“หัวใจ” สิ่งที่สำคัญและเบาะบางมากของร่างกาย หากมันหยุดทำงานเมื่อไหร่นั่นหมายความว่าเราได้ตายไปแล้วอย่างแน่นอน และโรคหัวใจก็มีหลายหายประเภทมากที่จะพรากเราไปจากโลกในนี้ อย่างเช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา ที่เราพบบ่อย ๆ ในนักกีฬา ที่มีอาการเสียชีวิตขณะออกกำลังกาย อีกอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ ภาวะหลอดเลือดอุดตัน นักกีฬาที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอมักจะคิดว่าตัวเองไม่เป็นอะไร แต่พบได้บ่อยมาก บางทีโค้ชนักกีฬามาด้วยอาการเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ต้องทำบอลลูนไป 2-3 เส้นก็มี ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงมาตลอด จะเห็นได้ว่า คนไทยอ้วนขึ้นเยอะ พบคนที่มีภาวะอ้วนได้ถึง 1 ใน 3 ของปรเทศ มีคนอ้วนมากเป็นลำดับที่ 2 ของเอเชีย ซึ่งทำให้มีอัตราผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งใน 1 ชั่วโมง จะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเฉลี่ยอยู่ที่ 7 คน และเกิน 50 เปอร์เซนต์จะเสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล
โรคหัวใจ
โรคหัวใจเกิดขึ้นจากความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เชื่อมโยงกับหัวใจ สาเหตุหลักของโรคหัวใจมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อสุขภาพหัวใจ อาจมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจ สำหรับบางคนอาจจะมีหลายปัจจัยที่มีผลร่วมกันในการเกิดโรคหัวใจด้วย
สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ
ส่วนใหญ่โรคหัวใจเกิดขึ้นจากความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เชื่อมโยงกับหัวใจ ซึ่งแต่ละสาเหตุก็จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรคหัวใจนั้นๆ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจจากภาวะการเสื่อมของหลอดเลือด มีสาเหตุไม่ชัดเจนแต่พบว่าสัมพันธุ์กับปัจจัยเสี่ยงต่างๆโดยปัจจัยเสี่ยงจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทเช่น
- เสี่ยงสูงของไขมันในเลือด : การมีระดับไขมันสูงในเลือด (ไขมันในเลือดเสี่ยงสูงหรือไขมันแอลดีแอลสูง) สามารถสะสมในผนังหลอดเลือดและทำให้เกิดการอุดตันที่ส่วนสำคัญของหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดหลอดเลือดซึ่งสำคัญในการนำเลือดไปสู่หัวใจ ซึ่งเรียกว่า “การตีบตัน” (atherosclerosis) ได้
- ความดันโลหิตสูง : ความดันโลหิตสูงสามารถทำให้หัวใจต้องเพิ่มความพยายามในการสูบเลือดจากหลอดเลือดที่มีความดันสูง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด
- สุขภาพของหลอดเลือด : หลอดเลือดที่ดีและมีความยืดหยุ่นมีความสามารถในการรับมือกับการเสียเสียงของเลือดที่ไหลผ่าน หากหลอดเลือดเสื่อมสภาพ เช่น จากการตีบตัน มันอาจทำให้เกิดการอุดตันและสะสมตับอื่น ๆ ที่สามารถเกิดโรคหัวใจได้
- สุขภาพระบบการทำงานของหัวใจ : ความผิดปกติในโครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ อาจเกิดจากการติดเชื้อ โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือปัจจัยที่รบกวนระบบไหลเวียนของหัวใจ
- สุขภาพทางจิตใจ : ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความโกรธระอาคตสามารถส่งผลทำให้เกิดการเสียเสียงในระบบหัวใจและการยืดหยุ่นของหลอดเลือด
- พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ : พฤติกรรมอย่างเช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก และขาดการออกกำลังกาย สามารถเสริมเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม : ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจอาจสืบทอดมาจากครอบครัว หากคุณมีคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคหัวใจในอายุเยาว์ คุณอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป
สัญญาณเตือน อาการโรคหัวใจ
เหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หรือเดินเร็วๆ หายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย หรือใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน อาการโรคหัวใจจะเจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก หรือด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก เป็นลมหมดสติไม่ทราบสาเหตุ ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?
