fbpx

รถเข็นวีลแชร์หรืออุปกรณ์ช่วยเดินอะไรบ้าง…ที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ ?

รถเข็นวีลแชร์หรืออุปกรณ์ช่วยเดินอะไรบ้าง…ที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ ?

รถเข็นวีลแชร์ จะถูกต้องขอสำหรับผู้โดยสารที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในกรณี มีความจำกัดด้านการแพทย์ เช่น ไม่สามารถเดินไกลได้ หรือไม่สามารถขึ้นลงบันได ได้  หรือมีความพิการอื่นๆ เกี่ยวกับการเดิน รวมถึงผู้สูงอายุ หรือผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือโรคประจำตัวอื่นๆ เช่นเวียนหัว หรือมีอาการป่วย ท่านก็มีสิทธิขอรถเข็นได้เช่นกัน

วีลแชร์หรืออุปกรณ์ช่วยเดินอะไรบ้างที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ ?
  • อุปกรณ์ช่วยเดินที่ไม่มีแบตเตอรี่ : สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องบินได้เลย
  • วีลแชร์แมนนวลและไฟฟ้าที่ไม่ใช่แบตลิเธียม : ต้องโหลดใต้เครื่อง สามารถส่งวีลแชร์ได้ที่เคาน์เตอร์เช็คอินหรือใช้ไปจนถึงหน้าประตูขึ้นเครื่องบิน(Gate)**ขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละสายการบินด้วย
  • วีลแชร์ที่ใช้แบตลิเธียม ไอออน : ต้องแสดงหลักฐานที่ได้รับผ่านการทดสอบตามคู่มือการรทดสอบและหลักเกณฑ์ของสหาประชาชาติ(ปกติจะอยู่บนแบตเตอรี่)
เงื่อนไข
‼️ถอดแบตแยก ใส่ในกระเป๋าก่อนโหลดใต้ท้องเครื่อง
‼️กำลังไฟฟ้าแบตเตอรี่ 1 ก้อนไม่เกิน 300Wh แบตเตอรี่ 2ก้อนไม่เกินข้างละ 160Wh
ทำไม? รถเข็นไฟฟ้าแบตลิเธียมถึงเหมาะแก่การนำขึ้นเครื่องบินมากกว่าแบตธรรมดา?
  • มีกำลังไฟฟ้าเยอะกว่าแบตธรรมดา ดังนั้นการใช้งานจะนานกว่าด้วย
  • ขนาดเล็ก และน้ำหนักเบากว่า

ข้อควรเก็บรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน

  • ไม่ควรเก็บรถเข็นไฟฟ้าใส่กระเป๋าที่มิดชิดเพราะจะทำให้เจ้าหน้ามองไม่เห็นรถเข็นไฟฟ้า อาจเกิดความเสียหายได้
  • ควรแพครถเข็นไฟฟ้าใส่แพคเกจที่มีเห็นข้างใน หรือมีลักษณะใส เจ้าหน้าที่จะได้เห็นว่าเป็นของใช้มีค่า
  • ถ่ายรูปรถเข็นของเราก่อนนำส่งให้จ้าหน้าที่

เงื่อนไขของสายการบิน ก่อนพาผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่อง

  • แอร์เอเชีย สายการบินจะให้ผู้โดยสารที่ทุพพลภาพ หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ หรืออยู่ในภาวะป่วยร่วมเดินทางไปด้วยเที่ยวบินละ 4 ท่าน  ผู้โดยสารที่เป็นอัมพาตทั้งแขนและขาจะถูกจำกัดไม่เกิน    เที่ยวบินละ 2 ท่าน ในบางกรณีทางสายการบินอาจร้องขอให้ผู้โดยสารดังกล่าวต้องมีผู้ร่วมเดินทางด้วย อีกทั้งยังอนุญาตให้ รถเข็นเด็ก รถเข็นวีลแชร์ อุปกรณ์ช่วยเดินและโครงเหล็กช่วยเดิน สามารถนำขึ้นเครื่องได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (รวมไปถึงรถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเหลือที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ แต่ต้องถอดแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว) น้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตคือ 85 กิโลกรัม ทั้งนี้ต้องทำการแจ้งสายการบินก่อนล่วงหน้า 48 ชั่วโมง เพื่อเตรียมการช่วยเหลือ

 

  • บางกอกแอร์เวย์ หากผู้โดยสารต้องการใช้บริการรถเข็นนั่ง สามารถแจ้งกับพนักงานได้ตั้งแต่วันที่ทำการจองที่นั่ง และแจ้งก่อนเดินทางล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่ต้องเป็น  ผู้ที่สามารถดูแลตัวเองได้ระหว่างการเดินทางโดยสายการบินจะมีบริการพาไปยังประตูเครื่องหรือที่นั่งบนเครื่องและช่วยเหลือหากมีความต้องการจะเข้าห้องน้ำ เมื่อถึงจุดหมายปลายทางจะมีพนักงานพาผู้โดยสารไปยังจุดรับสัมภาระ และช่วยผู้โดยสารรับกระเป๋าเพื่อไปยังทางออก ในกรณีที่ผู้โดยสารไม่สามารถดูแลตนเองได้ระหว่างการเดินทางจำเป็นต้องมีผู้ร่วมเดินทางไปด้วยและถ้าต้องการที่จะนำรถเข็นส่วนตัวไปเองต้องแจ้งก่อนวันเดินทางล่วงหน้า 48 ชั่วโมง รวมถึงต้องแจ้งประเภท ขนาดและน้ำหนักของรถเข็นในวันที่จองที่นั่ง เพื่อจัดพื้นที่ไว้เก็บรถเข็นและนำกลับมาให้ ณ จุดรับสัมภาระ

 

  • นกแอร์ จะพิจารณาผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือในการเดินเข้าเครื่องบินเป็นสองระดับคือ 1. ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในระหว่างเที่ยวบิน แต่ยังสามารถเดินขึ้นเครื่องเองได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้รถเข็น  ทางสายการบินจะจัดเตรียมให้และส่งผู้โดยสารที่ประตูเครื่องบิน จากนั้นต้องเดินต่อเอง 2. ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (ต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือในการเดินทางขึ้นลงเครื่องบินหรือ ไม่สามารถเดินทางโดยลำพังได้ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ๆ ) จำกัด 1 คน ต่อ 1 แถวที่นั่งเท่านั้น และจำกัดจำนวนต่อเที่ยวบิน   เพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ต้องแจ้งสายการบินอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนเวลาการเดินทาง และแจ้งชื่อผู้โดยสารซึ่งจะเป็นผู้ร่วมเดินทาง ( Escort/Accompany) โดยผู้ร่วมเดินทางจะต้องเดินทางเคียงข้างไปในเที่ยวบินเดียวกัน ไม่เช่นนั่นทางสายการบินมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษขึ้นเครื่อง โดยบริษัทฯ ยินดีคืนค่าโดยสารในกรณีดังกล่าว

 

  • ไทยไลอ้อนแอร์ ให้ผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นวีลแชร์หรือใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ (ยกเว้นในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย) เป็นสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงแต่ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือต้องมีผู้ร่วมเดินทางด้วย ซึ่งผู้โดยสารต้องการความช่วยเหลือจะไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งที่นั่งตรงทางออกฉุกเฉินหรือบริเวณปีกแถวทางออกฉุกเฉิน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัย ทางสายการบินจะจัดที่นั่งช่วยให้ตามความเหมาะสม และขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายได้ โดยต้องทำการติดต่อสายการบินหรือคอลเซ็นเตอร์ อย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทางเพื่อจัดการประเภทของความช่วยเหลือที่จำเป็นล่วงหน้า

 

  • ไทยสมายล์ พิจารณาผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือในการขึ้นเครื่องบินเป็น 2 ระดับ 1. ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือในระหว่างเที่ยวบินหรือระหว่างการเดินทาง ซึ่งสามารถเดินเข้าเครื่องบินเองได้ ในกรณีนี้สายการบินยอมให้เดินทางคนเดียวได้ หากต้องใช้รถเข็นเพื่อความสะดวกมีบริการจัดเตรียมให้และจะส่งให้เดินเข้าเครื่องบินด้วยตนเองหน้าประตูเครื่องเท่านั้น 2. ผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือในการเดินทางขึ้นลงเครื่องบิน หรือไม่สามารถเดินทางโดยลำพังได้ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด (รวมทั้งเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี) ในกรณีนี้สายการบิลจะยอมรับให้เดินทาง โดยต้องมีผู้ร่วมเดินทางด้วย (Escort/Accompany) เพื่อช่วยเหลือในระหว่างเที่ยวบินและการขึ้นลงเครื่องบิน เพื่อความสะดวกในการเดินทางต้องแจ้งสายการบินขณะที่ทำการจองบัตรโดยสารอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง

อย่างไรก็ตามแม้รายละเอียดจะคล้ายคลึงกัน แต่ข้อกำหนดของอุปกรณ์ทั้งขนาดและน้ำหนักของแต่ละสายการบินนั้นก็อาจแตกต่างกัน แนะนำให้โทรสอบถามรายละเอียดแก่สายการบิน  ที่จะทำการเดินทางโดยตรง เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของตัวท่านเองและผู้ร่วมทางค่ะ

ข้อมูลดีดีจาก : CAAT