fbpx

เตียงไฟฟ้า ช่วยเรื่องการนอนกรนหรือไม่ ? แล้วถ้าไม่หายต้องทำยังไงน้าาา

เตียงไฟฟ้า ช่วยเรื่องการนอนกรนหรือไม่ ? แล้วถ้าไม่หายต้องทำยังไงน้าาา

เมื่อการนอนคือวิธีพักผ่อนดีที่สุด แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักพบว่าทุกครั้งที่ล้มตัวลงกลับไม่ได้สบายกาย สบายใจอย่างที่คิด เหตุผลสำคัญมาจากท่าทางในการนอนไม่เป็นไปตามความเหมาะสมของสรีระร่างกาย บางคนมีโรคประจำตัวทำให้ทุกครั้งที่นอนราบลงบนพื้นมักเกิดปัญหาตามมา เช่น หายใจไม่เต็มปอด, นอนกรน, หยุดหายใจขณะนอนหลับ ฯลฯ การใช้งานเตียงปรับระดับไฟฟ้าจึงมีส่วนสำคัญเพื่อลดปัญหาการนอนกรน ยิ่งใครอายุมากนี่ถือเป็นที่นอนสำหรับผู้สูงอายุที่ควรมีเอาไว้เลย

สาเหตุของการนอนกรนของผู้สูงอายุ

แม้คนทั่วไปวัยเด็กหรือหนุ่มสาวก็สามารถนอนกรนได้ แต่สำหรับผู้สูงอายุมักมีปัญหานี้เกิดขึ้นง่ายกว่า สาเหตุสำคัญมาจากเนื้อเยื่อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนยานไปตามวัย ส่งผลให้เกิดปัญหาช่องทางหายใจเข้า-ออกตีบแคบ และมีอาการนอนกรนนั่นเอง ซึ่งถ้าลองสังเกตให้มากขึ้นจะพบอีกว่าเสียงกรนของผู้สูงอายุมักเกิดขึ้นขณะหายใจเข้า แต่สำหรับใครที่เนื้อเยื่อหย่อนมากกว่าปกติก็จะได้ยินเสียงกรนขณะหายใจออกด้วยนั่นเอง

เตียงปรับระดับไฟฟ้ามีส่วนช่วยลดปัญหาการนอนกรนได้อย่างไร

มีงานวิจัยที่น่าสนใจจาก BMC ซึ่งได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่สู่สาธารณะได้ระบุเอาไว้ว่า หากทุกคนเลือกนอนเอียงตัวให้สูงขึ้นจากท่านอนราบปกติประมาณ 20 องศา รวมถึงการเลือกใช้ที่นอนที่มีคุณสมบัติการสั่นสะเทือนต่ำจะช่วยลดปัญหาการนอนกรนได้จริงอย่างมีนัยยะสำคัญ

แม้งานวิจัยนี้อาจไม่ได้เป็นการยืนยันแบบเต็มร้อย แต่ระดับความน่าเชื่อถือก็อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ ด้วยเหตุนี้อาจสรุปเบื้องต้นว่า การใช้เตียงปรับระดับไฟฟ้าก็มีส่วนให้การนอนกรนลดลง ยิ่งถ้าเลือกที่นอนสำหรับผู้สูงอายุที่มีนวัตกรรมด้านลดการสะสมของไรฝุ่น แบคทีเรียต่าง ๆ อันเป็นผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจด้วยแล้ว ทุกค่ำคืนก็สามารถหลับได้สนิท ซึ่งไม่ใช่แค่การส่งผลดีต่อสุขภาพของตนเอง แต่ยังหมายถึงคนรอบข้างด้วย

@elifegear #เกล็ดความรู้ #แชร์ข่าวเล่าเรื่อง #รู้ทันโรค #ความรู้ #ข่าวtiktok #แบ่งปันความรู้ ♬ เสียงต้นฉบับ – elifegear

เตียงปรับระดับไฟฟ้า Cozy3 เตียงเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของทุกคน ราคาจับต้องได้

การนอนกรนนับเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะเอาเข้าจริงไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้น หากคุณยังอายุน้อยแต่มีปัญหานี้ในระหว่างหลับอาจบ่งบอกว่าสุขภาพของตนเองกำลังมีปัญหา ความน่ากลัวยิ่งกว่าคือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งมีโอกาสนำไปสู่การเสียชีวิตได้เลย การเลือกเปลี่ยนที่นอนแบบเดิม ๆ มาเป็น “เตียงปรับระดับไฟฟ้า” จึงนับว่าตอบโจทย์ ไม่ใช่แค่นอนสบายขึ้น แต่สุขภาพก็ดีตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณสมบัติของเตียงนอนรุ่นนี้จะเป็นอย่างไร มีรายละเอียดมาฝากทุกคนแล้ว

  • โหมด Zero Gravity อีกระดับของการนอนเพื่อสุขภาพที่ดี เตียงปรับระดับไฟฟ้ารุ่นนี้สามารถจัดท่าทางด้วยการให้ขาอยู่สูงกว่าหัวใจ ซึ่งมีการวิจัยระบุว่าช่วยลดแรงกดทับของร่างกายที่ลงไปตรงระดูกสันหลัง ส่งผลถึงระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้นตามไปด้วย
  • โหมด Anti Snore ถือเป็นโหมดเด็ดที่จะช่วยลดปัญหาการนอนกรนได้อย่างดี เพราะจะช่วยปรับระดับศีรษะของผู้นอนให้สูงขึ้นกว่าเดิม 12-20 องศา การทำงานของระบบทางเดินหายใจส่วนบนจะดีขึ้น หายใจสะดวก ลดการนอนกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โหมด Memory Position จะช่วยจดจำระดับการปรับเตียงในท่าที่คุณเลือกไว้ให้อยู่คงเดิมแม้จะลุกออกและเข้าสู่โหมดปกติแล้ว จึงเหมาะมากสำหรับการเป็นที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ

จากโหมดต่าง ๆ ของ เตียงปรับระดับไฟฟ้าเพื่อสุขภาพ Cozy3 จะพบว่านี่คือทางเลือกสำหรับสุขภาพของทุกคน ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุ หรือลูกหลานที่อยากมอบสิ่งดี ๆ ให้กับคนที่คุณรัก ไม่อยากให้มองข้ามเด็ดขาด และเมื่อพูดถึงด้านราคาขอบอกว่านี่คือเตียงนอนที่คุ้มค่า ราคาจับต้องได้ง่ายดายมาก มีเงินเพียง 20,000 บาทเศษ ก็เป็นเจ้าของเตียงไว้ให้นอนพักผ่อนกันอย่างสบายอุรา


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากผู้สูงอายุ หรือตัวคุณเองลองใช้เตียงไฟฟ้าเพื่อลดอาการนอนกรนแล้วยังไม่หาย อาจจะต้องมองไปถึงเรื่องโรคที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว นั่นก็คือ โรคหยุดหายใจในขณะนอนหลับ  อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้เลย ดังนั้นเมื่อหากแก้จากอุปกรณ์เตียงไฟฟ้าแล้วยังเกิดอาการนอนกรนอยู่ อาจจะต้องปรึกษาแพทย์หรือพบหมอ เพื่อทำการตรวจ Sleep Test ตรวจการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ว่าในคืนหนึ่งๆ แล้วเราหยุดหายใจไปกี่ครั้ง สมควรที่จะแก้ไขด้วยการผ่าตัด หรือ ใช้เครื่อง Cpap เพื่อรักษาอาการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ

เลือก Cpap รุ่นไหนดี ?
ภาวะการอุดกลั้นทางเดินหายใจ

คำศัพท์เบื้องต้น อาการหยุดหายใจ OSA นอนกรน ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ

  • OSA – Obstructive Sleep Apnea คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกัน/ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาษาง่ายๆคือ มีการตีบตัน-บังของทางเดินหายใจ เช่น โคนลิ้นหรือกล้ามเนื้อช่องคอหย่อน ปิดทางเดินหายใจ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากเกิดจากความอ้วน และ อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนปิดกั้นทำให้อากาศไหลไปสู่ปอดได้น้อยลง-หยุดหายใจ โดยมากจะมีอาการนอนกรนร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นอันตรายอย่างมากในระยะสั้นทำให้รู้สึกไม่สดชื่นเพราะขณะหลับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เพลีย อารมณ์แปรปรวน ระยะยาวนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับสมอง ชาวบ้านอาจมีคำศัพท์ว่า “ไหลตาย” มีความเกี่ยวเนื่องกับ OSA
  • AHI – Apnea Hyponea Index คือ ดัชนีใช้ในการวัดการหยุดหายใจ (AI – Apnea Index) และ หายใจแผ่ว (HI – Hyponea) โดยค่านี้เป็นการวัดระดับความรุนแรงของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ OSA โดยค่านี้จะเป็นหน่วยเป็น ครั้ง/ชม. เช่น ตัวผู้เขียนเองก่อนรักษามีค่า AHI = 41 หมายความว่า ตอนนอนมีการหยุดหายใจ/หายใจแผ่ว 41ครั้ง/ชม. ซึ่งค่านี้ถือว่าอันตรายต้องรีบรักษา
    • AHI < 5 ปกติ คนทั่วไปอาจเกิดอาการหายใจได้แต่ไม่ควรเกิน 5ครั้ง/ชม.
    • 5≤AHI<15 ภาวะหยุดหายต่ำ อาจจะปรับท่านอน ออกกำลัง ลดน้ำหนัก
    • 15≤AHI<30 ภาวะหยุดหายกลาง ควรเริ่มรักษา ควบคู่กับการควบคุมน้ำหนัก ใช้งาน CPAP
    • AHI≥30 ภาวะหยุดหายใจรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษา เป็นระดับอันตรายกับร่างกายทั้งระยะสั้นและยาว รักษาด้วย CPAP, เครื่องทางทันตกรรม, ผ่าตัด ตามคำแนะนำแพทย์
  • SPO– ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด %ออกซิเจนในเลือด โดยค่านี้แปรผันกับค่า AHI ผู้ที่มี AHI สูงมีการหยุดหายใจสูงค่าออกซิเจนจะลดลงต่ำขณะหลับ ตย. ผู้เขียนก่อนมีการรักษามีค่า SPOอยู่ที่ 86% จากปกติตอนตื่นมีค่าอยู่ประมาณ 97% จะเห็นว่าอาการหยุดหายใจขณะหลับมีอันตรายกว่าที่คิดมาก

CPAP ทำงานอย่างไง? รักษานอนกรน หยุดหายใจ OSA?

CPAP เป็นเครื่องสร้างแรงดันอากาศเพื่อเปิดทางเดินหายใจที่ถูกปิดกั้นอยู่ ให้อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้

  1. CPAP สร้างแรงดันต่อเนื่อง ส่งอากาศเข้าสู่หน้ากาก
  2. ร่างกายหายใจเข้า จากปกติที่มีภาวะ OSA แรงดันจะช่วยเปิดทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างขึ้น
  3. Inhale อากาศสามารถไหลเข้าสู่ปอด ปอดได้รับออกซิเจน นำไปสู่กระบวนการเติมออกซิเจนเข้าเลือด และ เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาเมื่อหายใจออก
  4. Exhale ปอดดันอากาศที่มี COออกมาที่หน้ากาก หน้ากากที่รูพรุนให้ Exhale ระบายออกที่จุดนี้
  5. ดำเนินการในส่วนที่ 1-4 ตามลำดับต่อไปเรื่อยๆ

CPAP ช่วยรักษาอาการ OSA หยุดหายใจขณะหลับโดยตรง และมีผลทางอ้อมคือ รักษาอาการนอนกรน, อาการอ่อนเพลียง่วงระหว่างวัน เนื่องจาก Oxygen ต่ำขณะหลับ รักษาร่างกายในระยะยาว เช่น ความดันสูง, เบาหวาน โรคทางประสาทสมอง นอกจากการรักษาอาการ OSA ด้วย CPAP แล้วยังมีทางเลือกอื่น เช่น การลดน้ำหนัก, การใช้เครื่องมือทางทันตกรรมใส่ตอนนอน, การผ่าตัดเล็ก (เนื้อเยื้อกระดูกอ่อน) ผ่าตัดใหญ่ (กราม) เป็นต้น

ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ การทำ Sleeptest เพื่อระบุถึงปัญหาต่อไป