ผู้สูงอายุมักจะปฏิเสธการใช้รถเข็นวีลแชร์ และอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนที่สาเหตุมาจาก หลายๆ คนคงสงสัยว่าทำไม ?? เวลาอยากจะซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ มักจะถูกปฏิเสธอยู่บ่อยครั้ง ทั้งๆ ที่สภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ก็เคลื่อนไหวได้ช้าลง เป็นปัญหาอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งเป็นปัญหาสำหรับผู้ดูแล เคยเจอกับตัวหรือไม่ว่า เมื่อเราพูดคุยกับผู้สูงอายุและตัดสินใจแล้วว่าจะซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ ผู้สูงอายุกับบอกว่าไม่อยากใช้ สาเหตุโดยรวมส่วนใหญ่ก็คือ ซื้อแล้วเปลืองเงิน หรืออีกเหตุผลคือไม่อยากใช้งาน เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ป่วย หรือผู้พิการทุพพลภาพ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นเราควรอธิบายทำความเข้าใจให้กับพวกท่านเหล่านั้นว่า จริงๆ แล้วอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นผู้ป่วย
Tag: [EB-77]
เตียงไฟฟ้า ติดพื้นรุ่นพิเศษ ป้องกันการตกเตียง ตัวเบาะติดพื้น 5ไกร์ ชันเข่า ตัวเอียงศีรษะ ปรับราบ ยกตัวเตียงขึ้นสูงต่ำ ปรับเตียงเอียงด้านหน้า-หลัง ทำงานด้วยระบบมอเตอร์ ปรับรีโมต
เตียงไฟฟ้าปรับระดับ ไม่ป่วยใช้ได้ไหม? จะเป็นลางหรือเปล่า?
เตียงปรับระดับไฟฟ้า ไม่ป่วยใช้ได้ไหม? จะเป็นลางหรือเปล่า? “ไม่ป่วยห้ามนั่งนะ!” “ไม่ได้เป็นห้ามใช้นะ!” “มันเป็นลางไม่ดี ว่าจะได้ใช้ในอนาคต” คนไทยหลายคนจะต้องเคยได้ยินประโยคแบบนี้มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เวลาที่เราไปเยี่ยมคุณตาคุณยายแล้วลองหยิบไม้เท้ามาเล่น หรือตอนที่เราไปโรงพยาบาลแล้วบอกแม่ว่าอยากนั่งรถเข็นให้แม่เข็น สิ่งที่จะตามมาก็คือประโยคข้างต้นที่กล่าวไป หรือเผลอๆอาจจะเป็นการโดนเอ็ดยกใหญ่เลยด้วยซ้ำ สิ่งเหล่านี้หลายคนคิดว่าเป็นเหมือนความเชื่อที่มีมานาน เป็นเรื่องจริงตามที่ผู้ใหญ่บอก กลายเป็นเรื่องน่ากลัวปนความเชื่อไปในที่สุด ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นแค่ “กุศโลบาย” ของผู้ใหญ่ที่ใช้ห้ามไม่ให้เด็กเล่นของพวกนี้ก็ได้ และเมื่อเด็กโตขึ้นโดยที่ไม่ได้แก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้อง และข้อความเหลล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านคนรุ่นแล้วรุ่นเหล่าจนกลายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปอย่างในปัจจุบัน เพราะไม่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือลายลักษณ์อักษรใดๆสามารถพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ได้ว่ามีความเชื่อมโยงและเป็นเหตุผลมากพอจะทำให้คำกล่าวข้างต้นเป็นจริง แถมการนอนบนเตียงที่ดีต่อสุขภาพ ทำไมจะกลายเป็นลางไม่ดีล่ะ?
รวมรีวิวเตียงไฟฟ้าพร้อมSmartcareจากทางบ้าน
เปิดตัวมาได้สักแล้วนะคะ…สำหรับอุปกรณ์เสริมเตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุหรือ Smartcare ซึ่งได้กระแสตอบรับดีมากๆจากลูกค้าและผุ้ใช้งานเอง ซึ่งตัว Smartcare เนี่ยมีจุดเด่นตรงที่ไฟใต้เตียงสามารถปรับหรี่ได้ที่สำคัญผู้ใช้งานสามารถเปิดไฟได้เองบนเตียงโดยไม่ต้องลุก และตอบโจทย์ได้ดีสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการแสงสว่างตลอดคืน และแสงสว่างของไฟให้ความสว่างกำลังพอดีไม่รบกวนสมาชิกภายในบ้าน ที่สำคัญยังช่วยตกแต่งให้เตียงไฟฟ้าของคุณนั้นดูสวยงาม หรูหราขึ้นอีกด้วย สุดเป็นฟีเจอร์เด่นของตัว Smartcare คือตรงกล่องควบคุมไฟมีช่อง Power Socket จำนวน 2 ช่องที่สามารถรอบรับระบบ Fast Charge ได้ ผู้สูงอายุใช้ไฟจากตรงนี้ชาร์จแบตมือถือ เสียบโคมไฟเพื่ออ่านหนังสือ วิทยุ เครื่องใช้
การปรับเตียงไฟฟ้ามีความสำคัญกับท่านอนผู้สูงอายุอย่างไร?
การปรับเตียงไฟฟ้าแต่ละไกร์ อาจเป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คน ไม่คาดคิดว่าจะมีประโยชน์อย่างไร บางท่านคิดว่าเตียงนอนผู้สูงอายุ หรือเตียงไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยนั้นไม่จำเป็นเท่าไหร่นัก แต่..การปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ กลับส่งผลดีทั้งกับตัวผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลอีกด้วย สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีภาวะเคลื่อนไหวได้น้อย หรือถึงขั้นวิกฤติที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับท่าทาง หรือจับพลิกตัวผู้ป่วย การที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อาจจะก่อให้เกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาจจะทำให้อาการป่วยที่เป็นอยู่เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งความสามารถของเตียงปรับระดับไฟฟ้าถูกออกแบบมาเพื่อการปรับท่าทางของผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้ยากโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างคือ ท่าศรีษะต่ำ – ปลายเท้าสูง , ท่าชันเข่า
ท่านอนชันเข่า…มีประโยชน์ที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม
ถ้าผู้สูงอายุหากนอนหงายขาตรงไประยะเวลานานๆอาจส่งผลให้นอนกรนหนักกว่าเดิมหรือปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น น่อง ขา โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ขยับร่างกายลำบากทำให้มีอาการเมื่อยล้าและเกิดการเกร็งตัวเอ็นข้อเข่าและรอบสะโพก การนอนชันเข่าสามารถช่วยให้ความผ่อนคลาย และช่วยให้ข้อเข่าและข้อสะโพกของผู้ป่วยได้เปลี่ยนอิริยาบถจากเหยียดตรงเป็นงอบ้าง ซึ่งจะมีผลช่วยลดแรงตึงของข้อต่อได้ การนอนหงายชันเข่าเหมาะสำหรับผู้สูงอายุไปจนถึงผู้ป่วยติดเตียงทำให้ผู้ป่วยได้เปลี่ยนอริยบทท่านอนป้องกันแผลกดทับที่หลัง,ก้นและช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณเข่าและกล้ามเนื้อข้างเคียง ซึ่งท่านอนลักษณะนี้สามารถทำได้ง่ายคนดูแลอาจใช้หมอนข้างหรือผ้านำมาม้วนกลมๆก็สามารถใช้ได้แต่วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีแก้ขัดใช้เพียงชั่วคราวและไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียงนั้นเอง ปัจจุบันการนอนชันเข่าเป็นฟังก์ชันของเตียงไฟฟ้าสามารถปรับได้ง่ายด้วยรีโมทและผู้ป่วยยังสามารถปรับชันเข่าได้ด้วยตัวเอง นอกจากปรับนอนชันเข่าได้ยังสามารถปรับนั่งในท่าชันเข่า ทำให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอริยบทต่างๆได้ง่ายและสะดวกชึ้น สรุป การนอนชันเข่าให้ความผ่อนคลายมากดีกว่าการนอนเหยียดขาตรงเป็นระยะเวลานานๆ ใช้ได้ดีในผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงช่วยลดแผลกดทับ ลดอาการปวดเมื่อย ช่วยระบบไหลเวียนเลือกที่น่องและกล้ามเนื้อ
