ภาวะการหกล้มก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตราย และพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกและบางส่วนต้องใช้รถเข็นไปตลอด ส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองและต้องมีคนดูแลตลอดเวลา มีภาวะสับสน มีปัญหาการเคลื่อนไหวทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตาม
การหกล้มมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 2 ประการ คือ
- สาเหตุที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจากการที่มีพยาธิสภาพจากอายุที่เพิ่มขึ้น เช่น
– ร่างกายและความสามารถที่ลดลง เช่น การมองเห็นไม่ชัด
– สายตาผิดปกติ เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก มีการรับรู้ที่ช้า
– มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง
– มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
– ขาดการออกกำลังกาย สวมใส่รองเท้าและเสื้อผ้าที่ไม่พอดี
– การใช้ยาที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
2.สาเหตุทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การวางเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของเกะกะกีดขวางทางเดิน พื้นลื่น ไม่มีราวจับ บริเวณบ้าน บันไดแสงสว่างไม่เพียงพอ
แนวทางป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
- การส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การฝึกเดินที่ถูกต้อง รวมถึงการสวมรองเท้าที่เหมาะสม การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังของกล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัว
- การสร้างเสริมภาวะโภชนาการที่ดี การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) ไม้เท้า
- การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เช่น การค่อย ๆ ลุกยืนอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตตกในท่ายืน หรือหน้ามืด การหาราวสำหรับเกาะเดิน
- ประเมินการใช้ยา หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น หรือมากเกินไป
- ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น ควรมีวัสดุกันลื่นในห้องน้ำ ไม่วางของระเกะระกะ ควรมีแสงสว่างเพียงพอโดยเฉพาะตรงราวบันได ติดตั้งหลอดไฟบริเวณมุมมืดที่เดินผ่านบ่อยๆ โดยปุ่มสวิทซ์อยู่ใกล้มือเอื้อม มีอุปกรณ์เครื่องเรือนบริเวณที่อยู่เท่าที่จำเป็น และต้องแข็งแรงมั่นคงอยู่สูงจากพื้นมองเห็นได้ง่าย ไม่ย้ายที่บ่อย ๆ เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วมมีความสูงพอเหมาะ ไม่เตี้ยเกินไป ทางเดินและบันได ควรมีราวจับตลอด และขั้นบันไดสม่ำเสมอ พื้นห้องสม่ำเสมอและเป็นวัสดุที่ไม่ลื่นโดยเฉพาะในห้องน้ำ บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกัน หลีกเลี่ยงธรณีประตู ไม่ควรมีสิ่งของเกะกะ เช่น พรมเช็ดเท้า สายไฟฟ้า
ลักษณะห้องนอนที่เหมาะสม
- มีการจัดสิ่งของเฟอร์นิเจอร์อย่างเป็นระเบียบ
- ไม่มีสิ่งกีดขวาง สิ่งของ หรือขยะบริเวณพื้น
- มีการระบายอากาศที่ดีและแสงสว่างเพียงพอ
- เก้าอี้ควรสูงจากพื้นในระดับ 40 – 45 เซนติเมตร และมีพนักพิงที่มั่นคง แข็งแรง
Elife แนะนำเตียงนอนที่ปลอดภัย นอนสบาย เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้พิการโดยเฉพาะ >>> EB-77 เตียงไฟฟ้า 5ไกร์ Ultra-Low ต่ำพิเศษ กันตกเตียง เตียงปรับระดับไฟฟ้า สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย รุ่นต่ำพิเศษติดพื้น ป้องกันการบาดเจ็บจากการตกเตียง ผู้ป่วยที่ต้องการความปลอดภัยพิเศษ ออกแบบเพื่อให้ใช้งานที่บ้าน โดยดีไซน์โดยใช้วัสดุเนื้อไม้กรุโครงโลหะทำให้ดูสวยงามเข้ากับการใช้งานที่บ้าน
ลักษณะห้องน้ำที่เหมาะสม
- ควรกว้างอย่างน้อย 1.5 – 2
- ประตูห้องน้ำควรเป็นประตูแบบเปิดออกหรือบานเลื่อนและไม่มีธรณีประตู
- พื้นห้องน้ำไม่ลื่นหรือมีวัสดุกันลื่นบริเวณพื้นที่อาบน้ำ และพื้นเรียบเสมอกัน
- ควรใช้โถส้วมชนิดนั่งราบหรือนั่งห้อยขา มีราวจับในห้องน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร
- มีที่นั่งสำหรับอาบน้ำสูงจากพื้น 40 – 45 เซนติเมตร ก๊อกน้ำและลูกบิดหรือมือจับประตูเป็นแบบก้านโยก
ลักษณะห้องครัวที่เหมาะสม
- โต๊ะหรือเคาน์เตอร์ควรสูงจากพื้นอย่างน้อย 80 เซนติเมตร
- ตู้แขวน หิ้ง ควรอยู่สูงจากพื้นในระดับ 150 – 168 เซนติเมตร
- ควรมีแสงสว่างเพียงพอ ทั้งแสงสว่างจากธรรมชาติและไฟฟ้า
- ปลั๊กไฟบริเวณโต๊ะหรือเคาน์เตอร์ควรสูงจากพื้น 90 เซนติเมตร
- จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้ง่ายต่อการหยิบใช้
การช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อผู้สูงอายุพลัดตกหกล้ม
- ควรตั้งสติให้ได้ อย่าตกใจ
- ประเมินการบาดเจ็บของผู้พลัดตกหกล้ม หากผู้พลัดตกหกล้มไม่สามารถขยับและลุกเองได้ หรือเมื่อขยับขาแล้วรู้สึก ปวดสะโพกหรือโคนขา ไม่ควรเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันกระดูกที่หักไปทำลาย เนื้อเยื่อ หลอดเลือด และเส้นประสาทข้างเคียง ควรเข้าเฝือกชั่วคราว
- นำส่งสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือ โทร. 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ลูกหลานควรใส่ใจ นั่นคือ “บ้าน” สถานที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด แต่สำหรับ “ผู้สูงวัย” แล้วบ้านอาจเป็นอันตรายหรือร้ายกว่าที่คิด หากเราไม่เตรียมพร้อมป้องกันให้ดีอาจทำให้ท่านลื่นหกล้มบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิตได้
ให้ Elife ช่วยดูแลคนที่คุณรักนะคะ
EB-77 เตียงไฟฟ้า 5ไกร์ Ultra-Low ต่ำพิเศษ กันตกเตียง