fbpx

ผลกระทบทางสังคมจากภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น

ผลกระทบทางสังคมจากภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น

ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนที่ช่วงคอ เป็นช่วงๆทำให้เกิดการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว นำไปสู่ภาวะการขาดออกซิเจน เมื่อเกดิขึ้นเป็นเวลานานๆจะส่งผลกับร่างกาย ทั้งประสิทธิภาพการทำงานของสมอง พบว่าผู้ป่วยจะมีความคิดความอ่านช้าลง ในระยะยาว พบว่ามีผลกระทบกับหัวใจและหลอดเลือด เช่นความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนภาวะอ้วนลงพุง และมีส่วนนำไปสู่โรคเบาหวานได้เลยทีเดียว

จึงพบการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในระยะสั้นคืออุบัติเหตุบนท้องถนนหรือขณะทำงานกับเครื่องจักร ในระยะยาวคือ โรคที่เป็นผลมาจาก OSA โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 24 ในผู้ชาย และ ร้อยละ 9 ในผู้หญิง หรือเรียกได้ว่า 29.5 ล้านคนของวัยกลางคนขึ้นไป อเมริกามีปัญหา OSA พบมากที่สุดในกลุ่มคนอ้วนลงพุง น้ำหนักเกิน นอกจากนี้พบว่าเมื่ออายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากขึ้นตามไปด้วย

ผลกระทบของ OSA ด้านการเงินและเศรษฐกิจ

OSA มีผลด้านเศรษฐกิจทางตรง ได้แก่

-ค่ารักษาโรค

-ค่ารักษาโรคที่มีผลมาจาก OSA

-ค่ารักษาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่มีผลมาจาก OSA

OSA มีผลด้านเศรษฐกิจทางอ้อม ได้แก่

-ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง มีผลต่อผลงานในการทำงานและการปรับเงินเดือน

-การขาดงานเพิ่มขึ้น มีผลต่อการปรับเงินเดือน

-ค่าใช้จ่ายความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะทำงาน หรือหลับในขณะขับรถ

ทั้งนี้พบว่าผู้ป่วย OSA มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่าคนปกติ 4-7 เท่า แต่เมื่อได้รับการรักษา พบว่าอาการเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลรายการเชิงสถิติ ว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลกระทบของ OSA ก่อนการักษานั่น มากกว่าค่าใช้จ่ายหลังจากที่คนไข้ได้รับการรักษาแล้วถึง 2 เท่า ค่ารักษาทางอ้อมส่วนใหญ่จะเป็นค่ารักษาหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุไปแล้ว รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการทำงานที่ต้องควบคุมระบบที่มีความซับซ้อน เช่น พนักงานวิทยุการบิน พนักงานโรงปฎิกรนิวเคลียร์ ฯลฯ โดยปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการง่วงนอน การหลับใน ขณะปฏิบัติหน้าที่ อันเกิดจากการที่พักผ่อนไม่เพียงพอและการนอนที่ไม่มีคุณภาพ

อาการผู้ป่วย OSA ที่สังเกตุได้ขณะทำงาน

OSA มีผลกับการทำงานอย่างมาก ผู้ที่มีอาการ OSA ส่วนใหญ่จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน หลับในบ่อยๆ หลับได้ทุกที่ มีอาการเบลอเหมือนง่วงนอนตลอด ส่งผลให้สมองทำงานไม่ปกติ ทำให้สมาธิความระแวดระวังแย่ลง ความจำความสามารถในในการเรียนรู้ลดลง จึงเป็นการบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 7,028 ราย ช่วงอายุ 40-45 ปี พบว่าผู้ที่อาการ OSA อัตราการลางานขาดงานสูงกว่าคนทั่วไป  อัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงมากกว่า คุณภาพของผลงานลดลง และประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลงกว่าคนทั่วไป ซึ่งเมื่อหลังจากได้รับการรักษาโดยการใช้เครื่องรักษาอาการนอนกรน (Continuous Positive Airway Pressure หรือ CPAP) อัตราการขาดงานลางานลดลง และประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

สรุป

OSA หรือ ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น เป็นปัญหาด้านสาธาณะสุขที่สำคัญมาก มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว บั่นทอนจิตใจ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เเม้ว่าการรักษาจะสามารถลดปัญหาตรงนี้ได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังเข้าไม่ถึงการักษา ยังไม่ได้รักการตรวจ เนื่องจากขาดความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของโรค อีกทั้งขั้นตอนการตรวจ การรอคิว ค่อนข้างใช้เวลานาน ทั้งข้อจำกัดด้านบุคคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจการนอนหลับ(Sleep technician) ที่มีจำนวนจำกัด นอกจากนี้ความต่อเนื่องในการใช้ CPAP ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพในการักษาโรคทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร