fbpx

อุปกรณ์เบื้องต้นดูแลผู้สูงอายุที่ควรมีติดบ้าน

อุปกรณ์เบื้องต้นดูแลผู้สูงอายุที่ควรมีติดบ้าน

การเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เสื่อมถอยลง ส่งผลให้มีความบกพร่องในด้านต่างๆ เช่นการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกลดลง ซึ่งอาจจะทำให้มีการจำกัดหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ขณะการทำกิจกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งการเคลื่อนไหวร่างกาย อาทิเช่น การลุกขึ้นนั่ง การยืน การเดิน หรือการขึ้นลง กิจกรรมต่างๆทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถ้าวันนึงคุณได้รับหน้าที่ให้ต้องดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุภายในบ้านที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่และหนักหน่วงที่ผู้ดูแลต้องเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ จึงจะสามารถผ่านความท้าทายนี้ไปได้โดยจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมี อุปกรรณ์ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดไว้ที่บ้านเพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา ซึ่งอุปกรณ์ที่แต่ละบ้านจะต้องมี วันนี้ Elife ได้ลิสต์รายการอุปกรณ์เบื้องต้นที่จำเป็นมาให้คุณแล้ว แล้วคุณจะพบว่าการดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย

อุปกรณ์เบื้องต้น 3 อย่างที่ควรมีติดบ้านสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 

(1.) รถเข็นวีลแชร์ รถเข็นวีลแชร์ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่หากไม่มีติดบ้าน ถือว่าจะสร้างความลำบากให้กับผู้ดูแลไม่ใช่น้อย เพราะรถเข็นวีลแชร์เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุไปไหนมาไหนได้ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายไปห้องน้ำ เคลื่อนย้ายไปเดินเล่นนอกบ้าน หรือสามารถพับเก็บเพื่อนำขึ้นรถออกไปใช้งานที่นอกบ้านได้ด้วย เพราะหากไม่มีอุปกรณ์ตัวนี้ช่วยเบาแรง เท่ากับว่าผู้ดูแลต้องแบกหรืออุ้มผู้สูงอายุทุกครั้งที่ต้องการเคลื่อนย้าย ซึ่งหากจะเป็นเช่นนั้น แต่ละวันของผู้ดูแลคงผ่านไปได้ค่อนข้างลำบากไม่น้อยเลยทีเดียว แต่…หลายๆ คนก็คงเห็นรถเข็นวีลแชร์ในหลากหลายรูปแบบคงตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใช้รถเข็นวีลแชร์แบบไหนถึงจะเหมาะกับผู้ใช้งาน Elife มีเทคนิคการเลือกรถเข็นวีลแชร์มาฝากกันค่าาา

รถเข็นวีลแชร์มีแบ่งเป็นลักษณะ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 

  1. รถเข็นวีลแชร์แบบแมนนวล คือ รถเข็นวีลแชร์ที่ต้องใช้แรงในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นทั้งมีคนอื่นเข็นให้ , และหมุนล้อเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง (มือหมุน)  วีลแชร์ประเภทนี้ราคาประหยัด หาซื้อได้ง่ายทั่วๆ ไป สามารถใช้ได้ในกรณีที่ต้องพาผู้สูงอายุเดินทางไปในที่ต่างๆ ใช้เพื่อเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในแง่ของการเคลื่อนไหว แต่..รถเข็นวีลแชร์แมนนวล จะเหมาะสำหรับคนที่จำเป็นจะต้องให้ผู้ดูแลเข็นให้ มีลูกหลานดูแล คอยเข็นไปเที่ยวต่างๆ แต่รถเข็นวีลแชร์แมนนวล ก็มีหลากหลายรุ่นให้เลือก เราไปดูเลยค่ะ ว่าเราแบ่งประเภทรถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้อย่างไรกันบ้าง ??
    Travel Wheelchair – วีลแชร์น้ำหนักเบาสำหรับการท่องเที่ยว อีไลฟ์ให้เกณฑ์ไม่เกิน 10Kg หลายรุ่นมีกระเป๋าใส่ Wheelchair แถมมาให้ด้วย กลุ่ม Wheelchair Travel จะเป็นกลุ่มคนใช้งานที่ต้องเดินทางออกข้างนอกบ่อยๆ พับเก็บได้เล็ก ยกใส่ท้ายรถได้ หรือพกพาเดินทางขึ้นเครื่องบินได้ (EW11+, EW112)
    – Wheelchair – วีลแชร์ทั่วไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เก้าอี้รถเข็นแบบนี้เบาะนั่งจะใหญ่ นั่งได้นานกว่า จะเป็นวีลแชร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นทรงมาตรฐาน เบาะกว้าง นั่งสบาย แต่น้ำหนักจะค่อนข้างหนักเพิ่มขึ้นมาจากรถเข็นวีลแชร์กลุ่ม Travel  (EW116, EW120+, EW122)
  2. รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า หรือรถเข็นไฟฟ้า (Electric Wheelchair) รถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้ จะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่รักในความเป็นอิสระ ไม่ชอบเป็นภาระให้ใคร เพราะรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า สามารถเคลื่อนที่ได้โดยการบังคับจอยสติ๊กที่ติดมากับรถเข็นวีลแชร์ ควบคุมทุกทิศทางโดยคนนั่งใช้งาน ไม่ต้องใช้แรงในการเคลื่อนที่ ใช้พลังงานจากการชาร์ตแบตเตอรี่จากไฟบ้าน ประหยัด ใช้งานได้ยาวนานค่ะ และปัจจุบันนี้รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า ก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ๆ ออกมาเยอะแยะมากมายเลยค่ะ รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าทั้งแบบพับเก็บได้ , วีลแชร์ไฟฟ้า สามารถพกพาขึ้นเครื่องบินได้

