fbpx

Q&A ถาม-ตอบ สำหรับการเริ่มต้นการเลือกรถเข็นนั่งผู้ป่วย Wheelchair Ep.2

Q&A ถาม-ตอบ สำหรับการเริ่มต้นการเลือกรถเข็นนั่งผู้ป่วย Wheelchair Ep.2

เมื่อการเดินเป็นเรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย รถเข็นวีลแชร์ เป็นตัวช่วยที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย หรือผู้พิการ เพราะการใช้ชีวิตในแต่ละวันต้องทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเดินทำกิจวัตรประจำวันภายในบ้าน อออกไปทำงาน หรือเที่ยวภายนอกบ้าน ซึ่งรถเข็นวีลแชร์เป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกสบายทั้งผู้ใช้งานและช่วยผ่อนแรงของผู้ดูแลได้อีกด้วย

Q : เมื่อไหร่จึงจำเป็นจะต้องใช้รถเข็นนั่งผู้ป่วย Wheelchair ? 

เมื่อสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยให้สามารถเดินได้ เราก็ต้องยอมรับว่ารถเข็นนั่ง Wheelchair  มีความจำเป็นต่อชีวิต เป็นปัจจัยที่ 5 จะข่วยทำให้เราไปไหน มาไหน ได้อย่างคนอื่นทั่วๆ ไป บางคนพอมีกำลังขา ก็อาจจะเคลื่อนไหวเดินได้โดยการใช้ไม้ค้ำยัน บางคนเลือกเดินเพียงแค่ระยะสันๆ และใช้รถเข็นนั่งเมื่อต้องไปไหนมาไหนไกลๆ เพื่อช่วยทุ่นแรง ทั้งนี้เราสามารถเลือกรถเข็นนั่งได้ตามความเหมาะสม อาจจะมีแพทย์ นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำ

Q : รถเข็นนั่งผู้ป่วย Wheelchair ที่เหมาะสม มีลักษณะอย่างไร ? 

มีขนาดพอดีกับตัวผู้ใช้งาน เช่น ไม่ใหญ่ และไม่เล็กเกินไป ควรมีช่องว่างด้านข้างตัวประมาณข้างละ 1 นิ้ว ระดับเบาะรองนั่งไม่สูง หรือต่ำมากจนเกินไป เมื่อทิ้งแขนลงข้างตัว มือวางอยู่ตรงที่พักแขนที่อยู่สูงกว่าล้อหลัง

  • รถเข็นนั่งผู้ป่วย Wheelchair ควรมีน้ำหนักรถเข็นที่เบา มีความคล่องตัว พับเก็บ และกางออกได้ง่าย โดยเเวลาใช้พกพาไปใช้ตามนอกสถานที่ต่างๆ จะกระทัดรัด เข็นได้ง่าย
  • มีความมั่นคง ไม่ล้อมหรือหงายหลังได้ง่าย มีตัวยันกันหงายหลัง
  • แข็งแข็ง ไม่ขึ้นสนิม ไม่ชำรุด สามารถหาซื้ออะไหล่ได้ง่าย

Q : ควรเลือกใช้รถเข็นนั่งผู้ป่วยอย่างไร ?? 

ชนิดของ Wheelchair หรือรถเข็นผู้ป่วย รถเข็นผู้สูงอายุนั้น การเลือกให้เหมาะสมคงต้องดูว่า เรามีกำลังกล้ามเนื้อแขนและมือมากน้อยขนาดไหนพอที่จะสามารถหมุนล้อรถเข็นให้เคลื่อนที่ได้ การทรงตัวเป็นเช่นไร จะนำไปใช้งานประเภทไหน อาทิ การใช้งานอยู่กับที่บ้าน , ใช้รถเข็นวีลแชร์เพื่อพกพาออกข้างนอก , หรือใช้เพื่อเดินทางขึ้นเครื่องบิน

Q : ชนิดของรถเข็นนั่งผู้ป่วย Wheelchair มีอะไรบ้าง ? 

