ผีอำ เป็นอาการที่หลายคนคุ้นเคย เกิดขึ้นในช่วงหลับหรือตื่น กดทับร่างกาย รู้สึกหายใจไม่ออก พูดหรือขยับตัวไม่ได้ จนสร้างความหวาดกลัว อาการนี้เกิดขึ้นได้จริง เกิดจากสาเหตุทางวิทยาศาสตร์หรือเป็นเพียงเรื่องเล่าสยองขวัญ ? บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจกัน
ผีอำ หรือ Sleep Paralysis คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มกล้ามเนื้อในร่างกายหยุดทำงานชั่วขณะ หรือหยุดทำงานบางส่วน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เกิดจากความผิดปกติระหว่างช่วงหลับกับตื่น ทำให้เกิดความไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดคุยได้ พร้อมกับความรู้สึกเหมือนมีน้ำหนักหนักบนร่างกาย โดยทั่วไปแล้วอาการผีอำเกิดขึ้นขณะที่คนนอนหลับหรือกำลังตื่นขึ้นมา แต่ไม่สามารถเคลื่อนตัวหรือพูดคุยได้ ทำให้เกิดความกลัวหรือความรู้สึกหวาดหวั่นได้ อาการนี้มักจะหายเองเมื่อร่างกายคืนควบคุมกลับมา โดยร่างกายยังคงอยู่ในช่วงหลับฝัน (REM Sleep) แต่อาการทางสมองกลับตื่นตัว ระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อยังไม่ทำงาน ทำให้เกิดอาการ
สาเหหตุของการเกิดผีอำ
ภาวะสมองตื่น แต่ร่างกายยังหลับ ในช่วงหลับร่างกายจะเข้าสู่สภาวะ REM (Rapid Eye Movement) สมองจะทำงานคล้ายกับตอนตื่น แต่ระบบประสาทสั่งการให้ร่างกายอยู่นิ่งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการแสดงความฝัน หากสมองตื่นเร็วกว่าร่างกาย จะเกิดอาการผีอำ รู้สึกตัว แต่ขยับร่างกายไม่ได้ ความเครียด นอนไม่พอ พักผ่อนน้อย ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ร่างกายและสมองทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดผีอำมากขึ้น ยาและสารเสพติด บางชนิดส่งผลต่อระบบประสาทและการนอนหลับ อาจกระตุ้นให้เกิดผีอำได้ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า ยาคลายเครียด ยานอนหลับ และสารเสพติดบางชนิด นอนในท่านอนหงาย จากการศึกษาพบว่า การนอนหงายมีโอกาสเกิดผีอำมากกว่าท่านอนอื่นๆ
ลักษณะผีอำเป็นอย่างไร
อาการผีอำเป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการตื่นและการนอนหลับ ซึ่งบุคคลไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดได้ชั่วคราว และอาจมีอาการประสาทหลอนหรือรู้สึกถึงความผิดปกติที่กำลังจะเกิดขึ้น อาการผีอำแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
- ขณะช่วงใกล้จะหลับ : การนอนหลับประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อคน ๆ หนึ่งกำลังหลับในช่วงที่เปลี่ยนจากการตื่นเป็นการนอนหลับ มีอาการคล้ายประสาทหลอนและไม่สามารถขยับหรือพูดได้
- ขณะช่วงใกล้จะตื่น : การนอนหลับประเภทนี้เกิดขึ้นขณะช่วงเปลี่ยนจากการนอนหลับไปสู่ความตื่น คล้ายกับอาการช่วงใกล้จะหลับ คือไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดได้
สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความกังวลใจและอาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับและความเป็นอยู่โดยรวมของบุคคล
รู้หรือไม่ อาการโดนผีอำอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ
ดังนั้นการตรวจ Sleep Test เป็นการตรวจวัดและวิเคราะห์การนอนหลับของผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือที่เฉพาะเจาะจง เพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ที่เป็นการตรวจแบบมาตฐานสากล ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น การนอนกรน นอนกัดฟัน นอนละเมอ ภาวะชักขณะหลับ การกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ นั่นเอง
