fbpx

รู้จักกับโรคเกี่ยวกับเท้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ พร้อมวิธีรักษาเบื้องต้น

รู้จักกับโรคเกี่ยวกับเท้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ พร้อมวิธีรักษาเบื้องต้น

เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพลงไปตามกาลเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย กลับมีความยืดหยุ่นน้อยลง โดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้าที่ผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก อาจมีอาการอักเสบของเส้นเอ็น ปวดฝ่าเท้าและส้นเท้าเวลาเดินลงน้ำหนัก ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเท้าได้ง่าย เนื่องจากผู้สูงอายุหลายคนมักจะคิดว่าเป็นเพียงอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วไป แต่หากสังเกตให้ดี นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรครองช้ำ โรคเท้าแบน หรือโรคเท้าผิดรูปได้ ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับเท้าที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว มีอะไรบ้างวันนี้เรามาดูกันค่ะ

  • โรครองช้ำ

ปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า รองช้ำ แก้ยังไงดี เพราะเชื่อมกับพังผืดของฝ่าเท้า

โรครองช้ำหรือโรคพังผืดเท้าอักเสบ จัดเป็นโรคเกี่ยวกับเท้าที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการรู้สึกปวดบนฝ่าเท้า ส้นเท้าหรือส่วนโค้งใกล้ส้นเท้า เจ็บคล้าย ๆ กับมีของแหลมมาทิ่ม อันเนื่องจากเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้าและกระดูกนิ้วเท้าอักเสบ หรือเกิดการฉีกขาดของพังผืดฝ่าเท้าที่สัมพันธ์ระบบการเดินลงน้ำหนักเท้า จึงไม่แปลกที่ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดจนบางรายอาจไม่สามารถเดินเคลื่อนไหวได้เอง จำเป็นต้องใช้วีลแชร์ช่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน

สาเหตุของโรครองช้ำ

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุป่วยเป็นรองช้ำเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป ภาวะเท้าผิดรูป เช่น อุ้งเท้าแบน อุ้งเท้าสูง อุ้งเท้าโก่งไป การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม การใช้งานฝ่าเท้าและส้นเท้ามากเกินไป รวมถึงผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีความเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรครองช้ำได้เช่นกัน

วิธีการดูแลรักษาโรครองช้ำเบื้องต้น

พยายามให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการเดินระยะไกล ควรสวมใส่รองเท้าที่ซัพพอร์ตเท้าตลอดเวลา ซึ่งพื้นรองเท้าควรมีลักษณะนุ่มรับน้ำหนักได้ดี เข้ากับรูปทรงเท้าแต่ละบุคคล และพยายามให้ผู้สูงอายุยืดเหยียดเส้นเอ็นร้อยหวายและนวดพังผืดฝ่าเท้าบ่อย ๆ สำหรับผู้สูงอายุที่พบว่ามีอาการจนถึงขั้นปวดแล้ว ให้พาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาทันที

  • โรคเท้าแบน

เท้าแบน (Flat Feet) - อาการ, สาเหตุ, การรักษา - Pobpad

โรคเท้าแบนเป็นภาวะผิดปกติที่อุ้งเท้า บริเวณกลางเท้าสูญเสียความสูงไป ทำให้รูปเท้าแบนติดพื้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ชัดเมื่อลงน้ำหนักเท้า ถือเป็นผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากกลไกการทำงานของเท้าและข้อเท้าสูญเสียไป ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีอาการโรคเท้าแบนจะรู้สึกเจ็บปวดเท้า ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งเท้าไม่ได้ รู้สึกชาบริเวณฝ่าเท้าหรือเส้นเอ็นนิ้วเท้า และหากปล่อยปละละเลยเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ความผิดรูปของข้อเท้าและนิ้วตามมาในภายหลังได้

สาเหตุของโรคเท้าแบน

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเท้าแบนมีหลายปัจจัย ตั้งแต่การมีเนื้อเยื่ออ่อนและไขมันสะสมบริเวณอุ้งเท้ามากจนเกินไป ลักษณะกระดูกและข้อภายในเท้าผิดปกติตั้งแต่กำเนิด พฤติกรรมการลงน้ำหนักเท้าที่ผิดปกติ ตลอดจนการเสื่อมสภาพของอวัยวะร่างกายที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น เส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าเสื่อม ข้อเสื่อม เส้นเอ็นเสื่อม และความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อในเท้าและข้อเท้า

