กลับมาอีกแล้วสำหรับเจ้าโควิดตัวร้าย ต้อนรับปีใหม่รอบ 2 อยู่ยาวตั้งแต่ต้นปียันท้ายปี กลับมาครั้งนี้ก็ไม่ธรรมดาอีกเช่นเคยเพราะรอบนี้พบผู้ติดเชื้อจากชาวเพื่อนของเรานั้นเอง เนื่องจากประเทศไทยของเรามีชาวพม่าเข้ามาทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือตลาดกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีคนงานพม่าอยู่เป็นจำนวนมากและคนงานพม่ามักจะอยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ทำให้เชื้อโควิดรอบนี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และเป็นเชื้อโควิดที่ไม่เหมือนที่ผ่านมา วันนี้อีไลฟ์มาอัพเดทข่าวสารจากกรมควบคุมโรคให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมรับมือกันค่ะ
ลำดับ | คำถาม | คำตอบ |
---|---|---|
Q1 | อาหารทะเลกินได้หรือไม่ | อาหารทะเลสามารถรับประทานได้ตามปกติ การป้องกันโรคที่สำคัญคือ ปรุงสุก ร้อน สะอาด เพราะสามารถฆ่าเชื้อได้รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด 19 |
Q2 | มีจังหวัดใดบ้างที่ประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยง | จังหวัดสมุทรสาคร |
Q3 | สถานที่ในจังหวัดสมุทรสาคร มีสถานที่ใดบ้างที่มีคำสั่งปิดชั่วคราว | มาตรการควบคุมโรค COVID-19 ในจังหวัด สมุทรสาคร ช่วงวันที่ 19 ธ.ค. 63 – 3 ม.ค. 64 (14 วัน) 1. ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ให้เปิดเฉพาะซื้อกลับบ้าน ยกเว้น โรงแรมและโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า คอมมิวนิตี้มอล 2. ร้านสะดวกซื้อ กำหนดเวลาปิด 22.00 – 05.00 น. และจำกัดจำนวนคนเข้าร้านไม่ให้แออัด 3. ตลาดนัด ตลาดสด เปิดขายได้ 6 ชั่วโมง 4. ปิดให้บริการตลาดกลางกุ้งและหอพักศรีเมืองและพื้นที่สาธารณะทั่วไป เช่น สนามกีฬา สนามมวย โรงเรียน สถานที่รับเลี้ยงเด็ก ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ |
Q4 | ประชาชนสามารถเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงได้หรือไม | ปัจจุบันมีการล็อคดาวน์ จังหวัดสมุทรสาครทั้งจังหวัด โดย 1. ห้ามออกนอกเคหะสถานช่วงเวลา 22.00 – 05.00 น. 2. ห้ามคนต่างด้าวเดินทางข้ามจังหวัด 3. คนไทยเดินทางข้ามจังหวัดได้ (แต่ต้องแจ้งปลายทางต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่) และหากมีความจำเป็นต้องเข้าพื้นที่ให้ติดต่อแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ |
Q5 | ใครมีสิทธ์ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ฟรี | มีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วง 14 วัน ก่อนมีอาการ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์) ดังนี้ 1. เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง 2. ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง 3. สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย/ผู้ป่วยยืนยัน 4. เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน |
Q6 | อาการที่เข้าข่ายโควิด -19 มีอาการอย่างไร | ไอ, น้ำมูก, เจ็บคอ, หายใจเหนื่อยหอบ, จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส |
Q7 | สามารถเข้ารับการตรวจรักษาโควิด -19 ได้ที่ไหน | โรงพยาบาลตามสิทธิ์ (บัตรทอง ประกันสังคม ราชการ) หรือสอบถามข้อมูลสิทธิการรักษาเพิ่มเติมที่ สายด่วน สปสช. โทร 1330 |
Q8 | หากเข้าเกณฑ์เสี่ยงต้องทำอย่างไร | สวมหน้ากาก, ล้างมือ, เว้นระยะห่าง, เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว |
Q9 | ความเสี่ยงของผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด–19 แบ่งความเสี่ยงเป็นกี่ระดับ | ความเสี่ยงของผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด – 19 แบ่งความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย 2. ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 3. ไม่มีความเสี่ยง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ |
Q10 | ผู้สัมผู้ติดเชื้อโควิด–19 ต้องปฏิบัติอย่างไร | 1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย ต้องเข้ารับการกักกันโรค และเข้ารับการตรวจหาเชื้อจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2. ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้สังเกตอาการตนเอง หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชน และสวมหน้ากากอนามัย 3. ไม่มีความเสี่ยง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องกักตัว และไม่ต้องตรวจทางห้องปฎิบัติการ |
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค