ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous glucose monitoring (CGM) ที่เป็นเครื่องติดไว้บริเวณชั้นใต้ผิวหนังและวัดระดับน้ำตาลจากสารน้ำระหว่างเซลล์ จากนั้นจะส่งสัญญาณผ่านระบบบลูทูธเพื่อแสดงผลระดับน้ำตาลผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา โดยสามารถวัดได้ถึง 6720 – 7,140ครั้ง (ขึ้นกับรุ่นของเครื่องและแต่ละแบรนด์) อีกทั้งยังสามารถตั้งการแจ้งเตือน (alarm) ผ่านแอปพลิเคชันเมื่อมีน้ำตาลสูงหรือต่ำได้แม้ขณะนอนหลับ จึงมีกลุ่มคนไม่น้อยที่ที่ตั้งคำถามว่า ค่าน้ำตาลจาก CGM แม่นยำไหม? แล้วแม่นยำแค่ไหน สามารถช่วยเค้าให้การควบคุมน้ำตาลได้ดีขนาดนั้นเลยหรือไม่วันนนี้เรามีคำตอบ
คนกลุ่มไหนบ้างที่ควรติด CGM?
จริงแล้ว CGM สามารถติดได้ทุกคนไม่จำเป็นต้องติดผ่านแพทย์ เราสามารถติดเองได้เลยหรือให้ผู้เชียวชาญติดให้เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ด้วยตัว CGM เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสายรักสุขภาพที่กำลังนิยมกัน เพราะการติด CGM ช่วยวัดระดับน้ำตาลใต้ชั้นผิวหนังแต่เป็นการติดตามอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเป็นคุณหมอหรือตามโรงบาล มักจะแนะนำให้กลุ่มคนที่ป่วยใช้เนื่องจากค่อนข้างมีราคาเริ่มตั้งแต่ 8,000 – 10,00 บาท ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของโรงบาลนั้นๆด้วย ทั้งนี้จึงมีคลินิกหลายๆคลินิก หามาจำหน่าในราคาที่ถูกลงเพื่อให้กลุ่มคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นกลุ่มคนที่ติด CGM ส่วนใหญ่จะมีดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดแกว่งมาก ๆ ได้แก่ ช่วงที่น้ำตาลขึ้นสูงและช่วงที่น้ำตาลตก
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดยาอินซูลิน 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป
- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย โดยเฉพาะในรายที่ไม่มีอาการเตือน หน้ามืด หมดสติ
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) สูง แม้จะกินยาสม่ำเสมอ ควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว
- ผู้ป่วยเบาหวานที่อยากเรียนรู้ระดับน้ำตาลของตนเอง
ประโยชน์ของ CGM
เนื่องจาก CGM เป็นเครื่องวัดน้ำตาลที่ติดร่้างกายแบบต่อเนื่อง เครื่องจะประมวลผลเป็นระยะๆ เฉลี่ยทั่วไปจะอยู่ที่ทุก 3-5 นาทีแล้วแต่แบรนด์ โดยแบรนด์ที่ทางร้าน Elife จำหน่าย คือแบรนด์ Yuwell วัดผลทุกๆ 3 นาที เสมือนการเจาะปลายนิ้วทุก 3 นาทีเลยทีเดียว และมีค่า MARD ที่ <12% ถือว่าตรงนี้เป็นประโยชน์อย่างมากๆในการรักษาของผู้ป่วย พอจะแยกเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ประมาณ 3 ข้อ ดังนี้
1.ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเป้าหมาย เพราะจะทำให้เราทราบค่าน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้ตลอดเวลาเมื่อเทียบกับการให้ที่ตรวจน้ำตาลแบบเจาะปลายนิ้ว (BGM) ที่จะทราบค่าน้ำตาลเพียงขณะนั้นที่เจาะตรวจ หากไม่เจาะก็ไม่ทราบ เมื่อติด CGM ที่เทียบเท่าการเจาะปลายนิ้วทุก 3 นาที ก็จะสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่ใช้ปากกาอินซูลินควบคู่ไปด้วย
2.ทีมรักษาและผู้ป่วยปรับแผนการรักษาร่วมกัน เมื่อทราบค่าน้ำตาลรวมทั้งพฤติกรรมผู้ป่วยแล้ว ก็จะทำให้ทีมรักษาทำงานได้ง่ายขึ้นมากๆ ในการปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละท่าน และผู้ป่วยก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ชีวิตประจำวัน การทานยา ได้เหมาะสมขึ้น
3.ป้องกันภาวะแทรกซ้อน การใช้ CGM เพื่อดูพฤติกรรมน้ำตาลของผู้ป่วยนั้นมีประโยชน์มากๆ เนื่องจากระดับน้ำตาลนั้นสามารถบ่งชี้สัญญาณของอาการอื่นๆที่อาจะแทรกซ้อนได้จากการที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อาการแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะโคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่วนภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง เช่น ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต ระบบประสาท ปัญหาที่เท้าจากเบาหวาน รวมทั้งโรคที่มักพบร่วมกับเบาหวาน เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียของ CGM
ข้อดี
1.แสดงแนวโน้มของระดับน้ำตาลแบบ Real time
2.ทีมรักษามีข้อมูลครบถ้วน ช่วยปรับการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย
3.ใช้งานง่าย
4.ลดจำนวนการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว
5.เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
ข้อเสีย
1.ราคาสูง
2.ผู้ป่วยต้องศึกษาวิธีใช้งาน และให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นอย่างมาก
3.เซนเซอร์จะอยู่บนร่างกายตลอดเวลา
อนาคตของ CGM — Insulin Pump
ตอนนี้เริ่มการใช้ CGM ร่วมกับ Insulin Pump ทำให้การใช้ Insulin มีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก อัตโนมัติ โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง เครื่อง CGM จะแจ้งเตือน ให้ Insulin Pump ทำงานโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ยังไม่ผ่านการับรองในประเทศไทย CGM ในอนาคตมีแน้วโน้มจะมีขนาดเล็กลง และ มีค่า MARD น้อยลงเรื่อยๆ
ข่าวอีกส่วนหนึ่งคือ เครื่องวัดน้ำตาลแบบไม่ต้องติดตั้ง (non-invasive blood glucose monitoring) คือไม่ต้องเจาะเลือด ไม่ต้องติดตั้งเซนเซอร์เจาะใต้ผิวหนัง เป็นกระแสกันมานานหลายปีที่ผ่านมา เช่น ออกแบบให้เป็นแผ่น Sticker แปะผิวหนังวัดน้ำตาลจากเหงื่อ หรือ ออกแบบมาในรูป Smart Watch ที่ทาง Samsung และ Apple พยายามพัฒนา แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูล ความน่าเชื่อถือที่ใช้ทางการแพทย์ได้เท่ากับ CGM ท่านสามารถลอง Search ตาม Google และมีสินค้าบางตัวออกมาแล้ว แต่ค่าที่ได้มีความแตกต่างกับการตรวจโดย Lab ไม่สามารถหาค่า MARD ได้ แต่อาจจะมีผู้พัฒนาระบบนี้ในอนาคต เนื่องจากมีส่วนแบ่งทางการตลาดเบาหวานและการรักษามากกว่า 1พันล้านดอลล่า (CGM มีมูลค่าตลาดอยู่ 1พันล้านดอลล่าในปี 2022)
ปัจจุบัน CGM เป็นที่นิยมและสามารถใช้ทางการแพทย์ และยังไม่มี Technology ใหม่มาแทนที่ในเวลาอันใกล้ แต่เรายังหวังลึกๆ ให้การตรวจน้ำตาลง่ายขึ้นกว่านี้อีก เราจะมา Update กันต่อไป
@elifegearสำหรับสายสุขภาพทราบค่าน้ำตาลตัวเอง #ต้องลอง #สุขภาพดี #รักสุขภาพ #กินดีหุ่นดี
-
HotCGM
iCan i3 | CGM วัดน้ำตาลต่อเนื่อง 15วัน All-in-1 แทนการเจาะน้ำตาล 7,160ครั้ง
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
HotCGM
Anytime CT3 | CGM ตรวจน้ำตาลต่อเนื่อง 14วัน เพิ่มผู้ติดตามได้ Rechargeable Battery
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
CGM
CGM CT10 | ตรวจน้ำตาลอย่างแบบต่อเนื่อง10วัน Bluetooth ติดตั้งได้เอง
1,990฿ – 5,950฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
BGM
BGM | เครื่องตรวจน้ำตาล เบาหวาน แบบเจาะปลายนิ้ว Bluetooth
280฿ – 1,000฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page