จัดห้องนอนให้สูงวัย ปลอดภัยไม่ง้อบ้านพักคนชรา
ในปัจจุบันแนวโน้มของผู้สูงอายุ…ในยุคนี้เพิ่มสูงขึ้นและโลกของเรากำลังก้าวไปสู่ยุคที่เรียกว่า สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) สำหรับประเทศไทยขณะนี้ประเทศเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เรียบร้อยแล้ว โดยผู้สูงอายุโดยปกติในสังคมไทยเรานับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นผู้สูงอายุและถือว่าเป็นวัยเกษียณอายุราชการไปด้วย โดยมีประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 10 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดการณ์กันว่าอัตราผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไปจะพุ่งทะยานจาก 7% ในปี 2005
วิธีดูแลความรู้สึกทางจิตใจในวัยสูงอายุ
ผู้สูงอายุถือว่าเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง อวัยวะต่างๆมีการเสื่อม ไม่ว่าจะเป็นกำลังวังชา หรือสุขภาพร่างกายที่เริ่มถดถอยน้อยลง ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย กล้ามเนื้อ และสุขภาพทางการเดินเคลื่อนไหวค่อนข้างยากลำบาก สายตาสั้นลง เนื้อหนังเหี่ยวย่น หรือว่าแม้แต่กระทั่งความรู้สึกทางจิตใจและอารมณ์ ยิ่งอายุมากขึ้นตัวผู้สูงอายุเองจะกลายเป็นคนที่คิดเยอะขึ้น มีบางอารมณ์ก็น้อยใจ เรียกง่ายๆได้ว่าหลายร้อยอารมณ์นั่นเอง เนื่องจากผู้สูงอายุจะประสบพบเจอกับการสูญเสียในชีวิตมากมากเช่น สูญเสียคนใกล้ตัว สูญเสียคู่ชีวิต สูญเสียคู่แต่งงาน และสูญเสียหน้าที่การงาน หรือมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน ไม่อยากที่จะต้องให้ลูกหลานต้องคอยมานั่งดูแล “นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุจะต้องปรับตัวมากขึ้น เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สุงอายุ หากผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวได้และหากสะสมเป็นระยะเวลานานก็อาจจะพบปัญหาเรื้อรังจนทำให้ผู้สูงอายุอาจป่วยกลายเป็นผู้ป่วยโรคซึ่มเศร้า ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงมีความเสี่ยงในการที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่พบบ่อย
20เทคนิค สร้างบ้านให้ผู้สูงอายุ อยู่สบายกาย สุขใจ
ปี 2563 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน (ร้อยละ 18) เข้าข่ายสังคมผู้สูงอายุ (มีประชากรที่อายุมากกว่า 60ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10%) และในอีก 1-2ปีข้างหน้าคาดว่าประเทศจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ” (ประชากรอายุมากกว่า 60ปี เป็นสัดส่วนมากกว่า 20%) ผลที่ตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นเชิงทางเศรษฐกิจ-ผู้สูงอายุไม่สามารถทำงานได้เหมือนวัยแรงงาน และ อื่นๆมากันมาอีกมากมาย แต่ในบทความนี้เรามามองอีกด้านครับ เราจะสร้างบ้านอย่างไรให้เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่เรารัก
อีไลฟ์ เข็นด้วยใจ…ให้ด้วยกัน | รวมกิจกรรมสมทบทุนเพื่อช่วยเหลือสังคม
