ความดันโลหิตสูง โรคยอดฮิตที่มักจะพบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้ ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง อาการทั่วไปอาจจะดูไม่ร้ายแรง แต่ทุกคนเชื่อมั้ยคะว่า ความดันโลหิตสูงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวการ ที่จะทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆตามมา วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับความดันโลหิตสูงกันนะคะ
ความดันโลหิตสูง ชื่อนี้มาที่มาค่ะ เพราะความดันโลหิตสูง เกิดจาการตรวจพบว่าความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าปกติ ซึ่งค่าความดันที่สูงเกินกว่าปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท เพราะค่าความดันโลหิตที่ดี ต้องมีค่าความดันไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอทเท่านั้น ซึ่งอาการเบื้องต้นของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยทั่วไป แทบจะไม่มีการแสดงอาการใดๆเลย แต่ก็มีผู้ป่วยบางราย ที่เกิดอาการเวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ มึนงง หรือเหนื่อยหอบง่ายกว่าปกติ ซึ่งหากเกิดภาวะความดันโลหิตสูง แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดสภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น อีกทั้ง ยังอาจทำให้อวัยวะภายในไม่ว่าจะเป็น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด หรือแม้กระทั่งตา สามารถหยุดทำงานเฉียบพลันได้ เพราะภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้นและรูเล็กลง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆได้เพียงพอและจะทำงานไม่ปกติ และหากอวัยวะทำงานผิดปกติรุนแรงแล้ว อาจจะส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตได้
แล้วทำไมการวัดค่าความดันแต่ละรอบถึงไม่เท่ากันเครื่องพังหรือเปล่า?
การวัดความดันแต่ละครั้งอาจไม่เท่ากันอยู่แล้วค่ะเนื่องจากปัจจัยต่างๆเช่น ก่อนมาวัดเราอาจมีอาการหอบจากเหนื่อย,มีอาการตื่นเต้น,สูบบูรี่หรือแม้กระทั้งการทานโซเดียมสูงก็มีผลต่อการตรวจวัดเช่นเดียวกัน ดังนั้นการตรวจแต่ละครั้งเราควรดื่มน้ำเปล่าและนั่งพักประมาณ15-20นาที เผื่อได้ค่าที่แม่นยำยิ่งขึ้น สรุปแล้วเครื่องวัดความดันของทุกท่านยังไม่พังนะคะ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
ง่ายมากค่ะ เพียงหมั่นตรวจความดันโลหิตได้ด้วยตัวเองเป็นประจำ เพราะในปัจจุบัน การตรวจวัดความดันโลหิต สามารถทำได้เองที่บ้าน เพียงมีเครื่องตรวจวัดความดันโลหิต(ลิงก์ไปที่หน้าเพจขายเครื่อง) และตรวจบ่อยๆ แต่ต้องเลือกอุปกรณ์ที่มาตรฐาน เชื่อถือได้ ศึกษาวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง และเพื่อการป้องกันความดันโลหิตสูง เราต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น หากเป็นโรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคอ้วน ก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน เห็นมั้ยคะว่าความดันโลหิตสูง ที่ดูไม่น่าอันตราย ส่งผลเสียกับร่างกายแค่ไหน หากพบว่าตัวเอง มีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงแล้วล่ะก็ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง อย่าปล่อยทิ้งไว้ จนอันตรายถึงชีวิตนะคะ และครั้งต่อไป เราจะนำบทความดีๆ เพื่อสุขภาพที่ดี มาฝากทุกท่านอีกนะคะ