การปรับตัวในช่วง COVID-19 อย่างหนึ่งคือการให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ และการรักษาระยะห่างทางสังคม โดยการใช้ระบบออนไลน์ในการเรียนและการประชุม ทำให้หลายคนเกิดปัญหาเรื่องตาขึ้น โดยเฉพาะการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มากจนเกินไป ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าทางสายตา หรือที่เรียกว่า eye strain บางคนเรียกจำเพาะว่ากลุ่มอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ (computer vision syndrome) อาการที่พบบ่อย อาการตาแห้ง ตาล้า ตาพร่ามัว น้ำตาไหลบ่อย ๆ หรือปวดศีรษะ โดยเฉพาะรอบกระบอกตา
Tag: โรคในผู้สูงอายุ
โรคกระดูกพรุน ภัยใกล้ตัวผู้สูงอายุ
ปัจจุบันโรคกระดูกพรุน กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นภัยใกล้ตัวที่ผู้สูงอายุมองข้ามเนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใดๆ จนกระทั่งล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” สาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลง (มากกว่า 3 ซม.) เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบางและยุบตัวลงช้าๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้มหรือยกของหนัก โรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง
การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
ภาวะการหกล้มก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตราย และพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกและบางส่วนต้องใช้รถเข็นไปตลอด ส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองและต้องมีคนดูแลตลอดเวลา มีภาวะสับสน มีปัญหาการเคลื่อนไหวทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตาม การหกล้มมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 2 ประการ คือ สาเหตุที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจากการที่มีพยาธิสภาพจากอายุที่เพิ่มขึ้น เช่น
โรคหลอดเลือดสมองภัยผู้สูงอายุ
โรคหลอดเลือดสมองภัยผู้สูงอายุ Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ Ischemic Stroke เป็น “ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน” หรือ “ภาวะสมองขาดเลือด” พบได้ประมาณ 80%
ไวรัสโคโรน่า
การระบาดของ “ไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019” เป็นไวรัสตัวใหม่ที่ถูกเรียกในชื่อ ‘2019-nCoV’ หรือ โรคทางเดินหายใจร้ายแรง ที่เกิดจากไวรัสโคโรน่า ข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่านงูเห่ามาติดเชื้อในคน ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ เริ่มระบาดในประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น กลุ่มเสี่ยงโรคปอดอักเสบติดเชื้อ: บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจโรคปอด
ประโยชน์ของการนั่งตัวตรง 90 องศา
ประโยชน์ของการนั่งตัวตรง 90 องศา ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย คือ การนั่งตัวตรง สะโพกและหลังอยู่ชิดกับพนักหลังของเก้าอี้ เชิงกรานทั้ง 2 ข้าง ไหล่ทั้ง 2 ข้างเสมอกัน วางบนพนักที่วางแขนหรือบนหมอน สำหรับในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีแขนข้างหนึ่งอ่อนแรง ควรที่จะต้องได้รับการจัดท่าแขนข้างอ่อนแรงเป็นพิเศษเพราะนอกจากอ่อนแรงยังมีปัญหากล้างเนื้อเกร็งตัว ดังนั้น ต้องหาหมอนมารองแล้วให้แขนอยู่ในวางคว่ำราบ งอศอก แขนไม่บิดหมุน ให้ผู้ป่วยหมั่นใช้มือข้างปกติคอยจับนิ้วมือข้างอัมพาตให้เหยียดออกวางคว่ำราบ หรืออาจจะใช้มือประสานกันเพื่อลดอาการเกร็งของมือข้างอัมพาต ประโยชน์ของการนั่งตัวตรงในผู้ป่วยที่ใช้รถเข็นสุขภาพ: เมื่อนั่งตัวตรง
เข้าใจวัยรุ่นยุค1950’s
ภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปพบได้มากถึง 10 – 20 พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และยิ่งมีอายุมาก ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบุตรหลานควรทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุ ว่าท่านต้องการอะไร หรือท่านมีภาวะด้านอารมณ์ ด้านกายภาพ ด้านใดบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าปล่อยปะละเลยอาจเกิดผลร้ายแรงตามมาได้ ภาวะอารมณ์เศร้า หรือโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression) เป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดในผู้สูงวัย ช่วงอายุ
ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน
สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจมาจากโรควิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน และสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว หรือตีบตัน ดังนั้น ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จึงควรตรวจสุขภาพประจำทุกปี เพื่อติดตามประเมินภาวะสุขภาพ ซึ่งหากพบมีผิดปกติจะได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด หรือรับคำแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไป นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ตำแหน่งปัจจุบัน) ให้ข้อมูลว่า ในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นปัจจัยหลักของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ทำได้โดยรับประทานอาหารสุขภาพ เช่น ผัก
หกล้ม ในผู้สูงวัย เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ชวนใส่ใจ “ผู้สูงอายุ” ญาติผู้ใหญ่ในบ้าน ที่เราควรใส่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยเฉพาะ >> บ้าน << สถานที่ ที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด อาจร้ายที่สุดก็ได้ ปัญหาที่เรามักพบบ่อยใน ผู้สูงอายุ จะเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุพลัดตก หกล้มเป็นส่วนมาก คือกระดูกสะโพกหัก และศรีษะได้รับความกระทบกระเทือน เป็นสาเหตุที่ทำให้พิการ
โรคผู้สูงอายุ
สังคมไทยทุกวันนี้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น หันไปทางไหนก็มีแต่ผู้สูงอายุเต็มไปหมด (ซึ่งเราก็จะเป็นผู้สูงอายุในวันข้างหน้าเหมือนกัน) การใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่สะดวกสบายเหมือนเดิม อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ ที่เสื่อมโทรมไปตามวัย บ้างก็ประสบปัญหาปวดเข่า หูตาฝ้าฟาง เป็นต้น ในขณะที่พื้นที่สาธารณะหลายๆแห่ง ที่รวมถึงหลากหลายครอบครัว ก็เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ อย่างหนึ่งที่เริ่มทำกันคือ การมองหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้เอื้อกับผู้สูงอายุได้ใช้ และได้เข้าถึง เช่น การมีลิฟท์สำหรับการใช้รถไฟฟ้า นอกเหนือจากบันไดเลื่อน การมีห้องน้ำเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งการเลือกหา รถเข็นนั่งวิลล์แชร์ และวิลล์แชร์ไฟฟ้า
แผลกดทับคืออะไร ??
แผลกดทับ (pressure sores) แผลกดทับ คือบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อที่เกิดความเสียหาย สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแต่ ส่งผลกระทบเป็นระยะเวลานานหลายเดือนและอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ สาเหตุของแผลกดทับ สาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทบัมี 3 ประการ ดังนี้ แรงกดทับ (pressure): แผลกดทับอาจเกิดจากแรงกดทับบนผิวหนังจากการนั่ง หรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ผู้ใช้รถนั่งคนพิการเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเนื่องจากใช้เวลานั่งบนรถนั่งคนพิการแต่ ละวันเป็นเวลานาน หากไม่มีการลดแรงกดทับ แผลกดทับจะเกิดขึ้นง่ายมาก การเสียดสี (friction):
ที่มาของของ”ยาหม่อง”
