fbpx

โรคโพรงประสาท พบบ่อยในผู้สุงอายุ

โรคโพรงประสาท พบบ่อยในผู้สุงอายุ

รู้หรือไม่ว่า โรคโพรงประสาทตีบแคบมักเป็นในผู้สูงอายุ และเป็น 1 ในสาเหตุที่ทำให้ท่าเดินที่เรามักเห็นว่า ผู้สูงอายุทำไมถึงต้องเดินโน้มตัวไปด้านหน้า โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคความผิดปกติของกระดูกสันหลังและเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้เป็นโรคนี้มีอายุที่ลดลง คือตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โรคนี้มักทำให้มีอาการปวดหลังโดยอาจพบร่วมกับอาการปวดหลังร้าวลงขาข้างเดียวหรือ 2 ข้างพร้อมๆ กันก็ได้ หรือเดินแล้วมีอ่อนแรงหรือปวดต้องหยุดเป็นพักๆ ซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาท และเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ อาการอาจแย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาท เพื่อให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม

อาการของโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลังส่วนล่างร้าวลงมาสะโพก มีอาการร้าวลงมาขาข้างนึงหรือสองข้าง บางครั้งมีอาการปวดร้าวลงไปปลายเท้า อาการจะเป็นมากขณะยืนหรือเดินเป็นเวลานาน บางครั้งมีอาการชาหรืออ่อนแรงขา ร่วมด้วย ต้องก้มตัว นั่งพัก บางคนต้องนั่งยอง ๆ เพื่อให้อาการดีขึ้นจนสามารถยืนและเดินต่อได้ อาการมักค่อยเป็นค่อยไป จนมากขึ้นจนทำให้ไม่สามารถยืนหรือเดินนานได้ ตรวจร่างกายมักจะพบ หลังช่วงเอวแอ่นน้อย ๆ หรือมีหลังค่อม ขยับหลังแล้วปวดร้าวลงขา ร่วมกับตรวจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยรากประสาทนั้น ๆ หรือความรู้สึกที่ผิดปกติ เช่น ชาหน้าแข้ง หรือหลังเท้า

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบเกิดจากสาเหตุใด

เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะในกระดูกสันหลัง ได้แก่ หมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และข้อต่อ เมื่ออวัยวะเหล่านี้เกิดความเสื่อมขึ้น จะทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากร่างกายพยายามรักษาตัวเองโดยธรรมชาติเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ซึ่งอวัยวะเหล่านี้ก็จะขยายขนาดขึ้นก็จะทำให้โพรงประสาทที่มีเส้นประสาทอยู่ด้านในถูกเบียดหรือกดทับได้ ส่งผลทำให้มีอาการปวดขึ้นตามเส้นทางที่เส้นประสาทนั้นวิ่งไป และเมื่อมีการกดทับรุนแรงเข้าก็ทำให้การสั่งงานไปที่กล้ามเนื้อเสียไปทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อได้

สาเหตุของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ได้แก่:

  • กระดูกโตผิดปกติความเสื่อมอันเกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมในกระดูกสันหลังอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะกระดูกงอกในช่องบรรจุไขสันหลัง ซึ่งเป็นโรคที่มักเกิดในผู้ใหญ่ และเป็นเหตุให้เกิดกระดูกโตผิดปกติในกระดูกสันหลังได้อีกด้วย
  • หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated Discs) เป็นภาวะที่หมอนรองกระดูกที่ทําหน้าที่กันกระแทกระหว่างกระดูกสันหลังมีแนวโน้มที่จะแห้งไปตามอายุ ทั้งนี้ เมื่อเกิดรอยแตกด้านนอกอาจช่วยให้เนื้อเยื่อด้านในของหมอนรองกระดูกโผล่ออกมาและกดทับเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาท
  • เอ็นยึดกระดูกหนาผิดปกติเป็นภาวะที่เส้นเอ็นที่ยึดกระดูกสันหลังไว้ด้วยกันเกิดหนาตัวและเกิดเป็นพังผืดขึ้น ซึ่งเอ็นเหล่านี้จะยื่นเข้าไปในช่องบรรจุไขสันหลัง
  • เนื้องอกในไขสันหลัง เกิดขึ้นภายในเยื่อหุ้มเส้นประสาทกระดูกสันหลัง หรือในพื้นที่ระหว่างไขสันหลังและกระดูกสันหลัง โดยเนื้องอกสามารถพบได้จากการตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายกระดูกสันหลัง พร้อมใช้วิธีตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการแสดงภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กและคลื่นเสียงความถี่สูง (CT) ร่วมด้วย
  • การบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง  อุบัติเหตุทางรถยนต์ และการบาดเจ็บอื่น ๆ อาจทําให้กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือหัก กระดูกเคลื่อนอันเกิดจากกระดูกสันหลังหักอาจก่อความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อในช่องกระดูกสันหลัง อาการบวมของเนื้อเยื่อใกล้เคียงที่เกิดขึ้นทันทีหลังการผ่าตัดอาจกดทับเส้นประสาทหรือเส้นประสาทกระดูกสันหลัง

ความเสี่ยงในการเกิดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แม้การเสื่อมสภาพตามวัยอาจทําให้เกิดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบในผู้ที่มีอายุน้อย แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ในการเกิดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบด้วย โดยรวมถึง การบาดเจ็บ กระดูกสันหลังผิดรูปแต่กำเนิด เช่น กระดูกสันหลังคด และโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการพัฒนากระดูกและกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย การตรวจกระดูกสันหลังด้วยการตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายสามารถระบุและแยกสาเหตุของโรคได้

การรักษาโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ

เนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามอายุ หรือการใช้งานข้อต่อกระดูกสันหลังมากเป็นเวลานาน การลดการใช้งาน หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น งดการยืนเดินเป็นเวลานาน ทำการฟื้นฟู รวมทั้งกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด ปรับท่าทางการใช้งานหลังให้ถูกต้อง และเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่สำคัญ ร่วมกับการรับประทานยาบางชนิดเป็นระยะเวลาหนึ่งตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้อาการหายไปได้

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการอ่อนแรงขามากจนเดินยืนไม่ได้ อาการปวดรุนแรงไม่ดีขึ้นจากการทานยา มีความไม่มั่นคงของข้อต่อหลัง หรือมีอาการผิดปกติของการขับถ่าย เช่น กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตลอดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

รถเข็นช่วยเดิน


สินค้าแนะนำ