การนอนเป็นการพักผ่อนกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาตลอดวัน อิริยาบถต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ใช้กล้ามเนื้อเพื่อต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก การนอนจึงเป็นท่าที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารต่าง ๆ ที่ถูกใช้หมดไปกลับคืนมาเตรียมตัวที่จะเริ่มทำงานในวันใหม่ เมื่อตื่นนอน
ถึงแม้การนอนจะมีความสำคัญมาก แต่การนอนในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี นอนในสถานการณ์ที่ไม่ควรนอน หรือท่านอนที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของแต่ละบุคคลนั้น อาจทำให้เป็นโรคหรือผู้ที่เป็นโรคอยู่แล้วอาจทำให้สูญเสียชีวิตจากท่านอนที่ผิดได้
1.นอนในท่านั่ง
อุบัติเหตุทางรถยนต์หลาย ๆ รายเกิดจากการที่คนขับหลับใน ในเวลาที่นั่งขับรถอยู่ นอกจากนี้การนั่งหลับในรถเมล์จากสภาพจารจรที่ติดขัด หรือนั่งรถในเวลากลางคืน มักจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังอยู่ในสภาพต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก อาการที่พบบ่อยคือปวดคอ กระดูกคอเคลื่อนเมื่อรถหยุดกะทันหัน ปวดหลัง มือชา ขาชา มือบวม ขาบวม และปวดข้อเข่า ปวดหัว มึนศีรษะ เมารถ และมีบางรายหน้ามืด เป็นลมได้ เพราะนอกจากเลือดจะสูบฉีดขึ้นสมองไม่พอแล้วในบรรดารถปรับอากาศประจำทาง อากาศที่มาจากช่องลมไม่บริสุทธิ์ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมีปลอกคอค้ำไว้ หรือเอาผ้าพันคออย่างหนา เช่น ผ้าขนหนูพันรอบคอไว้ ซึ่งนอกจากจะช่วยไม่ให้คอตก และถูกกระชากเวลานอนหลับแล้วยังรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ ควรใส่ถุงน่องรัดขาไว้เพื่อให้เลือดคั่งที่ขาน้อยลง ในกรณีที่ปรับที่นั่งให้เอนลงได้ ควรยกขาขึ้นไม่ให้ห้อยลงตลอดเวลา ปัจจุบันเกือบเป็นปกติวิสัยที่คนเรามักเฝ้าดูโทรทัศน์จนหลับไปทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในท่านั่ง ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง และเจ็บก้นกบได้
2.นอนหงาย
ปกตินอนหงายเป็นท่านอนที่คนปกตินิยมนอน ข้อดีคือต้นคอจะอยู่ในแนวเดียวกับร่างกายถ้าไม่หนุนหมอน หรือใช้หมอนต่ำ แต่ถ้าใช้หมอนสูง 2-3 ใบ จะทำให้คอก้มมาข้างหน้าทำให้ปวดคอได้ ในท่านอนหงายกะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด ทำให้การหายใจค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับท่านั่ง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคปอด ซึ่งควรหลีกเลี่ยงได้โดยยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง โดยใช้หมอน 2-3 ใบวางรองด้านหลังไว้ หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น ผู้ที่ความดันสูงอาจหายใจลำบากในท่านอนหงาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การทำงานของหัวใจ จะลำบากในท่านอนหงายราบ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจขัด คนที่เป็นโรคหัวใจมักจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืน จึงหายใจสะดวกขึ้น สำหรับผู้ที่เกิดอาการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน การนอนหงายในท่าราบทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้ ควรให้พาดขาทั้งสองไว้บนเก้าอี้ที่ใช้หน้าโต๊ะเครื่องแป้งหรือวางพาดบนเตียงนอนขณะนอนหงายราบบนพื้นไม้ที่มีเสื่อปู
3.ท่านอนตะแคงซ้าย
เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรมีหมอนข้างให้กอดและพาดขาได้ ข้อเสียของการนอนตะแคงซ้าย คือทำให้หัวใจซึ่งอยู่ข้างซ้ายเต้นลำบาก ในรายที่มีโรคปอดข้างขวา ทำให้หายใจไม่สะดวก เนื่องจากปอดข้างซ้ายที่ปกติจะขยายตัวไม่ได้เต็มที่ อาหารในกระเพาะถ้ายังย่อยไม่หมดก่อนเข้านอนจะคั่งอยู่ในกระเพาะทำให้เกิดลมจุกเสียดที่กระดูกลิ้นปี่ได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งของกระเพาะข้างซ้ายที่ติดขัดอาจเจ็บปวดจากการนอนทับเป็นเวลานาน และถ้าหนุนหมอนต่ำเกินไป ในท่านี้จะทำให้ปวดต้นคอได้ เนื่องจากคอตกมาทางซ้าย ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยใช้หมอนสี่เหลี่ยมที่มีความสูงเท่าความกว้างของบ่าซ้าย ขาข้างซ้ายอาจรู้สึกชา ถ้าถูกทับเป็นเวลานาน
