fbpx

ผีอำ!! ต้องลองตรวจ Sleep Test

ผีอำ!! ต้องลองตรวจ Sleep Test

ผีอำ เป็นอาการที่หลายคนคุ้นเคย เกิดขึ้นในช่วงหลับหรือตื่น กดทับร่างกาย รู้สึกหายใจไม่ออก พูดหรือขยับตัวไม่ได้ จนสร้างความหวาดกลัว อาการนี้เกิดขึ้นได้จริง เกิดจากสาเหตุทางวิทยาศาสตร์หรือเป็นเพียงเรื่องเล่าสยองขวัญ ? บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจกัน

ผีอำ หรือ Sleep Paralysis คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มกล้ามเนื้อในร่างกายหยุดทำงานชั่วขณะ หรือหยุดทำงานบางส่วน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เกิดจากความผิดปกติระหว่างช่วงหลับกับตื่น ทำให้เกิดความไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดคุยได้ พร้อมกับความรู้สึกเหมือนมีน้ำหนักหนักบนร่างกาย โดยทั่วไปแล้วอาการผีอำเกิดขึ้นขณะที่คนนอนหลับหรือกำลังตื่นขึ้นมา แต่ไม่สามารถเคลื่อนตัวหรือพูดคุยได้ ทำให้เกิดความกลัวหรือความรู้สึกหวาดหวั่นได้ อาการนี้มักจะหายเองเมื่อร่างกายคืนควบคุมกลับมา  โดยร่างกายยังคงอยู่ในช่วงหลับฝัน (REM Sleep) แต่อาการทางสมองกลับตื่นตัว ระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อยังไม่ทำงาน ทำให้เกิดอาการ

สาเหหตุของการเกิดผีอำ
ภาวะสมองตื่น แต่ร่างกายยังหลับ ในช่วงหลับร่างกายจะเข้าสู่สภาวะ REM (Rapid Eye Movement) สมองจะทำงานคล้ายกับตอนตื่น แต่ระบบประสาทสั่งการให้ร่างกายอยู่นิ่งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการแสดงความฝัน  หากสมองตื่นเร็วกว่าร่างกาย จะเกิดอาการผีอำ รู้สึกตัว แต่ขยับร่างกายไม่ได้ ความเครียด นอนไม่พอ พักผ่อนน้อย ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ร่างกายและสมองทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดผีอำมากขึ้น  ยาและสารเสพติด  บางชนิดส่งผลต่อระบบประสาทและการนอนหลับ อาจกระตุ้นให้เกิดผีอำได้ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า ยาคลายเครียด ยานอนหลับ และสารเสพติดบางชนิด  นอนในท่านอนหงาย จากการศึกษาพบว่า การนอนหงายมีโอกาสเกิดผีอำมากกว่าท่านอนอื่นๆ

ลักษณะผีอำเป็นอย่างไร

อาการผีอำเป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการตื่นและการนอนหลับ ซึ่งบุคคลไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดได้ชั่วคราว และอาจมีอาการประสาทหลอนหรือรู้สึกถึงความผิดปกติที่กำลังจะเกิดขึ้น อาการผีอำแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. ขณะช่วงใกล้จะหลับ : การนอนหลับประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อคน ๆ หนึ่งกำลังหลับในช่วงที่เปลี่ยนจากการตื่นเป็นการนอนหลับ มีอาการคล้ายประสาทหลอนและไม่สามารถขยับหรือพูดได้
  2. ขณะช่วงใกล้จะตื่น : การนอนหลับประเภทนี้เกิดขึ้นขณะช่วงเปลี่ยนจากการนอนหลับไปสู่ความตื่น คล้ายกับอาการช่วงใกล้จะหลับ คือไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดได้

สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความกังวลใจและอาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับและความเป็นอยู่โดยรวมของบุคคล

รู้หรือไม่ อาการโดนผีอำอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ

ดังนั้นการตรวจ Sleep Test เป็นการตรวจวัดและวิเคราะห์การนอนหลับของผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือที่เฉพาะเจาะจง เพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ที่เป็นการตรวจแบบมาตฐานสากล ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น การนอนกรน นอนกัดฟัน นอนละเมอ ภาวะชักขณะหลับ การกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ นั่นเอง