  1. รถเข็นนั่ง Wheelchair Manaul เรียกง่ายๆ ว่าใช้มือในการเข็น จะมีทั้งล้อเล็กให้ผู้อื่นเป็นคนเข็นให้ , รถเข็นวีลแชร์ล้อใหญ่ มีล้อสำหรับมือจับ คนนั่งที่พอมีกำลังแขนเป็นคนหมุนล้อเพื่อเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเอง และสามารถให้ผู้อื่นเข็นให้ได้
  2. รถเข็นนั่งบังคับไฟฟ้า Electric wheelchair มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานโดยลักษณะเด่นๆ ของรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าจะมีการแบ่งลักษณะการใช้งาน สามารถเคลื่อนที่ได้ในแนวราบ เคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้โดยตัวควบคุมที่อยู่ติดกับตัวรถเข็นวีลแชร์ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นผู้สูงอายุ และผู้พิการ

Q : รถเข็นนั่งไม่มีพนักแขน กับรถเข็นนั่งมีพนักแขน แตกต่างกันอย่างไร ? 

  • รถเข็นนั่งแบบไม่มีที่พนักพิงแขน เพื่อการเอื้อมตัวไปจับล้อหมุนเคลื่อนที่เองได้สะดวก เหมาะสำหรับผู้ที่มีกำลังแขน ลำตัวแข็งแรง สามารถนั่งลำตัวตรงได้ ด้านบนมีกำลัง ส่วนด้านล่างอ่อนแรง
  • รถเข็นวีลแชร์นั่งแบบมีพนักพิงแขน พบเห็นได้บ่อยที่สุด และมีคนนิยมใช้มากที่สุดเหมาะสำหรับผู้มีกำลังแขน แต่ลำตัวอาจจะไม่ค่อยมีแรง เช่นผู้สูงอายุ , ผู้ป่วย Stroke

Q : ส่วนประกอบของรถเข็นนั่งผู้ป่วย Wheelchair แบบมือเข็น มีอะไรบ้าง ? 

  • โครงสร้างโดยส่วนใหญ่ผลิตจากอลูมิเนียม / อลูมิเนียมอัลลอยด์ ทีมีลักษณะคล้ายกับเก้าอี้ มีทั้งแบบพับเก็บได้และพับเก็บไม่ได้
  • ส่วนบนสุดของโครงสร้าง มีลักษณะโค้งงอเป็นด้ามจับ 2 ข้างเพื่อให้ผู้อื่นสามารถจับเข็นได้
  • พนักพิงและที่รองนั่ง มักทำด้วยผ้าใบหรือหนังเทียม บางคันเป็นโลหะ (สำหรับอาบน้ำ)
  • ที่รองรับวางแขน อยู่ 2 ข้างกับลำตัว อาจติดตายตัวพับ หรือสามารถเปิดด้านข้างขึ้นได้ (เปิดข้างเพื่อเข้าออกรถเข็นวีลแชร์โดยวีธีการสไลด์ตัวเข้าไป)
  • ล้อใหญ่ 1 คู่ อยู่ด้านหลัง (ใหญ่กว้าล้อหน้า) ซึ่งยึดติดอยู่กับเพลาหรือแกน หรือบางรุ่นอาจจะมีวงล้อสำหรับมือจับประกบอยู่
  • ล้อเล็ก 1 คู๋ อยู่ด้านหน้า หมุนได้รอบตัว 360 องศา
  • เบรค 2 ข้าง สำหรับยึดล้อ ไม่ให้เคลื่อนที่ในเวลาจอดอยู่นิ่งๆ
  • ที่รองวางเท้า ทำด้วยพลาสติกแข็ง หรือโลหะ

รถเข็นผู้สูงอายุ

 

รถเข็นวีลแชร์ (รถเข็นนั่งผู้ป่วย) แบบแมนนวลมือเข็น ยังสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ 

  • Transport Wheelchair – รถเข็นวีลแชร์เพื่อการพกพาท่องเที่ยว โดยรถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้จำเป็นจะต้องอาศัยคนช่วยเข็นเท่านั้น คนนั่งไม่สามารถเข็นเองได้ มักใช้ในโรงพยาบาลเพื่อนเคลื่อนย้ายคนไข้ รถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้ จะมีล้อหลังขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-14 นิ้ว ผู้นั่งจะไม่สามารถเอื้อมมือไปขยับล้อเพื่อเคลื่อนไหวรถเข็นด้วยตัวเองได้ แต่ข้อดีคือน้ำหนักรถเข็นเบา สามารถพกพาใช้เดินทาง ยกใส่ท้ายรถได้ สะดวกทั้งคนดูแล ไม่ต้องยกรถเข็นวีลแชร์ที่มีน้ำหนักเยอะ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนที่ดูแลผู้สูงอายุ หรือคนพิการ ก็มีอายุเริ่มมากขึ้นแล้ว การจะยกของหนักๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องลำบาก โดยประเภทของรถเข็นวีลแชร์ Transport Wheelchair เพื่อการท่องเที่ยวพกพา จุดเด่นคือเป็นรถเข็นที่มีน้ำหนักเบา วัสดุทำจากอลูมิเนียม ล้อหน้าและล้อหลังจะมีขนาดเล็ก พับเก็บได้ ออกแบบมาเพื่อความสะดวกในการขนย้ายรถเข็นไปยังที่ต่างๆ เช่น พับเก็บใส่ท้ายรถยนต์ , ขึ้นรถไฟฟ้า , ลงเรือ , ขึ้นรถสาธารณะ หรือแม้กระทั่งใช้พกพาขึ้นเครื่องบิน โดยมีรุ่นที่แนะนำ ดังนี้

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-11plus เป็นรุ่นที่พัฒนามาจากรุ่น Ew-11 มีขนาดเบาะกว้างกว่า เหมาะสำหรับคนที่สะโพกใหญ่ นั่งได้เต็ม ก้นไม่ล้นออกมาจากเบาะ รุ่นนี้น้ำหนักรถเข็นเบาเพียง 7.8 กก. โครงสร้างทำจากวัสดุประเภทเดียวกับรุ่น Ew-11 รับน้ำหนักผู้นั่งสูงสุดได้ 110-120 กก. นิยมใช้พกพาใส่ท้าย สะดวกคนดูแลมากๆ เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-112 รุ่นนี้ถือเป็นอีกรุ่นที่ลูกค้านิยมใช้ เพราะลักษณะรูปทรงคล้ายกับเก้าอี้นั่งมากกว่ารถเข็นวีลแชร์ เบาะนั่งสบาย และที่สำคัญ รุ่นนี้มีล้อเล็กกันหงายหลังอีกด้วย วัสดุที่ใช้ผลิตโครงสร้างรถเข็นวีลแชร์รุ่นนี้ เป็นอลูมิเนียมเกรด 7003 มีน้ำหนักเบา 9 กก. สามารถรองรับน้ำหนักผู้นั่งได้ถึง 120 กก. ถ้าเน้นนั่งสบายต้องรุ่นนี้เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-116 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่เบาะค่อนข้างกว้าง จะนั่งสบายสำหรับคนที่มีสรีระใหญ่ หรือมีพุง รุ่นนี้วัสดุทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ น้ำหนักรถเข็น 13 กก. รุ่นนี้เป็นรุ่นที่น้ำหนักค่อนข้างเยอะ แต่ราคาถูก ถ้าหากผู้ติดตาม หรือผู้ดูแล สามารถยกขึ้นรถไหว ตัวนี้เป็นอีกตัวที่น่าใช้งานมากๆ เลยค่ะ

               Ew-11plus                             Ew-112                             Ew-116

  • Manually propelled wheelchair – รถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะขยับเคลื่อนที่เองได้โดยจะต้องใช้แขนทั้งสองข้างช่วยหมุนล้อ และในเวลาที่ต้องการเบรกก็ต้องใช้แขนทั้งสองข้างออกแรกจับล้อเพื่อช่วยในการเพื่อช่วยในการชะลอผ่อนความเร็วรถ รถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้มักจะมีล้อหลังขนาดใหญ่ ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-24 นิ้ว ข้อดีคือผู้ใช้งานสามารถบังคับควบคุมรถได้ด้วยตัวเอง แต่ปกติทั่วไปแล้ว รถเข็นประเภทนี้จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างหนักมาก เนื่องจากมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ จึงไม่ค่อยมีคนนิยมใช้ จึงอยากแนะนำรถเข็นวีลแชร์คันนี้ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้เยอะ และมีน้ำหนักไม่ค่อยมากนัก จึงเหมาะสำหรับพกพาออกได้

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-120plus รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ดีไซน์สวย แข็งแรง น้ำหนักรถเข็น 11 กก. น่าใช้งานที่สุด รับน้ำหนักได้สูงสุด 120 กก. เหมาะสำหรับคนที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เพราะล้อหลังมีขนาด 20 นิ้ว เป็นล้อใหญ่ มีด้ามจับล้อที่ทำจากอลูมิเนียม เพื่อใช้แขนออกแรงหมุน และเคลื่อนที่ได้ โดยไม่ต้องรอให้ผู้อื่นมาเข็นให้ ข้อดีของรุ่นนี้ มีเบรคล็อคล้อ 2 ตำแหน่ง คือล็อคจากมือจับเข็น และล็อคได้จากล้อหลัง ถือว่าเป็นรุ่นที่สะดวกสบายค่ะ แต่ถ้าหากผู้ดูแลเป็นผู้หญิง เวลาพับเก็บใส่ท้ายรถ ถือว่าค่อนข้างยากค่ะ

                   Ew-120plus                               

EW-120Plus ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่มีช่วงตัวใหญ่ ผู้สูงอายุที่ต้องการนั่งรถเข็นวีลแชร์ที่มีลักษณะเบาะกว้าง แต่มีน้ำหนักที่เบา พับเก็บไม่ซับซ้อน ขนย้ายใส่ท้ายรถหรือไปยังที่ต่างๆ

  • เบาะกว้าง มีความกว้างถึง 47 เซนติเมตร
  • มีเบรคล็อคล้อ 2ตำแหน่ง เบรคได้ทั้งคนนั่งและคนเข็นให้
  • ที่พักเท้าเก็บโดยปัดออกด้านข้าง
  • ที่รองน่อง+กระเป๋าหลังใส่สัมภาระ
  • พับ-เก็บ ใส่ท้ายรถ
  • เข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันผู้ป่วยตก หล่น

Q : ส่วนประกอบของรถเข็นนั่งไฟฟ้า หรือวีแชร์ไฟฟ้า Elecreic Wheelchair มีอะไรบ้าง ?

  • Electric Wheelchair หรือรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า คนนั่งบังคับได้ด้วยตัวเอง มีส่วนประกอบเพิ่มเติมจากรถเข็นปกติดังนี้
  • มอเตอร์ (motor) โดยทั่วไปจะประกอบด้วยมอเตอร์ 2 ตัว ทำงานแบบอิสระต่อกัน เช่นเดินหน้าแบบตรงคือหมุนไปข้างหน้าพร้อมกัน แต่หากต้องการเดินหน้าแบบเฉียง ล้อด้านหนึ่งจะหมุนเร็วกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • แบตเตอรี่ (Battery) เป็นแหล่งพลังงานสำหรับมอเตอร์ (Motor) มีประเภท , ขนาด และความจุแตกต่างกันออกไป
  • คอนโทรลเลอร์ (Controller) ส่วนใหญ่จะมีลักษณะจอยสติ๊ก (Joy Stick) โดยทั่วๆ ไป สามารถสั่งการไป ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผล ควบคุมการทำงาน มีความสัมพันธ์กันกับมอเตอร์

รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า Power Wheelchair (รถเข็นนั่งผู้ป่วย) แบบไฟฟ้า ยังสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ 