วิธีการดูแลรักษาโรคเท้าแบนเบื้องต้น

การดูแลรักษาโรคเท้าแบนสามารถเริ่มต้นได้จากการสวมใส่รองเท้าที่รับกับรูปหน้าเท้าอย่างพอดี ใช้อุปกรณ์เสริมอย่างซิลิโคนรองเท้าแบบเต็มฝ่าเท้า เพื่อช่วยหนุนเท้าและบรรเทาอาการเจ็บปวด รวมถึงการทำกายภาพบำบัด ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัดเพื่อช่วยวิเคราะห์ลักษณะการเดินและปรับท่าทางให้เหมาะสม

  • โรคเท้าผิดรูป

เท้าผิดรูป เกิดจากอะไร ต้องรักษาอย่างไร มีแบบไหนบ้าง มาดูกันครับ

โรคเท้าผิดรูปหรือกระดูกนิ้วโป้งเท้าเอียงเข้าด้านใน ทำให้โคนนิ้วโป้งเท้านูนออกมา จนทำให้เกิดการเสียดสีกับรองเท้าและรู้สึกเจ็บปวดเวลาใส่รองเท้า ผู้สูงอายุบางรายที่เป็นมากและฝืนเป็นระยะเวลานาน นิ้วโป้งอาจไขว้กับนิ้วที่สองจนเกิดเป็นรอยแผล เสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมาได้

สาเหตุของโรคเท้าผิดรูป

ส่วนใหญ่สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเท้าผิดรูปจะมีไม่เพียงกี่ปัจจัย ได้แก่ เกิดจากพันธุกรรมของคนในครอบครัวมีประวัติโครงสร้างเท้าผิดปกติ เช่น กระดูกส้นเท้าบิดเอนเข้าด้านใน เอ็นร้อยหวายบิดโค้งเข้าด้านใน ส่งผลต่อการเดินจนฝั่งด้านในเท้าผิดปกติ หรือพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม อย่างรองเท้าหัวแหลมและรองเท้าที่บีบรัดบริเวณหน้าเท้านาน ๆ ตลอดจนโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นก็สามารถกระตุ้นให้ป่วยเป็นโรคเท้าผิดรูปได้เหมือนกัน

วิธีการดูแลรักษาโรคเท้าผิดรูปเบื้องต้น

การรักษาโรคเท้าผิดรูปจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เริ่มได้จากดูแลแบบประคับประคอง ด้วยการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมรูปเท้า หลีกเลี่ยงรองเท้าหัวแหลมหรือรองเท้าที่บีบบริเวณหน้าเท้า งดกิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนักเท้าไปก่อน สามารถสวมใส่ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเท้า เพื่อช่วยลดอาการปวดได้ สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการหนักมาก หากต้องการให้หายขาด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขรูปเท้าได้

แนะนำตัวช่วยชั้นเลิศในการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเท้า จาก Elife

  • วีลแชร์ – ตัวช่วยในการเดินหรือเคลื่อนไหวสำหรับผู้สูงอายุที่รู้สึกเจ็บปวดจนไม่สามารถลงน้ำหนักเท้า หรือก้าวเดินเองได้
  • เก้าอี้ Recliner – ช่วยปรับระดับการนอนหรือนั่งพักผ่อนให้สบายขึ้น ลดอาการปวดข้อเท้าและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ได้ดี ทำให้ไม่ต้องขยับร่างกายให้ปวดมากนัก
  • เก้าอี้นั่งถ่ายและอาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุ – การทำกิจวัตรประจำวันอย่างการอาบน้ำและขับถ่าย มักใช้เวลาในการยืนพอสมควร สำหรับผู้สูงอายุที่รู้สึกปวดข้อเท้า ปวดเท้าจนไม่สามารถยืนลงน้ำหนักเท้าได้ การมีเก้าอี้นั่งถ่ายและอาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุ จะช่วยให้การทำธุระต่าง ๆ ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ดีด้วย

cozy


วีลแชร์
lift3