ช่วงท้ายปี 2021 ที่ผ่านมาอีไลฟ์ได้จัดกิจกรรมบริจาคเงินจำนวนหนึ่งจากการสั่งซื้อของลูกค้าและสมทบทุนกับลูกค้าหลายๆท่าน ซึ่งได้เงินมาจำนวนนึงและรถเข็นวีลแชร์อีก 5คันร่วมบริจาคให้กับมูลนิธิสายธารสุขใจ เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องการรับความช่วยเหลือ ด้วยพิษของโควิด-19 ทำให้ยอดบริจาคของทางมูลนิธิน้อยลงแต่ผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือยังคงมีอยู่เรื่อยๆ ทำให้เราได้จัดกิจกรรมดีๆนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือสังคมทั้งนี้ต้องขอขอบคุณลูกค้าที่น่ารักของอีไลฟ์ทุกท่านที่ช่วยบิจาคครั้งนี้ด้วยค่ะ ทางอีไลฟ์ได้จัดรถเข็นวีลแชร์จำนวน 5คันคละรุ่นกันไป ซึ่งประกอบด้วยรถเข็นวีลแชร์แบบล้อเล็กกระทัดรัด ล้อใหญ่เบาะกว้างและรถเข็นช่วยเดิน กิจกรรมดีๆแบบนี้อีไลฟ์จะยังคงจัดเรื่อยๆ เพื่อช่วยเหลือสังคมต่อไป ลูกค้าที่สนใจอยากร่วมปันสุขกับเราสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่อีไลฟ์ได้เลยนะคะหรือท่านสามารถจัดซื้อรถเข็นวีลแชร์สำหรับบริจาคเองก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ อีไลฟ์และลูกค้าอีไลฟ์ร่วมสมทบทุนบริจาคให้กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข็นด้วยใจ…ให้ด้วยกัน อีไลฟ์และลูกค้าอีไลฟ์…ขอร่วมสมทบทุนบริจาคให้กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการก่อสร้าง “อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔
วิธีเลือกเตียงผู้ป่วย(ปรับไฟฟ้า)ให้เหมาะกับผู้ป่วยมากที่สุด
การสร้างบรรยากาศให้กับผู้สูงอายุในบ้าน…ให้น่าอยู่มีความจำเป็นมากๆ ที่ลูกหลานต้องให้ความสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมให้บ้านมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รองรับการใช้ชีวิต และการดำเนิน กิจวัตร ประจำวันของผู้สูงอายุรวมถึงผู้ป่วยที่ต้องเตรียมตัวกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านเอง โดยเฉพาะในผู้ที่มี ปัญหาการเคลื่อนไหวซึ่งเกิดจากระบบข้อกระดูก และกล้ามเนื้อส่วนล่าง ส่งเสริมให้ผู้ที่เริ่มมีความเสื่อมถอยของร่างกายหรือปัญหา สุขภาพได้เรียนรู้ ทำความรู้จัก และฝึกฝนกับอุปกรณ์ ที่จะช่วยเหลือในการทำกิจกรรม โดยพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ลดความ เสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรมภายในบ้าน และบริเวณรอบๆ ตัวบ้าน และในการสร้างความสะดวก ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุ เตียงนอนปรับไฟฟ้า จึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น. เตียงไฟฟ้าคืออะไร? … เตียงไฟฟ้า (Electric
จริง ๆ แล้วเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมงกันแน่ ? เวลาการนอนที่เหมาะสมของแต่ละวัย
จริง ๆ แล้วเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมงกันแน่ ? การนอนหลับเป็นสิ่งที่มีผลอย่างมากกับสุขภาพของเราทุกคน อย่างไรก็ตามเมื่อมีสิ่งยุ่งยากเกิดขึ้นมาในชีวิต สิ่งแรกที่เรามักจะทำก็คือละเลยหรือยอมเสียสละการนอนหลับของเรา นี่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย เพราะการนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตไม่ต่างจากการกินอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายที่พอเพียง เนื้อหาต่อไปจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการนอนหลับต่อสุขภาพของคุณและระยะเวลาที่คุณควรนอนหลับได้ในแต่ละคืน การนอนหลับเป็นรากฐานของการมีสุขภาพที่ดี การนอนหลับเป็นมากกว่าเวลาที่ร่างกาย และจิตใจของคุณได้รับการพักผ่อน แต่ในความเป็นจริงร่างกายของคุณกำลังทำงานอย่างหนักทีเดียว ในระหว่างที่คุณนอนหลับ ร่างกายจะเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่สึกหรอไปในระหว่างวันให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม และชำระล้างของเสียที่เกิดขึ้นในสมอง ร่างกายมีขบวนการของมันที่จะรักษาร่างกาย และจิตใจเพื่อให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง จิตใจของคุณจะมีขบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ อารมณ์ และประสบการณ์ในระหว่างวันแล้วบันทึกลงในความทรงจำอีกด้วย การนอนยังช่วยปรับสมดุลของอารมณ์อีกด้วย การอดนอนเพียงคืนเดียวจะเพิ่มความรุนแรงในการตอบสนองต่อความรู้สึกด้านลบมากขึ้นถึง
