สิ่งแวดล้อมทางกายภาพภายในบ้าน ในการทำบ้านให้ปลอดภัยกับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ เราต้องเข้าใจ และคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการเกิดอันตรายภายใน และรอบ ๆ บ้านเสียก่อน จากการศึกษาโดยผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์เองแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมที่มักจะเกิดปัญหาในการเข้าถึงมักจะเป็นพื้นที่ดังต่อไปนี้ • ในพื้นที่ส่วนตัว เช่นการขึ้น หรือลงจากเตียง การทำความสะอาด หรือการสวมเสื้อผ้า • การเตรียมอาหาร และรับประทานอาหาร • การเอื้อม หรือก้มเพื่อเปิดตู้ ชั้นวางของ หรือการตากผ้า • ความลำบากที่เกิดจากการสูญเสียความรู้สึก •
Tag: ผู้สูงอายุหกล้ม
โรคกระดูกพรุน ภัยใกล้ตัวผู้สูงอายุ
ปัจจุบันโรคกระดูกพรุน กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นภัยใกล้ตัวที่ผู้สูงอายุมองข้ามเนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใดๆ จนกระทั่งล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” สาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลง (มากกว่า 3 ซม.) เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบางและยุบตัวลงช้าๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้มหรือยกของหนัก โรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง
สิทธิและสวัสดิการดีๆ ของรุ่นใหญ่ที่คุณอาจไม่เคยรู้
รุ่นใหญ่หลายท่าน คงรู้จักเบี้ยยังชีพหรือเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุกันเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ ตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ 2546 แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าจริง ๆ แล้วผู้สูงอายุยังมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย ส่วนจะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ 1. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตามโรงพยาบาลของรัฐจะมีบริการให้ความสะดวกและรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ โดยจัดให้มีช่องทางเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาแยกจากผู้ใช้บริการทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สอบถามได้ที่ 02-590-6225
การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
ภาวะการหกล้มก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตราย และพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกและบางส่วนต้องใช้รถเข็นไปตลอด ส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองและต้องมีคนดูแลตลอดเวลา มีภาวะสับสน มีปัญหาการเคลื่อนไหวทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตาม การหกล้มมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 2 ประการ คือ สาเหตุที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจากการที่มีพยาธิสภาพจากอายุที่เพิ่มขึ้น เช่น
โรคหลอดเลือดสมองภัยผู้สูงอายุ
โรคหลอดเลือดสมองภัยผู้สูงอายุ Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ Ischemic Stroke เป็น “ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน” หรือ “ภาวะสมองขาดเลือด” พบได้ประมาณ 80%
หกล้ม ในผู้สูงวัย เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ชวนใส่ใจ “ผู้สูงอายุ” ญาติผู้ใหญ่ในบ้าน ที่เราควรใส่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยเฉพาะ >> บ้าน << สถานที่ ที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด อาจร้ายที่สุดก็ได้ ปัญหาที่เรามักพบบ่อยใน ผู้สูงอายุ จะเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุพลัดตก หกล้มเป็นส่วนมาก คือกระดูกสะโพกหัก และศรีษะได้รับความกระทบกระเทือน เป็นสาเหตุที่ทำให้พิการ
แผลกดทับคืออะไร ??
แผลกดทับ (pressure sores) แผลกดทับ คือบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อที่เกิดความเสียหาย สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแต่ ส่งผลกระทบเป็นระยะเวลานานหลายเดือนและอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ สาเหตุของแผลกดทับ สาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทบัมี 3 ประการ ดังนี้ แรงกดทับ (pressure): แผลกดทับอาจเกิดจากแรงกดทับบนผิวหนังจากการนั่ง หรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ผู้ใช้รถนั่งคนพิการเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเนื่องจากใช้เวลานั่งบนรถนั่งคนพิการแต่ ละวันเป็นเวลานาน หากไม่มีการลดแรงกดทับ แผลกดทับจะเกิดขึ้นง่ายมาก การเสียดสี (friction):
ที่มาของของ”ยาหม่อง”
แหล่งที่มา เว็บไซต์เด็กดี ยาหม่องถือกำเนิดในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากเป็นเมืองหนาว คนก็จะเป็นหวัด คัดจมูกกันมาก เพราะอากาศ มันมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ เขาก็จะใช้น้ำมันที่เรียกว่าเมนทอลาทัมทาบรรเทา อาการเป็นหวัด คัดจมูก ต่อมาก็มีการนำเอาเมนทอลาทัม มาผสมกับสมุนไพรต่างๆเพื่อเพิ่มกลิ่นและรสให้ร้อนแรงมากยิ่ง ขึ้น และส่งมาขายทางประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย เมื่อเข้ามาในประเทศไทยก็เป็นที่แพร่หลาย ซึ่งยี่ห้อแรกๆที่เข้ามาขายประเทศไทย ก็คือยาหม่องตราเสือ หรือที่ฝรั่งเขาเรียกว่า TIGER PLAM ส่วนเหตุที่เรียกว่ายาหม่องนั้น มี
3 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน
คัดย่อจากบทความ ‘ผู้สูงอายุ อยู่อย่างไรไกลโรค‘ เขียนโดย นพ.สมบูรณ์ อินทลาภาพร โรคหลายโรคในผู้สูงอายุสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงลงได้หากรู้จักวิธีดูแลอย่างถูกต้อง ตัวอย่างโรคที่พบบ่อยมีดังนี้ 1. โรคข้อเสื่อม อาการ มีการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อ โดยถูกทำลายแบบค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดที่ตำแหน่งข้อ มักเป็นหลังจากใช้ข้อมากกว่าปกติ มักบวมที่ข้อไม่มาก ข้ออุ่นกว่าปกติเล็กน้อย เมื่อพักข้ออาการปวดจะลดลงหรือหายไป เมื่อใช้งานก็กลับมาปวดใหม่ อาการจะเป็นๆ หายๆ ขึ้นกับการใช้งานข้อ ข้อฝืด เป็นหลังจากพักข้อ หรือหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน