ปัญหาการยศาสตร์มักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว เป็นปัญหาสะสม และมีผลกระทบต่อส่วนของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ ข้อมือ หลังส่วนล่าง เข่า เป็นต้น ปัญหาการยศาสตร์จะพบทั่วไปในพนักงานออฟฟิศทั่วไปของสถานประกอบกิจการในอุตสาหกรรมภาคการผลิตและภาคการให้บริการ ตัวอย่างเช่น พนักงานยกวัสดุในโกดังสินค้าของโรงงาน มีอาการปวดเมื่อยหรือที่บริเวณหลังส่วนล่าง พนักงานที่นั่งปฎิบัติงานคอมพิวเตอร์มีอาการปวดเมื่อยที่บริเวณ คอ ไหล่ และหลังส่วนล่าง
ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆ ที่มักจะพบในลูกจ้างสำนักงาน พนักงานออฟฟิศ ที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการปฎิบัติงาน ตัวอย่างของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม คือ
- กลุ่มปัญหาที่พบในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal System) ของร่างกายได้แก่ อาการปวดเมื่อยและบาดเจ็บที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ ไหล่ ข้อมือ และส่วนต่างๆ ขา เท้า เป็นต้นส
- กลุ่มปัญหาที่พบในระบบการมองเห็น เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตา อาการตาแห้ง อาการตาพร่ามัว และอาการวุ้นในลูกตาเสื่อมเป็นต้น
- กลุ่มปัญหาด้านจิตใจ เช่น อาการเครียด กังวล นอนไม่หลับ เป็นต้น
- กลุ่มปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ความดันโลหิตสูง น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดศรีษะเรื้อรัง กรดไหลย้อน เป็นต้น
ในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่กล่าวมาในข้างต้นนี้ กลุ่มปัญหาที่พบในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกายเป็นกลุ่มปัญหาที่เด่นชัด และพบในลูกข้างสำนักงาน หรือพนักงานออฟฟิศเป็นจำนวนมาก พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งเป็นผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ โดยมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้
- ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ปฏิบัติงานในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง นั่งในท่าเดิมไ ยม่เคยเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นระยะเวลานานเกินไป ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก เป็นต้น
- ปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สถานที่ทำงานมีเสียงดังรบกวนการทำงาน ระดับแสงสว่างที่บริเวณทำงานไม่พอเพียง มีแสงสะท้อนบนจอภาพจากไฟเพดาน หรือจากแสงสว่างภายนอก อุณหภูมิร้อนหรือเย็นเกินไป เป็นต้น
- ใช้อุปกรณ์ปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม เช่น เก้าอี้นั่งมีเบาะที่มีความลึกมากเกินไป ที่พักแขนปรับระดับไม่ได้ โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัญหาการยศาสตร์ที่มักพบเจอและเป็นสาเหตุหลักๆ
ผลกระทบของปัญหาการยศาสตร์ต่อสุขาพของลูกจ้างพนักงานออฟฟิศทั่วไป คือปัญหาที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น อาการไม่สบาย ร่างกายบริเวณ คอ ไหล่ แขน ข้อมือ หรือหลังส่วนล่าง และขา เป็นต้น ปัญหาหรืออาการบาดเจ็บที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
- อาการบาดเจ็บเนื่องจากการปฏิบัติงานหนักเกินไป มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณคอ ไหล่ หลังส่วนล่างและขา โดบมีสาเหตุหลักมาจากการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานหนักเกินไป ปฏิบัติงานนานต่อเนื่องนานเกินไป หยุดพักไม่เพียงพอ ออกแรงมากจนเกินไปและมีท่าทางในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม อาการบาดเจ็บดังกล่าวนี้มักจะพบในลูกจ้างที่ต้องออกแรงในการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกาย และลูกค้าจ้างที่นั่งหรือยืนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องในท่าที่ไม่เหมาะสม
- อาการบาดเจ็บเนื่องจากการปฏิบัติงานที่ซ้ำซาก มักจะเกิดขึ้นที่นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และไหล่ เนื่องขากความเค้นที่เกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างซ้ำซาก โดยมีสาเหตุหลักมาจากที่ลูกจ้างปฏิบัติงานโดยใช้กล้ามเนื้อชุดเดียวกันตลอดเวลา หยุดพักไม่เพียงพอ และมีท่าทางในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะพบได้ทั้งในลูกจ้างฝ่ายผลิต และลูกจ้างฝ่ายสำนักงาน พนักงานออฟฟิศทั่วไป
ลูกจ้างสำนักงานหรือพนักงานออฟฟิศทั่วไปซึ่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการและท่าทางที่ไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์เป็นประจำและอย่างต่อเนื่อง จะได้รับผลกระทบของปัญหาการยศาสตร์ที่บริเวณ คอ ไหล่ และหลังส่วนล่าง หัวเข่าและขา โดยระดับอาการจะเริ่มจากอาการปวดเมื่อยก่อน ถ้าไม่นำการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงระบบในการทำงานให้เหมาะสม ผลกระทบนั้นก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นอาการบาดเจ็บ
สาเหตุหลักๆ ของการเกิดอาการไม่สบายร่างกาย เนื่องจากการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ คือ
- ใช้โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ หน้าจอ แป้นพิมพ์ เมาส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกายกับลูกค้าจ้างหรือพนักงานออฟฟิศ
- จัดสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ต้องทำงานไม่เหมาะสมเช่น แสงสว้่ง เสียง ความร้อน-เย็น ทิศทางของลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
- ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมเช่น จัดตำแหน่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง มีนิสัยหรือพฤติกรรมในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม
- นั่งปฏิิบัติงานที่หน้าคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์
อาการปวดเมื่อยคอและไหล่
- อาการปวดเมื่อยคอและไหล่มีสาเหตุหลักมาจากการใช้กล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อไหล่มากจนเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากการนั่งก้มคอ เอียงคอ บิดคอ และแหงนคออย่างมากหรือค่อนข้างมาก การนั่งกางไหล่หรือยกไหล่ขณะปฏิบัติงานกับแป้นพิมพ์และเมาส์ และการนั่งในท่าทางที่ไม่เหมาะสมนั้นอย่างต่อเนื่อง
- การนั่งก้มคอ มาจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ประกอบกับการอ่าน เขียน หรือตรวจสอบเอกสาร โดยวางเอกสารดังกล่าวบนโต๊ะบริเวณด้านหน้าหรือด้านข้าง
- การนั่งเอียงคอหรือบิดคอ ที่ต้องมองเอกสารที่ถูกวางอยู่บนโต๊ะบริเวณด้านข้าง ที่ต้องพูดโทรศัพท์พร้อมกับใช้แป้นพิมพ์ไปด้วยในเวลาเดียวกัน โดยการหนีบหูโทรศัพท์ที่ซอกคอ-ไหล่ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดเมื่อยคอและไหล่ด้วย
- การนั่งแหงนคอไปด้าน ที่ต้องมองอยู่ในระดับสูงกว่าระดับสายตา (ขณะนั่งหลังตรงและคอตั้งตรง) การใช้คอมพิวเตอร์และปรับระดับจอที่สูงกว่าระดับสายตาที่เหมาะสม มักจะนั่งแหงนคอไปด้านหลังขณะมองจอคอมพิวเตอร์ซึ่ง พนักงานออฟฟิศเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการปวดเมื่อยคอ
อาการปวดเมื่อยข้อมือ
บริเวณของข้อมือจะมีโพรงหรืออุโมงค์ (carpal tunnel) หรืออุโมงค์พังผืดบริเวณข้อมือ (Transverse carpal ligament) ซึ่งเป็นที่ลอดผ่านของเส้นประสาทมีเดียนหรือเส้นประสาทกลางฝ่ามือ โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้น มาจากการหนาตัวของเนื้อเยื่อและพังผืดบริเวณข้อมือทำให้โพรงข้อมือเกิดการตีบแคบลงจึงเกิดการกดทับของเส้นประสาทได้ ส่งผลให้เลือดไม่มาเลี้ยงเส้นประสาทกลางฝ่ามือและทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของมือ ซึ่งสาเหตุของการกดทับก็มีด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนี้
- เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย เพราะโครงสร้างร่างกายผู้หญิงเป็นคนตัวเล็กกว่า ดังนั้นข้อมือจึงเล็กกว่าทำให้อาจเกิดการตีบแคบของโพรงบริเวณข้อมือได้ง่าย
- ความผิดปกติทางโครสร้าง เช่น ข้อมือหัก หรือเคลื่อน สามารถทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทได้
- ภาวะอ้วน ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงของการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
- โรคที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ และไฮโปไทรอยด์
- การใช้ข้อมือซ้ำๆ โดยต้องกระดกข้อมือตลอดเวลา เช่น เกมเมอร์ การตัดต่อคลิปวิดิโอ หรือพนักงานที่ต้องใช้เม้าส์หรือแป้นพิมพ์บ่อยๆ เป็นต้น
อาการปวดเมื่อยหลังส่วนล่าง
ปวดหลังส่วนล่าง : เป็นบริเวณที่มีอาการปวดมากที่สุดของทุกกลุ่มวัย เพราะส่วนกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ระดับ L4- 5 เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของน้ำหนักร่างกายที่กดทับลงมามากที่สุด โดยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดได้ก็คือ การยืนนานเกินไป หรือ นั่งผิดท่า เช่น นั่งตัวไถ นั่งไขว่ห้าง นั่งหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำให้หลังของเราพังได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
อาการปวดหลังเป็นอาการที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก หากเราปรับแก้พฤติกรรมได้ก็สามารถช่วยลดและป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ง่ายที่สุดก็คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งตัวไถ ไขว่ห้าง หรือนั่งเท้าลอย ซึ่งถ้านั่งท่าเหล่านี้เป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เกิดอาการปวดตามร่างกายได้ นอกจากการปรับท่านั่งและพฤติกรรมแล้วก็ควรดูสภาพแวดล้อมร่วมด้วย เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน ว่าเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ หากอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมก็ยิ่งส่งผลต่อการทำงานที่อาจไม่ได้ประสิทธิภาพ และยังทำให้ร่างกายอ่อนล้าจากการทำงานได้อีกด้วย
อาการปวดเมื่อยขาและหัวเข่า
เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัว เ ปลายของกระดูกจะมีกระดูกอ่อนปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่ให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวด้วยความราบเรียบ ระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะมีกระดูกอ่อนรูปวงแหวนช่วยรับน้ำหนักด้วย รอบ ๆ ข้อจะมีเอ็นและเยื่อหุ้มข้อทำหน้าที่ส่งเสริมความแข็งแรงให้กับข้อ ถุงน้ำรอบ ๆ ข้อเข่าจะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างเอ็นกับกระดูกเมื่อข้อมีการเคลื่อนไหว
สำหรับคนที่ชอบนั่งขัดสมาธิในเวลาทำงาน ก็จะส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดทำงานไม่สะดวกและไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณขาได้อย่างเพียงพอ จึงทำให้เป็นเหน็บชาบ่อย และมีอาการปวดหัวเข่าร่วมด้วย อีกทั้งในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ยังส่งผลให้เป็นข้อเข่าเสื่อมและกล้ามเนื้อรอบหัวเข่ายืดหรือหดตัวผิดปกติได้อีกด้วย
การนั่งทำงานในท่าที่ผิดวิธีจะสามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ ดังนั้น จึงควรปรับท่าทางการนั่งให้มีความเหมาะสมเพื่อที่จะได้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้าในขณะนั่งทำงาน นอกจากนี้ควรมีการพักเดินไปเดินมาเพื่อยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อได้คลายตัวมากขึ้นบ้าง ความเสี่ยงจากการเกิดโรคร้ายแรงก็จะลดลงแน่นอน
นอกจากการจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์(Ergonomics)แล้ว ควรทำอะไรอีกบ้าง ?
1. การนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อซึ่งส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บตามมา ควรแบ่งเวลาพักในการทำงานทุกๆชั่วโมงเป็นเวลาประมาณ 10 นาที
2. ลุกเดินบ้าง อย่าอยู่แต่กับที่ ไม่ว่าจะลุกไปเติมน้ำหรือลุกไปเข้าห้องน้ำก็ได้
3. ลองยืดเส้นยืดสายบ้าง อาจจะเป็นการบริหารคอ หมุนหัวไหล่ หรือบิดตัวก็ช่วยได้
4. พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง เพราะเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ ก็จะทำให้ดวงตาล้าได้ ลองหลับตาดูสัก 5 นาที หรือกรอกตาเป็นวงกลม
5. หมั่นทำความสะอาดและจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ บริเวณที่ใช้งานบ่อยๆ หรือมีผู้อื่นสัมผัสบ่อย
ปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากค่านิยมในการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนท่าทางของคนในปัจจุบันซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดล้าของกล้ามเนื้อและเมื่อเกิดอาการเหล่านี้บ่อยครั้งจะทำให้มีอาการปวดเรื้อรังตามมา ดังนั้นการจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์จึงเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันและลดปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้อย่างถาวร
-
Raise3 Ergo Desk | โต๊ะทำงานปรับไฟฟ้าเพื่อสุขภาพ | Premium Melamine
13,900฿ – 17,900฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page