fbpx

ถาม-ตอบ ข้อสงสัยสำหรับการตรวจโรคการนอนหลับ Home Sleep Test

ถาม-ตอบ ข้อสงสัยสำหรับการตรวจโรคการนอนหลับ Home Sleep Test

คุณอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองนอนกรนจนทำให้เกิด “ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ”

เสียงกรนที่ดัง เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ ที่อาจเป็นอันตรายระหว่างนอนหลับ ได้แก่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) ภาวะ OSA มักเกิดร่วมกันกับอาการ “นอนกรน” โดยผู้ที่นอนกรน จะประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจส่วนตีบแคบ จนกระทั่งถูกปิดกั้นในขณะที่นอนหลับ ทำให้อากาศไหลผ่านได้ลำบาก และมีอาการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ

นอนกรน ปัญหา
หยุดการนอนกรน !!!!!!!!!

“แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ร่างกายขาดอากาศ แต่ก็ส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญและไวต่อการขาดออกซิเจนอย่าง… สมอง และ หัวใจ

ตรวจการนอนหลับ Sleep Test 

ภาวะ OSA สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ด้วยเทคนิค การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test การทำ Sleep test สามารถหาสาเหตุความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการนอน โดยจะติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย เช่น คลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ รวมทั้งประเมินความรุนแรงของโรค เพื่อนำข้อมูลมาวินิจฉัยและให้การรักษา

การตรวจการนอนหลับ Sleep Test

Elife เราให้บริการตรวจปัญหาภาวะการนอนหลับโดย Sleep Tech ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมการตรวจโรคการนอนหลับ และผลการตรวจได้รับการรับรองมาตรฐานทางการแพทย์ยอมรับและเป็นที่นิยมทำใน USA, Europe และ ประเทศพัฒนาแล้ว พร้อมกับเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้บริการอย่างอบอุ่น สุภาพและเป็นกันเอง ตามหลักเกณฑ์ของ AASM ของสหรัฐเมริกา ข้อดีของเราคือ

  • ง่าย สามารถทำได้ที่บ้านของคุณ เตียงนอนของคุณ (หลายคนตื่นเต้นเมื่อไปโรงพยาบาล)
  • รอคิวไม่นาน ไม่ต้องรอคิวหลายเดือน จองคิวได้เลย
  • ไม่กดดัน หากเกิด Fail Night เราให้โอกาสนอนคืนที่2 (Fail Night คือการนอนsหลับไม่ถึง 4ชม. หรือ จากเหตุผลอื่น ถ้าทำใน รพ.จะให้แค่คืนเดียวเท่านั้น)
  • รู้ผลเร็ว Sleep Report ใน3วันทำการ บอกผลการนอนอย่างละเอียด AHI, OSA, Central Apnea, Oxygen ผลการกรน พร้อม Highlight ช่วงวิกฤต
  • ใช้เป็นส่วนลดได้ ในการซื้อสินค้ากับอีไลฟ์ได้**

แต่ก็มีหลายๆ คนที่มักจะเกิดคำถามหลายๆ อย่างตามมา วันนี้ Elife จะพามาตอบคำถาม ที่มีคนถามเข้ามาบ่อยๆ เพื่อสำหรับลูกค้า หรือผู้เข้ามารับบริการหลายๆ ท่าน จะได้เข้าใจง่าย และทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันค่ะ เรามาถามตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับที่บ้าน Home Sleep Test กันดีกว่าค่ะ

Home Sleep Test by elife สลีปเทสทำที่บ้าน มาตรฐาน US, Europe ง่าย คิวไม่นาน ได้ Sleep Report ได้ผลเพื่อใช้ในการรักษาต่อไป

คำถาม และข้อสงสัยที่พบบ่อยเกี่ยวการการตรวจโรคการนอนหลับ Home Sleep Test

  1. Elife ให้บริการ Sleep Test แบบไหน ?
      • Elife ให้บริการ Sleep Test Typ 3 เรียกว่า Home Sleep Test เรียกได้ว่าเป็นการคัดกรองผู้ป่วยโรค OSA ค่าที่ได้แม่นยำ 90% สามารถนำไปรักษาโรคกับแพทย์ได้
  2. Home Sleep Test Type3 ตรวจอะไรบ้าง ?
      • ลักษณะลมหายใจ (Airflow) เพื่อหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
      • การกรน (Snore)
      • การเคลื่อนไหวของทรวงอก (Chest Respiratory effort)
      •  การเคลื่อนไหวของช่องท้อง (Abdominal Respiratory effort)
      •  ระดับออกซิเจนในเลือด (Oxygen saturation)
      •  ชีพจร (Pulse)
      •  ท่าทางการนอน (Body position) เช่น นอนหงาย ตะแคงซ้าย ขวา
  3. เมื่อไหร่จึงควรรับการตรวจ Sleep test
      • อาการที่สำคัญของการตรวจ sleep test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปรกติ  หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปรกติ ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้วผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอน ผิดปรกติอื่นๆ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น
  4. ยุ่งยากหรือเปล่า? ทราบผลตรวจเมื่อไหร่ ?
      • ขั้นตอนการตรวจ Home sleep test ไม่ได้ยุ่งยากเลย ทางเรามีบริการส่งเครื่องให้ถึงมือคุณ ในเขตกรุงเทพ หรือคุณสามารถมารับเครื่องกลับไปตรวจที่บ้านได้เช่นกัน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สอนการติดตั้งอุปกรณ์ พร้อมวิดีโอสาธิตสำหรับการปฏิบัติตามโดยละเอียด
  5. ต้องพบแพทย์ก่อนตรวจหรือไม่
      • แบ่งได้เป็นสองกรณีที่พบแพทย์ก่อน หรือไม่พบแพทย์ก่อน ทั้งสองกรณีนั้นสามารถทำได้ โดยส่วนที่สำคัญที่สุดคือการพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการนอนหลับ หลังได้รับผลการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Study Report แล้ว
        กรณีที่ 1 การพบแพทย์ในสาขาใดๆ ก่อนตรวจจะเป็นการประเมินเพื่อนำไปสู่ข้อสงสัยว่าอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจากการนอนหลับ ควรตรวจการนอนหลับโดยปกติหากผู้ป่วยที่มาจากโรงพยาบาล หรือ คลีนิคเฉพาะทางจะพบแพทย์มาก่อนแล้ว
        กรณีที่ 2 คือการที่ผู้เข้ารับการตรวจสงสัยว่าตนเองนั้นอาจจะมีโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ อาจปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ หรือคัดกรองจากแบบประเมินมาตรฐานด้านคุณภาพการนอนหลับ แล้วมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจากการนอนหลับสามารถเข้าตรวจการนอนหลับได้ก่อน จากนั้นจึงนำผลไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ
  6.  สำหรับการตรวจการนอนหลับ ผู้เข้ารับการตรวจต้องนอนกี่ชั่วโมงถึงจะได้ผลการตรวจการนอนหลับที่เพียงพอ
      • ต้องนอนหลับ (สัญญาณสมองแสดงว่าหลับ) อย่างน้อย 4 ชั่วโมงขึ้นไป หากนอนหลับได้มากกว่า 6 ชั่วโมงถือว่าดีเยี่ยม
  7. ถ้านอนไม่หลับในคืนที่ตรวจการนอนหลับที่บ้าน จะตรวจได้หรือไม่
      • ต้องนอนหลับ (สัญญาณสมองแสดงว่าหลับ) อย่างน้อย 4 ชั่วโมง หากนอนหลับได้มากกว่า 6 ชั่วโมงถือว่าดีเยี่ยม หากมีกรณีที่นอนไม่หลับจริงๆ อาจต้องทำการตรวจใหม่ หากเกิด Fail Night เราให้โอกาสนอนคืนที่2 (Fail Night คือการนอนsหลับไม่ถึง 4ชม. หรือ จากเหตุผลอื่น ถ้าทำใน รพ.จะให้แค่คืนเดียวเท่านั้น)
  8. ผลการตรวจการนอนหลับจะได้รับหลังจากตรวจกี่วัน
      • หลังตรวจการนอนหลับ ตามปกติแต่ละศูนย์ตรวจมักจะมีระยะเวลาการรอฟังผลที่แตกต่างกัน สำหรับศูนย์ Elife จะได้รับผลการตรวจการนอนหลับภายใน 7 วันทำการ หลังจากตรวจการนอนหลับและส่งเครื่อง Apnea Link คืนให้กับทางบริษัท
  9. ทำไมต้องตรวจการนอนหลับ คนไข้สามารถซื้อ CPAP มาใช้เลยได้มั้ย
      • โรคการนอนมีหลากหลากชนิด และปัญหาที่เราพบเจอนั้นอาจจะแตกต่างจากคนอื่นๆ การวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกวิธี การใช้ CPAP เป็นหนึ่งในวิธีการรักษามาตรฐานซึ่งอาจใช้ไม่ได้กับทุกคน และไม่สามารถใช้รักษาได้ทุกโรคการนอนหลับ มีคนไข้จำนวนมากที่สงสัยว่าตนมีปัญหาการนอนหลับและมุ่งหน้าหาซื้อ CPAP ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผิด
  10.  เวลาตรวจการนอนจะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าหรือไม่
      • หากเป็นการตรวจการนอนแบบละเอียดที่บ้านหรือ Home Sleep Test Type 3 นั้นจะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า คนส่วนใหญ่สามารถตรวจการนอนหลับที่บ้านได้ เพื่อลดการกดดัน ลดความตื่นเต้น หรือลดการเกิดอัตราการนอนไม่หลับ ที่เกิดจากสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการ Fail Night ตามมา
  11. ถ้าตรวจการนอนหลับเสร็จแล้วจะรักษาอย่างไร
      • การรักษาทำได้หลายวิธีตามแต่โรคหรือปัญหาของผู้ป่วย หากเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับก็จะแนะนำให้ใช้ CPAP ขั้นตอนต่อไปหากผู้ป่วยเจอภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ OSA แล้ว และมีแพลนต้องการที่จะซื้อเครื่อง CPAP แต่ยังลังเล ว่าต้องใช้รุ่นไหน หน้ากาก Mask แบบไหน ถึงจะทำให้นอนหลับสบาย ก็สามารถขอยืมเครื่อง CPAP และ Mask จากทาง Elife เพื่อไปทดลองใช้งานที่บ้านก่อนตัดสินใจซื้อได้เลย >> ทดลองใช้ CPAP 

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติให้ผู้ที่รับการตรวจแบบประหยัดนี้สามารถเบิกจ่ายค่าตรวจได้ ทำให้ปัจจุบันการตรวจการนอนหลับที่บ้านด้วยวิธีดังกล่าวได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประหยัดทั้งในเรื่องต้นทุนและกำลังคน อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนและสงสัยว่ามีหยุดหายใจขณะหลับได้รับความสะดวกสบาย และสามารถเข้าถึงการตรวจได้มากยิ่งขึ้น

ผู้ที่เหมาะกับการตรวจแบบ Type 3 นี้ ได้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) ในระดับความรุนแรงตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป แต่ไม่สามารถรอคิวนานๆได้ นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัด การใช้เครื่องอัดอากาศ CPAP หรือการลดน้ำหนักได้

การแปลผลโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับ ช่วยให้คุณหรือคนที่คุณรัก (หรือคนที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ) ได้ตรวจพบปัญหาที่แฝงอยู่ในระหว่างที่นอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนอนกรน หรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ และได้ปรึกษาพูดคุยถึงแผนการรักษาที่เหมาะสมกับเขา เพื่อให้คุณหลับได้อย่างสบายใจ เป็นคืนที่ทุกคนได้พักผ่อนอย่างแท้จริง มีพลังไว้ไปสู้ชีวิตต่อในวันพรุ่งนี้ มีสมาธิและสติที่พร้อมที่สุด เพื่อใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะของคนไปตรวจเอง หรือคนที่พาคนรักไปตรวจก็ตาม

การตรวจการนอนหลับที่บ้าน นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน และสงสัยว่าจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะมีข้อดีต่างๆ มากมาย เช่น ราคาประหยัด ไม่ต้องรอคิวนาน นอนหลับได้สนิทมากกว่าเพราะได้นอนในสถานที่ที่คุ้นเคย ทำให้ผลการตรวจใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า