ปัจจุบัน ความเจริญด้านการแพทย์ และเทคโนโลยี ทำให้มนุษญย์เรามีอายุยืนมากขึ้น มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น อัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น นำมาซึ่งจำนวนผู้ป่วยสูงอายุที่ทุพพลภาพ และต้องการการดูแลเป็นอย่างมาก หน้าที่ของการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักตกหนักที่สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยเอง ซึ่งมักจะเป็นบทบาททางสังคมของผู้หญิง คนสูงอายุ หรือคนโสด ที่สมาชิกคนอื่นๆ ชอบที่จะมอบหมายภาระนี้ให้
ภาระการดููแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วบโรคเรื้อรังที่ต้องพึ่งพู้ดูแลตลอดเวลานั้น เป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย ใช้เวลามาก และก่อให้เกิดความตึงเครียดสูง อีกทั้งตัวผู้ดูแลเองก็อาจจะมีปัญหาของตนเองในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะการเงิน และชีวิตส่วนตัวของตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าผู้ดูแลปราศจากความช่วย้หลือจากสมาชิกคนอื่นๆ แล้ว
ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล (Caregiver burden)
ปัจจุบัน ความเจริญด้านการแพทย์ และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์เราอายุยืนมากขึ้น มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น อัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้นนำมาซึ่งจำนวนผู้ป่วยสูงอายุที่ทุพพลภาพและต้องการการดูแลมากขึ้น หน้าที่ของการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักตกหนักที่สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยเอง ซึ่งมักจะเป็นบทบาททางสังคมของผู้หญิง คนสูงอายุ หรือคนโสด ที่สมาชิกคนอื่นมักจะมอบหมายภาระนี้ให้
ภาระการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลานั้น เป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย ใช้เวลามาก และก่อให้เกิดความตึงเครียดสูง อีกทั้งตัวผู้ดูแลเองก็อาจมีปัญหาของตนเองในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะการเงิน และชีวิตส่วนตัวของตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าผู้ดูแลปราศจากความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นๆแล้ว ก็จะเกิดความเหนื่อยล้า (Caregiver burden) หรือถึงกับ หมดไฟในการดูแลไปเลย (Caregiver burnout) เมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่อการถูกทำร้าย หรือทอดทิ้งได้โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งถ้าบุคคลากรทางการแพทย์ไม่เข้าใจเรื่องราวโดยตลอด ก็มักจะกล่าวโทษผู้ดูแลว่า ‘ดูแลไม่ดี ไม่กตัญญู ใจร้าย ทำคนป่วยได้ลงคอ’ ซึ่งก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติมความรู้สึกผิด และความรู้สึกเป็นภาระให้กับผู้ดูแลมากขึ้นไปอีก
ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ระดับความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพ และความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย
- ปัญหาสุขภาพของตัวผู้ดูแลเอง
- แหล่งให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ
- บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบด้านอื่น ๆ ของผู้ดูแล
รู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลกำลังจะหมดไฟ
เป็นธรรมดาของผู้ดูแลหลักสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้สูงอายุทุพพลภาพ ที่อาจจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่ายได้ในบางเวลา แต่ถ้ามีความรู้สึกดังกล่าวติดต่อกันเป็นเวลานานหรือตลอดเวลา อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ผู้ดูแลคนนั้นกำลังต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งได้แก่สัญญาณต่อไปนี้
- อยากจะหนีไปให้พ้นความรับผิดชอบที่ดูเหมือนทับถมกันมากขึ้นทุกที
- รู้สึกเหมือนกำลังรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เพียงคนเดียว
- กิจวัตรประจำวันดูช่างยุ่งเหยิง และวุ่นวายสับสนไปหมด
- ไม่มีเวลาได้ออกไปข้างนอก เข้าสังคม หรือทำธุระส่วนตัว
- การกิน อยู่ หลับนอน ของผู้ดูแลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
- น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เบื่อหน่ายไปหมด
- หงุดหงิด โกรธง่ายแม้กับสาเหตุเพียงเล็กน้อย
- ไม่มีสมาธิจดจำสิ่งต่างๆ หลงลืมแม้แต่สิ่งสำคัญ
- ใช้ยาหรือสารเสพติดมากกว่าเดิม เช่น ยานอนหลับ เหล้า บุหรี่
แนวทางสำหรับผู้ดูแลที่กำลังจะเหนื่อยล้า
1. วางแผนการดูแลให้ดี อย่าให้เป็นภาระที่ใครเพียงคนเดียวตลอดเวลา
2. อาจจ้างผู้อื่นมาทำหน้าที่ชั่วคราวเป็นครั้งๆ เพื่อให้ผู้ดูแลหลักมีเวลาพักผ่อนบ้าง
3. แบ่งหน้าที่ด้านต่าง ๆ ให้ญาติพี่น้องคนอื่นได้มีส่วนร่วมบ้าง เช่นภาระค่าใช้จ่ายในบ้าน
4. หาเวลาพักผ่อนไปทำกิจกรรมที่ตนเองชอบบ้างเพื่อผ่อนคลายความเครียด
5. พูดคุยพบปะสังสรรค์ เข้าสังคมบ้าง เพื่อบรรเทาความเครียด อาจได้รับคำแนะนำในการแก้ปัญหาของตนเองได้
6. ดูแลรักษาสุขภาพกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
7. รู้จักปล่อยวาง อย่าคาดหวังกับสิ่งรอบตัวสูงจนเกินไป เช่น อยากให้ผู้ป่วยหายขาดจนลุกมาเดินได้ กินเองได้
8. แบ่งเวลาให้คนในครอบครัวของตนเองบ้าง แทนที่จะทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้ผู้ป่วยคนเดียว
9. บางครั้ง อาจจำเป็นต้องไปฝากผู้ป่วยไว้ในสถานพยาบาลบ้าง หากผู้ดูแลติดธุระหรือรู้สึกเกินกำลังแล้ว
ดังนั้น อุปกรณ์ทางการแพทย์ สามารถช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เบื้องต้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระการดูแลให้กับคนดูแลได้บ้าง หลักๆ เลยจะเป็นอุปกรณ์ประเภทไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นไฟฟ้า หรือเตียงผู้ป่วยปรับระดับไฟฟ้า แต่สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องการช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง “เตียงปรับระดับไฟฟ้า” จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ดูแลเบาแรงได้บ้าง ไม่มากก็น้อย เพราะถ้าหากผู้ดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุมีกำลังใจดี สุขภาพดี การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีแรงที่จะดูแลผู้สูงอายุไปตลอด
เตียงปรับระดับไฟฟ้าถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยฟังก์ชันหลักจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนองศาและส่วนของเตียง เช่น หัวเตียง ท้ายเตียง ราวกั้น หรือปรับระดับเสาน้ำเกลือ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ช่วยพยุงในการลุก-นั่ง การนั่งทานอาหาร นอกจากตัวผู้ป่วยแล้ว แพทย์ พยาบาลหรือผู้ดูแลก็จะได้รับความสะดวกในการดูแลผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งข้อดีต่างๆ สามารถสรุปออกมาได้ ดังนี้
- ช่วยทุ่นแรง ทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งอย่างสะดวก ไม่ต้องใช้แรงในการเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป จนอาจเป็นผลเสียต่อสภาพร่างกาย
- เตียงจะมีกลไกต่างๆ ที่ทำให้ปรับเตียงได้อย่างยืดหยุ่น เช่น ปรับส่วนหัว ปลายเตียง หรือปรับระดับราวกั้นเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยตกเตียง ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเวลานอน
- ปัจจุบันเตียงไฟฟ้าหลายชนิดจะสามารถควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล จึงปรับท่าทางต่างๆ ได้ง่าย เพียงแค่กดปุ่มเท่านั้น
- เตียงไฟฟ้าช่วยลดการเกิดแผลกดทับได้ ผู้ป่วยที่ขยับตัวได้ลำบากหรือเสี่ยงต่อแผลกดทับสามารถปรับองศาในการนอนได้ เพื่อลดภาวะแผลกดทับ
- ช่วยให้การดำเนินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
เตียงไฟฟ้าสามารถช่วยผู้สูงอายุได้อย่างไร?
การที่เตียงผู้ป่วยจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลนั้นอาจไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะอุปกรณ์การแพทย์ชนิดนี้สามารถช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการลุก-นั่ง การตื่นนอน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ บนเตียง คนทั่วไปอาจจะมองว่ากิจกรรมเหล่านั้นเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับพวกเขาแล้วถือเป็นกิจวัตรที่ทำได้ลำบาก ซึ่งการมีเตียงปรับระดับไฟฟ้าจะอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองได้ ยกตัวอย่างเช่น
- ช่วยให้ผู้สูงอายุ สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่และปลอดภัย ด้วยฟังก์ชันปรับเตียงให้ต่ำและการปรับราวเตียง ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุตกเตียง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเวลานอน
- ผู้สูงอายุที่เสี่ยงเป็นผู้ป่วยติดเตียง หากให้รับประทานอาหารระหว่างนอน อาจเกิดการสำลักได้และเสี่ยงทำให้เศษอาหารเข้าไปติดหลอดลมได้ แต่เตียงปรับระดับไฟฟ้า สามารถปรับท่านั่ง สำหรับทานอาหาร หรือดูทีวีสำหรับผู้สูงอายุ ในกรณีที่ผู้สูงอายุยังพอเคลื่อนไหว หยิบจับอะไรได้บ้าง ก็สามารถปรับท่านั่ง ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็น การดูทีวี หรืออ่านหนังสือ และเมื่อผู้สูงอายุ สามารถปรับท่าการใช้งานได้ด้วยตัวเองจะเป็นการลดภาระผู้ดูแลไปในตัวอีกด้วย
สุดท้าย…กำลังใจสำหรับผู้ดูแล
จริงอยู่ที่งานดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นงานที่ทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยทั้งกายใจ และเป็นงานที่ยากที่สุดสำหรับสมาชิกในครอบครัว แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียเท่านั้น จริง ๆแล้วความสุขใจจากหน้าที่นี้ก็มีอยู่ การที่สมาชิกในครอบครัวได้ดูแลบุคคลในครอบครัว นอกจากจะเป็นการแสดงความรักและความกตัญญูต่อกัน เมื่อบุคคลอันเป็นที่รักจากไป ผู้ดูแลเองจะได้ไม่จมอยู่กับความรู้สึกผิด เพราะได้ใช้เวลาอยู่กับผู้ป่วยอย่างคุ้มค่าและทำดีที่สุดแล้วในขณะที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่
ในกรณีที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลไม่ได้มีความรัก ความผูกพันกันมาก่อน อาจถือว่าเป็นช่วงเวลาที่จะอโหสิกรรมและให้อภัยต่อกันในความผิดบาปในอดีต ความโกรธขึ้งจะได้ไม่ติดตัวผู้ดูแลต่อไปเมื่อผู้ป่วยจากไปแล้ว การให้โอกาสได้ดูแลกันในช่วงสุดท้ายของชีวิตถือเป็นบุญที่เขามอบให้เราก่อนจากกัน และการทำบุญใหญ่ก็ย่อมจะเหนื่อยเป็นธรรมดา.
-
Full Setไม้แท้เตียงการแพทย์
Berlin 3 | เตียงไฟฟ้าผู้ป่วย สูงอายุ ปรับระดับได้ 3ไกร์ 6ปุ่ม วัสดุไม้แท้ (Full Set)
Original price was: 49,900฿.35,900฿Current price is: 35,900฿. Add to cart -
ไฟส่องใต้เตียงป้องกันอุบัติเหตุ ปรับหรี่ไฟได้ อุปกรณ์เสริมเตียงไฟฟ้า Smartcare รุ่น Sc-112
Original price was: 9,990฿.5,990฿Current price is: 5,990฿. Add to cart