fbpx

สาเหตุที่ผู้สูงอายุมักจะปฏิเสธการใช้เตียงปรับระดับไฟฟ้า หรือเตียงผู้ป่วย

สาเหตุที่ผู้สูงอายุมักจะปฏิเสธการใช้เตียงปรับระดับไฟฟ้า หรือเตียงผู้ป่วย

เตียงปรับระดับไฟฟ้า

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นเตียงที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการช่วยรองรับการดูแลและการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยพักฟื้น ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายถดถอยลงไปตามกาลเวลาจนทำให้ไม่สามารถประคองตัวเองเพื่อลุกขึ้นนั่งหรือยืนได้อย่างสะดวก สามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแล และเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้นจากการที่สามารถลงมือทำและควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยปัจจุบันนี้ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้นได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีฟังก์ชั่นในการใช้งานที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถช่วยตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าในผู้ป่วยและผู้สูงอายุแต่ละรายได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากที่สุด

“ข้อดีของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า” ที่แตกต่างจากเตียงธรรมดานั้น คือสามารถปรับจุดต่างๆ ของเตียง ให้เข้ากับสรีระท่านอนของผู้ป่วยหรือผู้งานเตียงได้ เช่น ปรับให้ผู้ใช้งานสามารถลุกขึ้นมานั่งกินข้าวหรือทานข้าวได้ ยิ่งเป็นเตียงที่สามารถปรับฟังก์ชั่นได้เยอะ ยิ่งสามารถเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานเตียงและผู้ดูแลได้มาก หากใช้เตียงนอนธรรมดา แน่นอนว่า การดูแลรักษาและการเข้าถึงผู้ป่วยนั้นจะค่อนข้างลำบากกว่าที่ควร

เมื่อพูดถึงเตียงไฟฟ้า สิ่งแรกที่ทำให้ทุกคนนึกถึง ก็คงหนีไม่พ้นไอเจ้าเตียงที่มันตั้งอยู่ตามโรงพยาบาลใช่มั้ยล่ะคะ ?? แน่นอนว่าเตียงนอนไฟฟ้าปรับระดับได้ถ้ามีใครเอ่ยขึ้นมา ภายในหัวแวปแรกที่นึกขึ้นมาได้นั้น เป็นเตียงโรงพยาบาลที่ลักษณะเป็นราวปีกนกบ้าง เป็นเหล็กบ้าง บ้างก็ว่าเป็นพลาสติก ทำให้ผู้สูงอายุที่พอได้ฟังแล้วนั้นก็ไม่อยากที่จะใช้งานทันที เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล หรือเป็นผู้ป่วยติดเตียง พอได้ฟังแล้วนั้นก็ขยาดที่จะต้องใช้งานทันที ก็เลยเลือกที่จะปฏิเสธเมื่อลูกหลานต้องการจะให้ใช้

วันนี้เรามาดูเลยกันเลยดีกว่าค่ะ ว่าสาเหตุหลักๆ นั้นมีอะไรบ้าง ดังนี้ 

  1. ความรู้สึกหรือทัศนคติที่ไม่ดี ต่ออุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวด้านการลุกออกจากเตียง เราอาจจะเห็นผู้สูงอายุบางราย ในขณะที่ตื่นนอน จะต้องให้คนช่วยพยุง หรือต้องใช้แรงในการพยุงตัวเองลุกออกจากเตียงเองถึงกว่าจะลุกออกจากเตียงได้ แต่ถ้าต้องใช้เตียงเหมือนโรงพยาบาลก็จะรู้สึกตัวเองว่าเป็นคนป่วยติดเตียงนั่นเอง
  2. เครื่องมือบางอย่างใช้งานยาก หรือต้องได้รับการฝึกฝนก่อนการใช้งาน หรือต้องได้รับการฝึกฝนก่อนการใช้งาน อย่างเช่นเตียงโรงพยาบาลที่เป็นปีกนก ปรับฟังก์ชั่นพลิกตะแคงได้ เวลาปรับตะแคงแล้ว จะกลับมาท่าอื่น ต้องกดหลายอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้สูงอายุนัก อาจจะด้วยความจำ หรือสายตาที่มองเห็นไม่ค่อยชัด
    – เตียงปรับไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายในการใช้งาน และสามารถใช้เพื่อลดการเกิดการหกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุได้ในผู้สูงอายุ นอกจากจะใช้งานง่ายแล้ว ยังสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุเคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกหลาน และยังลดภาระของผู้ดูแล หรือช่วยให้ผู้ดูแลทำงานได้สะดวกขึ้น ช่วยลดภาระต่อลูกหลาน หรือผู้ดูแล รวมไปถึงช่วยให้ลูกหลานหรือผู้ดูแล สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ง่ายขึ้น
  3. อธิบายให้ผู้สูงอายุเข้าใจถึงผลเสียที่ตามมา หากผู้สูงอายุหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ จะก่อให้เกิดเรื่องใหญ่ขึ้นแน่นอน เพราะผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก เนื่องจากอายุมากขึ้น ก็จะทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม จึงส่งผลให้กระดูกเปราะบางมาก ทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย >> หกล้ม ในผู้สูงวัย เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
  4. ใช้ประโยชน์จากเตียงไฟฟ้า ประโยชน์จากเตียงไฟฟ้า ช่วยให้ผู้สูงอายุลุกจากเตียงได้ง่าย นอนในองศาที่สบาย ปลอดภัยต่อสุขภาพ และส่งผลดีต่อสุขภาพ สะดวกกับคนดูแล ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ ในการป้อนข้าว เช็ดตัว หรือเปลี่ยนกางเกงบ่อยๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา
  5. เลือกซื้อเตียงไฟฟ้าที่คุณภาพ ผู้ใช้สามารถปรับรีโมทไฟฟ้าได้ด้วยด้วยตัวเอง ผู้ดูแลสามารถใช้งานได้ง่าย มอเตอร์เป็นแบรนด์นำเข้าจากเยอรมัน Dewert Okin  มอเตอร์เงียบ สมูท ไร้เสียงดังรบกวนการนอนของผู้สูงอายุ เตียงแบบมือหมุนจะทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานได้นาน หรือมีความขำรุดง่าย ยุ่งยากในการดูแลซ่อมบำรุง และยังเป็นการเพิ่มภาระในการออกแรงให้กับผู้ดูแลอีกด้วย
  6. เลือกเตียงไฟฟ้า ที่มีลักษณะความสวยงาม และได้มาตรฐาน ปัจจุบันได้ออกแบบมาให้เหมือนกับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เป็นไม้ ให้ความรู้สึกอบอุ่น มองแล้วสบายตา ไม่รู้สึกว่าเป็นเตียงโรงพยาบาล เหมาะที่จะวางตั้งไว้ภายในบ้าน

“และในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวสำหรับผู้สูงอายุ ได้มีการพัฒนาและออกแบบมาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น”

เตียงไฟฟ้า ถ้าสำหรับผู้สูงอายุแล้ว ภาพจำอย่างแรกเลยคือต้องเป็นเตียงโรงพยาบาลแน่ ๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่า เตียงไฟฟ้าของ Elife นั้น เกินคาดค่ะ เพราะเตียงไฟฟ้าของเราเป็นเตียงไฟฟ้าที่มีรูปแบบเหมือนกับเตียงนอนทั่วไป มีการออกแบบมาให้เหมือนกับเฟอร์นิเจอร์ รูปแบบเป็นไม้ สีสันสว่าง ให้ความรู้สึกสดใส วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเตียงไฟฟ้ารุ่น EB-55 กันเถอะค่ะ

เตียงไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุ รุ่น EB-55 ปรับได้ 5 ไกร์ 10 ฟังก์ชั่น

การอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และทำให้พักฟื้นสุขภาพร่างกายได้อย่างเต็มที่ เตียงปรับระดับไฟฟ้า หรือเตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุนั้น จึงเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยในการอำนวยความสะดวก ที่ทำให้ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

