fbpx

จัดห้องนอนให้สูงวัย ปลอดภัยไม่ง้อบ้านพักคนชรา

จัดห้องนอนให้สูงวัย

ในปัจจุบันแนวโน้มของผู้สูงอายุ…ในยุคนี้เพิ่มสูงขึ้นและโลกของเรากำลังก้าวไปสู่ยุคที่เรียกว่า สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) สำหรับประเทศไทยขณะนี้ประเทศเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เรียบร้อยแล้ว โดยผู้สูงอายุโดยปกติในสังคมไทยเรานับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นผู้สูงอายุและถือว่าเป็นวัยเกษียณอายุราชการไปด้วย โดยมีประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 10 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดการณ์กันว่าอัตราผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไปจะพุ่งทะยานจาก 7% ในปี 2005 สูงขึ้นไปแตะ14%ในอีก 9 ปีข้างหน้าปี 2023 ซึ่งเมื่อนั้นเราจะถือว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completed aged society)

เมื่อต้องดูแลผู้สูงวัยต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

  • เตรียมใจให้พร้อม
  1. การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยไม่ใช่เรื่องง่าย อันดับแรกครอบครัวต้องพร้อมที่จะเข้าใจผู้สูงอายุอย่างแท้จริงด้วยวัยของเขาเป็นช่วงที่อารมณ์อ่อนไหว ครอบครัวต้องพยายามเข้าใจ
  • เตรียมเงิน
  1. สำหรับใช้จ่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ เพราะวัยนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ทั่วไปเหมือนเดิมได้แล้ว เพราะไม่ตอบโจทย์ในเรื่องความปลอดภัย ควรหันไปให้ความสนใจอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะซึ่งราคาก็อาจจะสูงกว่าของคนทั่วไป
  2. ในกรณีจำเป็นต้องจ้างคนดูแล
  • เตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  1. การเตรียมสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับผู้สูงอายุ ควรเลือกห้องที่มีอากาศถ่ายเท โล่งโปร่งสบาย แนะนำให้ปรึกษาผู้สูงอายุก่อนให้ท่านเลือกที่ที่ถูกใจ
  2. เลือกอุปกรณ์ที่เสริมความปลอดภัย
  • วางแผนการดูแล
  1. ศึกษาวิธีการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง เช่นอาหารการกิน อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นเช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดน้ำตาล
  2. เตรียมกิจกรรมที่คลายความเคลียดร่วมกันในครอบครัวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เช่น การปลูกต้นไม้ ฟังเพลง ออกกำลังกาย หรือการพาท่านไปเที่ยวนอกสถานที่
  3. เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยเป็นหลัก

“การจัดห้องนอนสำหรับดูแลผู้สูงอายุ”

ผู้สูงอายุ…ส่วนใหญ่มักใช้เวลาในห้องนอนมากกว่าสถานที่อื่น ดังนั้นการจัดห้องนอนให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด และหากมองบ้านพักคนชราเป็นตัวอย่างในการจัดห้องนอนก็มีอุปกรณ์เครื่องใช้อย่างครบครัน เพราะการดูแลผู้สูงอายุมีความละเอียดไม่แพ้กับการดูแลเด็กเลย บางเรื่องเป็นสิ่งที่เปราะบางมากๆ ดังนั้นการใส่ใจเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะส่งผลทั้งทางด้านจิตใจและสภาวะร่างกายของท่านด้วย  วันนี้อีไลฟ์จะจำลองการจัดห้องนอนให้ผู้สูงอายุให้ปลอดภัยไม่แพ้ในบ้านพักคนชราเลยไปดูกัน…


จัดห้องนอนผู้สูงอายุ
จัดห้องนอนผู้สูงอายุ

1. การจัดห้องนอน

ขนาดเตียงและตำแหน่งของห้องนอน

  • ขนาดพื้นที่ห้องนอน 10 – 12 ตร.ม. สำหรับ 1 คน (ไม่รวมพื้นที่ห้องน้ำ) หรือ 16 – 20 ตร.ม. สำหรับ 2 คน เพื่อให้มีพื้นที่ในสำหรับงานอดิเรก พักผ่อนและเพื่อที่จะเข้าดูแลสะดวกมากขึ้น
  • ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่าง หลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้สูงอายุใช้บันไดป้องกันอุบัติเหตุ
  • ถ้าใช้รถเข็นต้องมีพื้นที่ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 150 ซ.ม. ให้กลับรถเข็นได้สะดวก
  • อยู่ใกล้ห้องน้ำ เพราะผู้สูงอายุเริ่มปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน การมีห้องน้ำใกล้ๆจะทำให้ผู้สูงอายุสะดวกมากขึ้น
  • ห้องมีความโปร่ง โล่ง อากาศถ่ายเท เพราะเวลาส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุอยู่ในห้องนอนการมีที่มีอากาศถ่ายเทที่ดีก็ส่งผลกับสุขภาพจิตใจและร่างกายของผู้สูงอายุด้วย