โรคหัวใจเป็นอาการที่ส่งผลต่อหัวใจและระบบหลอดเลือด มีหลายปัจจัยที่ทำให้คนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
- ปัจจัยที่มีต่อพันธุกรรม : ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจอาจมีการถ่ายทอดผ่านพันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคหัวใจ ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน
- สภาพแวดล้อมและพฤติกรรม : การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง น้ำตาลมาก และเกลือสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มาก ไม่ออกกำลังกาย และมีน้ำหนักเกินตัว เป็นต้น เป็นปัจจัยที่เสี่ยงที่จะทำให้คนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ
- โรคร่วมอื่น ๆ : คนที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคหัวใจ
- อายุ : ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ผู้สูงอายุมักมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจสูงขึ้น
- เพศ : ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจสูง กว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงหลายคนก็สามารถมีโรคหัวใจได้
- ความเครียดและภาวะสุขภาพจิต : ภาวะเครียดที่เกิดจากการที่ความเครียดทางจิตใจ อาจมีผลต่อสุขภาพหัวใจ
- สภาพของร่างกาย : การที่มีน้ำหนักตัวเกิน ความอ้วน อาจทำให้เสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าคนที่มีร่างกายสมส่วน
แน่นนอนว่าคงไม่มีใครอยากเป็นโรคหัวใจอย่างแน่นอน ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ทุกท่านมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคก็คือ พฤติกรรมของผู้ป่วยเอง วันนี้เราจึงได้ทำลิสต์พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่ควรเลิกหรือหยุด! เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมาบอก
- หยุดกินอาหารไม่มีประโยชน์ เช่นพวกอาหาร ฟาสต์ฟู้ด เพราะในชั่วโมงเร่งรีบหลายคนคงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าอาหารฟาสต์ฟู้ตเป็นนึ่งในมื้อที่ท่านง่ายที่สุด แต่รู้มั้ยว่า! อาหารเหล่านั้นมักอุดมไปด้วยไขมันและโซเดียมจากเครื่องปรุง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ งานนี้ใครที่ชอบกินอาหารมันๆ หวานๆ หรือโซเดียมสูงบ่อยๆ ต้องปรับมากินอาหารสุขภาพมากขึ้น
- ห่างไกลแอลกอฮอลล์ เราเข้าใจว่าในการเข้าสังคมก็ต้องมีการดริ๊งค์บ้างเป็นธรรมดา แต่หากมากไปคงไม่ใช่เรื่องดี เพราะปริมาณแอลกอฮอล์ที่ร่างกายสามารถรับได้ใน 1 วัน คือ 1 หน่วยเท่านั้น หรือประมาณ 1 แก้วเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หากคุณเป็นคนที่เอะอะดื่ม เลิกงานดื่ม ปาร์ตี้ก็ดื่ม ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจด้วย
- ไม่ออกกำลังกาย หนึ่งใจปัจจัยทีทำให้คนเป็นโรคหัวใจมากที่สุดเห็นจะเป็นความอ้วนที่ซะสม ดังนั้นเพราะการออกกำลังกายเพียงแค่ 15-20 นาทีต่อวัน ก็ช่วยให้ร่างกายและหลอดเลือดหัวใจของคุณแข็งแรงขึ้นได้ แถมไขมันในหลอดเลือดยังลดลงอีกด้วยนะ!
- หมั่นตรวจสุขภาพ หลายคนคิดว่าตัวเองยังแข็งแรงดีเพราะยังไม่เจ็บป่วยอะไร จึงชะล่าใจและเมินการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะการที่ร่างกายไม่แสดงอาการใดๆ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโรคอะไรซ่อนอยู่ การหมั่นตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำ หรืออย่างน้อยปีละครั้งจะช่วยคัดกรองความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงสุขภาพหัวใจด้วย
- พักผ่อนไม่เพียงพอ หยุดทำร้ายร่างกายด้วยการพักผ่อนน้อยหรือทำงานจนดึกดื่น เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนน้อยนั้นเป็นการทำร้ายอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายได้เลยทีเดียว
อย่าลืมว่าสุขภาพดีไม่มีขาย… อยากได้ต้องหมั่นดูแลตัวเอง ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่หวาน มัน หรือเค็มมากไป เพิ่มการทานผักและผลไม่หวาน พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจได้แล้ว!
-
SET4 เครื่องตรวจสุขภาพ4อย่าง Health App ความดัน, อุณหภูมิ, Oxygen, น้ำตาลในเลือด
Original price was: 5,665฿.4,590฿Current price is: 4,590฿. Add to cart -
เครื่องวัดความดันเลือด Bluetooth รุ่น680B
Original price was: 2,190฿.1,990฿Current price is: 1,990฿. Add to cart -
เครื่องวัดออกซิเจน Minimal Bluetooth YX110
Original price was: 1,200฿.990฿Current price is: 990฿. Add to cart -
เครื่องวัดออกซิเจน จอสี Bluetooth YX310
Original price was: 1,500฿.1,290฿Current price is: 1,290฿. Add to cart -
เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิทัล Bluetooth รุ่น6
Original price was: 1,450฿.1,190฿Current price is: 1,190฿. Add to cart