15สิ่งควรรู้ ก่อนซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า,เตียงนอนคนไข้ไฟฟ้า
เมื่ออัตราการเกิดของทารกน้อยลง กลับกลายเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคที่มีแต่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เพิ่มขึ้นทุกปี 👨🦳👩🦲 ทำให้หลายๆครอบครัว มองหาอุปกรณ์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ และดูแลผู้ป่วยติดเตียง อุปกรณ์อย่างแรกที่มองหามักจะเป็นรถเข็นวีลแชร์ หรือวีลแชร์ไฟฟ้า ที่จะช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหว ของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง อุปกรณ์อันดับต่อมา จะเป็นเตียงไฟฟ้าปรับระดับได้ เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ หรือเตียงไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากการนอนเป็นสิ่งสำคัญ และแน่นอนว่า พอยิ่งอายุมากขึ้น ร่างกายก็อ่อนแอลง การนอนหลับพักผ่อนที่ดี จะช่วยให้สุขภาพของผู้สูงอายุ
รีวิวเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่นEB-55 (แบรนด์คนไทย)
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าคืออะไร? เตียงที่ออกแบบมาพิเศษเพื่อผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ที่เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก เช่นผู้ป่วยหลังผ่าตัด นอกจากนั้นยังสามารถลดภาระให้กับผู้ดูแลได้อีกด้วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าใช้งานโดยผ่านรีโมท เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าทั้งหมด>>
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า สามารถช่วยไม่ให้กรนได้จริงหรอ ?
การนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพที่ใครหลายๆ คนกลุ้มใจเป็นอย่างมาก และเครียดเอาการอยู่ไม่น้อย ทั้งคนที่มีอาการนี้เอง หรือเกิดขึ้นกับคนรอบๆ ตัว เพราะอาการนอนกรนจะบ่งบอกถึงสุขภาพที่ผิดปกติ เกิดขึ้นจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ หรือหากเกิดขึ้นในระดับรุนแรง จะทำให้เกิดอาการหยุดหายใจร่วมด้วย และยังส่งผลต่อคนที่คุณรักทำให้สุขภาพการนอนที่ย่ำแย่ เกิดขึ้นได้ทั้งวัยรุ่นหนุ่มสาว และผู้สูงอายุ แล้วจะทำอย่างไร ให้หายสักที ?? เพื่อให้สุขภาพชีวิตกลับมาดีขึ้น เรามาทำความรู้จัก ” โรคนอนกรน “กันเลยค่ะ ผู้ชาย มีอัตราการนอนกรนมากกว่าผู้หญิง
น้ำมันหอมระเหย ช่วยให้หลับฝันดี
ตัวช่วยที่จะทำให้คุณนอนหลับสนิทได้อย่างง่ายดาย ลองใช้ส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติเหล่านี้ดู อย่าได้สบประมาทในอานุภาพของกลิ่นเป็นอันขาด เพราะในส่วนหนึ่งก็คือมันเชื่อมโยงความทรงจำ และอารมณ์ความรู้สึกเข้าไว้ด้วยกัน (เช่นเดียวกับที่ร้านสปาใช้กลิ่นที่ผ่อนคลายมาต้อนรับเมื่อคุณเปิดประตูเข้าไปในร้าน) มนุษย์เราเรียนรู้การใช้กลิ่นต่าง ๆ มาช่วยกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ปรับระดับพลังงาน เพิ่มสมาธิ และยังรวมไปถึงการช่วยให้นอนหลับอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันสกัดจากพืช และสมุนไพร ได้พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นมาก วิธีใช้ก็ทำได้หลายอย่างเช่นใช้เครื่องพ่นกระจายกลิ่น หรือแค่หยดมันลงบนหมอนสัก 1-2 หยด ลองเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยสามกลิ่นต่อไปนี้ที่จะช่วยให้หลับตาลงได้ง่ายขึ้น ลาเวนเดอร์ ลาเวนเดอร์ขึ้นชื่อเกี่ยวกับการช่วยลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ
รู้หรือไม่? เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าไม่กินไฟอย่างที่คิด
บางท่านเห็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ก็มีข้อสงสัยว่า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจะเปลืองไฟรึป่าวนะ? เพราะเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าดูเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่และต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา แต่ขึ้นชื่อว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้ว ทุกชนิดกินไฟแน่นอน ดังนั้น กรณีที่เราเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ แม้ไม่ได้ใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้น ก็กินไฟ เพียงแต่การกินไฟนั้น ไม่ได้มากเท่า เมื่อเทียบกับมีการเริ่มต้นใช้งาน ยกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเสียบไว้ตลอดเพราะทำงานตลอด เช่น ตู้เย็น ก็จะกินไฟต่อเนื่อง แม้ว่าเราไม่ได้เปิดตู้เย็นเพื่อหยิบของก็ตาม จึงไม่แปลกที่ตู้เย็นจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟอันดับต้นๆ ความจริงแล้วเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าไม่ได้กินไฟอย่างที่คิด… ถึงจะต้องเสียบปลั๊กไว้ตลอดเวลาเช่นเดียวกับตู้เย็น แต่แตกต่างกันตรงที่ตู้เย็นมีการใช้ไฟฟ้าจลอดเวลา เพราะหลักการใช้งานไฟฟ้าของเตียงผู้ป่วยนี้จะเริ่มกินไฟก็ต่อเมื่อเรากดรีโมทเท่านั้น! และต่อให้กดบ่อยๆก็ไม่ได้ทำให้กินไฟเยอะแยะ หากทำความเข้าใจแบบง่ายๆ การทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเหมือนกับการทำงานของหลอดไฟ
รู้จักเตียงไฟฟ้าให้ดีขึ้น
คุณรู้สึกว่าการลงนอน หรือลุกจากเตียงมีความลำบากหรือไม่ หรือรู้สึกว่าการนอนไม่สบายตัวเอาเสียเลย ถ้าอย่างนั้นเตียงไฟฟ้าก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุณต้องการ เตียงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณพบกับท่านอนที่สบายที่สุดเพื่อการนอนที่สมบูรณ์แบบ นั่นหมายความว่านอกจากคุณจะหลับได้เต็มอิ่มตลอดทั้งคืนแล้ว คุณยังจะตื่นมาในตอนเช้าอย่างสดชื่นแจ่มใสอีกด้วย ทำไมต้องปรับร่างกายตัวเองให้เข้ากับเตียง? ในเมื่อเราสามารถปรับเตียงให้เข้ากับสรีระของเราได้ จากการวิจัยนานนับปี เราพบว่าการนอนในท่าที่เหมาะสม เป็นการกระจายน้ำหนักลงบนที่นอน ซึ่งจะช่วยให้พักผ่อนได้เต็มที่ตลอดทั้งคืน นอกเหนือจากนั้นการนอนที่ถูกท่าทางยังช่วยให้ลดอาการเจ็บปวด และปัญหาไขข้อได้ แล้วเตียงไฟฟ้ามีประโยชน์อะไรบ้าง? เตียงไฟฟ้าให้ประโยชน์หลายอย่างกว่าเมื่อเทียบกับเตียงธรรมดาทั่วไป จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีความต้องการดังต่อไปนี้ ความสบายตัว และพักผ่อนได้เต็มที่ การนอนหลับที่มีคุณภาพ ขึ้น และลงจากเตียงอย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องมีคนช่วย ตื่นนอนขึ้นมาอย่างสดชื่น
แก้ไขปัญหานอนไม่หลับ(ของผู้สูงอายุ)ภายใน3วัน
อาการนอนไม่หลับ… ไม่ได้พบในผู้สูงอายุอย่างเดียวในบุคคลทั่วไปก็มีปัญหานอนไม่หลับเช่นเดียวกัน มักจะชอบนอนหลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆ ตื่นขึ้นมากลางดึกหรือไม่ก็ตื่นเช้ากว่าปกติ เมื่อตื่นขึ้นมาก็นอนต่อยาก ต้องลุกขึ้นมาทำโน้นทำนี้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้นอกจากสร้างความรำคาญใจกับผู้สูงอายุแล้วยังรบกวนสมาชิกภายในบ้านที่กำลังนอนอยู่ด้วย การนอนกลางวันที่มากเกินไป ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือใช้แรงงาน อาการเคลียดหรืออาการวิตกกังวลต่างๆ เตียงนอนหรือที่นอนไม่สบาย อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป เสียงและแสงสว่างรบกวน มีปัญหาทางร่างกายที่รบกวนการนอน เช่น อาการปวดหลัง ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องลุกขึ้นปัสสาวะบ่อยๆ ประเมินลักษณะการนอนว่านอนประมาณกี่ชั่วโมง โดยปกติผู้สูงอายุควรนอนอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ประเมินด้าน “คุณภาพ” หรือ
วิธีรับมือกับอารมณ์ผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ป่วยติดเตียง… ส่วนใหญ่คืออาการป่วยในผู้สูงอายุที่เกิดสุขภาพร่างกายที่เสื่อมโทรม จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา บางรายอาจจะพอขยับร่างกายบางส่วนได้บ้างเคลื่อนไหวได้ หรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัดใหญ่ สิ่งที่ตามมาจากภาวะการนอนติดเตียง คือผลข้างเคียงที่นำพาไปสู่การเสียชีวิต ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงจึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้และความเข้าใจ การรับมืออารมณ์ผู้ป่วยติดเตียงจึงมีความสำคัญในการดูแลมากๆ ในการดูแลด้านจิตใจของผู้สูงอายุติดเตียง… นั้นมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากโดยปกติผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นคนทีคิดมาก และมีความรู้สึกอ่อนไหวอย่างมาก ทั้งความรู้สึกที่ต้องเป็นภาระพึ่งพิง ยิ่งผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องนอนเตียง ยิ่งมีความรู้สึกกังวลในหลายเรื่อง ทั่งจากโรคที่เจ็บป่วย รู้สึกเป็นภาระในการดูแล กลัวถูกทอดทิ้งและกลัวความตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งผู้สูงอายุติดเตียงที่มีอารมณ์ดี
เปรียบเทียบราคาเตียงไฟฟ้าผู้ป่วย พร้อมสเปค
เตียงไฟฟ้า (Electric Adjustable Bed)… หรือเตียงผู้ป่วยเป็นเฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์ที่มีการออกแบบพิเศษเพื่อความสะดวกสบายของผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยเตียงไฟฟ้าผู้ป่วยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงานและปรับระดับต่างๆโดยรีโมท สามารถปรับทิศทาง ความสูง-ต่ำ การงอเข่า ปรับองศาต่างๆได้ นอกจากสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล เตียงไฟฟ้าผู้ป่วยยังสามานถป้องกันแผลกดทับในคนไข้ที่ไม่สามารถขยับตัวได้ ลดอาการปวดเมื่อยในการพักรักษาตัว ซึ่งเตียงไฟฟ้านี้จะเข้ามาช่วยให้การเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้นและลดภาระให้กับผู้ดูแลได้อีกด้วย ปัจจุบันเตียงนอนปรับไฟฟ้าผู้สูงอายุมีมากมายหลายรุ่นหลายแบบให้เลือกไม่ว่าจะเป็นเตียงที่หน้าตาลักษณะเหมือนเตียงโรงพยาบาลหรือเป็นโครงสร้างไม้ สไตล์โฮมมี่เป็นมิตรกับบ้าน ส่วนใหญ่จะสามารถปรับระดับตั้งแต่ 3 ไกร์ขึ้นไป ก็คือ ส่วนหัว,ส่วนเท้า,และระดับสูงต่ำ ราคาของเตียงไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเตียงด้วย ยิ่งปรับได้ฟังก์ชั่นที่หลากหลายยิ่งราคาสูงขึ้นด้วยค่ะ บทความนี้อีไลฟ์จะเทียบราคาเตียงไฟฟ้า