1.รถเข็นไฟฟ้าราคาประหยัด Eco เน้นราคาถูก คุ้ม

รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า Power Wheelchair ราคาถูก ขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ สำหรับผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย, คนท้อง, คนพิการ เน้นการใช้งานทั่วไป ราคาจับต้องได้เหมาะกับผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้าเป็นประจำทั้งกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด สามารถบังคับด้วย Controller รับความเร็วในการเคลื่อนที่ รถเข็นไฟฟ้าในหมวด ECO จะเน้นที่ราคาจับต้องง่าย ไม่ได้เน้นนน.เบา และ สมรรถนะสูง สามารถใช้งานได้ดีในทุกพื้นผิว วิ่งบนพื้นขรุขระได้ สามารถขึ้นทางลาดชันได้ พับเก็บได้ แต่ต้องถอดแบตเตอรี่ มีรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าปรถเภทนี้ที่แนะนำหลักๆด้วยกันทั้งหมด 3 รุ่นดังนี้  รถเข็นราคาถูก

  • ECO3 รถเข็นไฟฟ้า 3ระบบ โครงสร้างเหล็กชุบกันสนิม ล้อใหญ่ตัน 24นิ้ว บังคับได้ 3in1 บังคับผ่านคนนั่ง, คนนั่งเข็นเอง, ผู้ดูแลช่วยเข็น ด้ามจับเป็นอลูมิเนียม ที่วางเท้าอลูมิเนียม
  • PW-111 รถเข็นไฟฟ้า 3ระบบ โครสร้างอลูมิเนียมไม่ขึ้นสนิม ล้อใหญ่ตัน 22นิ้ว
  • PW-222 รถเข็นไฟฟ้า โครงสร้างอลูมิเนียม ล้อแม็คตัน แบตลิเธียมไอออน Brushless Motor การตอบสนองรวดเร็ว

2.รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า น้ำหนักเบาพิเศษ เหมาะสำหรับการพกพาเดินทางขึ้นเครื่องบินได้ 

วีลแชร์ไฟฟ้า Power Wheelchair เน้นน้ำหนักเบาพับเล็ก สำหรับการท่องเที่ยว รวมถึงไปต่างประเทศ (การขึ้นเครื่องบิน แบตเตอรี่ต้องเป็น Lithium และต้องถือขึ้นเครื่อง) ขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ สำหรับผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย, คนท้อง, คนพิการ เน้นการใช้งานทั่วไป สามารถบังคับด้วย Controller รับความเร็วในการเคลื่อนที่ รถเข็นไฟฟ้าในหมวด Lite จะเน้นที่น้ำหนักและขนาด 

  • Lite1 รถเข็นไฟฟ้า นน.เบาที่สุดเพียง 13.5Kg โครงสร้างแมคนิเซียม มอเตอร์ DC ขนาดเล็ก แบตลิเธียม
  • Lite Plus รถเข็นไฟฟ้า พับแล้วลากได้เหมือนกระเป๋าเดินทาง Controller Digital บอกสถานะพร้อมฟังวิทยุ
  • Lite Pro รถเข็นไฟฟ้า นน.เบาเพียง 16Kg, Controller 2ตัว ที่คนขับ และ Wireless ให้ผู้ดูแลบังคับ พับได้เล็กที่สุด แถมกระเป๋าใส่

3. รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า Pro เน้นคุณภาพ นั่งสบาย

รถเข็นผู้สูงอายุไฟฟ้า ในกลุ่มนี้จะสมรรถนะสูงที่สุด มอเตอร์จะเป็น Brushless Motor มีระบบความปลอดภัย เบรคไฟฟ้า(electromagnetic brake), ครัชไฟฟ้า ป้องกันรถไหลบนทางชัน 2ชั้น การออกแบบเป็นไปตามหลัก Ergonomics สรีระศาสตร์นั่งสบาย สามารถนั่งได้นาน บังคับด้วย Controller สามารถหมุนตัวในที่แคบ มอเตอร์ไฟฟ้าทั้งสองตัวทำงานอิสระต่อกัน แบตเตอรี่ Lithium Ion / Pro เป็นวีลแชร์ไฟฟ้าที่เน้น นั่งนาน นั่งสบาย วิ่งดี ปลอดภัย