การเลือกอุปกรณ์ภายในห้องนอน

  • ใช้วัสดุปูพื้นโทนสว่าง ที่ไม่ลื่น ไม่แข็งเกิน มีพื้นผิวเสมอกัน หลีกเลี่ยงการมีระดับ (Step) หรือพรม เพื่อป้องกันการสะดุด
  • หลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ที่มีมุมแหลม เลือกโต๊ะ,ตู้,เก้าอี้ ที่มีความโค้งมนเป็นหลัก
  • มีเครื่องฟอกอากาศ เพื่อรักษาความสดชื่นภายในห้องนอน
  • เลือกเครื่องใช้ที่มีสีสบายตา เช่นสีเอิร์ธโทนหรือพาสเทล เช่นผู้ปูที่นอน ผ้าม่าน ผ้าห่มเป็นต้น
  • เครื่องใช้ที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เพราะการดูแลผู้สูงอายุต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก
เตียงผู้สูงอายุ
เตียงไฟฟ้าสำหรับดูแลผู้สูงอายุ

2.เลือกเครื่องใช้ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

เลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ผ่านการรับรอง/อุปกรณ์การแพทย์

เพราะสภาพร่างกายของผู้สูงอายุไม่เหมือนกับคนทั่วไป ความสามารถในการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายก็เริ่มถดถอยลงตามเวลา การเปลี่ยนเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ควรต้องมีลักษณะเฉพาะที่ออกแบบมาสำหรับดูแลผู้สูงอายุโดยตรงก็สามารถอำนวยความสะดวกและหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้สูงอายุ เพราะถือเป็นอุปกรณ์การแพทย์ที่ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจได้ดังนั้นการใช้ของเหล่านี้อาจไม่ต้องรอให้ผู้สูงอายุป่วยติดเตียงแล้วถึงใช้งานได้ เพราะอย่าลืมว่าผู้สูงอายุก็ต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกเช่นกัน

เตียงนอน

  • เตียงนอนเลือกเป็น เตียงปรับไฟฟ้า เหตุผลว่าทำไม ? ถึงต้องใช้เตียงไฟฟ้าเตียงธรรมดาก็ใช้ได้เหมือนกัน เพราะเตียงปรับไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์การแพทย์ที่ถูกออกแบบพิเศษสำหรับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโดยเฉพาะ มีฟังก์ชันการใช้งานเหมือนกับเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการปรับระดับเพื่อนั่ง ชันเข่า ระดับสูง-ต่ำ เพื่อให้เหมาะกับการดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับคนใช้งาน แต่ก็จะมีปัญหากับผู้สูงอายุหลายท่านที่ไม่ชอบลักษณะเตียงแบบโรงพยาบาลเพราะให้ความรู้สึกเหมือนตอกย้ำว่าเป็นคนป่วย วิสัยทัศน์เมื่อเอาไปวางในบ้านก็ไม่สวยงาม แต่ปัจจุบันมีการดีไซน์เตียงนอนไฟฟ้าให้เหมือนกับเตียงนอนทั่วไป โครงสร้างเป็นกรุไม้ ดูเป็นมิตรมากขึ้น จริงๆเตียงลักษณะนี้นิยมใช้ตามบ้านพักคนชราในประเทศญี่ปุ่น
  • หลักการเลือกเตียง ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร ระดับเตียงควรสูงจากพื้นไม่เกิน 40 เซนติเมตร (สูงเท่าระดับพื้นที่ข้อพับเข่า)
  • มีราวกั้นตกเตียง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุตกเตียง และสามารถเป็นที่ยึดทรงตัวให้กับผู้สูงอายุในตอนนั่งและตอนลุกออกจากเตียงนอน ทำให้มั่นคงมากขึ้น
  • ตำแหน่งของเตียง มีพื้นที่ว่างโดยรอบเตียงสามด้านขั้นต่ำ 90 เซนติเมตรหรือสามารถวางเตียงข้างใดข้างนึงติดกับผนังแต่ควรเว้นพื้นที่ข้างเตียงฝั่งตรงข้ามไว้สำหรับให้ผู้ดูแลเข้าดูแลผู้สูงอายุหรือสำหรับวางวีลแชร์

รถเข็นวีลแชร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือรถเข็นวีลแชร์แมนนวลและรถเข็นไฟฟ้าซึ่งมีหน้าที่อำนวยความสะดวกเรื่องความเคลื่อนไหวไปยังสถานที่ต่างๆ เพราะผู้สูงอายุเริ่มมีปัญญหาเรื่องการเดิน ปวดเข่า เริ่มทรงตัวได้ลำบาก มาดูหลักการเลือกวีลแชร์ที่ใช้ในบ้านกันเลยค่ะ

  • มีขนาดล้อเล็ก ควรเลือกวีลแชร์ไฟฟ้าหรือแมนนวลที่มีขนาดล้อเล็กเพราะสามารถเคลื่อนตัวสะดวกในที่ที่มีพื้นที่จำกัด ไม่กินพื้นที่ รถเข็นที่ขนาดล้อเล็กสามารถตีวงได้แคบ (หากเป็นรถเข็นแมนนวลจำเป็นต้องมีผู้ดูแลเข็น) นอกจากนี้รถเข็นลักษณะนี้จะไม่รูปร่างไม่เหมือนกับรถเข็นผู้ป่วยจะเหมือนกับเก้าอี้ธรรมดามากกว่า
  • สามารถพับเก็บได้ เพื่อประหยัดพื้นที่ในเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน
เตียงผู้สูงอายุ
แสงสว่างในห้องนอนผู้สูงอายุ