4.ท่านอนตะแคงขวา
เป็นท่าที่ดีที่สุด ถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่น ๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะ ถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ แต่ข้อเสียคือ อาจทำให้เจ็บ ปวดหัวไหล่ขวา ปวดคอถ้าใช้หมอนต่ำเกินไป หายใจไม่สะดวก ถ้าปอดข้างซ้ายมีปัญหา และขาข้างขวาถูกทับจนชาได้
5.ท่านอนคว่ำ
แต่ก่อนเคยเข้าใจว่าทารกควรให้นอนคว่ำรูปหัวจะทุยสวย ไม่แบน แต่ปัจจุบันพบว่าในประเทศยุโรป หรืออินเดีย ทารกมีโอกาสเสียชีวิต เนื่องจากหายใจไม่ออกจากการที่จมูกหรือปากถูกทับไว้ โดยเฉพาะถ้านอนคว่ำและดูดนมอยู่บนอกมารดา หรือพื้นเตียงอ่อนนิ่มเกินไป นอกจากนั้นยังพบว่าน้ำนมอาจขย้อนออกมาในท่านี้ เนื่องจากนอนทับถูกกระเพาะอาหาร และถูกดูดเข้าไปในปอดได้ สำหรับผู้ใหญ่ การนอนคว่ำทำให้หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะในสตรีที่มีเต้านมใหญ่ สำหรับผู้ชายการนอนคว่ำทำให้อวัยวะเพศถูกทับอยู่ตลอดเวลา อาจกระตุ้นให้เกิดอาการฝันเปียก หรือเกิดอาการชาของอวัยวะเพศ การนอนคว่ำยังทำให้ต้นคอ เกิดอาการปวดได้ เนื่องจากต้องเงยมาข้างหลัง หรือบิดหมุนไปข้างซ้าย หรือข้างขวานานเกินไป ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำ ควรหาหมอนรองใต้ท้องหรือใต้ทรวงอก โดยเฉพาะถ้าต้องการอ่านหนังสือในท่านอนคว่ำเพื่อไม่ให้เมื่อยคอ
6.นอนดิ้น
ที่จริงไม่ใช่ท่านอนใดท่านอนหนึ่ง คือ นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนคว่ำ สลับกันไปเช่นอย่างเด็ก ๆ ที่ชอบนอนกลิ้งตัว แต่หัวเตียงไปจนถึงปลายเตียง จนอาจตกเตียงไปเลย แต่ท่านอนดิ้นน่าจะเป็นท่านอนที่ดีสำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากปรับท่านอนไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลา ของการนอนหลับ เมื่ออายุสูงขึ้นการนอนดิ้นมักจะน้อยลง นอนหลับในท่าไหนมักจะตื่นขึ้นมาจากท่านั้นจึงทำให้เกิดอาการชาของแขนขาได้ หรือหายใจไม่สะดวก
การนอนเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ จึงเป็นวิธีนอนหลับที่ดี โดยทั่วไปคนเราจะนอนหลับคืนละประมาณ 3-4 รอบ ๆ ละ 2 ชั่วโมง คือนอนหลับไม่ฝันและฝันสลับกันไป ขณะที่เราฝันกล้ามเนื้อจะอ่อนปวกเปียก ทำให้หายใจลำบาก หรือเกิดภาวะผีอำ คือวางแขนกดทับอยู่บนทรวงอกจนหายใจขัด แต่ไม่สามารถยกแขนออก ดังนั้นถ้าทุกครั้งที่เรารู้สึกตัว เมื่อผ่านภาวะฝันไปแล้วในแต่ละรอบ เราควรจะเปลี่ยนท่านอนจากท่าเดิมเป็นอีกท่าหนึ่งที่สบายขึ้น ไม่ควรปล่อยให้แขนขาชาเนื่องจากถูกทับจนขาดเลือด หรือไม่ได้ขยับตลอดคืน
ดังนั้น สำหรับเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง จะเห็นได้ว่า ท่านอนสำหรับผู้ป่วยนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง หากผู้ป่วยติดเตียง นอนท่าเดิมซ้ำๆ จะทำให้เกิดแผลกดทับ จึงต้องมีเตียงสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ โดยทั่วไปแล้ว เราจะพบเห็นเตียงผู้ป่วยในลักษณะเหมือนของโรงพยาบาล ซึ่งบางครั้งคนปกติอย่างเรามองแล้ว ก็ยังรู้สึกว่าไม่อยากนอน ไม่อยากเป็นผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่มีลักษณะเดียวกันกับเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ให้อารมณ์และความรู้สึกว่าที่นอนน่านอน นอนอยู่ที่บ้านสบายๆ ไม่ใช่ผู้ป่วยทั่วไปตามโรงพยาบาล และยังเหมาะสำหรับการดูแลอิริยาบทท่านอน ของผู้ป่วยให้มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับ เพราะเตียงไฟฟ้า มีราวกั้นด้านข้าง สามารถนอนดิ้นตัว หรือจับตัวพลิกไป พลิกมาได้ สะดวกทั้งคนดูแล และคนใช้งาน
หากผู้สูงอายุที่ยังพอจะช่วยเหลือตัวเองในการลุกลงจากที่นอน ก็สามารถใช้รีโมทกดปรับลักษณะเตียงให้เป็นท่านั่ง และปรับระดับต่ำสุด เพื่อพร้อมที่จะลุกลงจากเองเตียงได้ ถือว่าเป็นการช่วยตัวเอง และได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วย
