คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับทางลาดชัน
ในปัจจุบันนี้ เราเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว จึงมีการใช้รถเข็นวีลล์แชร์ (Manual Wheelchair) และวีลล์แชร์ไฟฟ้า (Powered Wheelchair) กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มของผู้พิการทุพพลภาพ ผู้ป่วย หรือกลุ่มผู้สูงอายุ ก็มีการใช้กันอย่างมาก เนื่องจากด้วยสภาพร่างกายที่ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยนัก แต่ยังจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปไหนมาไหน จึงทำให้หลาย ๆ ท่าน เลือกที่จะใช้รถเข็นแมนนวล หรือรถเข็นไฟฟ้าเป็นเพื่อนคู่ใจ…ที่จำเป็น สำหรับการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ช่วยให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายมากขึ้น เพิ่มอิสระในการเดินทาง
ในส่วนของการเดินทางในแต่ละวัน สถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ หรือสถานที่ราชการ อาจจะต้องเจอสภาพถนนต่าง ๆ เช่นหินขรุขระ หรือราบเรียบปะปนกันไป แต่สิ่งหนึ่่งที่จะพบได้บ่อย ๆ ก็คือ ทางลาดชัน นั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นวีลล์แชร์ (Manual Wheelchair) หรือวีลล์แชร์ไฟฟ้า (Powered Wheelchair) แต่โดยปกติแล้ว รถเข็นวีลล์แชร์ (Manual Wheelchair) จะมีผู้อื่นที่คอยเข็นให้ซึ่งสามารถที่จะควบคุม (Control) รถเข็นได้ จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับรถเข็นวิลล์แชร์แมนนวลนั่นเอง
แต่มีหลายท่านที่อาจจะสงสัยว่าในกลุ่มของรถเข็นไฟฟ้า (Wheelchair) จะสามารถขึ้นทางลาดชันได้หรือไม่ ? จะก่อให้เกิดอันตรายได้หรือเปล่า ?
ลักษณะของทางลาดชันตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีกฎกระทรวงว่าด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๕๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๘ โดยระบุไว้ว่า
หมวด ๒
ทางลาดและลิฟต์
———————–
ทางลาดให้มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) พื้นผิวทางลาดต้องเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น
(๒) พื้นผิวของจุดต่อเนื่องระหว่างพื้นกับทางลาดต้องเรียบไม่สะดุด
(๓) ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า ๙๐๐ มิลลิเมตร ในกรณีที่ทางลาดมีความยาวของทุกช่วงรวมกันตั้งแต่ ๖,๐๐๐ มิลลิเมตร ขึ้นไป ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร
(๔) มีพื้นที่หน้าทางลาดเป็นที่ว่างยาวไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร
(๕) ทางลาดต้องมีความลาดชันไม่เกิน ๑:๑๒ (หรือ ๔.๘ องศา: admin) และมีความยาวช่วงละไม่เกิน ๖,๐๐๐ มิลลิเมตร ในกรณีที่ทางลาดยาวเกิน ๖,๐๐๐ มิลลิเมตร ต้องจัดให้มีชานพักยาวไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร คั่นระหว่างแต่ละช่วงของทางลาด
(๖) ทางลาดด้านที่ไม่มีผนังกั้นให้ยกขอบสูงจากพื้นผิวของทางลาดไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร และมีราวกันตก
(๗) ทางลาดที่มีความยาวตั้งแต่ ๒,๕๐๐ มิลลิเมตร ขึ้นไป ต้องมีราวจับทั้งสองด้านโดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) ทำด้วยวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับและไม่ลื่น
(ข) มีลักษณะกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๓๐ มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน ๔๐ มิลลิเมตร
(ค) สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๘๐๐ มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐๐ มิลลิเมตร
(ง) ราวจับด้านที่อยู่ติดผนังให้มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า ๑๒๐ มิลลิเมตร และผนังบริเวณราวจับต้องเป็นผนังเรียบ
(จ) ราวจับต้องยาวต่อเนื่อง และส่วนที่ยึดติดกับผนังจะต้องไม่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ของคนพิการทางการมองเห็น
(ฉ) ปลายของราวจับให้ยื่นเลยจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของทางลาดไม่น้อยกว่า ๓๐๐
มิลลิเมตร
(๘) มีป้ายแสดงทิศทาง ตำแหน่ง หรือหมายเลขชั้นของอาคารที่คนพิการทางการมองเห็น และคนชราสามารถทราบความหมายได้ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นและทางลงของทางลาดที่เชื่อมระหว่างชั้นของอาคาร
(๙) ให้มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการติดไว้ในบริเวณทางลาดที่จัดไว้ให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.bsa.or.th
ดังนั้น รถเข็นไฟฟ้า หรือวีลล์แชร์ไฟฟ้า (Powered Wheelchair) ที่กำลังมอเตอร์ 250 W* มีกำลังมากเกินพอ สามารถขึ้นทางลาดชันตามที่กฏหมายกำหนดได้อย่างปลอดภัย แต่ในกรณีที่สูงกว่านั้น ก็สามารถขับเคลื่อนขึ้นไปได้ แต่ทางร้านรถเข็น elife จะไม่แนะนำ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นอันตรายกับผู้ใช้งานได้