3.ห้องนอนต้องมีความสว่างเพียงพอ  ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนห้องนอนของผู้สูงอายุควรต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ ด้วยปัญหาเรื่องการมองเห็นอาจจะเกิดจากร่างกายผู้สูงอายุเองหรือจากการใช้ยาเองอาจเกิดอุบัติเหตุได้

แสงสว่างในตอนกลางวัน

  • สามารถใช้แสงสว่างจากธรรมชาติได้โดยการเปิดหน้าต่าง ประตู ไว้นอกจากเพื่อความสว่างแล้วยังทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี

แสงสว่างในเวลากลางคืน 

  • โดยสาเหตุหลักที่ห้องนอนผู้สูงอายุต้องมีไฟหรือแสงสว่างในเวลากลางคืน เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาจจะปัสสาวะบ่อยหรือจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำในเวลากลางคืน ซึ่งในเวลานั้นผู้ดูแลอาจจะนอนหลับอยู่ ดังนั้นการที่เขาสามารถเปิดใช้งานไฟได้ด้วยตัวเองหรือมีแสงสว่างอยู่ตลอดคืน จะทำให้เขาสามารถเขาห้องน้ำได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรบกวนผู้ดูแลและสามารถป้องกันการสะดุดล้ม และไฟจำพวกนี้ส่วนใหญ่เป็น Warm light เป็นสีที่เป็นมิตรกับการนอนไม่แสบตาหรือรบกวนเวลานอน ปัจจุบันมีการออกแบบไฟสำหรับดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางคืน ไม่ว่าจะเป็นไฟที่มีระบบเซนเซอร์ กดสวิซต์ หรือไฟใต้เตียงที่ติดมากับเตียงไฟฟ้า

ทำไมต้องมีไฟใต้เตียง ?

  • ไฟใต้เตียงเป็นไฟที่จะอยู่ใกล้ตัวผู้สูงอายุมากที่สุด ผู้สูงอายุสามารถเปิดไฟบนเตียงได้ทันทีโดยไม่ต้องลุกออกจากเตียง ช่วยลดความเสี่ยงขณะที่กำลังเดินไปหาสวิซต์ไฟและไม่ต้องเรียกคนดูแลให้ช่วยเปิดกลางดึก ปัจจุบันเตียงไฟฟ้ามีแสงไฟฉุกเฉินติดมาด้วยอยู่แล้วมีทั้งเป็นแบบเซ็นเซอร์หรือแบบสวิซต์
  • แสงไฟลดความอึดอัด ผู้สูงอายุบางท่านไม่ชอบนอนในที่มืดทึบจนเกินไปเพราะจะทำให้เขารู้สึกหายใจไม่ออก แสงไฟสลัวๆจากใต้เตียงสามารถสร้างความอบอุ่นให้ผู้สูงอายุได้
  • แสงสว่างพอดี ไม่สว่างจ้ารบกวนผู้ดูแลและสมาชิกในบ้าน
  • ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น สามารถหยิบจับของในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องรบกวนใคร
  • ผู้ดูแลรู้สึกอุ่นใจมากขึ้น เพราะแสงไฟจะช่วยให้มองเห็นผู้สูงอายุตลอดคืน
  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ดูแลสามารถมองเห็นและช่วยเหลือได้ทันที
สัญญาณฉุกเฉินเรียกคนดูแล
สัญญาณฉุกเฉินเรียกคนดูแล

4.อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

สัญญาณฉุกเฉิน

  • มีไว้สำหรับขอความช่วยเหลือกับผู้ดูแลหรือบุคคลอื่นๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ การหกล้ม ลื่นในห้องน้ำ ได้รับบาดเจ็บ หรือแน่นหน้าอก ในขณะที่ผู้ดูแลไม่ได้อยู่ด้วย เมื่อกดปุ่มผ่านรีโมทก็ส่งสัญญาณไม่ยังผู้ดูแลทันที นิยมติดตั้งปุ่มใช้งานให้ใกล้ผู้สูงอายุมากที่สุด ส่วนใหญ่เลือกที่มีการใช้งานไม่ซับซ้อน

กล้องวงจรปิด

  • ในบ้านพักคนชราส่วนใหญ่ก็ใช้กล้องวงจรปิดหรือกล้อง cctv Long Term Care ไว้สำหรับดูแลผู้สูงอายุเพื่อสามารถรู้ถึงอันตรายของผู้สูงอายุและเช้าช่วยเหลือได้ทันที ในปัจจุบันมีกล้องแบบระบบออนไลน์ที่แสดงผลบนสมาร์ทโฟนสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ต่างจังหวัดหรือนอกบ้านสามารถรับรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตลอดเวลา