fbpx

โรคพาร์กินสัน ใครสามารถเป็นได้บ้าง

โรคพาร์กินสัน  ใครสามารถเป็นได้บ้าง

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว การทรงตัว และการทำงานอื่นๆ ของร่างกาย โรคนี้เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมองส่วน substantia nigra ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้ร่างกายผลิตสารโดปามีน (dopamine) ลดลง ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้แอดมินได้อ่านข่าวแล้วพบว่า มีผู้หญิงคนนึง นามว่า จอย มิลน์ มีอาชีพเป็พยายบาล และ สามีเป็นหมอ และเริ่มได้กลิ่นแปลกๆตอนเข้าใกล้สามี ก่อนที่ อีก 10 ปีข้างนานสามีเธอจะถูกตรวจพบว่าเป็นโรคพากินสัน อ่านบทความเพิ่มเติม: (https://www.bbc.com/thai/international-62820036)

Joy first detected the odour on her husband Les, who was diagnosed with Parkinson's at the age of 45
ขอบคุณข้อมูลจาก: BBC NEWS ไทย

อาการของโรคพาร์กินสัน

อาการของโรคพาร์กินสันมีหลากหลาย และมักจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาการที่พบบ่อย ได้แก่:

  • อาการสั่น (Tremor) อาจเริ่มจากการสั่นของมือ เท้า หรือใบหน้า
  • อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) กล้ามเนื้อตึงเกร็ง โดยเฉพาะบริเวณแขน ขา และลำตัว
  • อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) การเคลื่อนไหวช้าลง การเดิน การพูด และการทำกิจกรรมต่างๆ ใช้เวลานานกว่าปกติ
  • ปัญหาการทรงตัว (Postural instability) เดินไม่มั่นคง ทรงตัวลำบาก
  • อาการอื่นๆ อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องผูก ปัญหาการนอนหลับ ซึมเศร้า เป็นต้น

.
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายสาเหตุที่สามารถทำเห็นเป็นโรคพาร์กินสันได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพากินสัน คือการผลิตสารโดพามีนลดลงนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดคืออะไร และยังไม่แน่ชัดว่ามีปัจจัยใดที่กระตุ้นการเกิดโรคพาร์กินสัน อย่างไรก็ตามโรคพาร์กินสันอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ซึ่งมักพบบ่อยๆในผู้สูงอายุคือ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้เวียนศรีษะ แก้มึนงง ยาแก้อาเจียน ยารักษาความผิดปกติทางจิตบางชนิด ยากล่อมประสาท เป็นต้น นอกจากนั้นอาจเกิดความผิดปกติทางสมองจากสาเหตุอื่น เช่น หลอดเลือกสมองอุดตัน หลอดเลือดสมองแตก สมองขาดออกซิเจน สมองอักเสบ เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสอมงขยายตัว หรือเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศรีษะ เป็นต้น บางคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสันซึ่งสามารถพบได้จากการถ่ายทอดทางพัรธุกรรมร้อยละ 10-15

แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสัน

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาด แต่มีการรักษาเพื่อควบคุมอาการและชะลอความเสื่อมของระบบประสาท แนวทางการรักษามีดังนี้

  • ยา ยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ ยาเลโวโดปา (levodopa) ยาโดปามีน agonists ยาต้านอาการสั่น ยาต้านอาการแข็งเกร็ง เป็นต้น
  • การผ่าตัด  ในบางรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดกระตุ้นสมอง (deep brain stimulation) เพื่อช่วยควบคุมอาการ
  • การบำบัด การบำบัดทางกายภาพ การบำบัดทางวิชาชีพ การพูดบำบัด และการบำบัดทางจิต สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ มีส่วนช่วยในการควบคุมอาการและชะลอความเสื่อม

บทสรุป  โรคพาร์กินสันเป็นโรคทางระบบประสาทที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีการรักษาเพื่อควบคุมอาการและชะลอความเสื่อม ผู้ป่วยและครอบครัวควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อดูแลตัวเองและปรับตัวให้เข้ากับอาการได้อย่างเหมาะสม

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • มูลนิธิโรคพาร์กินสันแห่งประเทศไทย: https://www.pdthailand.org/
  • สมาคมโรคพาร์กินสันและโรคที่เกี่ยวข้องแห่งประเทศไทย: https://www.parkinsonthai.org/