เตียงไฟฟ้า 5ไกร์หรือEB-55… เหมาะกับผู้สูงอายุที่เริ่มเป็นผู้ป่วยแล้วไปจนถึงผู้ป่วยติดเตียงซึ่ง 5ไกร์ที่รวมฟังก์ชันที่สำคัญทั้งผู้ดูแลและผู้ใช้งานมาแล้วสามารถปรับได้เหมือนกับ 3ไกร์แต่มีฟังก์ชันพิเศษที่เพิ่มเข้ามา

ฟังก์ชันการใช้งานสามารถปรับได้ 5 ฟังก์ชัน

  • พนักพิงสามารถปรับได้ 0-70 องศา เช่นเดียวกัน
  • ปรับชันเข่าเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก 0-30 องศา
  • ปรับส่วนพนักพิงและชันเข่าพร้อมกัน
  • สามารถปรับระดับต่ำสุด 38.5 เซนติเมตร และสูงสุด 81 เซนติเมตร เพื่อผู้ดูแลสามารถเข้าดูแลผู้ป่วยได้สะดวกเช่น การเปลี่ยนเสื้อผ้า พลิกตัว ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วย
  • สามารปรับท่านอนราบได้ 0-12 องศา สามารถป้องกันแผลกดทับได้อีกส่วนหนึ่ง (กรณีที่เตียงเอนราบตลอด น้ำหนักร่างกายจะกดทบที่ส่วนก้น การเปลี่ยนท่าเป็นเอียงจะช่วยเรื่องกดทับนี้) และผู้ดูแลสามารถจัดท่าทางง่ายขึ้น เช่นการเปลี่ยนเสื้อผ้าให้คนนอน พูดคุยกับคนที่มาเยี่ยม การเอียงเตียงยังช่วยในเรื่องการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
  • ปุ่มสุดท้าย Reset เตียงให้กลับมาอยู่ในค่าเริ่มต้น
  • ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า Dewert Okin จำนวน 4 ตัว

ข้อดีของเตียงปรับระดับไฟฟ้า EB-55

การเลือกใช้เตียงไฟฟ้า
เตียงไฟฟ้า ที่ไม่ใช่เตียงโรงพยาบาล

เตียงปรับระดับไฟฟ้า EB-55 ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยฟังก์ชั่นหลักจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนองศาและส่วนของเตียง เช่น หัวเตียง ท้ายเตียง ราวกั้นกันตก หรือบาร์พยุงหัวเตียง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ช่วยพยุงลุกนั่ง การนั่งทานอาหาร นอกจากตัวผู้ป่วยแล้ว แพทย์ พยาบาลหรือผู้ดูแลก็จะได้รับความสะดวกในการดูแลผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งข้อดีต่างๆ สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้

  • ช่วยทุ่นแรง ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยสามารถลุกนั่งอย่างสะดวก ไม่ต้องใช้แรงในการเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไปนัก จนอาจจะส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย
  • เตียงจะมีกลไกลต่างๆ ที่ทำให้ปรับระดับเตียงได้อย่างยืดหยุ่น เช่น ปรับส่วนหัว ปลายเตียง หรือปรับระดับราวกั้นเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยตกจากเตียง ลดคความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุเวลานอน
  • ควบคุมการปรับไฟฟ้าด้วยรีโมทคอนโทรล ทำให้ปรับได้ง่าย เพียงแค่กดปุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยกดเอง หรืออาจจะให้คนดูแลเป็นคนกดให้ก็ได้
  • เตียงไฟฟ้า จะช่วยกระจายแรงกดทับได้ ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย ที่ขยับตัวได้ลำบากหรือเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ สามารถปรับเปลี่ยนท่าในการนอนได้ เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ
  • ช่วยให้การดำเนินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประวันได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

“ในปัจจุบัน เตียงปรับระดับไฟฟ้า เป็นเตียงที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเตียงที่มีฟังก์ชั่นความยืดหยุ่นสูง เพราะทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ บนเตียงได้มากขึ้น”

เตียงไฟฟ้า สามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างไร ?? 

