮิตที่มักจะพบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้ ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง อาการทั่วไปอาจจะดูไม่ร้ายแรง แต่ทุกคนเชื่อมั้ยคะว่า ความดันโลหิตสูงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวการ ที่จะทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆตามมา วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับความดันโลหิตสูงกันนะคะ

ความดันโลหิตคืออะไร?

ความดันโหิต หรือ Hypertension คือแรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ ส่วน ‘ความดันโลหิตสูง’ มีสาเหตุมาจากการที่หลอดเลือดแดงเสื่อมสภาพ ซึ่งนำไปสู่ภาวะการแข็งตัวและการตีบตันของหลอดเลือด ภาวะนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และโรคเบาหวาน

วิธีการวัดความดันโลหิต

 

ความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ ส่วนต่างๆของร่างกายโดยจะวัดได้จาก 2ค่า ได้แก่

  • ค่าความดันโลหิตตัวบน: เป็นค่าความดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว
  • ค่าความดันโลหิตตัวล่าง: เป็นค่าความดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว

สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง​นั้น​ ค่าที่วัดได้จะมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตร​ปรอท​ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ​ ตามมาได้​ เช่น​ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง​ หรือไตวาย​ เป็นต้น

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงแค่ไหน จึงเป็นผู้ป่วยเบาหวาน?

ผู้ป่วยเบาหวาน คือผู้ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 Mg/dL (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ทั้งนี้ จะต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เช่น ประวัติสุขภาพและอาการที่พบ สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ให้อยู่ระหว่าง 80-130 Mg/dL
  • ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง ให้น้อยกว่า 180 Mg/dL

การใช้เกณฑ์ตัวเลขดังกล่าวยังต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานเป็นรายบุคคล โดยคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เพื่อการปรับเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกาย และปรับการใช้ยาให้เหมาะสมต่อไป

แหละสำหรับท่านใดที่ได้เริ่มเป็นแล้วและกำลังวิตกกังวลอยู่ว่าต้องดูแลการกินการใช้ชีวิตตัวเองยัง วันนี้แอดมินมีตัวช่วยสำหรับ คนที่มีทั้งภาวะความดันในโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ด้วยการกิน วิธีแบบ แดชไดเอท (DASH Diet) จะมีส่วนช่วยทั้งการลดและป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมถึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้

หมวดหมู่อาหารที่ควรรับประทาน

  • คาร์โบไฮเดรต: หากเป็นข้าวควรเป็นข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี หรือข้าวที่ขัดสีน้อย โดยควบคุมปริมาณไม่ให้เกินวันละ 5-8 ทัพพีขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว หากกินขนมปัง ควรเป็นขนมปังโฮลวีต
  • โปรตีน: ควรทานโปรตีนจากเนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ทานหนังสัตว์ โดยสามารถทานเนื้อสัตว์ได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมูเนื้อแดง อกไก่ เนื้อปลา รวมไปถึงการทานไข่ต้ม ส่วนการดื่มนม ควรเลือกชนิดขาดมันเนยหรือไขมันต่ำ
  • ผักผลไม้: ควรทานผักทั้งผักดิบและผักสุก รวมถึงผลไม้ไม่หวานให้มากขึ้น โดยให้มีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งในแต่ละมื้ออาหาร โดยเน้นผักมากกว่าผลไม้เพราะอาจทำให้ได้รับคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงเกินไป 

ปัจจุบันโลกเราพัฒนาไปมาก มีเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ เกิดขึ้นให้เราตื่นตาตื่นใจไม่เว้นแต่ละวัน แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับพบว่า สุขภาพของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะชาวมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานและเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน นั้นแย่ลงเรื่อยๆ ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ในยุคนี้จะมีอะไรบ้างที่เราต้องใส่ใจ ยุคนี้เรื่องสุขภาพถูกพูดถึงมากขึ้น ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพ เน้นการออกกำลังกายและการกินอาหารที่มีประโยชน์ หากมองในแง่นี้ เราอาจจะคิดว่า คนรุ่นใหม่จะต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงกว่าคนรุ่นเก่าๆ สุขภาพของคนรุ่นใหม่นั้นถือว่า ไม่แข็งแรงเลยหากเทียบกับอายุของพวกเขา โดยข้อมูลเผยว่า หนึ่งในโรคยอดฮิตคือ โรคอ้วน หรือ น้ำตาลเกิน ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากในการใช้ชีวิต วันนี้แอดมินเลยมีหนึ่งในสินค้านวัตกรรมใหม่ๆที่กลุ่มคนรุ่นใหม่น้อยคนมากที่จะรู้จัก นั่นก็คือ CGM หรือที่ทางการแพทย์เรียกกันว่า continuous glucose monitoring ซึ่งเป็น1สิ่งที่สายรักสุขภาพไม่ควรพลาดเลยจริงๆ

 


สินค้าแนะนำ