fbpx

วิธีเลือกเตียงผู้ป่วย(ปรับไฟฟ้า)ให้เหมาะกับผู้ป่วยมากที่สุด

วิธีเลือกเตียงผู้ป่วย(ปรับไฟฟ้า)ให้เหมาะกับผู้ป่วยมากที่สุด

การสร้างบรรยากาศให้กับผู้สูงอายุในบ้าน…ให้น่าอยู่มีความจำเป็นมากๆ ที่ลูกหลานต้องให้ความสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมให้บ้านมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รองรับการใช้ชีวิต และการดำเนิน กิจวัตร ประจำวันของผู้สูงอายุรวมถึงผู้ป่วยที่ต้องเตรียมตัวกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านเอง โดยเฉพาะในผู้ที่มี ปัญหาการเคลื่อนไหวซึ่งเกิดจากระบบข้อกระดูก และกล้ามเนื้อส่วนล่าง ส่งเสริมให้ผู้ที่เริ่มมีความเสื่อมถอยของร่างกายหรือปัญหา สุขภาพได้เรียนรู้ ทำความรู้จัก และฝึกฝนกับอุปกรณ์ ที่จะช่วยเหลือในการทำกิจกรรม โดยพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ลดความ เสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรมภายในบ้าน และบริเวณรอบๆ ตัวบ้าน และในการสร้างความสะดวก ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุ เตียงนอนปรับไฟฟ้า จึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น.

เตียงไฟฟ้าคืออะไร? … เตียงไฟฟ้า (Electric bed) หรือเตียงผู้ป่วยเป็นเฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์ที่มีการออกแบบพิเศษเพื่อความสะดวกสบายของผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยเตียงไฟฟ้าผู้ป่วยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงานและปรับระดับต่างๆโดยรีโมท สามารถปรับทิศทาง ความสูง-ต่ำ การงอเข่า ปรับองศาต่างๆได้ นอกจากสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล เตียงไฟฟ้าผู้ป่วยยังสามารถป้องกันแผลกดทับในคนไข้ที่ไม่สามารถขยับตัวได้ ลดอาการปวดเมื่อยในการพักรักษาตัว.

เตียงไฟฟ้ามีไว้สำหรับใคร? … ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น

 7 เหตุผลทำไม?ต้องเลือกใช้เตียงไฟฟ้า 

1. เตียงไฟฟ้าสร้างความปลอดภัย  เตียงไฟฟ้าได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยกับผู้ป่วยเป็นอันดับแรก ตามข้อกำหนดการผลิตในมาตรฐานความปลอดภัยสากลเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ ดังนั้นการใช้เตียงไฟฟ้าจึงเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด

2.ให้ความรู้สึกอิสระกับผู้ป่วย เพราะการใช้งานแทบทั้งหมดของเตียงไฟฟ้าสั่งงานผ่านรีโมท ดังนั้นการเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆ ของผู้ป่วยจึงทำได้ง่ายขึ้น สามารถทำได้ด้วยตัวเองไม่ต้องรอผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือ เช่น การจะลุกขึ้นนั่ง  อยากนั่งงอเข่า เป็นต้น

3.เตียงไฟฟ้าลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ  เหตุการณ์ไม่ตั้งใจเกิดได้กับคนชรา และผู้ป่วย หลายๆครั้งการบาดเจ็บเกิดการตกเตียง (คนนอนพยายามจะพลิกตัว หรือ พยายามลุกจากเตียงแต่พลาดตกเตียง) การนอนละเมอในเวลากลางคืน บางเวลาที่ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในสายตาของผุ้ดูแล ยิ่งผู้สูงอายุหรือผุ้ป่วยที่บาดเจ็บอยู่แล้ว การตกเตียงอาจทำให้กระดูกหัก ส่งผลเสียถึงชีวิตตามมา