ท้ายที่สุดรถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้จะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย ที่รักอิสระ ชอบไปไหนมาไหนด้วยตัวเอง ไม่ต้องคอยให้ผู้อื่นมาช่วย


(2.) เตียงนอนปรับระดับได้ เมื่อได้รถเข็นวีลแชร์แล้วเตียงนอนปรับระดับไฟฟ้าก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์จำเป็น โดยเตียงนอนของผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงควรจะเป็นเตียงที่มีราวกั้นข้าง เพื่อป้องกันการพลัดตกจากเตียง รวมถึงจะต้องเป็นเตียงนอนที่สามารถปรับระดับไดด้วย ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบมือหมุนและแบบไฟฟ้า โดยสามารถปรับได้ถึงระดับความสูง-ต่ำของเตียง , ปรับพนักพิงบริเวณหัวเตียง , ปรับชันเข่าขึ้นเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ , เพื่อให้สะดวกในการดูแลประคองผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุลุกขึ้นเพื่อที่จะรับประทานอาหาร , พลิกตัวเปลี่ยนท่า , เคลื่อนย้ายลุกลงจากเตียง โดยปกติแล้วเตียงปรับระดับได้ที่นิยมใช้งานหลักๆ ก็จะมีด้วยกัน 2 กลุ่ม นั่นก็คือเตียงปรับแบบมือหมุน และ เตียงปรับระดับไฟฟ้าผู้สูงอายุ

แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงเตียงปรับระดับไฟฟ้า โดยปกติทั่วไปแล้ว คนจะไม่นิยมใช้เตียงแบบมือหมุนเพราะไม่ต่างอะไรกับการที่ต้องใช้แรงเพื่อพยุงผู้สูงอายุลุกขึ้นนั่ง ดังนั้นเตียงที่หลายๆ บ้านเลือกใช้กันส่วนใหญ่ จะเป็นเตียงปรับระดับไฟฟ้าผู้สูงอายุ เพราะจะช่วยทุ่นแรงในการช่วยพยุงตัว สามารถกดปรับได้ง่ายด้วยรีโมท ไม่ต้องใช้แรง และที่สำคัญผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุก็สามารถกดรีโมทเพื่อต้องการปรับเองได้อีกด้วย ถือว่าเตียงปรับระดับไฟฟ้า ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคนดูแลได้อย่างมากๆ เลยค่ะ และสำหรับเตียงปรับระดับไฟฟ้าที่เลือกใช้ ก็มีหลากหลายฟังก์ชั่นอีกเช่นกันค่ะ แต่ที่อยากแนะนำให้เลิอกใช้งานเตียงไฟฟ้าที่เป็น 5 ไกร์ จะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้ดูแลมากกว่า เพราะฟังก์ชั่นของเตียง 5 ไกร์ที่สามารถปรับฟังก์ชั่นการใช้งานได้ มีดังนี้