โดย elife ก็มีบริการทำ Sleep test
เงื่อนไข
- มัดจำเครื่อง 5,000บาท คืนเงินเต็มจำนวน เมื่อคืนเครื่องมือในเวลาที่กำหนด
- บริการนี้เพื่อการ Sleep Test ต่อคนเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ร่วม โดยระบบจะบันทึการนอนคืนที่มากที่สุดเท่านั้น โดยจะลบคืนที่มีจำนวนการนอนน้อยกว่า
- หากเกิด Fail Night เราเปิดโอกาสให้ท่าน Test ได้อีก 1ครั้งในคืนถัดไป แต่หากคืนที่1 ทำการนอนได้เกิน 4ชม.แล้ว และ Sensor ทำงานปกติ ไม่แนะนำให้ทำคืนที่สอง เพื่อป้องกันการซ้อนทับของข้อมูล
- สามารถรับผล Digital (PDF ส่งทาง email, Line) หรือ/และแบบกระดาษ (รับได้ที่หน้าร้าน)
รายละเอียด | ค่าใช้จ่าย | หมายเหตุ |
มัดจำเครื่องมือ (คืนเต็มจำนวน) | มัดจำ 5,000บ. | คืนเต็มจำนวนเมื่อคืนเครื่องมือ ตรงเวลา (สงวนสิทธิ์ปรับ เพื่อประโยชน์ให้เครื่องได้ใช้กับผู้อื่นในคิวต่อไป) |
ค่าใช้จ่าย Sleep Test | ค่าใช้จ่าย 3,990บ. | หากเป็น Fail Night เปิดโอกาสให้ทำ Sleep Test ในคืนที่2 ได้ |
ส่วนลด ในการซื้อสินค้า | ส่วนลด 3,990บ. | สามารถนำค่าใช้จ่าย มาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าได้ |
คำถามที่พบบ่อย
Sleep Test มีกี่ระดับอะไรบ้าง?
Type 1 : ประเภทที่ 1 คือการทำ sleep test แบบทำที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีแพทย์เป็นผู้ดูแลและมี sleep tech เฝ้าตลอดทั้งคืน
- คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
- การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
Type 2 : ประเภทที่ 2 คือการทำ sleep test แบบที่ทำนอกโรงพยาบาล ไม่ต้องมี Sleep tech ไม่ต้องเฝ้าตลอดทั้งคืน เพียงมีเจ้าหน้าที่เข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ให้ อาจจะทำที่บ้านหรือคลินิกที่ร่วมกับโรงแรม แบบนี้จะดีที่คนไข้สามารถทำที่บ้านได้ (แล้วแต่คลินิก) ประหยัดค่าใช้จ่าย รอคิวน้อยกว่า
- คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
- การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
Type 3 : ประเภทที่ 3 คือการทำ sleep test แบบจำกัดข้อมูล ได้ข้อมูลไม่ครบเท่า Type 1 และ Type 2 แต่สำหรับคนที่ต้องการทราบอาการเบื้องต้น จะทำได้เลย รอคิวไม่นาน ประหยัดกว่า สำหรับคนที่ติดอุปกรณ์เยอะๆแล้วนอนไม่หลับ ตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดี
- วัดชีพจร (Heartrate)
- การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
Type 4 : ประเภทที่ 4 คือการทำ sleep test แบบวัดเฉพาะ O2 ในเลือด และลมหายใจขณะหลับ แบบนี้จะมีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
ข้อควรปฏิบัติในการทำ Sleep test?
- คนไข้ควรอาบน้ำ สระผม มาให้เรียบร้อยพก่อนติดอุปกรณ์
- คนไข้ควรทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนทำ sleep test (แต่หากต้องการเข้าห้องน้ำระหว่างคืนสามารถเข้าได้ปกติ)
- ห้ามคนไข้ดื่ม กาแฟอีน แอลกอฮอล์ หรือหากกินยาประจำตัวมาต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย
- ทำให้สภาพแวดล้อมเหมือนตอนนอนปกติที่สุด เพื่อให้ไม่กังวลจนเกินไป
- คนที่ทำเล็บเจล ต่อเล็บมา แนะนำให้ถอดออกหรือล้างออกก่อน เพราะะมีผลต่อการวัด O2 ในเลือด
แบบประเมินอื่นๆ
อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น