4.เตียงไฟฟ้าให้ความสะดวกสบายกับผู้ป่วยและผู้ดูแล ฟังก์ชันการปรับระดับต่างๆของเตียงไฟฟ้า ช่วยทำให้ลดภาระให้ผู้ดูแลได้ เช่น สามารถปรับระดับความสูงของเตียงให้อยู่ในระดับที่ผู้ดูแลต้องการได้ 

5.เตียงไฟฟ้าสามารถทำกายภาพบำบัดได้ นอกจากสร้างความสะดวกสบายและให้ความปลอดภัยแล้วเตียงไฟฟ้ายังสามารถใช้ทำกายภาพบำบัดได้ เพราะด้วยที่ออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยโดยเฉพาะ 

6.เตียงไฟฟ้าสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ทันที เตียงไฟฟ้ามีการออกแบบให้มีล้อ(ทุกรุ่น) ดังนั้นเมื่อมีเหตุจำเป็นที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสามารถทำได้ทันทีและสะดวก

 เตียงผู้ป่วยมีกี่ประเภท? 

เตียงผู้ป่วยสาสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

  • เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน (Modern Hospital Bed) : หรือที่เรารู้จักกัน “เตียงผู้ป่วยโรงพยาบาล” มีกลไกปรับองศา หัว-หลังเตียง , ปลายเตียง (เข่าหรือขา) และระดับ-สูงต่ำ ด้วยมือหมุนหรือระบบแมนนวลทั้งหมด ต้องมีคนดูแลคอยปรับเตียงให้ผู้ป่วยไม่สามารถปรับด้วยตัวเองได้ 
  • เตียงไฟฟ้า (Electric Bed) : มีกลไกการปรับองศาเตียงต่างๆด้วยระบบควบคุมไฟฟ้าใช้งานแรงดันไฟฟ้า 220-240 V ควบคุมด้วยรีโมทมีสายหรือไร้สาย ปัจจุบันพัฒนาไปถึงควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนได้ ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถปรับระดับต่างๆด้วยตัวเองได้ 

ความแตกต่างระหว่างเตียงทั้ง 2 ประเภท

เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน (Modern Hospital Bed)   เตียงไฟฟ้า (Electric Bed )
ปรับระดับแบบแมนนวลโดยผู้ดูแล / ผู้ป่วยไม่สามารถปรับเองได้ ปรับระดับโดยรีโมทสามารถใช้งานได้ทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วย
ฟังก์ชันในการปรับองศาส่วนใหญ่ได้ 3 รูปแบบ ฟังก์มีตั้งแต่ 3-5 ไกร์
สามารถหาซื้อได้ร้านขายยาทั่วไป ควรซื้อจากศูนย์จำหน่ายที่มีประสบการณ์
โครงสร้างเป็นส่วนใหญ่เป็น พอลิเมอร์ สแตนเลส อะลูมิเนียม โครงสร้างเป็น เหล็กกรุไม้ อะลูมิเนียม พอลิเมอร์
ดีไซน์เหมือนกับเตียงโรงพยาบาล ดีไซน์สวยงาม เหมาะกับการแต่งบ้าน
ราคาประหยัด ราคาค่อนข้างสูง

*พอลิเมอร์ คือ พลาสติก ไฟเบอร์ ยาง

เตียงผู้สูงอายุ
เตียงไฟฟ้าสำหรับดูแลผู้สูงอายุ
เตียงไฟฟ้าแตกต่างจากเตียงนอนธรรมดาอย่างไร? 