โดย elife ก็มีบริการทำ Sleep test

เงื่อนไข

  • มัดจำเครื่อง 5,000บาท คืนเงินเต็มจำนวน เมื่อคืนเครื่องมือในเวลาที่กำหนด
  • บริการนี้เพื่อการ Sleep Test ต่อคนเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ร่วม โดยระบบจะบันทึการนอนคืนที่มากที่สุดเท่านั้น โดยจะลบคืนที่มีจำนวนการนอนน้อยกว่า
  • หากเกิด Fail Night เราเปิดโอกาสให้ท่าน Test ได้อีก 1ครั้งในคืนถัดไป แต่หากคืนที่1 ทำการนอนได้เกิน 4ชม.แล้ว และ Sensor ทำงานปกติ ไม่แนะนำให้ทำคืนที่สอง เพื่อป้องกันการซ้อนทับของข้อมูล
  • สามารถรับผล Digital (PDF ส่งทาง email, Line) หรือ/และแบบกระดาษ (รับได้ที่หน้าร้าน)
รายละเอียด ค่าใช้จ่าย หมายเหตุ
มัดจำเครื่องมือ (คืนเต็มจำนวน) มัดจำ 5,000บ. คืนเต็มจำนวนเมื่อคืนเครื่องมือ ตรงเวลา (สงวนสิทธิ์ปรับ เพื่อประโยชน์ให้เครื่องได้ใช้กับผู้อื่นในคิวต่อไป)
ค่าใช้จ่าย Sleep Test ค่าใช้จ่าย 3,990บ. หากเป็น Fail Night เปิดโอกาสให้ทำ Sleep Test ในคืนที่2 ได้
ส่วนลด ในการซื้อสินค้า ส่วนลด 3,990บ. สามารถนำค่าใช้จ่าย มาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าได้

คำถามที่พบบ่อย

Sleep Test มีกี่ระดับอะไรบ้าง?

Type 1 : ประเภทที่ 1 คือการทำ sleep test แบบทำที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีแพทย์เป็นผู้ดูแลและมี sleep tech เฝ้าตลอดทั้งคืน

  • คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
  • การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

Type 2 : ประเภทที่ 2 คือการทำ sleep test แบบที่ทำนอกโรงพยาบาล ไม่ต้องมี Sleep tech ไม่ต้องเฝ้าตลอดทั้งคืน เพียงมีเจ้าหน้าที่เข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ให้ อาจจะทำที่บ้านหรือคลินิกที่ร่วมกับโรงแรม แบบนี้จะดีที่คนไข้สามารถทำที่บ้านได้ (แล้วแต่คลินิก) ประหยัดค่าใช้จ่าย รอคิวน้อยกว่า

  • คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
  • การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

Type 3 : ประเภทที่ 3 คือการทำ sleep test แบบจำกัดข้อมูล ได้ข้อมูลไม่ครบเท่า Type 1 และ Type 2 แต่สำหรับคนที่ต้องการทราบอาการเบื้องต้น จะทำได้เลย รอคิวไม่นาน ประหยัดกว่า สำหรับคนที่ติดอุปกรณ์เยอะๆแล้วนอนไม่หลับ ตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดี

  • วัดชีพจร (Heartrate)
  • การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

Type 4 : ประเภทที่ 4 คือการทำ sleep test แบบวัดเฉพาะ O2 ในเลือด และลมหายใจขณะหลับ แบบนี้จะมีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด

  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

ข้อควรปฏิบัติในการทำ Sleep test?

  1. คนไข้ควรอาบน้ำ สระผม มาให้เรียบร้อยพก่อนติดอุปกรณ์
  2. คนไข้ควรทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนทำ sleep test (แต่หากต้องการเข้าห้องน้ำระหว่างคืนสามารถเข้าได้ปกติ)
  3. ห้ามคนไข้ดื่ม กาแฟอีน แอลกอฮอล์ หรือหากกินยาประจำตัวมาต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย
  4. ทำให้สภาพแวดล้อมเหมือนตอนนอนปกติที่สุด เพื่อให้ไม่กังวลจนเกินไป
  5. คนที่ทำเล็บเจล ต่อเล็บมา แนะนำให้ถอดออกหรือล้างออกก่อน เพราะะมีผลต่อการวัด O2 ในเลือด

แบบประเมินอื่นๆ

อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น