fbpx

การดูแลสุขภาพจิตของคนพิการ

การดูแลสุขภาพจิตของคนพิการ

คนพิการ มักมีความด้อยทั้งทางร่างกายและจิตใจ มากกว่าบุคคลทั่วไป จึงมีสภาพทางอารมณ์และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายต่อสิ่งเร้ารอบๆข้าง บางรายอาจมีความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวล ท้อแท้ เบื่อหน่าย ยอมรับสภาพของตนเองยังไม่ได้
                                                                                  รีวิวรถเข็นไฟฟ้ารุ่น Pw-101A >> https://www.elifegear.com/shop/pw-101a-powerwheelchair-aluminium/


คนพิการ
ควรจะได้รับการส่งเสริมด้านจิตใจให้มากขึ้น โดยส่งเสริมให้พวกเขาเหล่านั้นได้พัฒนาการใช้ชีวิตในประจำวันได้อย่างถูกวิธี ได้เข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการกับเพื่อน หรือพักผ่อนหย่อนใจอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คนพิการไม่กลับไปหมกมุ่นอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง รู้จักว่าตนเองมีคุณค่า มีกำลังใจที่จะสู้กับสภาพความเป็นจริงต่อไป

เมื่อมีความพิการเกิดขึ้น บุคคลนั้นอาจจะมีระยะการปรับตัวต่อความพิการ หลากหลายรูปแบบอาจแบ่งได้ดังนี้
ระยะช็อค ระยะแรกเมื่อมีความพิการ บุคคลนั้นยังงุนงง ไม่รับรู้ความจริงใดๆ
ระยะรับรู้ความพิการ เมื่อบุคคลนั้นรู้ว่าตัวเองต้องพิการแน่ จะเกิดอารมณ์กลัว วิตกกังวล
ระยะใช้กลไกทางจิต ระยะนี้บุคคลนั้นอาจปฎิเสธไม่ยอมรับความพิการ
ระยะยอมรับความพิการ บุคคลนั้นยอมรับว่าตนเองพิการ ระยะนี้อาจจะมีอาการภวะซึมเศร้า ขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ
ระยะปรับตัว บุคคลนั้นจะสามารถยอมรับข้อจำกัดของตนเองได้ จัดการกับอารมณ์ตนเองได้และพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่

” คนพิการแต่ละรายอาจมีระยะการปรับตัวต่อความพิการที่แตกต่างกัน และใช้ระยะเวลามากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น พื้นฐานทางอารมณ์ของบุคคล การสนับสนุนจากครอบครัวและคนรอบตัว หรือโอกาสในการได้เข้าสู่กระบวนการฟิเนฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม ”

หากท่านมีสมาชิกในครอบครัวหรือคนที่ท่านรู้จักประสบกับความพิการท่านอาจช่วยในการประคับประคองจิตใจแก่บุคคลเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม เช่น
1. ระยะช็อค ควรเยี่ยมเยือน ทักทาย สนทนาเรื่องทั่วไป สร้างสัมพันธภาพเบื้องต้นโดยไม่เร่งรัดใดๆ
2. ระยะรับรู้ความพิการ ควรทำความเข้าใจอารมณ์ของคนพิการ เปิดโอกาสให้คนพิการได้พูดระบายความรู้สึกและคอยรับฟังอย่างจริงใจ
3. ระยะใช้กลไกลทางจิตหรือปฏิเสธความพิการ ควรช่วยให้คนพิการรับรู้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง เช่น ทวนซ้ำคำพูดของคนพิการ เพื่อสะท้อนความคิด ความรู้สึก แสดงการยอมรับคนพิการ และเอื้อให้มีการสำรวจ รับรู้ปัญหาและข้อจำกัดของตัวเอง
4. ระยะยอมรับความพิการ ควรส่งเสริมให้คนพิการเผชิญกับความเป็นจริง ค้นหาทางเลือกต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลแก่คนพิการ สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการวางแผน การฟื้นฟู อาจชักชวนให้พูดคุยกับคนพิการที่ประสบความสำเร็จแล้วเพื่อให้มีกำลังใจต่อไป
5. ระยะปรับตัว ให้กำลังใจแก่คนพิการ สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการวางแผนชีวิตของตนเองและดำเนินการตามแผนนั้น

การสนับสนุนด้านจิตใจกับคนพิการ จำเป็นต้องใช้ความเข้าใจและอดทน จากคนรอบข้างอย่างเหมาะสม ปฎิกิริยาต่างๆ ที่บุคคลรอบตัวแสดงออก จะส่งผลต่อสภาพจิตใจของคนพิการทั้งสิ้น
ใส่ใจ สมาชิกในครอบครัว หรือผู้ดูแล ควรแสดงความใส่ใจแก่คนพิการ ทั้งด้วยคำพูดและการแสดงออก ซึ่งบ่งบอกถึงความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือ และเป็นการให้เกียรติคนพิการด้วย
ไม่ควร แสดงออกแบบปกป้องมากเกินไป เช่น ช่วยเหลือทุกอย่าง ตัดสินใจแทนทุกอย่าง โดยไม่เปิดโอกาสให้คนพิการได้ตัดสินใจ หรือทำสิ่งต่างๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง ยิ่งจะทำให้คนพิการรู้สึกด้อยค่าและอึดอัดกับการเป็นภาระแก่ผู้อื่น หากผู้พิการมีแววพอที่จะโดดเด่นไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เราควรสนับสนุนให้พวกเขาได้กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำมากยิ่งขึ้น จะทำให้เขารู้สึกว่ามีความสุข โดยเฉพาะผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ปกติผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ

ยกตัวอย่างกรณีเคสของน้องฝ้าย บิวตี้บล็อคเกอร์ ใช้เท้าแต่งหน้า ที่กำลังมาแรงที่สุดในตอนนี้

“น้องฝ้าย” บุญธิดา ชินวงษ์ บิวตี้บล็อกเกอร์ไร้แขน
วัย 18 ปี เธอพิการตั้งแต่กำเนิด ไม่มีแขน มีปอดข้างเดียว และกระดูกสันหลังคด ทำให้ขาขวาสั้น แต่ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอุปสรรคในการล่าความฝันของเธอ
“น้องฝ้าย” เล่าว่า เธอชอบแต่งหน้ามาตั้งแต่เด็ก แอบหยิบเครื่องสำอางพี่สาวมาเล่น พอโตขึ้นก็เริ่มศึกษาวิธีการแต่งหน้าอย่างจริงจัง โดยการเปิดเว็บไซต์ต่างๆ ดูไปเรื่อยๆ จนรู้สึกอยากแต่งแบบเขาบ้าง ซึ่งเธอคิดว่าการใช้เท้าแต่งหน้าก็ดูเก๋แปลกตาไปอีกแบบ น้องฝ้ายจึงลองอัดคลิปลงเฟสบุ๊ค ซึ่งช่วงแรกๆ แต่งออกมาไม่ค่อยดีนัก แต่คนดูก็ช่วยแนะนำและส่งเครื่องสำอางมาให้ใช้ จึงได้ฝึกฝนการแต่งหน้าทุกวัน และผลก็ออกมาดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการทำงานในโลกโซเชียลนั้น น้องฝ้ายใช้เพียงเท้าเล็กๆ ทั้งสองข้างในการผลิตคลิป ทั้งการตัดต่อและอัพโหลดผลงานลงในยูทูป

อนาคตน้องฝ้ายบอกว่าอยากเรียนด้านนิเทศศาสตร์ โดยเฉพาะด้านวิทยุและโทรทัศน์ เพราะชอบที่จะสื่อสารกับผู้อื่น ชอบเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ เพื่อจะได้นำมาพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมช่วยนำทางให้กับผู้พิการคนอื่นๆ ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการที่คุณแม่ของน้องฝ้าย เลี้ยงดูแบบเปิด เลี้ยงดูน้องฝ้ายให้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ดื้อก็ตี เมื่อน้องฝ้ายเติบโตมา จึงทำให้น้องฝ้ายไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองนั้นด้อยค่าและผิดปกติไปกว่าคนอื่น และน้องฝ้าย ยังใช้รถเข็นไฟฟ้าของทางร้าน Elife  เพื่อช่วยเหลือตัวเองในการเดินทาง ไม่ต้องเป็นภาระของผู้อื่นอีกด้วย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือควรหลีกเลี่ยง การพูดประชดประชันคนพิการ หรือการตอกย้ำถึงความผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่ผ่านมา
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานในการให้การสนับสนุนด้านจิตใจแก่คนพิการ ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ทั้งสมาชิกในครอบครัวผู้ดูแล และบุคคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือกำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้ที่พิการเหล่านี้กล้าที่จะใช้ชีวิตอยู่บนโลกแห่งความจริงได้ด้วยตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ศิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