แหล่งที่มา เว็บไซต์เด็กดี ยาหม่องถือกำเนิดในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากเป็นเมืองหนาว คนก็จะเป็นหวัด คัดจมูกกันมาก เพราะอากาศ มันมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ เขาก็จะใช้น้ำมันที่เรียกว่าเมนทอลาทัมทาบรรเทา อาการเป็นหวัด คัดจมูก ต่อมาก็มีการนำเอาเมนทอลาทัม มาผสมกับสมุนไพรต่างๆเพื่อเพิ่มกลิ่นและรสให้ร้อนแรงมากยิ่ง ขึ้น และส่งมาขายทางประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย เมื่อเข้ามาในประเทศไทยก็เป็นที่แพร่หลาย ซึ่งยี่ห้อแรกๆที่เข้ามาขายประเทศไทย ก็คือยาหม่องตราเสือ หรือที่ฝรั่งเขาเรียกว่า TIGER PLAM ส่วนเหตุที่เรียกว่ายาหม่องนั้น มี
อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่คุณรัก
แหล่งที่มา ข้อมูลจาก ชุลีพร สวาสดิ์ญาติ โรงพญาบาลพญาไท อาหารสำหรับผู้สูงอายุ อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนที่จะบริโภคในประจำวันในด้านโภชนาจำแนกได้ว่าเป็น 5หมู่ หมู่ที่1 เนื้อ นม ไข่ เป็นสารอาหารสำคัญ คือ โปรตีน ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย หมู่ที่2 ข้าว แป้ง และน้ำตาล รวมทั้งเผือกมัน เป็นสารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดต
ทำอย่างไรไม่ให้แก่
สำหรับคนไม่อยากแก่ วันนี้ Elife มีเคล็ดลับดีๆมาแบ่งปันกัน จากรายการ ดูให้รู้ วันที่ 10 มกราคม 2559 วันนี้เราจะอยากจะแนะนำวิธีทำให้คุณกลายเป็นสาวพันปีได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์ท่านหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นคิดค้นได้แบบที่ยังไม่มีใครทำได้มาก่อน อาจารย์ที่คิดค้นท่านนี้คือ อาจารย์ โชอิจิ ยามางีชิ มหาวิทยาลัย ฟุคุรุเมะ ประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่ท่านคิดค้นได้ ไม่ใช่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ท่านสามารถดึงเอาสารที่จะทำให้เราแก่ ออกจากร่างกายได้ด้วย อาจารย์ท่านนี้ค้นพบสารเคมีชนิดหนึ่งในร่างกายมนุษย์ที่จะทำให้คนเราดูแก่ชราลง
ผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบิน
ผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบินอาจเป็นเรื่องน่ากังวล แต่หากเตรียมตัวให้ดีล่วงหน้าก่อนการเดินทางก็จะทำให้สามารถพาผู้สูงอายุไปเที่ยวได้อย่างสนุกสนานราบรื่น มีความสุขกันทั้งครอบครัวอย่างแน่นอนค่ะ Admin Elifegear ได้ไปอ่านเจอบทความดีๆโดย นพ.มานพ จิตต์จรัส (Haamor.com) จึงอยากจะนำมาแบ่งปันให้ได้อ่านกันด้านล่างนี้เลยค่ะ ผู้สูงอายุต้องวางแผนการเดินทางและเตรียมตัวเดินทางอย่างรอบคอบแต่เนิ่นๆ โดยเริ่มตั้งแต่ออกจากที่พักให้เร็วกว่าปกติ เดินทางไปสนามบินให้มีเวลามากพอก่อนเวลาเที่ยวบิน เพื่อเตรียมตัวด้านเอกสารและอื่นๆให้เรียบร้อย จนถึงสถานที่จะขึ้นเครื่องบิน ยา เวชภัณฑ์ ของใช้ที่จำเป็นมีพร้อมอยู่ในกระเป๋าเดินทางติดตัว โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหืด โรคเบาหวาน (ยารับ ประทาน, ยาฉีด) โรคความดันโลหิตสูง เครื่องชาร์ตแบตเตอรีสำหรับเครื่องมือแพทย์ การเตรียมตัวรับสภาพอากาศสถานที่ปลายทางที่อาจร้อนจัด หนาวจัด และ/หรือมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค (ปรึกษาแพทย์ก่อนออกเดินทาง
3 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน
คัดย่อจากบทความ ‘ผู้สูงอายุ อยู่อย่างไรไกลโรค‘ เขียนโดย นพ.สมบูรณ์ อินทลาภาพร โรคหลายโรคในผู้สูงอายุสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงลงได้หากรู้จักวิธีดูแลอย่างถูกต้อง ตัวอย่างโรคที่พบบ่อยมีดังนี้ 1. โรคข้อเสื่อม อาการ มีการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อ โดยถูกทำลายแบบค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดที่ตำแหน่งข้อ มักเป็นหลังจากใช้ข้อมากกว่าปกติ มักบวมที่ข้อไม่มาก ข้ออุ่นกว่าปกติเล็กน้อย เมื่อพักข้ออาการปวดจะลดลงหรือหายไป เมื่อใช้งานก็กลับมาปวดใหม่ อาการจะเป็นๆ หายๆ ขึ้นกับการใช้งานข้อ ข้อฝืด เป็นหลังจากพักข้อ หรือหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน