fbpx

MARD บอกความแม่นยำเครื่องตรวจน้ำตาล

MARD บอกความแม่นยำเครื่องตรวจน้ำตาล

ผมเชื่อว่าหลายคนมีความสงสัยและยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับความแม่นยำของ Continuous Glucose Monitoring (CGM) หรือการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง อาจจะเป็นเพราะเป็นของใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในไทยและยังไม่ค่อยมีใครออกมาให้ความรู้อย่างจริงจัง ืแต่สำหรับต่างประเทศอุปรณ์ชนิดนี้มีความสำคัญมากสำหรับผู้ที่มีโรคเบาหวานถึงขนาดที่แพทย์เป็นคนแนะนำให้ใช้ และได้รับการบรรจุให้เป็นสวัสดิการของประชาชนอีกด้วย โดยทั่วไป CGM จะมีความแม่นยำค่อนข้างสูง แต่ความแม่นยำอาจแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละราย และตามแต่กรณี ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  1. คุณภาพของอุปกรณ์: รุ่นและยี่ห้อของ CGM ที่ใช้ อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก FDA มักมีความแม่นยำสูงกว่า
  2. การตั้งค่าและการใช้งาน: การติดตั้งเซ็นเซอร์ให้ถูกต้องและการเปลี่ยนเซ็นเซอร์ตามเวลาที่กำหนดมีผลต่อความแม่นยำ
  3. สภาพร่างกาย: ความเปลี่ยนแปลงในระดับน้ำตาลในเลือด อาจมีผลต่อความแม่นยำของการอ่านค่า เช่น หลังการรับประทานอาหารหรือออกกำลังกาย
  4. การปฏิบัติตามคำแนะนำ: การใช้ CGM ตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การตรวจสอบค่าด้วยเครื่องวัดน้ำตาลในเลือดที่เจาะปลายนิ้วเป็นระยะๆ เพื่อยืนยันค่าที่ได้

ค่าบอกความแม่นยำของเครื่องตรวน้ำตาล จะใช้ค่า MARD (Mean Absolute Relative Difference) เป็นค่าที่ใช้ในการประเมินความแม่นยำของระบบการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะใน Continuous Glucose Monitoring (CGM) ค่า MARD จะบ่งบอกถึงความแตกต่างเฉลี่ยระหว่างค่าที่อ่านจาก CGM และค่าจริงที่ได้จากการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะปลายนิ้ว ซึ่งต้อวแจ้งว่าในทางเทคนิคค่าน้ำตาลที่ได้จากเครื่องวัดน้ำตาลต่างประเภทกัน จะไม่สามารถนำมาวัดให้ตรงกันได้ 100% แต่ความที่ได้จะมีความใกล้เคียงและ CGM จะทำให้คนไข้เห็นแนวโน้มของน้ำตาลระหว่างวันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น มากกว่าการรู้ค่าน้ำตาลในเลือดจากแค่เพียงช่วงเวลาการเจาะเลือดปลายนิ้วเท่านั้น

ความหมายของค่า MARD:

  • ค่า MARD ต่ำ (โดยทั่วไปต่ำกว่า 14%) แสดงถึงความแม่นยำที่ดีของ CGM สามารถใช้ทางการแพทย์ได้
  • ค่า MARD สูงอาจหมายความว่ามีความคลาดเคลื่อนมากขึ้น และอาจต้องการการตรวจสอบเพิ่มเติม
หลักการทำงาน CGM เราสามารถติดตั้ง Sensor ได้ด้วยตัวเอง เครื่องยิงเซนเซอร์ Applicator จะทำการแทงเข็มขนาดเล็กมาก Microneedle ลงใต้ชั้นผิวหนัง โดยเข็มขนาดเล็กนี้เป็นโพลิเมอร์อ่อน เมื่อติดตั้งเจ็บน้อยกว่าเจาะปลายนิ้ว เซนเซอร์สามารถอยู่ได้ 7-14แล้วแต่รุ่น ส่วนบนจะมี Transmitter ทำการส่งสัญญาณค่าน้ำตาลเป็นยังตัวรับ ในรูปคือมือถือของเรานั่นเองด้วย สัญญาณ BT

MARD เกือบทุกแบรนด์ใกล้เคียง 10% เช่น Dexcom G7 มีมาร์ 7%, Libre3 และ i3 มีมาร์ 8%, CT3 มีมาร์ 9% เป็นต้นดูแล้วไม่ได้หนีกันมาก จะเห็นว่าแม้ว่ายี่ห้อที่ดีที่สุดในตลาดก็ยังมีค่าเบี่ยงเบน 7-9% เนื่องจากการวัดเป็นการตรวจที่ของเหลวใต้ผิวหนังไม่ใช่เลือดโดยตรง

ยิ่งมีค่า MARD น้อยยิ่งดี โดยการทดลองทางคลินิค จะระบุเลยว่าทดสอบที่ต่ำแหน่งติดตรงไหน เช่น Brand A ทดสอบที่ติดท้องแขน ได้ MARD 8% เป็นต้น

โดยรวม CGM ถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการจัดการโรคเบาหวาน และสามารถช่วยให้ผู้ป่วยติดตามระดับน้ำตาลได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังควรมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจในความแม่นยำของข้อมูลที่ได้ และปฏิบัติค่มคำแนะนำของอุปกรณ์ ร่วมกับปรึกษาแพทย์

elife มีจำหน่ายก้อาจจะช่วยให้อะไรหลายๆอย่างง่ายขึ้นและสะดวกๆขึ้นนะครับ ใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CGM สามารถทักไลน์ @elife เข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะครับ

Highlight


แบบทดสอบประเมินอื่นๆ

อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น

No items were found matching your selection.

บทความที่เกี่ยวข้อง