เตียงนอนธรรมดา…ออกแบบมาสำหรับคนที่ไม่มีปัญทางร่างกายใดๆ จึงไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วย การให้ผู้ป่วยนอนเตียงธรรมดาก็อาจจะสามารถทำได้ แต่เราก็จะต้องเสี่ยงกับอะไรหลายๆอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน ตารางเปรียบเทียบเตียงทั้ง 3 ประเภทคือ เตียงนอนธรรมดา เตียงผู้ป่วย และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า อาจจะทำให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ 

ตารางเปรียบเทียบเตียงนอน

เตียงนอนธรรมดา เตียงนอนผู้ป่วยแบบโรงพยาบาล เตียงนอนผู้ป่วยปรับไฟฟ้า
ปรับระดับไม่ได้ ปรับระดับแบบแมนนวล ปรับระดับผ่านไฟฟ้า
สำหรับคนธรรมดา สำหรับผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วย
ไม่สามารถเคลื่อนที่โดยเตียงได้ เตียงสามารถเคลื่อนที่ได้ เตียงสามารถเคลื่อนที่ได้
เป็นเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป เป็นเฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์ เป็นเฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์
มีหลายดีไซน์ให้เลือก เตียงลักษณะเหมือนโรงพยาบาล มีหลายดีไซน์ให้เลือก
มีหลากหลายราคา ราคา 1-2 หมื่นบาท ราคา 30,000-300,000 บาท

เตียงผู้สูงอายุ
แสงสว่างในห้องนอนผู้สูงอายุ
 เลือกซื้อเตียงไฟฟ้าต้องคำนึงอะไรบ้าง? 

เตียงไฟฟ้าผู้ป่วยจัดเป็นครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีการออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วย ซึ่งหากมีข้อบกพร่องอาจส่งผลถึงชีวิต ดังนั้นก่อนจะทำการสั่งซื้อเราควรพิจารณาประเด็นหลักเรื่องความปลอดภัย คือ ความแข็งแรงของเตียง , ขนาดที่เหมาะสม และโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุกับร่างกายผู้ป่วย เช่น การมีอวัยวะติดในช่องว่างเตียง เป็นต้น

แนวทางการเลือกซื้อ

  • เตียงไฟฟ้าต้องมีใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ 
  • ขนาดและความสูงของเตียง ให้เหมาะกับผู้ใช้งานและผู้ดูแลมากที่สุด
  • วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างเตียง ได้แก่ เหล็กและสแตนเลส ซึ่งมีความทนทานแต่หากเป็นโครงเหล็กควรมีสารเคลือบเพื่อป้องกันสนิม
  • วัสดุที่ทำหัวเตียง ควรเป็น ไม้อัดโฟเมก้า เหล็ก หรืออลูมิเนียม มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง และทำความสะอาดง่าย
  • วัสดุพื้นเตียงส่วนใหญ่ทำมาจากแผ่นเหล็กตะแกรงเหล็ก สามารถรับน้ำหนักได้เยอะ และง่ายต่อการดูแลรักษา
  • วัสดุราวกั้นเตียง ควรเป็น เหล็ก อลูมิเนียม
  • เตียงไฟฟ้าควรมีพื้นล่างโปร่ง ระบายอากาศได้ดี
  • ตรวจสอบมอเตอร์ของเตียงไฟฟ้า 
  • ประเภทของกลไกปรับระดับซึ่งมีผลต่อราคา 
  • ตรวจสอบการดูแลหลังการขาย การรับประกันสินค้า เพราะเตียงไฟฟ้าหากเกิดปัญหาขึ้นภายหลังอะไหล่ส่วนใหญ่ไม่สามารถให้ร้านไฟฟ้าปกติเปลี่ยนให้ได้
  • หากมีโอกาสได้ทดลองเตียงไฟฟ้าจริงๆ ควรทดลองก่อนสั่งซื้อหรือศึกษาจากรีวิวก่อน
  • สินค้ามีราคาค่อนข้างสูงควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้านค้าให้ดีก่อน

 เตียงไฟฟ้าแบบไหน? ปลอดภัย100% 

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ได้รับมาตรฐานอย่างถูกต้อง เพราะเตียงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์และใช้กับผู้ป่วย เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความอ่อนไหวดังนั้นมาตรฐานของสินค้าสำคัญมาก