  • PW-301Plus รถเข็นไฟฟ้า เบาเพียง 18.5Kg Brushless Motor เบรคไฟฟ้า, ครัชไฟฟ้า ปลอดภัย Feedback จากลูกค้า 301
  • PW-501 ProWheel รถเข็นไฟฟ้า พับกางอัตโนมัติโดย Remote มีระบบไฟฟ้าขอทาง ไฟเลี้ยว ไฟส่องสว่างๆ Full Safety เบรคไฟฟ้า, ครัชไฟฟ้า Feeback จากลูกค้า 501

Q : นั่งรถเข็นผู้ป่วย Wheelchair อย่างไรไม่ให้เกิดแผลกดทับ 

  • ยกตัวก้นให้ลอยขึ้นจากที่นั่งชั่วคราว ครั้งละ 30 วินาที ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง
  • พยายามนั่งให้หลังตรง พิงพนัก และเข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพก ไม่นั่งไขว่ห้าง
  • เวลาย้ายตัวจากรถเข็น ควรยกให้ตัวลอยขึ้น ไม่ให้ถูไถกับที่รองนั่งหรือเตียง

Q : วิธีการใช้งานรถเข็นนั่งวีลแชร์ Wheelchair หลักๆ มีอะไรบ้าง 

  1. การกางรถเข็น ใช้มือทั้งสองข้างกดลงบนที่ขอบของที่นั่งทั้งสองข้างพร้อมกัน จนกระทั่งตัวรถเข็นกางออกจนสุด เบาะนั่งจะเรียบตึงพอดี และจับพนักพิงยกขึ้นให้เข้ากับสลักเม็ดมะยม (บางรุ่นจะสามารถพับเก็บพนักพิงได้ด้วย)
  2. การหุบพับเก็บรถเข็นวีลแชร์ Wheelchair ใช้มือทั้งสองพับเก็บที่พักรองเท้าปัดไปด้านข้างเป็นส่วนแรก และใช้มือจับผ้าในส่วนของเบาะรองนั่ง ตรงกึ่งกลางของขอบหลัง และยกเบาะขึ้น จะทำให้รถเข็นหุบเข้า (รถเข็นโครงสร้างเป็นลักษณะแกน X )
  3. การกระดกล้อเล็กของรถเข็น บริเวณใต้ที่นั่งทางด้านหลังของรถเข็นสูงจากพื้นขึ้นมาเล็กน้อย จะมีแกนเหล็กแท่งหนึ่งอยู่ข้างๆ ของล้อใหญ่ทางด้านในของล้อทั้งสองข้าง มีไว้สำหรับช่วยผ่อนแรง ในการกระดกล้อหน้าให้ยกขึ้นโดยการเหยียบปลายแกนเหล็กแท่งนี้ให้กดลง พร้อมกับการจับรถเข็นให้หงายขึ้นเล็กน้อย จะช่วยให้เข็นในพื้นที่ต่างระดับได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้แรงเยอะ
  4. การใช้เบรคคห้ามล้อของรถเข็นนั่งวีลแชร์ เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยตำแหน่งของเบรกห้ามล้อจะอยู่บริเวณด้านข้างของรถเข็นใกล้กับล้อหลัง ซึ่งจะมีอยู่ทั้ง 2 ข้างซ้ายขวา เพื่อป้องกันไม่ให้รถเข็นไหล ในจณะที่จอดอยู่นิ่งๆ
  5. การเข็นรถขึ้นทางต่างระดับหรือทางลาดชัน ให้เข็นเอาหน้าขึ้นได้เลย
  6. การเข็นรถลงทางต่างระดับหรือทางลาดชัน ให้เข็นลงโดยการถอยหลังลง เพื่อป้องกันหน้าของคนนั่งวีลแชร์คว่ำลงไป