แต่..จะมีผู้ป่วยลักษณะพิเศษที่ต้องดูแลมากกว่าปกติ หรือต้องใช้เตียงลักษณะพิเศษ คือกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
ผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์ระยะเริ่มแรก จะเริ่มมีอาการแต่ไม่ชัดเจน ถ้าไม่สังเกตจะไม่ทราบว่าผิดปกติ อย่างไรก็ตามในระยะแรกที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ ผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วยการลืมสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ทำอะไรตามใจตนเอง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ระยะนี้ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือให้คงความสามารถที่มีอยู่ให้ได้
ระยะกลาง เมื่อมีอาการมากขึ้น จะค่อยๆ ลืมของที่เพิ่งเกิดขึ้น และต่อมาจะค่อยๆ ลืมของที่เกิดขึ้นในอดีต จนกระทั่งจำหน้าคนคุ้นเคยไม่ได้ กลับบ้านไม่ถูก หลงทาง เริ่มทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ ลืมว่าแปรงฟันหรือหวีผมทำอย่างไร ไม่ใส่ใจในเรื่องความสะอาดของร่างกาย จากเคยอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟันได้ แต่กลับทำไม่ได้ด้วยตนเอง บางครั้งพบว่า เข้าไปห้องน้ำนาน แต่กลับออกมาด้วยเสื้อผ้าชุดเดิม เพราะไม่รู้วิธีการอาบน้ำ หรือพบว่าผู้ป่วยตักน้ำในโถส้วมขึ้นมาเข้าปาก แต่งตัวไม่เป็น
เมื่อโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย จะเริ่มไม่พูด หรือพูดสั้นๆ ซ้ำๆ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย นอนติดเตียง ต้องมีคนคอยดูแลทุกเรื่องตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน การกิน อยู่หลับนอน การขับถ่าย การช่วยเหลือเรื่องการพลิกตะแคงตัว ภาวะแทรกซ้อนที่จะพบมากคือ มีปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร นอนติดเตียง ผอมลง ข้อยึดติด มีแผลกดทับ
ดังนั้นเรื่องอุปกรณ์ที่จะดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงสำคัญมากเพราะหากใช้เตียงผู้ป่วยที่มีลักษณะความสูงตามมาตรฐานทั่วไป อาจจะทำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ปีนป่าย หรือตกลงมาจากเตียงได้ ในขณะที่ผู้ดูแลไม่ได้อยู่ด้วยตลอดเวลา เพราะการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นเปรียบเหมือนการเริ่มต้นใหม่ เพราะต้องหัดใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหัดเดิน หัดนั่ง หัดนอน หรือหัดให้ทำกิจวัตรประจำวัน โดยเตียงไฟฟ้ารุ่น EB-77 เป็นรุ่นต่ำพิเศษติดพื้น ป้องกันการบาดเจ็บจากการตกเตียง ใช้กับผู้ป่วยที่ต้องการความปลอดภัยเป็นพิเศษ ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานเหมาะสำหรับในบ้าน โดยดีไซน์โดยใช้วัสดุเนื้อไม้กรุโครงโลหะทำให้ดูสวยงามเข้ากับการใช้งานที่บ้าน เพราะเป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน แต่จุดเด่นที่แตกต่างจากรุ่นอื่นก็คือ EB-77 สามารถปรับระดับได้ต่ำสุดถึงพื้น หรือเรียกได้ว่า Ultra lows จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้
สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะนี้จึงเป็นภาระที่หนักมากสำหรับญาติผู้ดูแลที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่เรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน การทำความสะอาดร่างกาย การเตรียมอาหารเหลว การให้อาหารผ่านทางสายให้อาหารทางจมูกหรือหน้าท้อง การพลิกตะแคงตัว เพื่อป้องกันแผลกดทับ การให้ออกซิเจน การดูแลแผลท่อเจาะคอ การดูดเสมหะ เป็นต้น ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะตลอดจนการดูแลตนเอง เพื่อมิให้รู้สึกท้อแท้ อ่อนล้า เศร้า สิ้นหวัง
สรุปได้ว่าการนอนหลับนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียง เราจึงต้องควรปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้มีสุขลักษณะร่างกายที่ดี เพราะคนเราจะมีความสุขก็ต่อเมื่อเราได้นอน อย่าให้การนอนของเราต้องเป็นปัญหาต่อร่างกายของเราเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20140815-1 / และข้อมูลจาก สสส.