fbpx

การดูแลรักษา และซ่อมแซมรถนั่งคนพิการ (Wheelchair) เบื้องต้น

การดูแลรักษา และซ่อมแซมรถนั่งคนพิการ (Wheelchair) เบื้องต้น

โดยปกติทั่วไปแล้ว ผู้ใช้งานหรือคนส่วนใหญ่มักจะสงสัยว่ารถเข็นนั่งคนพิการ จะใช้งานได้นานแค่ไหน ?? จริงๆ แล้ว รถเข็นนั่งคนพิการ (Wheelchair Manual) สามารถใช้งานได้นาน แต่จะมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีการสึกหรอตามอายุการใช้งานของแต่ละท่าน แต่..ไม่ต้องตกใจไป !! เพราะอะไหล่ที่มีการสึกหรอตามการใช้งาน ผู้จำหน่ายอย่างร้านรถเข็น Elife ก็มีอะไหล่ให้บริการ และมีทีมงานช่างคอยให้บริการ Support ลูกค้าหลังการขาย และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานรถนั่งคนพิการจะกังวลกับอาการเล็กๆ น้อยๆ ของรถเข็น Manual เช่น น็อตหลวม , ล้อฝืด , เบรคล็อคไม่อยู่ หรือแม้กระทั่งยางแบน เป็นต้น อาการเหล่านี้ ผู้ใช้งาน สามารถดูแลและซ่อมเองที่บ้านได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย และยังเป็นวิธีการช่วยให้รถเข็นสามารถใช้งานได้นานกว่าเดิมอีกด้วย

การดูแลรักษารถนั่งคนพิการและเบาะรองนั่งอย่างสม่ำเสมอจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและป้องกันการ บาดเจ็บและปัญหาระยะยาวต่อร่างกายของผู้ใช้รถนั่งคนพิการ รถนั่งคนพิการที่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้รู้สึกสบายและใช้งานง่ายขึ้น เบาะรองนั่งที่ได้รับการดูแลจะยังคงทำหน้าที่ลดแรงกดทับและรองรับร่างกาย ผู้ให้บริการรถนั่งคนพิการ ต้องสอนผู้ใช้รถนั่งคนพิการถึงวิธีการดูแลรักษารถนั่งคนพิการและเบาะรองนั่งด้วย โดยทางร้านรถเข็น Elife มีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำวิธีการใช้งาน วิธีการพับเก็บ รวมไปถึงวิธีการเก็บรักษาและซ่อมบำรุงเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ใช้งานรถนั่งคนพิการใช้งานรถเข็นได้นานมากยิ่งขึ้น

ป้องกันการซ่อมแซม : การดูแลรักษา
มีสิ่งที่ควรทำเพื่อดูแลรักษารถนั่งคนพิการและเบาะรองนั่ง 6 อย่าง ควรสาธิตวิธีการดูแลรักษารถนั่งคนพิการแก่ผู้ใช้งาน พร้อมอธิบายถึงความสำคัญของการดูแลรักษา ทรัพยากรในท้องถิ่นสำหรับการซ่อมแซมรถนั่งคนพิการ ลองหาว่ามีใครในท้องถิ่นที่อาจซ่อมแซมรถนั่งคนพิการได้บ้าง ซึ่งอาจได้แก่
– ช่างซ่อมจักรยาน
– ช่างซ่อมรถยนต์ หรือจักรยานยนต์
– ห้องปฎิบัติงาน – ช่างเชื่อม ช่างประปา (ส่วนที่เป็นโลหะ) ช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ (ส่วนที่เป็นไม้)
– ผู้ใช้รถนั่งคนพิการ ครอบครัวของผู้ใช้รถนั่งคนพิการ ญาติ หรือเพื่อนบ้าน
– ช่างตัดเสื้อสำหรับการซ่อมแซมผ้าใบ
– หน่วยบริการรถนั่งคนพิการ

การดูแลซ่อมเเซมรถนั่งคนพิการด้วยตัวเองที่บ้านเบื้องต้น

ความสำคัญ  วิธีการ
1.ทำความสะอาดรถนั่งคน
พิการและเบาะรองนั่ง
ไม่ให้ส่วนที่เป็นโลหะเกิดสนิม
ไม่ให้ส่วนที่เป็นไม้ หรือผ้าเปื่อย
ไม่ให้เกิดความเสียหายจากเศษ
ดินเข้าไปอัดในส่วนที่ทำให้รถ
เคลื่อนที่
ใช้น้ำอุ่นและสบู่ เช็ดและผึ่งให้แห้ง
ควรให้ความสนใจส่วนที่เคลื่อนที่และ จุดที่ผ้าใบยึดติดกับโครงรถ ถอดเบาะรองนั่งจากผ้าหุ้มและแยกทำความสะอาด เบาะรองนั่งควรผึ่งในร่มเสมอห้ามตากแดด
2.หยอดน้ำมันในจุดที่ทำให้รถ
นั่งคนพิการเคลื่อนที่
ช่วยให้ส่วนต่างๆ เคลื่อนที่อย่างนุ่มนวล ป้องกันการเกิดสนิม ทำความสะอาดรถนั่งคนพิการและผึ่ง
ให้แห้งก่อนใช้น้ำมันหล่อลื่น เช่น น้ำมันหล่อลื่น หยอดจุดที่ทำให้รถนั่งคนพิการเคลื่อนที่ทุกจุด
3.เติมลมยาง (กรณีเป็นยางลม)
ยางมีอายุการใช้งานนานขึ้น เข็นง่าย ใช้แรงน้อยลง เบรคทำงานได้ดี ใช้นิ้วหัวแม่มือกดที่ยางเพื่อตรวจสอบ
ลมยาง โดยควรมีรอยกดลงเล็กน้อย
(5มม) ลมยางควรเท่ากันทุกล้อ
เติมลมโดยใช้ที่เติมลมจักรยานหรือสิ่ง
อื่นที่ใกล้เคียง การลดลมยาง ทำโดย
ปล่อยลมออกจากจุกปิดลมยาง
4. ขันน๊อตและสลักต่างๆให้
แน่น (หากหลวม) 
น๊อตที่หลวมจะทำให้ชิ้นส่วน ต่างๆเคลื่อนจากที่ (น็อตคลาย) ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกใน การใช้งาน และชิ้นส่วนต่างๆ หลุดและสูญหาย ตรวจสอบรถนั่งคนพิการว่าแกนต่างๆ
หลวมหรือไม่ ขันให้แน่นด้วยประแจ
อย่าขันแน่นจนเกินไป
5. ขันซี่ล้อให้แน่น (หากหลวม)
ซี่ล้อที่หลวมทำให้ล้อโค้งงอ และแตกได้ บีบซี่ล้อทีละ 2 ซี่เข้าหากัน หากดึง เบาๆแล้วซี่ล้อหลุดออก อาจเนื่องจากซี่ล้อหลวมเกินไป ให้ขันให้แน่นด้วยประแจ
ซี่ล้ออาจแน่นเกินไป หากรู้สึกว่าซี่
ล้อแข็งมาก อาจเป็นเพราะขันแน่นเกินไป ควรคลายให้หลวม
6. ตรวจสอบอย่างสม่ าเสมอ
ตรวจสอบสนิมและผ้าใบ
สนิมทำให้วัสดุต่างๆ ไม่ทนทาน ทำให้ส่วนต่างๆแตกหักและเป็น อันตรายต่อผู้ใช้ ผ้าใบควรอยู่ในสภาพที่ดีเพื่อให้ สามารถรองรับร่างกายและทำให้เกิดความสบาย
ถ้าผ้าใบฉีกขาดทันทีทันใด ผู้ใช้อาจได้รับบาดเจ็บ
ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะที่ทาสีว่าผุกร่อนหรือมีสนิมหรือไม่ถ้าพบสนิม ให้ใช้กระดาษทรายหรือแปรงขัดเหล็กขัดสนิมออก
ทำความสะอาดด้วยทินเนอร์ ผ้าและทาสีใหม่ สำรวจส่วนที่สึก ขาด สกปรก หรือส่วนที่ หลุดห้อยออกมา ตรวจสอบความตึงของที่นั่งและพนักพิงว่าเหมาะสมหรือไม่
ถ้าผ้าใบ ขาด ตึงหรือหย่อน ให้
ซ่อมแซม
7.ตรวจสอบเบาะรองนั่ง
เบาะรองนั่งควรสะอาดและแห้ง เพื่อปกป้องผิวหนังได้เบาะรองนั่งจะมีอายุการใช้งานน้อย
กว่ารถนั่งคนพิการ การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะทำให้รู้เวลาที่ควรเปลี่ยนเบาะรองนั่ง
ถอดผ้าหุ้มเบาะตรวจสอบส่วนที่ฉีกขาด สกปรกและรูทั้งในผ้าหุ้มและฟองน้ำ ถ้าเบาะรองนั่งขาด ควรได้รับการตรวจสอบโดยผู้ให้บริการรถนั่งคนพิการ บางทีอาจต้องเปลี่ยนใหม่

 

เพียงเท่านี้ รถเข็นนั่งคนพิการ หรือรถเข็นนั่งวิลล์แชร์สำหรับผู้สูงอายุ ก็สามารถใช้งานได้นานขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วยค่ะ ร้านรถเข็น Elife ผู้จัดจำหน่ายรถเข็น และผู้เชี่ยวชาญด้านรถเข็นไฟฟ้า ก็ได้เห็นถึงความสำคัญของการซ่อมแซมรถเข็นไฟ้ฟ้าที่บ้านเบื้องต้น ดังนั้นเราจึงได้มอบเครื่องมืออุปกรณ์ หกเหลี่ยม สำหรับรถเข็นโดยเฉพาะ ใส่ไว้ในกระเป๋าหลังของรถเข็น ทั้งแบบธรรมดา และแบบไฟฟ้า ด้วยรักและห่วงใย..