ขนาดของเตียง

  • เตียงนอนผู้ป่วยควรมีความกว้างตั้งแต่ 90-130 เซนติเมตร ความยาวขั้นต่ำคือ 200 เซนติเมตร และความสูงจากพื้นถึงเตียง 25-40 เซนติเมตร
  • เตียงมาตรฐานผู้ป่วยต้องเล็กแค่ 3ฟุต คล้ายกับเตียงนอนผ่าตัดต้องมีขนาดเล็กและกว้างน้อยที่สุดให้แพทย์เข้าทำการรักษาได้ง่าย เตียงผู้ป่วยถึงแม้จะไม่ได้เล็กเหมือนเตียงผ่าตัด แต่มีเหตุผลการออกแบบให้เป็น 3 ฟุตลักษณะเดียวกัน คือให้ผู้ดูแล สามารถดูแลผู้ป่วยได้สะดวก

ราวกั้นอลูมิเนียมสำหรับเตียงไฟฟ้า ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย Bed rail รุ่น EB-3C

ความสูงของเตียง

  • หากเตียงสูงเกินไป เวลาลุกนั่งบนเตียง ขาไม่ถึงพื้น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บได้ แต่ถ้าเตียงเตี้ยเกินไป ผู้ดูแลต้องคอยปรับเตียงให้ขาของผู้สูงอายุวางบนพื้นพอดี พร้อมสำหรับจะลุกยืน

โครงสร้างเตียง วัสดุของเตียงควรมีความแข็งแรง ไร้สนิม สังเกตุว่าเตียงรุ่นนั้นๆสามารถรับน้ำหนักได้กี่กิโลกรัม อาทิเช่น เตียงไฟฟ้ารับน้ำหนักได้สูงสุด 220 กิโลกรัม

ส่วนประกอบของเตียงไม่ควรมีช่องว่างกว้าง

  • ช่องว่างที่มีขนาดกว้างอาจก่ออันตรายต่อร่างกายผู้ป่วยได้ ซึ่งร่างกายส่วนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งคือ ศีรษะ คอ และลำตัว 

ล้อของเตียงไฟฟ้า 

  • ควรมีตัวล็อคเพื่อกันเตียงไหล

รีโมทสามารถล็อคได้

  • บางครอบครัวอาจมีเด็กเล็กๆอยู่ในบ้าน เมื่อเห็นเตียงไฟฟ้าหรือรีโมทอาจคิดว่าเป็นของเล่น เด็กๆอาจนำรีโมทไปกดเล่น ซึ่งอาจเกิดความวุ่นวายกับผู้ป่วยได้

ราวกั้นเตียง

  • ราวกั้นเตียงเป็นส่วนประกอบสำคัญกับเตียงนอนไฟฟ้ามากๆ เพราะราวกั้นจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุเช่น การนอนพลัดตกเตียง
  • ช่องว่างราวกั้นเตียงควรมีความกว้างไม่เกิน 12 เซนติเมตร
  • ช่วยเป็นที่พยุงตัวให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วย ทำให้ลุก-นั่งสะดวกมากขึ้น

 หลักการจัดวางเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสม 

  • การวางเตียงควรต้องเว้นพื้นที่ว่างทั้ง 3 ด้าน คือด้านข้างและปลายเท้า โดยเว้นระยะประมาณข้างละ 90 เซนติเมตร เพื่อไว้วางของจำเป็น เช่น เก้าอี้ โต๊ะ รถเข็นวีลแชร์ และเพื่อให้ดูแลผู้ป่วยได้สะดวกมากขึ้น
  • ควรเลือกเตียงเป็นเตียงไม้ พื้นผิวเรียบ ขอบโค้งมน ไม่มีเหลี่ยมของไม้
  • ควรมีราวจับข้างเตียงและหัวเตียง เพื่อให้ผู้ป่วยพยุงตัวลุกขึ้นได้ การที่มีที่พยุงให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุจะทำให้ปลอดภัยมากกว่าผู้ดูแลพยุงเอง ไม่เสี่ยงต่อการพลัดตก