  • ฟังก์ชั่นที่ 1 ปรับพนักพิงช่วงกลางหลังถึงช่วงหัวขึ้น-ลง มาได้ตั้งแต่ 0-70 องศา ฟังก์ชั่นนี้จะใช้สำหรับลุกขึ้นมานั่งทานข้าว , ช่วยพยุงลุกขึ้นจากเตียงได้ง่าย , หรือปรับขึ้นมานั่งทำกิจกรรมในท่าต่างๆ สามารถใช้ได้ทั้งกับผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ
  • ฟังก์ชั่นที่ 2 ปรับชันเข่าช่วงล่าง ตั้งเข่าขึ้น-ลง ได้ตั้งแต่ 0-30 องศา
  • ฟังก์ชั่นที่ 3 ปรับพนักพิงช่วงกลางหลัง และช่วงล่างข้อเข่า ขึ้นพร้อมกัน
  • ฟังก์ชั่นที่ 4 ปรับระดับความสูง-ต่ำ ของเตียง การปรับความสูง-ต่ำ ของเตียงมีความจำเป็นอย่างมากทั้งกับตัวคนใช้งานเองและตัวของคนดูแลด้วย เพราะการปรับระดับได้ต่ำที่สุดจะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือคนไข้ เพราะสามารถปรับระดับเตียงให้ต่ำลง ให้ปลายเท้าของผู้สูงอายุแตะที่พื้นพอดี จะทำให้ผู้สูงอายุพยุงตัวเองลุกขึ้นได้ง่าย ส่วนของการปรับระดับเตียงไฟฟ้าสูงขึ้น จะเหมาะสำหรับคนดูแลผู้สูงอายุเพราะสามารถปรับระดับเตียงไฟฟ้าขึ้นมาให้สูงในระนาบเดียวกับการยืน เพื่อที่จะสามารถยืนดูแลได้ง่าย ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ ลดอาการปวดเมื่อยของผู้ดูแลได้ค่ะ
    (ดังนั้นฟังก์ชั่นนี้สำคัญมากๆ สำหรับการเลือกซื้อเตียงปรับระดับไฟฟ้า) 
  • ฟังก์ชั่นที่ 5 การปรับทั้งโครงเตียงให้ลาดชัน ปรับยกหังสูงปลายเท้าต่ำ , หริอหัวต่ำปลายเท้าสูง (ฟังก์ชั่นนี้เพื่อป้องกันเลือดไหลเวียนลงไปที่ปลายเท้า) หรือจะปรับลักษณะให้เป็นกึ่งท่านั่งได้ จะช่วยรีแลกซ์ ให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง รู้สึกว่าไม่ได้นอนติดเตียงตลอดเวลา จะช่วยในเรื่องของสภาพจิตใจให้สดใสขึ้นค่ะ

วิธีการเลือกเตียงนอนปรับระดับไฟฟ้าให้กับผู้สูงอายุ 

  1. ราวจับสำหรับช่วยลุกจากเตียง การลุกขึ้นจากเตียงไปยังรถเข็นหรือเก้าอี้เพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวันมักจะง่ายขึ้นเมื่อมีราวจับข้างเตียง
  2. เตียงควรมีช่องว่าง เพื่อนให้มีพื้นที่ในการสอดเท้าเข้าไป ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับผู้สูงอายุ เพราะหากเกิดรู้สึกวิงเวียน เมื่อลุกจากเตียงทันทีจะได้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการทรงตัวและช่วยไม่ให้ล้มได้
  3. ความกว้างของเตียง ควรกว้างพอให้ผู้สูงอายุสามารถพลิกตัว ลุกขึ้นนั่งในอิริยาบถต่างๆ ได้อย่างสะดวก แต่อย่างเตียงปรับระดับไฟฟ้ามตามโรงพยาบาลทั่วไป ก็เป็นขนาดมาตรฐาน 3 ฟุต ผู้สูงอายุก็สามารถพลิกตะแคงตัวเองได้
  4. ลักษณะของฟูก ไม่ควรใช้ฟูกรองนอนที่นิ่มมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลำตัวจมลงไป เวลาลุกขึ้นหรือขยับตัวจะทำได้ยาก จึงควรเลือกฟูกนอนที่ค่อนข้างแข็งและหนาประมาณ 5-6 เซนติเมตร
  5. ความสูงของเตียง หากเตียงสูงมากจนเกินไป เวลาลุกนั่งบนเตียง ขาไม่ถึงพื้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บได้ แต่ถ้าเตียงต่ำจนเกินไป ผู้ดูแลต้องคอยปรับความสูงของเตียงขึ้นมาให้เท้าของผู้สูงอายุวางบนพื้นได้พอดี พร้อมสำหรับจะลุกขึ้นยืน ดังนั้นความสูงของเตียงปรับไฟฟ้าผู้สูงอายุที่เหมาะสม จะต้องมีความสูง 38-45 Cm. ถือว่าดีค่ะ

(3.) อุปกรณ์สำหรับช่วยพยุงเดิน แบบพับเก็บและนั่งพักได้ ขึ้นชื่อว่ารถเข็นช่วยเดิน Rollator แน่นอนว่าต้องออกแบบเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดิน ให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น  เหมาะสมหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาการเดินข้อเข่าไม่ดี เสี่ยงต่อการสูญเสียการทรงตัว จนทำให้หกล้มได้ง่าย การใช้รถเข็นช่วยเดินจะช่วยประคองผู้สูงอายุในการเดิน และยังสะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเข็นได้ด้วยล้อ ใช้งานได้โดยไม่ต้องยกตัวรถเข็นขึ้นเหมือนการใช้ไม้เท้า หรือวอล์คเกอร์ ลดการออกแรงมากจนอาจทำให้ปวดกล้ามเนื้อได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ การเดินสะดุดหรือหกล้มได้ รถเข็นช่วยเดิน Rollator เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีล้อ 4 ขา ทำให้เข็นใช้งานได้ง่ายโดยที่ผู้สูงอายุไม่ต้องออกแรงยกอุปกรณ์ในการก้าวเดิน  ต่างจากอุปกรณ์ช่วยเดินแบบอื่นๆ ที่ผู้สูงอายุต้องยกอุปกรณ์ขึ้นจากพื้นทุกครั้งที่ก้าวเดิน  Rollator จะช่วยให้การเดินเป็นไปได้อย่างง่ายดายเดินได้ไม่ได้สะดุด เดินได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น และรถเข็นช่วยเดิน Rollator ก็ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ดังนี้

  1. ช่วยในการทรงตัวขณะเดิน ลดความเสี่ยงในการสะดุดจากการเดินที่ไม่ต่อเนื่อง
  2. มีระบบเบรกมือป้องกันการลื่นไหล เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน
  3. มีล้อขนาดใหญ่ มั่นคง ช่วยให้การเดินคล่องตัว ใช้งานได้โดยไม่ต้องยกตัวอุปกรณ์
  4. สามารถใช้เป็นเก้าอี้สำหรับนั่งพักได้  เบาะนั่งมีขนาดกว้าง
  5. มีกระเป๋าสำหรับใส่สิ่งของขนาดใหญ่ รับน้ำหนักได้สูงสุด 12 kg สามารถใส่ของได้เยอะ
  6. รถเข็นมีน้ำหนักเบาเพียง 7.6 kg สามารถพับเก็บได้พกพาสะดวก เก็บใส่หลังรถได้ สะดวกต่อการเดินทาง
  7. มือจับสามารถปรับความสูงได้
  8. โครงสร้าง Aluminum แข็งแรง ทนทาน ได้รับมาตรฐาน
  9. รับน้ำหนักได้สูงสุด 100 kg

การปรับสิ่งแวดล้อมสภาพบ้าน ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ เมื่อสุขภาพร่างกายถดถอยลงไป ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะมีอารมณ์นอย น้อยใจง่าย หงุดหงิด หรืออารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา จนบางครั้งก็มีอารมณ์ที่คล้ายกับเด็ก ดังนั้น เราต้องควรดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุเหล่านี้เป็นพิเศษ และอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยบางท่าน จะไม่ชอบรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกอุปกรณ์ในกลุ่มพวก รถเข็นวีลแชร์ , วีลแชร์รถเข็นไฟฟ้า , เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุปรับระดับได้ ที่มีดีไซน์สวย น่าใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ

ในการเลือกอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุต้องเลือกให้มีความเหมาะสมกับภาวะของโรค ความบกพร่อง และรูปร่างของผู้สูงอานุ ที่จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์นั้นๆ จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำ สำหรับท่านใดหากมีความสนใจสินค้าเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ หรือต้องการคำแนะนำข้อมูลสินค้า สามารถติดต่อ Elife ได้เลยค่าาา