การที่เตียงผู้ป่วย จะต้องอยู่ในโรงพยาบาลนั้น อาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไป เพราะอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดนี้ สามารถช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการลุก-นั่ง การตื่นนอน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ บนเตียง คนทั่วๆไปอาจมองว่ากิจกรรมเหล่านั้น เป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับพวกเขาแล้วถือเป็นกิจวัตรที่ทำได้ลำบาก ซึ่งการมีเตียงปรับระดับไฟฟ้า จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการช่วยเหลือตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่และปลอดภัย ด้วยฟังก์ชั่นปรับเตียงให้ต่ำ และการปรับราวเตียงจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุตกจากเตียง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นผู้ป่วยติดเตียง หากให้รับประทานอาหารในระหว่างที่นอน อาจทำให้เกิดการสำลักได้ และเสี่ยงทำให้เศษอาหารเข้าไปติดหลอดลมได้ แต่เตียงปรับระดับไฟฟ้า สามารถปรับท่านึ่งได้ สำหรับทานอาหาร หรือดูทีวีสำหรับผู้สูงอายุ ในกรณีที่ผู้สูงอายุยังพอเคลื่อนไว หยิบจับอะไรได้บ้าง ก็สามารถปรับท่านั่ง ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการดูทีวี หรืออ่านหนังสือ และเมื่อผู้สูงอายุสามารถปรับท่าการใช้งานได้ด้วยตัวเอง ก็จะเป็นการลดภาระผู้ดูแลไปในตัวอีกด้วย

https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/th/article/postgrad/writer23/article_4
5เรื่องน่ารู้…ก่อนเลือกใช้”เตียงไฟฟ้า”

เมื่อหายป่วยแล้ว เตียงผู้ป่วยยังสำคัญอยู่หรือไม่ 

เตียงผู้ป่วยอาจเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ก็สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้เช่นกัน โดยเฉพาะเตียงไฟฟ้าที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย อำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และเหมาะสำหรับการพักฟื้นร่างกาย ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดี หรือหายจากอาการป่วยแล้ว ก็สามารถใช้งานได้ เป็นการทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ฟังก์ชั่น CPR ของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
         โดยปกติแล้วฟังก์ชั่นการควบคุมเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชั่นการปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ฟังก์ชั่นการปรับระดับราวกันตก หรือฟังก์ชั่นการปรับระดับพนักพิงหลังและการปรับงอเข่า จะมีสวิตช์ควบคุมการทำงานที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยที่กำลังนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าต้องการที่จะขยับลุกขึ้นยืนเพื่อเดินไปเข้าห้องน้ำหรือออกไปสูดอากาศ ผู้ป่วยและผู้ดูแลจึงจำเป็นที่จะต้องทำการกดปุ่มสั่งการบนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ปุ่ม ได้แก่ ปุ่มปรับระดับความสูงของเตียง ปุ่มปรับระดับความลาดชันของพนักพิง และปุ่มปรับระดับของราวกันตก ซึ่งแน่นอนว่าในสถานการณ์ปกติ การที่จะต้องกดปุ่มสั่งการหลาย ๆ ปุ่มนั้นอาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลมากมาย

แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นแบบกะทันหัน และต้องการได้รับการช่วยเหลือเพื่อทำการกู้ชีพในทันที ช่วงเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับการกดปุ่มสั่งการเพื่อปรับระดับเตียงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสำหรับการทำ CPR นั้นถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สามารถตัดสินความเป็นความตายของผู้ป่วยได้ เพราะฉะนั้นแล้วการมีฟังก์ชั่น CPR ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่สามารถควบคุมและปรับระดับเตียงผู้ป่วยให้อยู่ในแนวราบ และมีความสูงที่เหมาะสมสำหรับการทำ CPR ได้แบบครบจบในปุ่มเดียว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีอยู่ในทุกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการดูแลและการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และมีโอกาสในการรอดชีวิตที่มากขึ้น